ภาษาซาไฟติก
ภาษาซาไฟติก | |
---|---|
ภูมิภาค | คาบสมุทรอาระเบีย, ซีเรีย |
สูญแล้ว | ใกล้เคียงกับการเกิด ภาษาอาหรับคลาสสิกเมื่อพุทธศตวรรษที่ 12 |
ตระกูลภาษา | |
ระบบการเขียน | อักษรอาระเบียใต้ |
รหัสภาษา | |
ISO 639-3 | – |
นักภาษาศาสตร์ | xna-saf |
ภาษาซาไฟติก (Safaitic language; อาหรับ: صفوية หรือ صفائية) เป็นชื่อของภาษาอาระเบียเหนือโบราณที่เขียนด้วยอักษรเซมิติกใต้ ซึ่งจารึกเหล่านี้เขียนโดยชาวเบดูอินและชาวเซมิ-นอมาดิกที่อยูในทะเลทรายซีโร-อาระเบีย อายุของจารึกเหล่านี้ยังไม่แน่ชัดแต่น่าจะอยู่ประมาณ พ.ศ. 443 – 943
การแพร่กระจาย
[แก้]จารึกภาษาซาไฟติกตั้งชื่อตามสถานที่ที่พบครั้งแรกคือเอสซาฟาเมื่อ พ.ศ. 2400 บริเวณดังกล่าวเป็นทะเลทรายที่อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของดามัสกัส ประเทศซีเรีย ทางตะวันออกของประเทศจอร์แดน และทางตะวันตกเฉียงเหนือของซาอุดีอาระเบีย ตัวอย่างที่แยกออกไปพบที่ พัลมีราในซีเรีย ในเลบานอน ในวาดีฮัวราน ประเทศอิรัก และฮาอิลในภาคกลางตอนเหนือของซาอุดีอาระเบีย บริเวณที่หนาแน่นที่สุดพบในฮารัต อาช ชามะห์ ทะเลทรายทางใต้และตะวันออกจากยาเบล ดรูซ ผ่านจอร์แดนไปยังซาอุดีอาระเบีย ซึ่งพบจารึกประมาณ 30,000 ชิ้น และอาจจะมีที่ยังหาไม่พบอีกมาก
ภาษาและอักษร
[แก้]ภาษาซาไฟติกเป็นสาขาของกลุ่มภาษาเซมิติกกลางใต้ อยู่ในกลุ่มภาษาอาหรับที่ใช้เสียง h- แทนที่ ’al สำหรับคำนำหน้านามชี้เฉพาะ ซึ่งได้แก่ ภาษาซาไฟติก ภาษาลิเฮียไนต์ ภาษาทามูดิก และภาษาฮาไซติก อักษรที่ใช้เขียนภาษาซาไฟติกมี 28 ตัว มีกลุ่มของตัวอักษรสามแบบแต่เขียนในลำดับที่ต่างกัน รูปแบบในการเขียนมีหลายแบบคือแบบซาไฟติก แบบซาไฟติกเหลี่ยม และแบบซาไฟติกใต้ การเขียนมักเป็นแบบซิกแซกคือบรรทัดแรกจากซ้ายไปขวา บรรทัดต่อมาจากขวาไปซ้ายสลับไปเรื่อยๆหรือกลับกัน
เนื้อหา
[แก้]ส่วนใหญ่เขียนถึงคนที่ตายไปแล้ว การสวดภาวนาหรือการปฏิบัติศาสนกิจ บางครั้งแสดงการล่าสัตว์และค่ายพักของชาวเบดูอิน
วัฒนธรรม
[แก้]วัฒนธรรมของผู้พูดภาษาซาไฟติกเป็นที่รู้จักน้อยมาก ชาวเบดูอินในอดีตเก็บหลักฐานทางโบราณคดีไว้น้อย และการศึกษายังน้อยอยู่
อ้างอิง
[แก้]- King, G. (1990) "The Basalt Desert Rescue Survey and some preliminary remarks on the Safaitic inscriptions and rock drawings" Proceedings of the Seminar for Arabian Studies 20:55-78
- Macdonald, M. C. A. (1992) "Inscriptions, Safaitic" in The Anchor Bible Dictionary Vol 3 (editor in chief D N Freedman) Doubleday
- Macdonald, M. C. A. (2000) "Reflections on the linguistic map of pre-Islamic Arabia" Arabian Archaeology and Epigraphy 11(1):28–79
- Oxtoby, W. G. (1968) Some Inscriptions of the Safaitic Bedouin American Oriental Society, Oriental Series 50. New Haven, Connecticut
- Winnett, F. V. and Harding, G. L. (1978) Inscriptions from Fifty Safaitic Cairns Toronto