ข้ามไปเนื้อหา

ภาวะช็อกทางระบบประสาท

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาวะช็อกทางระบบประสาท
ภาพสแกน MRI ของผู้ป่วยที่กระดูกสันหลังส่วนคอข้อที่ 4 หักและกดทับไขสันหลัง
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก
ICD-10R57.8
ICD-9785
MeSHD012769

ภาวะช็อกทางระบบประสาท (อังกฤษ: neurogenic shock) เป็นภาวะช็อกที่เกิดจากความผิดปกติของระบบประสาทอิสระภายในไขสันหลัง ส่งผลให้ความดันโลหิตต่ำและภาวะหัวใจเต้นช้าร่วมในบางครั้ง โดยความดันโลหิตต่ำเกิดจากแรงต้านภายในหลอดเลือดที่ลดลง ทำให้มีเลือดคั่ง ส่วนภาวะหัวใจเต้นช้าเกิดจากความผิดปกติของเส้นประสาทเวกัส ซึ่งอาจเกิดได้ทั้งจากการขาดออกซิเจนและความผิดปกติในหลอดลม[1] ภาวะช็อกทางระบบประสาทอาจก่อให้เกิดกลุ่มอาการการทำหน้าที่ผิดปกติของหลายอวัยวะและการเสียชีวิตได้หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ภาวะช็อกดังกล่าวต่างจากภาวะช็อกทางสันหลัง (spinal shock) ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับระบบไหลเวียนโลหิต

สาเหตุ

[แก้]

ภาวะช็อกทางระบบประสาทเกิดจากความเสียหายอย่างรุนแรงของระบบประสาทกลาง เช่น สมอง ไขสันหลังส่วนคอและอก[2] ซึ่งอาการบาดเจ็บจะทำให้เกิดการสูญเสียการกระตุ้นจากระบบประสาทซิมพาเทติกในหลอดเลือดอย่างเฉียบพลัน ทำให้หลอดเลือดเกิดการขยายตัว[3] แรงต้านภายในหลอดเลือดส่วนปลายลดลงและความดันโลหิตต่ำลง

การรักษา

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. J.M. Piepmeyer, K.B. Lehmann and J.G. Lane, Cardiovascular instability following acute cervical spine trauma, Cent Nerv Syst Trauma 2 (1985), pp. 153–159.
  2. 4. Guly HR, Bouamra O, Lecky FE. The incidence of neurogenic shock in patients with isolated spinal cord injury in the emergency department. Resuscitation (2008) 76, 57-62
  3. "Dorlands Medical Dictionary:neurogenic shock".
  4. http://www.health.am/vein/more/hypotension_shock_treatment/