ฟุตบอลทีมชาตินีวเว
หน้าตา
สมาคม | สมาคมฟุตบอลแห่งเกาะนีวเว | ||
---|---|---|---|
สมาพันธ์ | โอเอฟซี (เข้าร่วมจนถึง ค.ศ. 2021) | ||
ติดทีมชาติสูงสุด | Bradley Punu Brandy Falepeau Colin Ikinepule Deve Talagi Foli Ikitule Lamosa Sionetuato Lefulefu Hipa Lopesi Sehina Speedo Hetutu Tea Konelio Tahafa Talagi (2) | ||
สนามเหย้า | Paliati Grounds | ||
รหัสฟีฟ่า | NIU | ||
| |||
เกมระดับนานาชาติครั้งแรก | |||
ตาฮีตี 14–0 นีวเว (อาปีอา ซามัวตะวันตก; 20 สิงหาคม ค.ศ. 1983)[1] | |||
ชนะสูงสุด | |||
ไม่มี | |||
แพ้สูงสุด | |||
นีวเว 0–19 ปาปัวนิวกินี (อาปีอา ซามัวตะวันตก; 22 สิงหาคม ค.ศ. 1983) |
ฟุตบอลทีมชาตินีวเว เป็นตัวแทนของนีวเวในการแข่งขันฟุตบอลระดับนานาชาติ บริหารโดยสมาคมฟุตบอลแห่งเกาะนีวเว ทีมนี้ไม่เป็นสมาชิกฟีฟ่า ถึงแม้ว่าจะเป็นสมาชิกสมทบของสมาพันธ์ฟุตบอลโอเชียเนีย (โอเอฟซี) จนกระทั่งถูกถอดถอนใน ค.ศ. 2021 เนื่องจากไม่มีความเคลื่อนไหว[2] เนื่องจากไม่เป็นสมาชิกฟีฟ่า ทำให้ทีมนี้ไม่มีสิทธิ์เข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลโลก แม้ว่าจะยังคงเป็นสมาชิกโอเอฟซีก็ตาม[3]
อย่างไรก็ตามทีมชาตินีวเวมีโอกาสเข้าร่วมการแข่งขันเพียงแค่ 2 นัดเท่านั้น โดยแข่งขันในรายการเซาท์แปซิฟิกเกมส์ปี 1983 ซึ่งลงเอยด้วยการแพ้ทั้ง 2 นัดกล่าวคือแพ้ให้กับทีมชาติปาปัวนิวกินี 0 - 19 และแพ้ให้กับทีมชาติตาฮีตี 0 - 14
สถิติในการเข้าร่วมการแข่งขันเซาท์แปซิฟิกเกมส์
[แก้]- 1963 ถึง 1979 – ไม่ได้เข้าร่วม
- 1983 – รอบแรก
- 1987 ถึง 2011 – ไม่ได้เข้าร่วม
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Elo Ratings: Niue". Elo Ratings. สืบค้นเมื่อ 16 April 2019.
- ↑ "Niue removed as associate member of Oceania Football". Radio NZ International. 6 March 2021.
- ↑ "OFC Statutes, Article 10, Section 2b" (PDF). OFC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 21 July 2011. สืบค้นเมื่อ 23 March 2009.