ฟรีเมียม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ในการทำธุรกิจแบบฟรีเมียม จะมีการเริ่มจากสิ่งที่ไม่เสียค่าใช้จ่ายก่อน

ฟรีเมียม (อังกฤษ: Freemium) (เป็นหน่วยคำควบระหว่าง free กับ premium) เป็นกลยุทธ์การตั้งราคาสินค้าที่สินค้าหรือบริการ (ปกติจะเป็นพวกที่ให้บริการทางดิจิทัล เช่น ซอฟต์แวร์ สื่อ เกม หรือบริการทางเว็บ) นั้นให้บริการโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่จะต้องใช้เงิน (พรีเมียม) ในการซื้อฟังก์ชันสงวนไว้หรือสินค้าเสมือน[1][2]

PC World รายงานว่าในเดือนมิถุนายนปี 2554 โปรแกรมป้องกันไวรัสที่ต้องจ่ายเงินแบบเดิมเริ่มที่จะเสียส่วนแบ่งทางการตลาดให้กับโปรแกรมป้องกันไวรัสแบบฟรีเมียม[3]

ตั้งแต่ปี 2557 สตีม (ซอฟต์แวร์)เริ่มรับเกม early access มาไว้ในร้านมากขึ้น เกมจำนวนมากในกลุ่มนี้หาเงินแบบฟรีเมียม ทำให้เกิดข้อกังขาว่าเกมเหล่านี้มักจะมีปัญหาต้องจ่ายเงินเพื่อให้ชนะ หรือว่าเป็นเกมคุณภาพต่ำ ทำให้วาล์วคอร์ปอเรชันต้องออกกฎที่เข้มงวดขึ้น[4]

อ้างอิง[แก้]

  1. JLM de la Iglesia, JEL Gayo, "Doing business by selling free services". Web 2.0: The Business Model, 2008. Springer
  2. Tom Hayes, "Jump Point: How Network Culture is Revolutionizing Business". 2008. Page 195.
  3. Dunn, John E. (2011-06-07). "Free Antivirus Programs Rise in Popularity, New Survey Shows". PC World. IDG Consumer & SMB. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-10. สืบค้นเมื่อ 2011-06-12.
  4. Gera, Emily (2014-11-21). "Valve adds new rules to Steam Early Access to ensure games don't suck". www.polygon.com. Polygon. สืบค้นเมื่อ 24 March 2015.