อีฟแทค สเปกเตอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อีฟแทค สเปกเตอร์
อีฟแทค สเปกเตอร์ ในระหว่างที่เขารับราชการเป็นผู้บัญชาการกองกำลังของฐานทัพอากาศรามัต เดวิด
เกิด (1940-10-20) 20 ตุลาคม ค.ศ. 1940 (83 ปี)
รับใช้ อิสราเอล
แผนก/สังกัดFlag of the กองทัพอากาศอิสราเอล กองทัพอากาศอิสราเอล
ประจำการค.ศ. 1964–1996
ชั้นยศพลจัตวา
บังคับบัญชาฝูงบิน 107
ฝูงบิน 101
ฐานทัพอากาศรามัต เดวิด
ไอเอเอฟ แอร์กรุ๊ป
การยุทธ์สงครามหกวัน
สงครามการบั่นทอนกำลัง
สงครามยมคิปปูร์
ปฏิบัติการโอเปรา

อีฟแทค สเปกเตอร์ (ฮีบรู: יפתח ספקטור; อังกฤษ: Iftach Spector; 20 ตุลาคม ค.ศ. 1940 – ) เป็นนายพลจัตวาชาวอิสราเอลที่เกษียณแล้ว อดีตนักบินรบและผู้บัญชาการฐานทัพอากาศที่เทลนอฟ และรามัต เดวิด เขาทำหน้าที่ในสภาที่ปรึกษาอิสราเอลของสภานโยบายอิสราเอล

ประวัติ[แก้]

สเปกเตอร์เกิดในเปตะห์ติกวา ช่วงที่ยังเป็นปาเลสไตน์ในอาณัติในปี ค.ศ. 1940 พ่อแม่ของเขาเป็นสมาชิกของพอลแมก ซึ่งเป็นกองกำลังพิเศษของฮากานาห์ พ่อของเขาคือสวี สเปกเตอร์ เป็นผู้บัญชาการของปฏิบัติการสรั่งเรือที่ล้มเหลวในปี ค.ศ. 1941 จากภารกิจพอลแมกในประเทศเลบานอน ที่ผู้เข้าร่วมทั้งหมดเสียชีวิต และแม่ของเขาคือโชชานา สเปกเตอร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งของพอลแมกและทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยผู้ปฏิบัติงาน สเปกเตอร์เติบโตขึ้นมาในคิบบุตซ์กิวัต เบรนเนอร์ และคิบบุตซ์ฮูลาตา[1]

สเปกเตอร์ได้จัดการการรบในสงครามหกวัน และเป็นหนึ่งในนักบินที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ยูเอสเอส ลิเบอร์ตี เขาเข้ามามีส่วนร่วมในปฏิบัติการริมอน 20 ซึ่งเป็นการรบทางอากาศระหว่างอิสราเอลและสหภาพโซเวียตในช่วงสงครามการบั่นทอนกำลัง ต่อมาได้รบในสงครามยมคิปปูร์ และมีส่วนร่วมในปฏิบัติการโอเปรา ซึ่งอิสราเอลทำการระเบิดเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ของอิรักในปี ค.ศ. 1981 ระหว่างการทำหน้าที่ให้แก่กองทัพอากาศอิสราเอล สเปกเตอร์ได้บัญชาการฝูงบิน 101, 107 และฐานทัพอากาศทั้งที่รามัต เดวิด รวมถึงเทลนอฟ ทั้งนี้ เขาได้ยิงเครื่องบินข้าศึกลงไป 12 ลำ ประกอบด้วย ดัซโซลท์ มิราจ III ที่บินอยู่แปดลำ และแมคดอนเนลล์ ดักลาส เอฟ-4 แฟนทอม 2 ที่บินอยู่สี่ลำ[2][3]

ในปี ค.ศ. 1992 เขาได้รับรางวัลยิตแซก ซาเดห์ สำหรับหนังสือความฝันสีดำและฟ้า ซึ่งเป็นเรื่องราวแบบนวนิยายของฝูงบินรบในช่วงสงครามยมคิปปูร์[4]

ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2001 เขาได้มีส่วนร่วมในการเคลื่อนไหวเพื่อความหลุดพ้นจากชาวปาเลสไตน์ และในปี ค.ศ. 2003 สเปกเตอร์เป็นหนึ่งในนักบินสำรอง 27 คน และอดีตนักบินได้รับการยกเว้นจากหน้าที่สำรองเพื่อลงนาม "จดหมายของนักบิน" โดยปฏิเสธภารกิจการบินกับเป้าหมายในเวสต์แบงก์และกาซา[5][6][7]

สิ่งพิมพ์[แก้]

  • Iftach Spector, Loud and Clear, Minneapolis, Zenith Press, 2009, 426 pp., ISBN 978-0-7603-3630-4 is his personal autobiography.

อ้างอิง[แก้]