ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัดพิชยญาติการามวรวิหาร"

พิกัด: 13°43′58″N 100°29′50″E / 13.732647°N 100.497303°E / 13.732647; 100.497303
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Supanut Arunoprayote (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 36: บรรทัด 36:
{{geolinks-bldg|13.732647|100.497303}}
{{geolinks-bldg|13.732647|100.497303}}


{{เรียงลำดับ|พิชยญาติการาม}}
{{สร้างปี|2375}}
{{สร้างปี|2375}}
[[หมวดหมู่:พระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร]]
[[หมวดหมู่:พระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร|พิชยญาติการาม]]
[[หมวดหมู่:วัดไทยในสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย]]
[[หมวดหมู่:วัดไทยในสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย|พิชยญาติการาม]]
[[หมวดหมู่:วัดในเขตคลองสาน]]
[[หมวดหมู่:วัดในเขตคลองสาน|พิชยญาติการาม]]
[[หมวดหมู่:สิ่งก่อสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา]]
[[หมวดหมู่:สิ่งก่อสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา]]
[[หมวดหมู่:โบราณสถานในกรุงเทพมหานคร]]
{{โครงวัดไทย}}
{{โครงวัดไทย}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:10, 26 สิงหาคม 2563

พระปรางค์วัดพิชยญาติการามวรวิหาร
"พระสิทธารถ" หรือ "หลวงพ่อสมปรารถนา" ภายในพระอุโบสถ วัดพิชัยญาติการามวรวิหาร
รอยพระบาท 4 พระองค์

วัดพิชัยญาติการาม หรือ วัดพิชัยญาติ เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร[1] สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่เชิงสะพานพุทธ บริเวณที่เดิมเรียกว่าวงเวียนเล็ก ในแขวงสมเด็จเจ้าพระยา เขตคลองสาน ตั้งอยู่ริมคลองบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เขตคลองสาน เดิมเป็นวัดร้าง แต่สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ (ทัต บุนนาค) ครั้งมีบรรดาศักดิ์เป็นพระยาศรีพิพัฒน์ราชโกษา ได้ปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ประมาณ พ.ศ. 2372 - 2375 ในรัชกาลที่ 3 เนื่องจากสมเด็จเจ้าพระยาองค์น้อยขณะนั้นเป็นจางวางพระคลังสินค้า มีเรือสำเภาค้าขายกับจีน จึงได้นำอับเฉาเรือ กระเบื้องสี และหินมาจากจีน สถาปัตยกรรมวัดนี้มีลักษณะแบบไทยผสมจีน ซึ่งเป็นแบบพระราชนิยมในสมัยนั้น เมื่อบูรณะวัดเสร็จแล้ว ได้น้อมเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 พระราชทานนามว่า "วัดพระยาญาติการาม" ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเปลี่ยนชื่อวัดใหม่เป็น "วัดพิชยญาติการาม" หรือที่คนทั่วไปเรียกกันว่า "วัดพิชัยญาติ"

ปูชนียวัตถุและถาวรวัตถุที่สำคัญของวัด

พระอุโบสถ สร้างเป็นศิลปะแบบจีน ไม่มีช่อฟ้า ใบระกา เนื่องจากสมัยก่อนเป็นวัดอยู่ในสวน จึงสร้างเพื่อหลบบรรดากิ่งไม้ ผลไม้ที่จะหล่นหรือหักไปกระทบหลังคาพระอุโบสถได้ องค์พระประธานในอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปปั้น ปางมารวิชัย เป็นพระพุทธรูปโบราณรุ่นเดียวกับพระพุทธชินราชชินศรี โดยอัญเชิญมาจากวัดพระวิหาร หลวงเมืองพิษณุโลก นามว่า "พระสิทธารถ" หรือที่ชาวบ้านทั่วไปจะเรียกท่านว่า "หลวงพ่อสมปรารถนา" ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะของพุทธศาสนิกชนจำนวนมาก

พระพุทธรูปประดิษฐานหน้าองค์พระประธาน เป็นพระพุทธรูป ปางมารวิชัย โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ทรงหล่อเมื่อ พ.ศ. 2465 นามว่า พระวรวินายก

พระปรางค์องค์ใหญ่ วัดโดยรอบ 33 วา 2 ศอก ส่วนสูงตลอดยอดนภศูล 21 วา 1 ศอก 10 นิ้ว เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปั้น 4 องค์ หันพระพักตร์ไปสู่สี่ทิศ มีพระปรางค์องค์เล็ก 2 องค์ ขนาดวัดโดยรอบ 15 วา ส่วนสูงตลอดนภศูล 11 วา 1 ศอก 1 คืบ 2 กระเบียด ทิศตะวันออกเป็นที่ ประดิษฐานพระโพธิสัตว์พระศรีอาริย์ องค์ทิศตะวันตกเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธบาทจำลอง 4 รอย จำหลักด้วยแผ่นศิลา สัณนิฐานกันว่าเป็นของเก่า แต่ไม่ทราบว่านำมาจากที่ไหน

นอกจากนี้แล้วยังเป็นที่รู้จักกันดีว่า แม่ชีทศพร เทวาพิทักษ์ธรรม (หรือธนพร) อาศัยอยูที่วัดนี้

ลำดับเจ้าอาวาส

  1. พระปรากรมมุนี
  2. พระเมธาธรรมรส (ถิ่น)
  3. พระเมธาธรรมรส (เอี่ยม ป.ธ.7)
  4. พระพุทธิวิริยาภรณ์ (น้อย)
  5. พระวิเชียรกระวี (เอี่ยม ป.ธ.4 )
  6. พระอริยกระวี (พลับ ป.ธ.4)
  7. พระสาสนโสภณ (อ่อน อหึสโก) ป.ธ. 7
  8. พระราชเมธี (ท้วม ป.ธ.5)
  9. พระเขมาภิมุขธรรม (อิ่ม)
  10. พระเมธาธรรมรส (เสาร์ โสรโย ป.ธ.5)
  11. คณะกรรมการปกครอง
  12. พระญาณกิตติ (สมศักดิ์ สิริวณฺโณ ป.ธ.5)
  13. พระมหาโพธิวงศาจารย์ (สาลี อินฺทโชโต)
  14. พระวิสุทธิวงศาจารย์ (สุง ธญฺญาโภ) ป.ธ.6
  15. พระราชธรรมสุนทร (ฉ่อง ถาวโร) ป.ธ. 8
  16. สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (สมศักดิ์ อุปสโม) ป.ธ.9

อ้างอิง

13°43′58″N 100°29′50″E / 13.732647°N 100.497303°E / 13.732647; 100.497303