ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ขุนหลวงพระยาไกรสี (เปล่ง เวภาระ)"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Sodacan (คุย | ส่วนร่วม)
vector version available (GlobalReplace v0.6.5)
Xiengyod~commonswiki (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{ความหมายอื่น|เกี่ยวกับ= |สำหรับ= |ดูที่= ขุนหลวงพระยาไกรสี}}
{{ความหมายอื่น|เกี่ยวกับ= |สำหรับ= |ดูที่= ขุนหลวงพระยาไกรสี}}
[[ไฟล์:ขุนหลวงพระยาไกรสี(เปล่ง เวภาระ).jpg|thumb|250px|ขุนหลวงพระยาไกรสี (เปล่ง เวภาระ)]]
[[ไฟล์:ขุนหลวงพระยาไกรสี(เปล่ง เวภาระ).jpg|thumb|250px|ขุนหลวงพระยาไกรสี (เปล่ง เวภาระ)]]
'''ขุนหลวงพระยาไกรสี สุภาวภักดี ศรีมนธาตุราช อำมาตยคณาการ (เปล่ง เวภาระ)''' เป็นนักกฎหมายชาวไทยคนแรกที่สำเร็จการศึกษาเป็นเนติบัณฑิตจากประเทศอังกฤษ อดีตอธิบดีกรมอัยการคนแรก อดีตผู้ดำรงตำแหน่งลูกขุน ณ ศาลหลวง และอดีตอธิบดีผู้พิพากษา[[ศาลอาญา|ศาลพระราชอาญา]]
'''ขุนหลวงพระยาไกรสี สุภาวภักดี ศรีมนธาตุราช อำมาตยคณาการ (เปล่ง เวภาระ)''' เป็นนักกฎหมายชาวไทยคนแรกที่สำเร็จการศึกษาเป็นเนติบัณฑิตจากประเทศอังกฤษ อดีต[[สำนักงานอัยการสูงสุด (ประเทศไทย)|อธิบดีกรมอัยการ]]คนแรกของประเทศสยาม อดีตผู้ดำรงตำแหน่งลูกขุน ณ ศาลหลวง และอดีตอธิบดีผู้พิพากษา[[ศาลอาญา|ศาลพระราชอาญา]]


คำว่าขุนหลวงในที่นี้มีที่มาจากตำแหน่งลูกขุน ณ ศาลหลวง ซึ่งมีหน้าที่ด้านการรักษาตัวบทกฎหมายมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมข้าราชการผู้ดำรงตำแหน่งนี้มีบรรดาศักดิ์ชั้นพระ ปรากฏนามในทำเนียบศักดินาว่า "ขุนหลวงพระไกรสี" ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้เลื่อนบรรดาศักดิ์ของข้าราชการตำแหน่งดังกล่าวจากชั้นพระเป็นพระยา จึงเรียกชื่อขุนนางตำแหน่งนี้ใหม่ว่า "ขุนหลวงพระยาไกรสี" ซึ่งขุนหลวงพระยาไกรสี (เปล่ง เวภาระ) เป็น 1 ใน 2 คนที่ปรากฏหลักฐานว่าได้ดำรงตำแหน่งลูกขุน ณ ศาลหลวง ในบรรดาศักดิ์ชั้นพระยา
คำว่าขุนหลวงในที่นี้มีที่มาจากตำแหน่งลูกขุน ณ ศาลหลวง ซึ่งมีหน้าที่ด้านการรักษาตัวบทกฎหมายมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมข้าราชการผู้ดำรงตำแหน่งนี้มีบรรดาศักดิ์ชั้นพระ ปรากฏนามในทำเนียบศักดินาว่า "ขุนหลวงพระไกรสี" ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้เลื่อนบรรดาศักดิ์ของข้าราชการตำแหน่งดังกล่าวจากชั้นพระเป็นพระยา จึงเรียกชื่อขุนนางตำแหน่งนี้ใหม่ว่า "ขุนหลวงพระยาไกรสี" ซึ่งขุนหลวงพระยาไกรสี (เปล่ง เวภาระ) เป็น 1 ใน 2 คนที่ปรากฏหลักฐานว่าได้ดำรงตำแหน่งลูกขุน ณ ศาลหลวง ในบรรดาศักดิ์ชั้นพระยา

รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:58, 9 สิงหาคม 2563

ขุนหลวงพระยาไกรสี (เปล่ง เวภาระ)

ขุนหลวงพระยาไกรสี สุภาวภักดี ศรีมนธาตุราช อำมาตยคณาการ (เปล่ง เวภาระ) เป็นนักกฎหมายชาวไทยคนแรกที่สำเร็จการศึกษาเป็นเนติบัณฑิตจากประเทศอังกฤษ อดีตอธิบดีกรมอัยการคนแรกของประเทศสยาม อดีตผู้ดำรงตำแหน่งลูกขุน ณ ศาลหลวง และอดีตอธิบดีผู้พิพากษาศาลพระราชอาญา

คำว่าขุนหลวงในที่นี้มีที่มาจากตำแหน่งลูกขุน ณ ศาลหลวง ซึ่งมีหน้าที่ด้านการรักษาตัวบทกฎหมายมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมข้าราชการผู้ดำรงตำแหน่งนี้มีบรรดาศักดิ์ชั้นพระ ปรากฏนามในทำเนียบศักดินาว่า "ขุนหลวงพระไกรสี" ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้เลื่อนบรรดาศักดิ์ของข้าราชการตำแหน่งดังกล่าวจากชั้นพระเป็นพระยา จึงเรียกชื่อขุนนางตำแหน่งนี้ใหม่ว่า "ขุนหลวงพระยาไกรสี" ซึ่งขุนหลวงพระยาไกรสี (เปล่ง เวภาระ) เป็น 1 ใน 2 คนที่ปรากฏหลักฐานว่าได้ดำรงตำแหน่งลูกขุน ณ ศาลหลวง ในบรรดาศักดิ์ชั้นพระยา

ประวัติ

ขุนหลวงพระยาไกรสี สุภาวภักดี ศรีมนธาตุราช อำมาตยคณาการ มีนามเดิมว่า เปล่ง เวภาระ เกิดเมื่อวันจันทร์ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 12 ปีจอ จุลศักราช 1224 ตรงกับวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2405 ที่บ้านของหม่อมเจ้าหญิงประดับ ตำบลบางลำพู ริมวัดบวรนิเวศวิหาร บิดาเป็นมหาดเล็กหลวงชื่อนายหริ่ง ซึ่งเป็นบุตรคนที่ 9 ของเจ้าพระยาพลเทพ (ฉิม) มารดาชื่อ แก้ว

เริ่มเรียนหนังสือไทยเมื่ออายุได้ 9 ขวบ กับสำนักพระครูปริตโกศล (แปร่ม) วัดบวรนิเวศวิหาร เรียนได้ปีเศษ ก็มาเรียนกับป้าชื่อแสง ซึ่งเป็นบุตรีของเจ้าพระยาพลเทพ (ฉิม) เรียนทั้งหนังสือไทย หนังสือขอมและภาษาบาลี จนอายุได้ 13 ปี ก็ไปเป็นศิษย์เรียนหนังสือไทย หนังสือขอม ภาษาบาลีและวิชาเลข อยู่กั่บพระอริยมุนี (เอม) แต่เมื่อยังเป็นพระครูพุทธมนต์ปรีชา ที่วัดบวรนิเวศวิหาร

จนอายุได้ 15 ปี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคัคณางคยุคล กรมหลวงพิชิตปรีชากร ได้ทรงเอาไปบำรุงเลี้ยง และทรงสั่งสอนและฝึกหัดกฎหมายไทยและขนบธรรมเนียมราชการอยู่ 2 ปีเศษ จึงโปรดส่งให้ไปเล่าเรียนที่โรงเรียนพระราชวังนันทอุทยาน ซึ่งเป็นโรงเรียนชายล้วนสอนภาษาอังกฤษ มีหมอแมคฟาร์แลนด์ (S.G. Mcfarland) เป็นอาจารย์ใหญ่ และ แหม่มโคล (Miss Edna S.Cole) เป็นครูสอน

พออายุได้ 20 ปี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ส่งตัวไปเรียนกฎหมายที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เรียนกฎหมายโรมัน กฎหมายอังกฤษ กฎหมายระหว่างประเทศ ฯลฯ และฝึกหัดว่าความ จนจบเป็นเนติบัณฑิตในปี พ.ศ. 2431 นับเป็นคนไทยคนแรกที่ไปเรียนกฎหมายสำเร็จเป็นเนติบัณฑิตอังกฤษ จากสำนักมิดเดิลเทมเปิล (Middle Temple) แห่งกรุงลอนดอน ได้รับพระราชทานเงินรางวัลเรียนดีชั้นที่ 1 จากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นเงิน 50 ปอนด์ และได้รับพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา หลังจากนั้นจึงได้เริ่มรับราชการที่กรมท่า (กระทรวงการต่างประเทศในปัจจุบัน) เป็นแห่งแรก และมีความเจริญก้าวหน้าในทางราชการมาตามลำดับ

ขุนหลวงพระยาไกรสี (เปล่ง เวภาระ) มีบุตรกับคุณหญิงทองคำ 4 คน คือ คุณชื่นจิต คุณสฤษดิ์ลาภ คุณผ่องศรี (สมรสกับ พระสุทธิสารวินิจฉัย (มะลิ บุนนาค)) และคุณสฤษดิ์พร

ขุนหลวงพระยาไกรสี (เปล่ง เวภาระ) ป่วยเป็นโรคมานกษัย ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2444[1] อายุได้ 38 ปี 6 เดือน แต่ศพของท่านได้ถูกเก็บไว้ที่วัดกัลยาณมิตร ฝั่งธนบุรี โดยไม่มีผู้ใดทราบ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2525 มีผู้ไปพบศพและแจ้งให้นายมารุต บุนนาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมในขณะนั้น (ซึ่งมีศักดิ์เป็นหลานตาของท่าน) ทราบ จึงได้ดำเนินการขอพระราชทานเพลิงศพตามประเพณี โดยประกอบพิธีพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส เมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2526

ประวัติการรับราชการ

  • พ.ศ. 2431 - เริ่มรับราชการที่กระทรวงต่างประเทศ มีหน้าที่ร่างหนังสือโต้ตอบกับราชทูตและกงสุลต่างๆ
  • พ.ศ. 2432 - รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ เป็น หลวงรัตนาญัป์ติ ศักดินา 800 ไร่ เป็นตัวแทนรัฐบาลไปนั่งชำระความในศาลกงสุลต่างประเทศ
  • พ.ศ. 2435 - รับราชการในตำแหน่ง เจ้ากรมสารบบ
  • พ.ศ. 2436 - ได้รับแต่งตั้งเป็นอธิบดีกรมอัยการคนแรก
  • พ.ศ. 2437 - ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ "ขุนหลวงพระไกรสี" ตำแหน่งลูกขุน ณ ศาลหลวง
  • พ.ศ. 2439 - ได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นอธิบดีผู้พิพากษาศาลพระราชอาญา
  • พ.ศ. 2441 - ได้รับโปรดเกล้าฯ เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น "ขุนหลวงพระยาไกรสี สุภาวภักดีศรีมนธาตุราช อำมาตยคณาการ" ดำรงตำแหน่งอธิบดีผู้พิพากษาศาลพระราชอาญา จนกระทั่งถึงแก่อนิจกรรมในปี พ.ศ. 2444

ผลงานโดยสังเขป

  • รวบรวมและจัดพิมพ์ พระราชบัญญัติ พระราชกำหนดกฎหมายที่ตราขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 รวม 492 ฉบับ
  • จัดทำสารบบความขึ้นเป็นครั้งแรก แบบคำฟ้อง คำให้การ ที้ใช้ในงานราชการ
  • เป็นอาจารย์สอนกฎหมายที่โรงเรียนกฎหมายกระทรวงยุติธรรม
  • เป็นกรรมการสอบเนติบัณฑิต

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวตายในกรุง, เล่ม ๑๘, ตอน ๕, ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๔๔, หน้า ๗๐
  2. ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวฉลองพระประจำพระชนม์พรรษา และพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลานายเปล่ง, เล่ม ๔, ตอน ๒๓, ๑๖ กันยายน พ.ศ. ๒๔๓๐, หน้า ๑๘๐
  3. ราชกิจจานุเบกษา, นักเรียนสยามกลับจากยุโรป เข้าเฝ้าทูลลอองธุลีพระบาท แลเรื่องนายเปล่ง, เล่ม ๔, ตอน ๒๑, ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๔๓๐, หน้า ๑๖๓

ดูเพิ่ม