ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คำรณ สัมบุญณานนท์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
เก้า พีรภัทร (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 58: บรรทัด 58:


คำรณ สัมบุณณานนท์ มีหน้าตาดี ประกอบกับมีลีลาการร้องเพลงไม่เหมือนใคร ทำให้ได้รับบทพระเอกในภาพยนตร์หลายเรื่อง ตั้งแต่ พ.ศ. 2495 เช่นเรื่อง ''รอยไถ'' (2493), ''ขุนโจรใจเพ็ชร์'' (2495), ''ชายสามโบสถ์'' (2495), ''เกวียนหัก'' (2498) <ref>[http://hair-magazine.com/topic/701 100 ปี คำรณบนแผ่นฟิล์ม โดย มนัส กิ่งจันทร์]</ref>
คำรณ สัมบุณณานนท์ มีหน้าตาดี ประกอบกับมีลีลาการร้องเพลงไม่เหมือนใคร ทำให้ได้รับบทพระเอกในภาพยนตร์หลายเรื่อง ตั้งแต่ พ.ศ. 2495 เช่นเรื่อง ''รอยไถ'' (2493), ''ขุนโจรใจเพ็ชร์'' (2495), ''ชายสามโบสถ์'' (2495), ''เกวียนหัก'' (2498) <ref>[http://hair-magazine.com/topic/701 100 ปี คำรณบนแผ่นฟิล์ม โดย มนัส กิ่งจันทร์]</ref>

คำรณ สัมบุณณานนท์ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 30 กันยายยน พ.ศ.2512 ด้วยโรคมะเร็งปอด


== ผลงานภาพยนตร์ ==
== ผลงานภาพยนตร์ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:03, 1 มิถุนายน 2563

คำรณ สัมบุณณานนท์
สารนิเทศภูมิหลัง
เกิด7 มกราคม พ.ศ. 2463
คำรณ สัมบุณณานนท์ [1]
เสียชีวิต30 กันยายน พ.ศ. 2512 (49 ปี)
สถาบันบำราศนราดูร จังหวัดนนทบุรี
อาชีพนักร้อง นักแสดง
ปีที่แสดงพ.ศ. 2481 - พ.ศ. 2512
ผลงานเด่นลือ จาก รอยไถ (2493)
อ้ายธง จาก ขุนโจรใจเพ็ชร์ (2495)
ผง จาก ชายสามโบสถ์ (2495)
แฝง จาก เกวียนหัก (2498)
ครูคำรณ จาก ฆ่ายัดกล่อง (2508)

คำรณ สัมบุณณานนท์ เป็นชื่อจริงนามสกุลจริง เขาเป็นชาวกรุงเทพฯโดยกำเนิด เกิดเมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2463 ที่บ้านหลังวัดเกาะสัมพันธวงศ์ ถนนทรงวาด (ทรงสวัสดิ์) แต่บางคนบอกว่าเขาน่าจะเป็นชาวสุพรรณบุรี โดยวิเคราะห์เอาจากสำเนียงที่ร้องออกมา เขาจบการศึกษาชั้นมัธยมจากโรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวาย มีเพลงที่เป็นที่รู้จัก เช่น มนต์การเมือง ตาศรีกำสรวล คนบ้ากัญชา ตามนางกลับนา ชีวิตครู คนขายยา คำสั่งพ่อ คนพเนจร ชายใจพระ กรรมกรรถราง คนแก่โลก คนไม่รักดี ชีวิตช่างไฟ ชีวิตช่างตัดผม ชีวิตบ้านนา เป็นต้น

แนวการร้องเพลงของคำรณ สัมบุณณานนท์ ได้รับอิทธิพลมาจากครูแสงนภา บุญญราศรี เริ่มเข้าสู่วงการจากการประกวดร้องเพลงในงานวัด

ในปี พ.ศ. 2481 คำรณได้เล่นละครวิทยุเรื่อง "เจ้าสาวชาวไร่" ของครูเหม เวชกร และได้ร้องเพลงนำของละคร เพลงเพลงนี้ได้รับยกย่องให้เป็นเพลงลูกทุ่งเพลงแรกของไทย และถือกันว่า คำรณเป็น "บิดาของวงการลูกทุ่งไทย" [2] เป็นนักร้องลูกทุ่งสมัยต้นๆ ของวงการ รุ่นเดียวกับ ชาญ เย็นแข ปรีชา บุญยเกียรติ ก่อนรุ่นนักร้องลูกทุ่งดังอย่าง สุรพล สมบัติเจริญ ชัยชนะ บุญนะโชติ ก้าน แก้วสุพรรณ กุศล กมลสิงห์ ฯลฯ

คำรณบันทึกเสียงแผ่นเสียงเพลงแรก จากผลงานเพลงของครูไพบูลย์ บุตรขัน ชื่อเพลง "ชมหมู่ไม้" และมีเพลงดังเช่น เพลง ชายสามโบสถ์, น้ำตาเสือตก, ตาสีกำสรวล, หนุ่มสุพรรณฝันเพ้อ, บ้านนาป่าร้าง, หวยใต้ดิน, มนต์การเมือง, ชายใจพระ

คำรณ สัมบุณณานนท์ มีหน้าตาดี ประกอบกับมีลีลาการร้องเพลงไม่เหมือนใคร ทำให้ได้รับบทพระเอกในภาพยนตร์หลายเรื่อง ตั้งแต่ พ.ศ. 2495 เช่นเรื่อง รอยไถ (2493), ขุนโจรใจเพ็ชร์ (2495), ชายสามโบสถ์ (2495), เกวียนหัก (2498) [3]

คำรณ สัมบุณณานนท์ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 30 กันยายยน พ.ศ.2512 ด้วยโรคมะเร็งปอด

ผลงานภาพยนตร์

ปี เรื่อง บทบาท
2493 รอยไถ ลือ
2495 ขุนโจรใจเพ็ชร์ อ้ายธง
เลือดทรยศ (ขุนโจรใจเพ็ชร์ ภาคจบ) เสือธง
ชายสามโบสถ์ ผง
2497 วิวาห์น้ำตา
2498 หญิงสามผัว หวล
เกวียนหัก แฝง
2499 สามชีวิต
2508 ฆ่ายัดกล่อง ครูคำรณ

อ้างอิง

  1. หน้าปกแผ่นเสียงของคำรณ สัมบุณณานนท์ บางครั้งสะกดนามสกุลผิดเป็น สัมบุญญานนท์ หรือ สัมบุญณานนท์
  2. เจนภพ จบกระบวนวรรณ. เพลงลูกทุ่ง, TK Park Music Library ชุดดนตรีไทย. กรุงเทพ : สำนักงานอุทยานการเรียนรู้, พ.ศ. 2550. 176 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 978-974-8218-83-0
  3. 100 ปี คำรณบนแผ่นฟิล์ม โดย มนัส กิ่งจันทร์