ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เอชทีทีพี"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Dolkungbighead (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 8882509 สร้างโดย 2001:44C8:4286:4314:1:2:34B0:9D06 (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ
บรรทัด 8: บรรทัด 8:
ปกติเครื่องลูกข่ายเอชทีทีพีจะเป็นผู้เริ่มสร้างการร้องขอก่อน โดยเปิดการเชื่อมต่อด้วย[[เกณฑ์วิธีควบคุมการขนส่งข้อมูล]] (TCP) ไปยัง[[พอร์ต]]เฉพาะของเครื่องแม่ข่าย (พอร์ต 80 เป็นค่าปริยาย) เครื่องแม่ข่ายเอชทีทีพีที่เปิดรอรับอยู่ที่พอร์ตนั้น จะเปิดรอให้เครื่องลูกข่ายส่งข้อความร้องขอเข้ามา เมื่อได้รับการร้องขอแล้ว เครื่องแม่ข่ายจะตอบรับด้วยข้อความสถานะอันหนึ่ง ตัวอย่างเช่น "<code>HTTP/1.1 [[200]] OK</code>" ตามด้วยเนื้อหาของมันเองส่งไปด้วย เนื้อหานั้นอาจเป็นแฟ้มข้อมูลที่ร้องขอ ข้อความแสดงข้อผิดพลาด หรือข้อมูลอย่างอื่นเป็นต้น
ปกติเครื่องลูกข่ายเอชทีทีพีจะเป็นผู้เริ่มสร้างการร้องขอก่อน โดยเปิดการเชื่อมต่อด้วย[[เกณฑ์วิธีควบคุมการขนส่งข้อมูล]] (TCP) ไปยัง[[พอร์ต]]เฉพาะของเครื่องแม่ข่าย (พอร์ต 80 เป็นค่าปริยาย) เครื่องแม่ข่ายเอชทีทีพีที่เปิดรอรับอยู่ที่พอร์ตนั้น จะเปิดรอให้เครื่องลูกข่ายส่งข้อความร้องขอเข้ามา เมื่อได้รับการร้องขอแล้ว เครื่องแม่ข่ายจะตอบรับด้วยข้อความสถานะอันหนึ่ง ตัวอย่างเช่น "<code>HTTP/1.1 [[200]] OK</code>" ตามด้วยเนื้อหาของมันเองส่งไปด้วย เนื้อหานั้นอาจเป็นแฟ้มข้อมูลที่ร้องขอ ข้อความแสดงข้อผิดพลาด หรือข้อมูลอย่างอื่นเป็นต้น


ทรัพยากรที่ถูกเข้าถึงด้วยเอชทีทีพีจะถูกระบุโดยใช้[[ตัวระบุแหล่งทรัพยากรสากล]] (URI) (หรือเจาะจงลงไปก็คือ [[ตัวชี้แหล่งในอินเทอร์เน็ต]] (URL)) โดยใช้ <tt>http:</tt> หรือ <tt>https:</tt> เป็น[[แผนของตัวระบุแหล่งทรัพยากรสากล|แผนของตัวระบุ]] (URI scheme)ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
ทรัพยากรที่ถูกเข้าถึงด้วยเอชทีทีพีจะถูกระบุโดยใช้[[ตัวระบุแหล่งทรัพยากรสากล]] (URI) (หรือเจาะจงลงไปก็คือ [[ตัวชี้แหล่งในอินเทอร์เน็ต]] (URL)) โดยใช้ <tt>http:</tt> หรือ <tt>https:</tt> เป็น[[แผนของตัวระบุแหล่งทรัพยากรสากล|แผนของตัวระบุ]] (URI scheme)
Microsoft Build
เอกสาร Visual Studio Mac ปริมาณงาน พัฒนาเกมสามัคคี
เนื้อหาที่ไม่พร้อมให้บริการในภาษาของคุณ

Visual Studio สำหรับ Mac Tools สำหรับ Unity
25/10/2562
เหลือเวลา 2 นาทีในการอ่าน
2
ในบทความนี้
ภาพรวม
เคล็ดลับสำหรับนักพัฒนา Unity เริ่มต้นใช้งาน Visual Studio สำหรับ Mac
รูปภาพสุกใสของ Unity และ Visual Studio สำหรับ Mac

Visual Studio สำหรับ Mac เครื่องมือสำหรับ Unity เป็นส่วนขยายของ Visual Studio ฟรีที่เปลี่ยน Visual Studio สำหรับ Mac เป็นเครื่องมือที่ทรงพลังสำหรับการพัฒนาเกมและแอพข้ามแพลตฟอร์มด้วยแพลตฟอร์ม Unity

การรวม Unity ถูกรวมไว้ในกล่องใน Visual Studio สำหรับ Mac และเริ่มจาก Unity 2018.1 แล้ว Visual Studio สำหรับ Mac คือ C # IDE เริ่มต้นสำหรับโครงการ Unity

หมายเหตุ

ข้อมูลนี้สำหรับ Visual Studio สำหรับ Mac IDE สำหรับรหัส Visual Studio ดูคู่มือนี้สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

ภาพรวม
นี่คือคุณสมบัติหลักของ Visual Studio สำหรับ Mac Tools สำหรับ Unity:

เข้ากันได้กับ Visual Studio สำหรับ Mac Community Edition
Visual Studio สำหรับ Mac Community Editionให้บริการฟรีและมาพร้อมกับ Unity ที่ติดตั้งโดยเริ่มต้นด้วย Unity 2018.1 ดูเอกสารประกอบการตั้งค่า Visual Studio สำหรับ Mac Tools สำหรับ Unity สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

IntelliSense สำหรับข้อความ Unity
IntelliSense ทำให้มันง่ายและรวดเร็วในการใช้ข้อความ Unityเช่นOnCollisionEnterรวมถึงพารามิเตอร์ของพวกเขา

การดีบักที่เหนือกว่า
Visual Studio สำหรับ Mac Tools for Unity รองรับคุณสมบัติการดีบักทั้งหมดที่คุณคาดหวังจาก Visual Studio:

ตั้งจุดพักรวมถึงจุดพักตามเงื่อนไข
ประเมินนิพจน์ที่ซับซ้อนในหน้าต่างดู
ตรวจสอบและแก้ไขค่าของตัวแปรและข้อโต้แย้ง
เจาะลึกวัตถุและโครงสร้างข้อมูลที่ซับซ้อน
การรีแฟคเตอร์และบริบทที่มีประสิทธิภาพ
เขียนโค้ดที่ใช้งานได้มากขึ้นด้วยเมนูที่รวดเร็วและแป้นพิมพ์ลัดสำหรับการเปลี่ยนชื่อ, refactoring และการกระทำบริบท

การวินิจฉัย Roslyn และการแก้ไขด่วนสำหรับ Unity
เขียนโค้ดที่ดีกว่าซึ่งรวบรวมแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดด้วย Visual Studio for Mac ที่มีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับโครงการ Unity

VS สำหรับ Mac refactoring string เปรียบเทียบกับ CompareTag

เรียกดูและเพิ่มไฟล์ใหม่
เรียกดูโปรเจ็กต์ Unity และเพิ่มโฟลเดอร์สคริปต์หรือเฉดสีทั้งหมดใน Visual Studio สำหรับ Mac IDE

ใช้การเชื่อมโยงคีย์ที่คุ้นเคย
เพิ่มผลผลิตโดยใช้การเชื่อมโยงที่สำคัญที่คุณรู้จัก Visual Studio สำหรับ Mac ให้การเชื่อมโยงคีย์ที่คุ้นเคยสำหรับ IDE ยอดนิยมจำนวนมากเช่น Visual Studio บน Windows, ReSharper, Visual Studio Code และ Xcode

ปรับแต่งชุดรูปแบบของ Visual
ให้ดวงตาของคุณส่วนที่เหลือที่มีรวมธีมสีเข้ม

เคล็ดลับสำหรับนักพัฒนา Unity เริ่มต้นใช้งาน Visual Studio สำหรับ Mac
ลิงก์เหล่านี้อธิบายคุณสมบัติที่มีประโยชน์สำหรับนักพัฒนา Unity ที่เริ่มต้นด้วย Visual Studio สำหรับ Mac:

การปรับแต่ง IDE - เรียนรู้วิธีเปลี่ยนชุดรูปแบบที่มองเห็นหรือสลับไปยังชุดรูปแบบการโยงคีย์ที่คุ้นเคยยิ่งขึ้น
Source Editor - เรียนรู้ว่า Visual Studio สำหรับ Mac สามารถทำให้การเขียนโค้ดดีขึ้นเร็วขึ้นและง่ายขึ้นได้อย่างไรรวมถึงแป้นพิมพ์ลัดทั่วไป
หน้านี้มีประโยชน์หรือไม่
ใช่ ไม่
คำติชม
ส่งและดูข้อคิดเห็นสำหรับ

ดูข้อคิดเห็นของหน้าทั้งหมด
ไทย
เอกสารอธิบายก่อนหน้า บล็อก สนับสนุน สิทธิ์ส่วนบุคคล & คุกกี้ ข้อกำหนดการใช้ ไซต์คำติชม เครื่องหมายการค้า © Microsoft 2020


== ข้อความร้องขอ ==
== ข้อความร้องขอ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 21:22, 29 พฤษภาคม 2563

เกณฑ์วิธีขนส่งข้อความหลายมิติ [1] หรือ เอชทีทีพี (อังกฤษ: HyperText Transfer Protocol: HTTP) คือโพรโทคอลในระดับชั้นโปรแกรมประยุกต์เพื่อการแจกจ่ายและการทำงานร่วมกันกับสารสนเทศของสื่อผสม [2] ใช้สำหรับการรับทรัพยากรที่เชื่อมโยงกับภายนอก ซึ่งนำไปสู่การจัดตั้งเวิลด์ไวด์เว็บ

การพัฒนาเอชทีทีพีเป็นการทำงานร่วมกันของเวิลด์ไวด์เว็บคอนซอร์เทียม (W3C) และคณะทำงานเฉพาะกิจด้านวิศวกรรมอินเทอร์เน็ต (IETF) ซึ่งมีผลงานเด่นในการเผยแพร่เอกสารขอความเห็น (RFC) หลายชุด เอกสารที่สำคัญที่สุดคือ RFC 2616 (เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2542) ได้กำหนด HTTP/1.1 ซึ่งเป็นรุ่นที่ใช้กันอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน

เอชทีทีพีเป็นมาตรฐานในการร้องขอและการตอบรับระหว่างเครื่องลูกข่ายกับเครื่องแม่ข่าย ซึ่งเครื่องลูกข่ายคือผู้ใช้ปลายทาง (end-user) และเครื่องแม่ข่ายคือเว็บไซต์ เครื่องลูกข่ายจะสร้างการร้องขอเอชทีทีพีผ่านทางเว็บเบราว์เซอร์ เว็บครอว์เลอร์ หรือเครื่องมืออื่น ๆ ที่จัดว่าเป็น ตัวแทนผู้ใช้ (user agent) ส่วนเครื่องแม่ข่ายที่ตอบรับ ซึ่งเก็บบันทึกหรือสร้าง ทรัพยากร (resource) อย่างเช่นไฟล์เอชทีเอ็มแอลหรือรูปภาพ จะเรียกว่า เครื่องให้บริการต้นทาง (origin server) ในระหว่างตัวแทนผู้ใช้กับเครื่องให้บริการต้นทางอาจมีสื่อกลางหลายชนิด อาทิพร็อกซี เกตเวย์ และทุนเนล เอชทีทีพีไม่ได้จำกัดว่าจะต้องใช้ชุดเกณฑ์วิธีอินเทอร์เน็ต (TCP/IP) เท่านั้น แม้ว่าจะเป็นการใช้งานที่นิยมมากที่สุดบนอินเทอร์เน็ตก็ตาม โดยแท้จริงแล้วเอชทีทีพีสามารถ "นำไปใช้ได้บนโพรโทคอลอินเทอร์เน็ตอื่น ๆ หรือบนเครือข่ายอื่นก็ได้" เอชทีทีพีคาดหวังเพียงแค่การสื่อสารที่เชื่อถือได้ นั่นคือโพรโทคอลที่มีการรับรองเช่นนั้นก็สามารถใช้งานได้

ปกติเครื่องลูกข่ายเอชทีทีพีจะเป็นผู้เริ่มสร้างการร้องขอก่อน โดยเปิดการเชื่อมต่อด้วยเกณฑ์วิธีควบคุมการขนส่งข้อมูล (TCP) ไปยังพอร์ตเฉพาะของเครื่องแม่ข่าย (พอร์ต 80 เป็นค่าปริยาย) เครื่องแม่ข่ายเอชทีทีพีที่เปิดรอรับอยู่ที่พอร์ตนั้น จะเปิดรอให้เครื่องลูกข่ายส่งข้อความร้องขอเข้ามา เมื่อได้รับการร้องขอแล้ว เครื่องแม่ข่ายจะตอบรับด้วยข้อความสถานะอันหนึ่ง ตัวอย่างเช่น "HTTP/1.1 200 OK" ตามด้วยเนื้อหาของมันเองส่งไปด้วย เนื้อหานั้นอาจเป็นแฟ้มข้อมูลที่ร้องขอ ข้อความแสดงข้อผิดพลาด หรือข้อมูลอย่างอื่นเป็นต้น

ทรัพยากรที่ถูกเข้าถึงด้วยเอชทีทีพีจะถูกระบุโดยใช้ตัวระบุแหล่งทรัพยากรสากล (URI) (หรือเจาะจงลงไปก็คือ ตัวชี้แหล่งในอินเทอร์เน็ต (URL)) โดยใช้ http: หรือ https: เป็นแผนของตัวระบุ (URI scheme)

ข้อความร้องขอ

ข้อความร้องขอประกอบด้วยสิ่งต่อไปนี้

  • บรรทัดแรก ขึ้นต้นเป็นคำสั่งร้องขอ และเส้นทางไดเรกทอรีของแฟ้มที่ร้องขอ ตามด้วยรุ่นของ HTTP ตัวอย่างเช่น GET /images/logo.gif HTTP/1.1
  • บรรทัดต่อๆ ไปที่ไม่ใช่บรรทัดว่าง เรียกว่าเป็น ส่วนหัว (header) เป็นเมทาเดตาต่าง ๆ ประกอบการร้องขอ ตัวอย่างเช่น Accept-Language: en
  • บรรทัดว่าง เพื่อแบ่งแยกระหว่างส่วนหัวกับเนื้อหา
  • บรรทัดต่อๆ ไป เป็นเนื้อหาข้อมูล ซึ่งบางคำสั่งอาจไม่จำเป็นต้องใช้ส่วนนี้

แต่ละบรรทัดจะต้องลงท้ายด้วย CRLF (อักขระปัดแคร่ตามด้วยอักขระป้อนบรรทัด เหมือนการกดปุ่ม Enter ในวินโดวส์) บรรทัดที่ว่างจะมีเพียงแค่ CRLF เท่านั้นโดยไม่มีอักขระช่องว่างอยู่เลย สำหรับรุ่น HTTP/1.1 ส่วนหัว Host: จำเป็นต้องมีเสมอ แต่ส่วนหัวอื่น ๆ ไม่จำเป็นต้องมีก็ได้

บรรทัดคำสั่งที่มีเพียงเส้นทางไดเรกทอรี (ไม่มีชื่อแฟ้ม) ก็เป็นที่ยอมรับโดยเครื่องแม่ข่าย เพื่อรักษาความเข้ากันได้กับโปรแกรมตัวแทนรุ่นเก่าก่อนที่จะมีข้อกำหนดของ HTTP/1.0 ใน RFC 1945 [3] ส่วน HTTP/1.1 ได้กำหนดไว้ใน RFC 2068 [3]

คำสั่งร้องขอ

ตัวอย่างข้อความร้องขอเอชทีทีพีที่สร้างในเทลเน็ต เน้นสีส่วนหัวและส่วนเนื้อหาของทั้งข้อความร้องขอและข้อความตอบรับ

เอชทีทีพีได้กำหนดคำสั่งร้องขอไว้แปดคำสั่ง (หรือเรียกว่าวิธีการร้องขอ บางครั้งอาจเรียกว่าเป็น "กริยา") แสดงการกระทำที่ต้องการ เพื่อที่จะดำเนินการกับทรัพยากรที่ถูกระบุ สิ่งที่ทรัพยากรนั้นนำเสนอ ไม่ว่าเป็นข้อมูลที่มีอยู่ก่อนหรือสร้างขึ้นมาแบบพลวัตก็ตาม จะขึ้นอยู่กับการนำไปใช้ของเครื่องแม่ข่าย ซึ่งบ่อยครั้งทรัพยากรมักจะสอดคล้องกับไฟล์ หรือผลลัพธ์ส่งออกจากโปรแกรมข้างเคียงในเครื่องแม่ข่ายนั้น เครื่องให้บริการเอชทีทีพีจะต้องสามารถใช้คำสั่ง GET และ HEAD ได้เป็นอย่างน้อย [4]

HEAD
ร้องขอการตอบรับจากทรัพยากรที่ระบุ คล้ายกับ GET แต่จะไม่มีส่วนเนื้อหาที่ร้องขอกลับมา คำสั่งนี้ใช้ประโยชน์ในการตรวจสอบข้อมูลส่วนหัวของการตอบรับ โดยไม่จำเป็นต้องส่งเนื้อหาเต็มมาทั้งหมด
GET
ร้องขอการนำเสนอจากทรัพยากรที่ระบุ คำสั่งนี้ไม่ควรใช้กับการดำเนินการที่อาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่นการจัดการในเว็บแอปพลิเคชัน เหตุผลหนึ่งคือคำสั่ง GET มักจะถูกใช้อย่างไม่มีกฎเกณฑ์โดยอินเทอร์เน็ตบอตและเว็บครอว์เลอร์ ซึ่งไม่ควรพิจารณาให้การร้องขอของบอตและครอว์เลอร์ส่งผลกระทบต่อทรัพยากรในเว็บ (ดูเพิ่มที่หัวข้อ คำสั่งที่ปลอดภัย)
POST
ส่งข้อมูลไปยังทรัพยากรที่ระบุเพื่อให้นำไปประมวลผล โดยเฉพาะข้อมูลที่ส่งมาจากฟอร์มเอชทีเอ็มแอล ข้อมูลที่ส่งจะถูกบรรจุอยู่ในเนื้อหาของการร้องขอด้วย สิ่งนี้อาจทำให้เกิดการสร้างทรัพยากรใหม่ หรือการปรับปรุงทรัพยากรที่มีอยู่ หรือทั้งสองกรณี
PUT
อัปโหลดการนำเสนอของทรัพยากรที่ระบุ
DELETE
ลบทรัพยากรที่ระบุ
TRACE
ส่งข้อมูลร้องขอกลับมา เครื่องลูกข่ายจะเห็นว่ามีข้อมูลอะไรบ้างที่สื่อกลางเพิ่มหรือเปลี่ยนแปลงข้อความร้องขอก่อนไปถึงทรัพยากรปลายทาง
OPTIONS
คืนค่าเป็นรายชื่อคำสั่งเอชทีทีพีที่เครื่องแม่ข่ายนั้นรองรับสำหรับทรัพยากรที่ระบุ สิ่งนี้สามารถใช้ตรวจสอบฟังก์ชันการทำงานของเว็บเซิร์ฟเวอร์ได้โดยใส่ "*" แทนที่การระบุทรัพยากร
CONNECT
แปลงการเชื่อมต่อของการร้องขอไปเป็นทุนเนล TCP/IP แบบโปร่งใส มักใช้สำหรับแปลงการเชื่อมต่อที่เข้ารหัสแบบ SSL ให้เดินทางผ่านพร็อกซีที่ไม่มีการเข้ารหัสได้ง่ายขึ้น [5]

คำสั่งที่ปลอดภัย

คำสั่งของเอชทีทีพีบางคำสั่งมีการกำหนดว่าเป็นคำสั่งที่ปลอดภัย เช่น HEAD, GET, OPTIONS, TRACE ซึ่งหมายความว่าคำสั่งเหล่านี้มีขึ้นเพื่อการรับข้อมูลเพียงอย่างเดียวและไม่ควรเปลี่ยนสถานะของเครื่องแม่ข่าย หรืออีกนัยหนึ่งคือคำสั่งเหล่านี้ไม่ควรทำให้เกิดผลกระทบข้างเคียง เว้นแต่ผลกระทบนั้นไม่สร้างความเสียหายอาทิ การบันทึกไฟล์ล็อก การเก็บแคช การบริการเว็บแบนเนอร์ หรือการเพิ่มตัวนับผู้เข้าชม การร้องขอแบบ GET แบบไม่มีกฎเกณฑ์โดยอินเทอร์เน็ตบอตและเว็บครอว์เลอร์ จึงยังคงถือว่าปลอดภัยอยู่

ในทางตรงข้าม คำสั่ง POST, PUT, DELETE เป็นการกระทำเพื่อให้เกิดผลกระทบต่อเครื่องแม่ข่าย หรือเกิดผลกระทบภายนอกเช่นทำให้เกิดธุรกรรมทางการเงิน หรือการส่งอีเมลเป็นต้น จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ปลอดภัย คำสั่งเช่นนี้ปกติจะไม่ถูกใช้โดยอินเทอร์เน็ตบอตและเว็บครอว์เลอร์ ซึ่งทำงานโดยไม่พิจารณาสถานะของเครื่องแม่ข่าย เพราะอาจทำให้ทรัพยากรเสียหายได้

รหัสสถานภาพ

ตั้งแต่ HTTP/1.0 เป็นต้นไป บรรทัดแรกของการตอบรับเอชทีทีพีเรียกว่า บรรทัดสถานภาพ (status line) ซึ่งประกอบด้วยตัวเลข รหัสสถานภาพ (status code เช่น 404) และข้อความ วลีเหตุผล (reason phrase เช่น "Not Found") โปรแกรมตัวแทนผู้ใช้จะพิจารณาการตอบรับในส่วนหัวโดยขึ้นอยู่กับรหัสสถานภาพเป็นหลัก และตามด้วยวลีเหตุผลเป็นรอง รหัสสถานภาพที่กำหนดขึ้นมาเองก็สามารถใช้ได้ ซึ่งหากตัวแทนผู้ใช้พบกับรหัสสถานภาพที่ไม่รู้จัก มันจะพิจารณาตัวเลขตัวแรกในรหัสเพื่อแยกประเภททั่วไปของการตอบรับ [6]

รหัสสถานภาพของเอชทีทีพีแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ได้ห้ากลุ่มได้แก่

  • 1xx ข้อมูลทั่วไป
  • 2xx การร้องขอสำเร็จ
  • 3xx การเปลี่ยนทาง
  • 4xx ความผิดพลาดจากเครื่องลูกข่าย
  • 5xx ความผิดพลาดจากเครื่องแม่ข่าย

การเชื่อมต่อแบบคงอยู่

ใน HTTP/0.9 และ 1.0 การเชื่อมต่อจะถูกปิดทุกครั้งหลังจากการการร้องขอและการตอบรับจบไป ดังนั้นในรุ่น HTTP/1.1 จึงมีการแนะนำกลไกเพื่อให้การเชื่อมต่อยังคงอยู่ ซึ่งจะทำให้การเชื่อมต่อเพียงครั้งเดียวสามารถใช้ซ้ำได้อีกเรื่อย ๆ มากกว่าหนึ่งครั้ง การเชื่อมต่อแบบคงอยู่เช่นนั้นช่วยลดโอกาสของการเกิดความล่าช้า (lag) เพราะว่าเครื่องลูกข่ายไม่จำเป็นต้องต่อรองการเชื่อมต่อทีซีพีใหม่อีกครั้ง หลังจากข้อความร้องขอแรกได้ถูกส่งไปแล้ว

HTTP/1.1 ได้มีการจัดแบนด์วิดท์ให้ดียิ่งขึ้นไปกว่ารุ่น 1.0 ยกตัวอย่างเช่น HTTP/1.1 มีการแนะนำการเข้ารหัสขนส่งเป็นชิ้นส่วน (chunked transfer encoding) เพื่อทำให้เนื้อหาบนการเชื่อมต่อแบบคงอยู่ส่งถ่ายเป็นกระแสข้อมูลได้ (streaming) แทนที่จะเก็บลงในที่พักข้อมูล (buffer) การทำงานแบบสายท่อของเอชทีทีพี (HTTP pipelining) ก็เป็นอีกเทคนิคหนึ่งที่ช่วยลดความล่าช้าลงได้อย่างมาก ซึ่งทำให้เครื่องลูกข่ายสามารถส่งข้อความร้องขอได้หลายข้อความ ก่อนที่จะได้รับข้อความตอบรับของอันแรก อีกพัฒนาการหนึ่งคือการบริการเป็นไบต์ (byte serving) ซึ่งจะทำให้เครื่องแม่ข่ายส่งถ่ายข้อมูลมาเพียงแค่ส่วนหนึ่งจากทรัพยากรทั้งอัน ในช่วงตำแหน่งที่เครื่องลูกข่ายต้องการ

สถานะวาระของเอชทีทีพี

เอชทีทีพีเป็นโพรโทคอลที่ไม่มีการระบุสถานะ ข้อดีของโพรโทคอลแบบนี้คือเครื่องแม่ข่ายไม่จำเป็นต้องดึงสารสนเทศอื่นมาจากผู้ใช้ในระหว่างการร้องขอ แต่สิ่งนี้ทำให้ผู้พัฒนาเว็บต้องใช้วิธีการอื่นเพื่อรักษาสถานะของผู้ใช้ ตัวอย่างเช่น ผู้ใช้ที่ต้องการปรับแต่งเนื้อหาเว็บไซต์ เว็บแอปพลิเคชันจะต้องบันทึกติดตามกระบวนการต่าง ๆ ของผู้ใช้เป็นหน้าต่อหน้า หรือการล็อกอินเข้าสู่ระบบ ซึ่งจำเป็นต้องทราบว่าผู้ใช้นั้นอยู่ในสถานะล็อกอินหรือไม่ จึงจะส่งข้อความตอบรับได้อย่างเหมาะสม วิธีการที่เป็นปกติสำหรับปัญหานี้คือการรับและส่งคุกกี้ และวิธีการอื่นคื่อการสร้างตัวแปรวาระ (session) ทางฝั่งเครื่องแม่ข่าย หรือใช้ตัวแปรซ่อนผ่านทางหน้าแบบฟอร์ม หรือใช้พารามิเตอร์ที่เข้ารหัสแบบตัวชี้แหล่งในอินเทอร์เน็ต (เช่น /index.php?session_id=some_unique_session_code)

อ้างอิง

  1. ศัพท์บัญญัติ ราชบัณฑิตยสถาน
  2. http://www.ietf.org/internet-drafts/draft-ietf-httpbis-p1-messaging-05.txt
  3. 3.0 3.1 "Apache Week. HTTP/1.1". 090502 apacheweek.com
  4. HTTP 1.1 Section 5.1.1
  5. "Vulnerability Note VU#150227: HTTP proxy default configurations allow arbitrary TCP connections". US-CERT. 2002-05-17. สืบค้นเมื่อ 2007-05-10.
  6. 6.1 Status-Line

แหล่งข้อมูลอื่น