ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นอร์ธรอป เอฟ-5"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
AONZON (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
AONZON (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 67: บรรทัด 67:
**สามารถติดตั้งอาวุธที่ใต้ปีกได้ข้างละ 2 แห่ง และ ใต้ลำตัว 1 แห่ง รวมเป็นน้ำหนักสูงสุด 3,175 กิโลกรัม
**สามารถติดตั้งอาวุธที่ใต้ปีกได้ข้างละ 2 แห่ง และ ใต้ลำตัว 1 แห่ง รวมเป็นน้ำหนักสูงสุด 3,175 กิโลกรัม
<ref>อภิวัตน์ โควินทรานนท์,อากาศยาน1979ฉบับเครื่องบิน,เอวิเอชั่น ออบเซิร์ฟเวอร์,กรุงเทพ,2522</ref>
<ref>อภิวัตน์ โควินทรานนท์,อากาศยาน1979ฉบับเครื่องบิน,เอวิเอชั่น ออบเซิร์ฟเวอร์,กรุงเทพ,2522</ref>

(บทความเรื่อง F-5 โดย....พ.อ.อ.รัชต์ รัตนวิจารณ์)


'''เครื่องบินขับไล่เอฟ-๕ เอ ( บข.๑๘ )
...................................................โดย…พ.อ.อ.รัชต์ รัตนวิจารณ์
ประวัติย่อของ บข.๑๘'''
.....................เครื่องบินขับไล่แบบ เอฟ-๕ เอ เข้าประจำการในปี พ.ศ. ๒๕๑๐ ตามโครงการช่วยเหลือทางทหารจากสหรัฐฯ
ภายหลังจากที่ก่อนหน้านี้ไม่กี่เดือนได้มอบเครื่องบินขับไล่แบบ เอฟ-๕ บี ในปี ๒๕๐๙ จำนวน ๒ เครื่อง (ฉบับต่อๆไปจะนำเสนอเรื่องของ เอฟ-๕ บี
คอยติดตามครับ ) สำหรับ เอฟ-๕ เอ กองทัพอากาศไทยกำหนดชื่อเรียกเป็น "บข.๑๘" โดยบรรจุประจำการครั้งแรกที่ฝูงบินที่ ๑๓ กองบิน ๑ ดอนเมือง
ใช้สีบรอนช์ทั้งลำที่แพนหางมีสายฟ้าสีขาวบนพื้นคาดแดง ส่วนที่หัวเครื่องจะมีรูปเสือโคร่งสัญลักษณ์ของกองบิน ๑ หมายเลขฝูงเขียนสี่หลักขึ้นต้นด้วย ๑๓
เอฟ-๕ เอ ปฏิบัติงานอยู่ที่ กองบิน ๑ ดอนเมือง อยู่จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันคือเอฟ-๕ เอ สองเครื่องวิ่งขึ้นสกัดกั้น Air Interception
และเฉี่ยวกับ บฝ.๙ ชิปมั่งค์ จนเกิดอุบัติเหตุร้ายแรง เมื่อวันที่ ๒๗ พ.ค. ๑๔ เวลา ๑๐๓๐ ทำให้เครื่องบินเอฟ-๕ เอ หนึ่งเครื่องเกิดการระเบิดในขณะที่นักบิน
( ร.ท.นาวิน สุชีวะ) ดีดตัวออกมาได้ แต่ความสูงไม่พอให้ร่มกางจึงตกลงกระแทกพื้นเสียชีวิต นอกจากนี้ยังมีอีกหลายเครื่องเกิดอุบัติเหตุตกลงบริเวณชุมชน
รอบๆสนามบินดอนเมือง ทางกองบินยุทธการ จึงมีแผนที่จะย้าย กองบิน ๑ เพื่อความปลอดภัยและคว่มเหมาสมในการรักษาความปลอดภัย จึงย้ายเข้าที่ตั้งใหม่
ในปัจจุบัน ที่โคราช ตั้งแต่ ๒๕๑๙ เอฟ-๕ ฝูงนี้จึงกำหนดชื่อฝูงใหม่เป็น ฝูงบินขับไล่ที่ ๑๐๓ กำหนดเลขฝูงเป็นห้าหลักขึ้นต้นด้วย ๑๐๓ ช่วงนี้เอฟ-๕ เอ ,
เอฟ-๕ บี และ อาร์เอฟ-๕ เอ บางเครื่องเริ่มมีการเปลี่ยนไปใช้สีพรางท้องขาวและท้องเขียวตามแบบเครื่อง เอฟ-๕ ซี ที่กองทัพอากาศมีอยู่หนึ่งเครื่องซึ่งเป็น
สีพลางท้องขาวตั้งแต่อยู่ฝูง ๑๓ ดอนเมือง แล้ว กองทัพอากาศใช้ เอฟ-๕ เอ ในการโจมตีกองกำลังผู้ก่อการร้ายและข้าศึกต่างชาติที่รุกรานประเทศหลายสมรภูมิ
เช่น เขาค้อ ภูพาน ภูหินร่องกล้า โดยเฉพาะที่เขาค้อ กองทัพอากาศต้องสูญเสีย เอฟ-๕ เอ ในการรบไปสองเครื่องพร้อมนักบิน ในปี ๒๕๑๓
(ร.อ.ชาญชัย มหากาญจนะ ) และ เมื่อ ๒๕๑๙ (ร.ท.พงษ์ณรงค์ เกษรศุกร์ ) นอกจากนี้ระหว่างการฝึกป้องกันภัยทางอากาศ "นภาพิทักษ์ ๒๔"
กองทัพอากาศสูญเสียเครื่องบิน เอฟ-๕ เอ พร้อมนักบิน ๑ นาย (ร.ต.อนุวรรตน์ ศรีพื้นผล) เมื่อเครื่องบินขัดข้องนักบินจึงนำเครื่องลงในแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณ
ใกล้สะพานพระราม ๖ นอกจากนี้ยังเคยเกิดอุบัติเหตุเฉี่ยวกันเองตกลงในทะเลขณะลาดตระเวณเหนือหมู่เกาะกูด จ.ตราด ทำให้เสียเอฟ-๕ เอ
ทั้งสองเครื่องพร้อมนักบินสอง ( น.ท.สุเมธ ศิริลักษณ์ และ ร.ท.ชิต เจริญยุทธ์ ) ในปี ๒๕๒๘ กองทัพอากาศย้ายเครื่องบิน เอฟ-๕ เอ/บี/ซี
และ อาร์เอฟ-๕ เอ จากฝูง ๑๐๓ ไปบรรจุที่ฝูงบินขับไล่ที่ ๒๓๑ กองบิน ๒๓ อุดรทดแทน ที-๒๘ ดี ที่ปลดประจำการลง อยู่กองบินนี้มีการใช้เครื่องหมาย
ที่แพนหางสามครั้งคือในช่วงแรกเป็นรูปอาร์มกองบิน ๒๓ ในช่วงปี ๒๕๓๐-๒๕๓๑ (ระหว่างสงครามกรณีบ้านร่มเกล้า) ต่อมาเปลี่ยนเป็นหัวเยี่ยวสัญลักษณ์
กองบิน ๒๓ เดิม ในช่วงปี ๒๕๓๑ - ๒๕๓๒ และเปลี่ยนเป็นเครื่องหมาย ฮันเตอร์ จนกระทั่งย้ายฝูง เอฟ-๕ เอ อยู่ฝูง ๒๓๑ มีการใช้สีเครื่องบินถึงสามสี
แต่ไม่ทุกเครื่องประกอบด้วย สีพรางเขียวท้องพลาง สีเขียวขี้ม้าล้วนๆ และสีเทาขาว อยู่ฝูงบินใหม่การเกิดอุบัติเหตุกับเครื่องบิน เอฟ-๕ เอ ในกรณีต่างๆ
เกิดขึ้นบ่อยมาก อันเนื่องมาจาก สภาพเครื่องบิน ที่เริ่มมีอายุการใช้งานมากขึ้น อย่างน้อยก็เครื่องละ ๒๐ ปีใน ทอ.ไทย ยังไม่นับอายุในกองทัพสหรัฐฯ นะครับ
จน กองทัพอากาศต้องจัดหาเครื่องบิน เอฟ-๕ เอ เก่าจากประเทศต่างๆ เช่น ทอ.ไต้หวัน จำนวน ๓-๕ เครื่อง มาถอดชิ้นส่วนอะไหล่ เพราะบริษัทผู้ผลิต
เลิกทำการผลิตแล้วการเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงที่สุดคือ เมื่อวันที่ ๒๗ มี.ค.๓๐ ในโอกาสครบรอบ ๗๒ ปีกองทัพอากาศ ทอ.ต้องสูญเสียเครื่องบิน เอฟ-๕
ไปสามเครื่องพร้อมกัน เนื่องจากอากาศปิด นักบินหัวหน้าหมู่พาลูกหมู่ชนภูเขาสีเสียดอ้า อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ภายหลังจากบินหมู่ ๓ จำนวน ๒ หมู่
จากกองบิน ๒๓ มาทำการบินผ่านพิธีในวัน ๗๒ ปี กองทัพอากาศ ที่ดอนเมืองครั้งนี้เสีย เอฟ-๕ เอ สอง เครื่อง ( ร.อ.สมโชค สุขแก้ว และ ร.อ.สมเกียรติ ศิริมงคล )
และ อาร์เอฟ-๕ เอ ไปอีก ๑ เครื่อง ปีต่อมา เอฟ-๕ เอ ได้ร่วมในสงครามกรณีพิพาทบ้านร่มเกล้า สนับสนุนกำลังภาคพื้นในการรบจนสิ้นสุดการรบ
ภายหลังสงครามทั้งชายแดนไทย-ลาว และ ชายแดนไทย-กัมพูชา รวมถึงการปราบปรามผู้ก่อการร้ายในที่ต่างๆ จากสภาพของเครื่องบินทำให้เรา
ต้องสูญเสียเครื่องบินแบบนี้ไปอีกหลายเครื่องในระหว่างการฝึงทำการรบและการใช้อาวุธต่างๆ จนกระทั่งในปี ๒๕๔๑ มีเอฟ-๕ เอ เหลือเพียง ๔ เครื่อง
Sel.No.66-9160 , 67-21257 , 63-8371 และ 63-8379 รวมกับ เอฟ-๕ บี เอฟ-๕ อี และ อาร์เอฟ-๕ เอ ย้ายไปบรรจุฝูงบินขับไล่ที่ ๗๑๑
กองบิน ๗๑ สุราษฏ์ฯ ในส่วนของเอฟ-๕ เอ ยังคงสภาพสีเดิมคือพลางเขียวเอาไว้ แต่เปลี่ยนเครื่องหมายฮันเตอร์เป็น SRT ที่แพนหางแทน
และภายหลัง ๕ มีนาคม ๒๕๔๓ เปลี่ยนชื่อเป็น ฝูงบิน ๗๐๑ กองบิน ๗ ตามคำสั่งกองทัพอากาศ เพื่อปรับโครงสร้างกำลังทางอากาศใหม่
ให้กองบินดังกล่าวพร้อมรับการบรรจุฝูงบินต่างๆให้ครบ ๓ ฝูงในอนาคต อย่างไรก็ตาม เอฟ-๕ เอ ก็ได้หยุดพักผ่อนหลังจากที่รับใช้ชาติมาหลายปี
เมื่อกองทัพอากาศมีคำสั่งปลดประจำการในเดือนตุลาคม ๒๕๔๓ ตลอดอายุและเวลาที่รับใช้ชาติ เอฟ-๕ เอได้สนับสนุนภารกิจด้านความมั่นคงของชาติ
ทั้งในประเทศและตามแนวชายแดนแม้จะสูญเสียในระหว่างการรบไปจำนวนหนึ่งก็ตาม ปัจจุบันมี เอฟ-๕ เอ อย่างน้อย สองเครื่องที่ยังคงอนุรักษ์ไว้
ตลอดระยะเวลาตั้งแต่ ปี ๒๕๑๐ ของการประจำการ เอฟ-๕ เอ ในประเทศไทย นั้น กองทัพอากาศไทยได้รับความช่วยเหลือตามโครงการช่วยเหลือทางทหาร
แบบให้ปล่าวจำนวน ๑๗ เครื่อง ( แต่ขึ้นทะเบียนถึงเครื่องที่ ๑๘ ซึ่งจริงๆ บข.๑๘-๙/๑๒ นั้น เป็น เอฟ-๕ ซี Sel.No. 66-9129 )

'''วีรกรรมนักบินไทยเมื่อต้องสูญเสีย เอฟ-๕ เอ ไปถึงสองเครื่องใน สมรภูมิเขาค้อ'''


……………….เสี้ยวหนึ่งของประวัติศาสตร์การบินของสยามประเทศ ที่ผ่านมา ๙๐ ปี เต็มๆ มีหลากหลายทั้งดีใจ เสียใจ สุขใจ และ เศร้าใจแบบสุดๆ
กว่าที่เราจะมีประวัติศาสตร์การบินที่ภาคภูมิใจในวันนี้ เราต้องผ่านร้อน ผ่านหนาวมากมาย ผ่านศึกสงครามเวหามาหลายครั้ง บางครั้งเราได้รับชัยชนะ
บางครั้งเราก็ต้องสูญเสียหลายๆอย่างแลกมาซึ่งชัยชนะ เราต้องสูญเสียนักบิน ตลอดจนผู้ทำการในอากาศสาขาอื่นๆและเครื่องบินหลากหลายแบบ
จำนวนมากในสงครามที่โลกรู้จักและที่โลกลืม หลายคนต้องสูญเสียเพื่อนรัก พี่ น้อง ลูกชาย สามี และพ่อ ไปในสงครามเพื่อปกป้องประเทศ
เราคงจะลืมคนที่เสียสละทุกอย่าง แม้ชีวิต คนที่เราเรียกเขาตอนนั้นว่า "วีระบุรุษ" ผู้ปกป้องสิ่งทุกอย่างที่เรียกรวมกันว่า "ประเทศชาติ"…………………..

ปี พุทธศักราช ๒๕๑๓ เมื่อกองทัพอากาศต้องสูญเสียนักบินและเครื่องบิน เอฟ-๕ เอ เป็นเครื่องแรกในการรบ……
การโจมตีทางอากาศของกองทัพอากาศเพิ่มมากขึ้น มีการใช้เครื่องบินขับไล่ไอพ่นเข้าโจมตีเป้าหมายของ ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ในพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์
นอกเหนือจากการที่เคยใช้เครื่องบินโจมตีใบพัดแบบต่างๆมาหลายปี ในวันที่ ๖ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๑๓ เวลา ๑๒๐๐ กองทัพอากาศมีคำสั่งให้เครื่องบินขับไล่
ไอพ่นแบบ บ.ข.๑๘ หรือ เอฟ-๕ เอ จากฝูงบินขับไล่ยุทธวิธีที่ ๑๓ กองบิน ๑ ดอนเมือง และ เครื่องบินขับไล่ไอพ่นแบบ บ.ข.๑๗ หรือ เอฟ-๘๖ เอฟ
จากฝูงบินขับไล่ยุทธวิธีที่ ๔๓ กองบิน ๔ ตาคลี เข้าโจมตีสองเป้าหมายที่มีการตรวจการณ์พบ เป็นหมู่บ้าน ๔๐ หลัง ซึ่งแหล่งข่าวยืนยันว่าเป็นบ้านพักของ ผกค.
และมีบ้านพักของ ผกค.ระดับชั้นหัวหน้ารวมอยู่ด้วย และอีกเป้าหมายเป็นบ้านถ้ำหวาย จังหวัดเพชรบูรณ์ การโจมตีทางอากาศครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนการชี้เป้าหมาย
จาก เครื่องบินตรวจการณ์แบบ โอ-๑ จาก ฝูงบิน ๗๑ กองบิน ๗ สัตหีบ ขณะเข้าโจมตีทางอากาศ เครื่องบินขับไล่แบบ เอฟ-๕ เอ หมายเลขเครื่อง 1313
( เลข ทอ. บข.๑๘-๓/๑๐ Sel.No.66-9161 ) ถูกฝ่าย ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ยิงตกบริเวณ เขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ ทำให้ เรืออากาศเอกชาญชัย
มหากาญจนะ ซึ่งเป็นนักบินเสียชีวิตภายในเครื่องบิน กองกำลังร่วมได้เข้าทำการช่วยเหลือนักบินที่คาดว่ารอดชีวิต โดยการส่งทั้งเครื่องบินโจมตี เฮลิคอปเตอร์
และกองกำลังทหารภาคพื้นดินของกองกำลังผสมตำรวจ ทหาร พลเรือน ซึ่งในวันต่อมาเมื่อมีการเข้าถึงเครื่องบินและพบศพนักบินผู้เสียสละชีวิตตนเองเพื่อปกป้อง
แผ่นดินไทยในวันนั้นแล้ว ยังพบศพทหารฝ่ายคอมมิวนิสต์จำนวนมากที่เสียชีวิตใกล้จุดที่เครื่องบินตก อย่างไรก็ตาม กองทัพอากาศยังคงส่งเครื่องบินขับไล่แบบ
เอฟ-๕ เอ เข้าโจมตีเป้าหมายต่างๆในเขตงานจังหวัดเพชรบูรณ์อีกหลายภารกิจ และหลายปีจนสงครามสงบ อนึ่งกองทัพอากาศได้ปูนบำเหน็จเลื่อนยศขึ้นเป็น
"นาวาอากาศโท"พร้อมเหรียญกล้าหาญ ให้ เรืออากาศเอกชาญชัย มหากาญจนะ ซึ่งเป็นนักบินที่เสียชีวิต
ปี พุทธศักราช ๒๕๑๙ ก่อนหน้านี้การรบในพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ถูกขยายตัวออกไปยังจังหวัดข้างเคียงและมีการสนับสนุนอาวุธที่ทันสมัยจากประเทศ
ที่ไม่หวังดีต่อประเทศไทย ต้นเดือนกุมภาพันธ์ การรบเป็นไปอย่างดุเดือด หน่วย พตท.๑๖๑๗ (มีอนุสรณ์สถานอยู่ที่ข้างสนามบินจังหวัดเลย) ต้องสูญเสีย
ผบ.หน่วย คือ พ.ท.เจริญ ทองนิ่ม ผบ.พัน.สอ.ที่ ๑ ขณะออกปฏิบัติการรบตามแผนยุทธการดอนเจดีย์ ๒ ในพื้นที่ กองทัพอากาศจึงส่งเครื่องบินเข้าปฏิบัติการ
จำนวนมากและหลายเที่ยวบินขึ้น จนต้องเสียเครื่องบินโจมตีแบบ เอที-๖ ไปหนึ่งเครื่องพร้อมชีวิตนักบิน เรืออากาศโทสมจิตร พงษ์เพชร ในวันที่ ๑๑ เมษายน
ครั้นในวันที่ ๑๑ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๑๙ เวลา ๑๑๑๓ กองทัพอากาศมีคำสั่งให้ ฝูงบินขับไล่ยุทธวิธีที่ ๑๓ กองบิน ๑ ดอนเมือง (ขณะนั้นเริ่มที่จะย้ายกองบิน ๑
ไปอยู่ที่โคราช แล้ว ) เข้าโจมตีเป้าหมายที่ ๒๙ เป็นครั้งที่สองภายหลังจากที่ ๒ เอฟ-๕ เอ ซึ่งมี เรืออากาศเอกชวลิต ขยันกิจ และเรืออากาศโทพงษ์ณรงค์ เกสรศุกร์
เป็นนักบิน ได้เข้าทิ้งระเบิดนาปาล์มไปครั้งหนึ่งเมื่อวันวาน เช้านี้นักบินทั้งสองนายกลับเข้ามาโจมตีซ้ำอีกครั้งโดยเป้าหมายดังกล่าวเป็นหุบเขา และที่พักขนาดใหญ่ของ
ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ประมาณ ๒๓ หลัง โดยมีพื้นที่ทำการเพาะปลูกขนาดใหญ่ ซึ่งอยู่ในเขตเขาค้อ อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ขณะที่ เรืออากาศโท พงษ์ณรงค์
เกสรศุกร์ ซึ่งเป็นหมายเลขสอง ( หมายเลข 1333 เลข ทอ. บข.๑๘-๑๗/๑๗ Sel.No.71-0264 )เข้าโจมตีถูกฝ่ายตรงข้ามยิงอาวุธไม่ทราบชนิด
ในระยะสูงประมาณ ๑,๐๐๐ ฟุต โดยเครื่องบินได้ทำการเลี้ยวซ้ายมุดลงระเบิดในกลางป่าห่างจากเป้าหมายประมาณ ๒ กม. ซึ่งจากการตรวจสอบภาพถ่ายทางอากาศ
ที่เครื่องบินตรวจการณ์แบบ โอวัน ได้ถ่ายภาพมาพบว่าเครื่องบินไฟไหม้ตกลงในหุบเขา เขตบ้านภูชัย เขาค้อ ห่างจากแม่น้ำเข็กราว ๑ กม. และมีลักษณะคล้าย
นักบินดีดตัวออกจากเครื่อง การช่วยเหลือนักบินที่คาดว่ารอดชีวิตจึงเริ่มขึ้น ทั้งทางอากาศและทางภาคพื้นดินได้ถูกปฏิบัติทันที ในขณะนั้น พลตรียุทธศิลป์
เกสรศุกร์ หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการทางยุทธการ กองทัพภาคที่ ๒ ซึ่งเป็นบิดาของนักบินผู้ที่ถูกยิงตก ได้มาร่วมปฏิบัติการค้นหาในครั้งนี้ด้วย การค้นหาและช่วยเหลือ
มีการส่งเครื่องบินและทหารจำนวนมากเข้าไปค้นหาตามพิกัดที่ได้จากการแปลความภาพถ่ายทางอากาศ ซึ่งการปฏิบัติครั้งนี้ฝ่ายตรงข้ามสูญเสียเป็นจำนวนมาก
เนื่องจากฝ่ายเราส่งกำลังทหารหลายชุดเข้าปฏิบัติการ อย่างไรก็ตามฝ่ายตรงข้ามที่แฝงตัวอยู่ภายในจังหวัดพิษณุโลก ได้แจกใบปลิวโจมตีบิดาของนักบินว่าใช้
อำนาจพาคนไปตายเป็นจำนวนมากเพื่อช่วยเหลือลูกชายตนเอง ( แหมตอนนั้นผมเพิ่งจะจบ ป.๔ เอง ถ้าผมเป็นทหารคนหนึ่ง ผมคงจะอาสาไปช่วยตามหา วีระบุรุษ
ผู้สละได้แม้ชีวิตเพื่อชาติคนหนึ่งเหมือนกันหละครับ ) ในช่วงเวลาเดียวกันนั้น หนังสือพิมพ์ เดอะเนชั่น ได้ลงภาพ สหายที่ยืนแอ็คชั่นอยู่ข้างซากเครื่องบิน
เอฟ-๕ ที่ถูกยิงตก ทำให้หน่วยข่าวกรองของเราประเมินได้ว่า ฝ่ายตรงข้ามได้ถอดเอาวิทยุค้นหาออกแล้วเดินออกไปไกลจากเครื่องบิน ทำให้ฝ่ายเราคาดการณ์
ว่านักบินยังมีชีวิตอยู่ จึงไม่ทราบจุดที่ชัดเจนของนักบินเมื่ออยู่ในพื้นที่ป่าทึบ อย่างไรก็ตามแม้ขณะนั้นเราก็ยังสรุปไม่ได้ว่านักบินยังมีชีวิตอยู่หรือสูญเสียชีวิตไปแล้ว
เวลาผ่านไปหลายปีโดยยังมีการรบอยู่จนถึงปีพุทธศักราช ๒๕๒๖ สงครามครั้งนี้จึงสงบล และเมื่อวันที่ ๑๙ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๒๖ ภายหลังสงครามสงบนั้นเอง
ได้มีชาวม้งสองคน ชื่อนายช่อ แซ่ลี หรือ สหายสามารถ และ นายแย๊ะ แซ่ลี หรือ สหายพิชัย ได้เข้ามาติดต่อกับทหารอากาศที่ชุดสนับสนุนทางอากาศโดยตรงที่ ๓๓๑
ว่าได้เป็นผู้ฝังศพนักบิน เรืออากาศโทพงษ์ณรงค์ เกสรศุกร์ ที่เสียชีวิต ซึ่งเขาเล่าว่าสภาพศพนั้นเริ่มเน่าอยู่ในลักษณะนอนหงาย จึงคาดว่าดีดตัวออกจากเครื่องบินแล้ว
แต่งชุดบินอยู่ครบ มีสิ่งของประกอบด้วยนาฬิกา เงิน ๑,๕๐๐ บาท วิทยุสนาม ปืนพก และรูปถ่ายหญิงสาว โดยชาวม้งได้ทำการฝั่งศพใกล้กับซากเครื่องบินราว ๑๐ เมตร
ในวันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๑๙ ภายหลังจากที่เขาเข้าไปยังซากเครื่องบินที่เดิมมีทหารฝ่าย ผกค.เต็มไปหมดได้ ทางเจ้าหน้าที่ทหารอากาศได้เข้าไปตรวจสอบและขุดศพนักบิน
ที่ยังคงอยู่ในชุดบินกลับมาทำพิธีทางศาสนาต่อไป โดยกองทัพอากาศได้ปูนบำเหน็จเลื่อนยศขึ้นเป็น "นาวาอากาศตรี" ส่วนซากเครื่องบินส่วนหนึ่งได้นำไปตั้งแสดงอยู่ที่ ฐานอิทธิ
บนเขาค้อ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอนุสรณ์ของ พลเรือน ตำรวจ ทหาร ที่เสียชีวิตในการรบที่เขาค้อ เพื่อปกป้องแผ่นดินไทยของเรา…………………………..



........................................................................

'''เครื่องบินฝึกขับไล่เอฟ-๕ บี ( บข.๑๘ ก.)
..................................โดย…พ.อ.อ.รัชต์ รัตนวิจารณ์'''

เมื่อกล่าวถึงเครื่องบินขับไล่ไอพ่นแบบ เอฟ-๕ เอ โดยที่มองข้ามไม่กล่าวถึงเครื่องบินฝึกขับไล่สองที่นั่งแบบ เอฟ-๕ บี ที่มีอายุมากกว่า ๓๗ ปี
โดยเฉพาะเครื่องบิน เอฟ-๕ บี เครื่องแรกของโฑลกที่อยู่ในประเทศไทยแล้วหละก็ ปัจจุบันแม้ว่าจะยังไม่ถึงเวลาหยุดพักผ่อนของเครื่องบินรุ่นนี้ แต่ผมก็จะขอแนะนำ
ให้รู้จักกับเครื่องบินขับไล่แบบนี้ เพื่อให้เรื่องราวของเครื่องบินขับไล่ในตระกูล ฟรีดอมไฟร์ทเตอร์ ที่ประกอบด้วย เอฟ-๕เอ / บี / ซี และ อาร์เอฟ-๕ เอ ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
เพราะบังเอิญว่าผมเคยตั้งใจแล้วว่าคอลัมน์มีความประสงค์เหลือเกินที่จะนำเสนอเฉพาะเครื่องบินที่ปลดประจำการไปแล้ว เอาเป็นว่าผมขอแนะนำให้ทุกท่านได้รู้จักกับ
เครื่องบินขับไล่ของกองทัพอากาศไทย…..แบบ…………( ขอเสียงตบมือต้อนรับด้วยอีกสักครั้งครับ…)….


เครื่องบินฝึกขับไล่ไอพ่นความเร็วเหนือเสียง แบ เอฟ-๕ บี จัดเป็น บ.ขับไล่สมรรถนะสูงความเร็วเหนือเสียงแบบแรกที่ได้บรรจุเข้า
ประจำการใน ทอ. ซึ่งผลิตโดยบริษัท NORTHROP (USA) ใช้เป็นเครื่องบินฝึกขับไล่ ขับไล่ทิ้งระเบิดและลาดตระเวน ความเร็วเหนือเสียง ความเร็วสูงสุด 1.40 มัค
หรือประมาณ 1,750 กม./ชม. รัศมีทำการรบ 925 กม. ติดตั้งปืนกลอากาศขนาด 20 มม. 2 กระบอก แต่ละกระบอกบรรจุกระสุน 280 นัด สามารถติดตั้ง
จรวดนำวิถีอากาศสู่อากาศแบบ AIM-9 ได้ 2 นัด และสามารถติดตั้งลูกระเบิดแบบต่าง ๆ ได้อีก 5 ตำแหน่ง เครื่องต้นแบบของ เอฟ-๕ เครื่องแรกของโลกได้ทำการบิน
เมื่อวันที่ 30 ก.ค.2502 ที่สหรัฐฯ ได้รับสมญานามว่า FREEDOM FIGHTER และสำหรับ เอฟ-๕ บี เครื่องบินขับไล่ฝึกสองที่นั่งเรียงตามกัน เครื่องแรกของโลกนั้น
( Sel.No.63-8438 ) ได้ทำการครั้งแรกในวันที่ 24 ก.พ.2507 ที่สหรัฐเช่นกันนับจากวันนั้น จวบจนกระทั่งปัจจุบันมีอายุการใช้งานถึง 37 ปีโดยมีชั่วโมงบิน
ประมาณ 5,400 ชั่วโมงแล้ว
เอฟ-๕ บี เป็นเครื่องบินขับไล่ไอพ่น เอฟ-๕ ที่มีสองที่นั่ง ใช้ในการฝึกบินเปลี่ยนแบบ และบินขับไล่ โดยที่นั่งหลังหรือที่นั่งครูการบินจะถูกยก
ให้สูงขึ้น 10 นิ้ว เพื่อประโยชน์ในการมองไปข้างหน้าเพิ่มขึ้น รูปร่างและสมรรถนะของเครื่องโดยทั่วไปจะเหมือนกับ เอฟ-๕ เอ ที่นั่งเดียว จะแตกต่างอยู่ที่ส่วนหัว
เครื่อง เอฟ-๕ บี จะไม่ติดตั้งปืนกลอากาศ แต่ยังคงสามารถปฏิบัติการบินรบได้เช่นเดียวกับ เอฟ-๕ เอ ยกเว้นปืนกลอากาศเท่านั้น
กองทัพอากาศไทยรับมอบเอฟ-๕บี ชุดแรกในปลายปี ๒๕๐๙จำนวน ๒ เครื่อง Sel.No.63-8438 และ 63-8439เดิม เอฟ-๕ บี สองเครื่องนี้เป็นเครื่องบินฝึก
ของกองทัพอากาศสหรัฐฯมาก่อน โดยใช้สีบรอนซ์เงิน มีเพียงหมายเลขเครื่องที่หางและธงชาติไทยเท่านั้น ในภายหลังเพิ่มลายหางสีแดงพร้อมสายฟ้าและ
เสือโคร่งกระโจมที่หัวเครื่อง เดิมกองทัพอากาศกำหนดชื่อเป็น " บฝข.๑๘ " (ข้อมูลอ้างอิงจากหนังสือ นิตยสารการบิน กองบินยุทธการ กองทัพอากาศ
ฉบับที่ ๑๐ ประจำ ตุลาคม ๒๕๑๐ ) บรรจุเข้าประจำการก่อน เอฟ-๕เอ ในฝูงบินขับไล่ที่ ๑๓ กองบิน ๑ ดอนเมือง(ขณะนั้นตั้งอยู่ที่ฝั่งการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย)
เพื่อใช้ฝึกนักบิน เอฟ-๘๔ จี และ เอฟ-๘๖ เอฟ/แอล ที่จะมาบินกับเอฟ ๕เอในต้นปี ๒๕๑๐ กองทัพอากาศได้รับมอบเอฟ-๕เอจากรัฐบาลสหรัฐฯ
ตามโครงการช่วยเหลือทางทหารแบบให้เปล่าต่อพันธมิตรทางทหาร ทั้งหมดบรรจุเข้าประจำการที่ฝูง ๑๓ ดังนั้นจึงมีการกำหนดชื่อ เอฟ-๕ บี
เรียกตามแบบ ทอ.ไทยใหม่ว่า "บข.๑๘ ก." กำหนดหมายเลขเครื่องทั้งสองเป็น 1301 และ 10302 ( 63-4838 และ 63-4839 ตามลำดับ )
ตั้งแต่นั้นมา อนึ่งในวันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๑๐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร ได้เสด็จทรงเยี่ยม
กองบิน ๑ ดอนเมือง และในโอกาสนี้ น.อ.บุญสม อยู่ออมสิน ได้กราบทูลเชิญสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ เปลี่ยนฉลองพระองค์เป็นชุดนักบินและประทับ
บนที่นั่งหน้าของเครื่องบินฝึกขับไล่ไอพ่นแบบ เอฟ-๕ บี หมายเลข 1302 (Sel.No.63-4839 ) ได้รับการถวายคำอธิบายเกี่ยวกับการติดเครื่อง
การขับเคลื่อน ฯลฯ พระองค์เมื่อทรงประทับแล้วได้ทรงทำการติดเครื่องและทำการขับเคลื่อนไปตามลานจอด ด้วยพระองค์เอง แม้จะมิได้บินขึ้นสู่ท้องฟ้า
แต่ก็นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณล้นกระหม่อมหาที่สุดไม่ได้ สร้างความปลื้มปิติยินดีและยังคงอยู่ในความทรงจำของชาวกองทัพอากาศไม่รู้ลืม…
ในปี ๒๕๑๙ กองทัพอากาศรับมอบเครื่องบินขับไล่แบบ เอฟ-๕ บี อีกหนึ่งเครื่อง ( Sel.No.73-1609 กำหนดหมายเลขเป็น 1303 )
แต่ในปีเดียวกันนี้ทั้งสามเครื่องย้ายไปอยู่ที่ตั้งใหม่ กองบิน ๑ นครราชสีมา ( ร่วมกับกองบินที่ ๓๘๘ ของกองทัพสหรัฐฯ ) จึงกำหนดชื่อฝูงใหม่เป็น
ฝูงบินขับไล่ที่ ๑๐๓ กองบิน ๑ ช่วงนี้ในระยะแรกยังคงใช้สีเดิมเครื่องหมายเดิมเปลี่ยนเพียงหมายเลขฝูงจากเลข ๔ หลักเป็น ๕ หลัก ในปีเดียวกันนี้
กองทัพอากาศต้องสูญเสียเครื่องบิน เอฟ-๕ บี เครื่องหมายเลข ๒ หมายเลขฝูง 1302 ( Sel.No.63-8438 )ไปในระหว่างการฝึกบินเหนือสนามบิน
พร้อมชีวิตครูการบิน และ ศิษย์การบิน คือ ร.ท.ปรีชากร พันธ์นิล และ ร.อ.ศรเดช ศิริมงคล เมื่อวันที่ ๑๔ ก.ย. ๑๙ เวลา ๑๔๑๓ อันเนื่องมาจากจะต้อง
สร้างนักบินใหม่ๆของฝูงบินเองและเพื่อให้สามารถส่งไปทำการบินกับเครื่องบินขับไล่แบบ เอฟ-๕ อี ที่มีสมรรถสูงกว่าซึ่งกำลังจะรับมอบในปีถัดไป (๒๕๒๑ )
การขาดแคลนเครื่องบินฝึกหรือการมีเครื่องบินฝึกขับไล่เพียงแค่สองเครื่องกับนักบินฝูง ๑๐๓ ที่มีมาก และที่สำคัญคือการที่จะต้องสร้างนักบินใหม่ๆเพื่อให้
สามารถส่งไปทำการบินกับเครื่องบินขับไล่แบบ เอฟ-๕ อี ที่มีสมรรถสูงกว่าดังกล่าว เครื่องบิน เอฟ-๕ บี ทั้งสองเครื่องที่เหลือในช่วงนี้เปลี่ยนสีเป็นสีพลาง
ท้องขาวแบบเดียวกับ เอฟ-๕ เอ และ เอฟ-๕ ซี โดยยังคงเครื่องหมายรูปเสือเอาไว้ที่เดิม ในปี ๒๕๒๕ ภายหลังจากส่ง น.ท.อมร แนวมาลี (อดีต ผบ.ทอ. )
ตำแหน่งขณะนั้นเป็นเสนาธิการกองบิน ๑ ไปทำการทดสอบเครื่องบินเอฟ-๕ บี ของ กองทัพอากาศมาเลเซีย ดังนั้น กองทัพอากาศจึงจัดซื้อเครื่องบินแบบ
เอฟ-๕บี ทั้ง ๒ เครื่อง จาก ทอ.มาเลเซีย เพื่อใช้ฝึกบินดังกล่าว (Sel.No.74-0778 และ 74-0779 กำหนดหมายเลขฝูงเป็น 10302 เพื่อทดแทน
หมายเลขเครื่องที่ตก และ 10304 ตามลำดับ ) ทั้งสองเครื่องใช้สีเทาอมเงิน ที่ส่วนหัวมีการพ่นแล็คเกอร์ไว้อย่างหนาเพื่อป้องกันสีลอกจากการเสียดสี
กับอากาศขณะบินด้วยความเร็วสูง ภายหลังต่อมาเปลี่ยนเป็นสีเขียวขี้ม้าล้วนๆ เมื่อ เอฟ-๕ ฝูง ๑๐๓ ทั้งหมดย้ายไปอยู่ ฝูง ๒๓๑ กองบิน ๒๓ อุดร ตั้งแต่
ปี ๒๕๒๘ แต่เนื่องจากสนามบินอุดร ปิดซ่อม เครื่องบินทั้งหมดจึงย้ายไปอยู่อุดรจริงๆ ในปลายปี ๒๕๒๙ จึงมีเอฟ-๕ บี บางเครื่องยังคงรูปเสือ แต่เป็นลายสีดำ
แห่งถิ่นถ่ำเสือไว้เป็นที่ระลึกอยู่ระยะหนึ่ง…ในปี ๒๕๓๐ มีการจัดซื้อเครื่องบิน เอฟ-๕ บี เพิ่มอีกสองเครื่อง จากสหรัฐฯ เพื่อใช้ฝึกนักบิน หลังจากนั้นมีการจัดหา
จากสหรัฐฯเป็นเครื่องบินสีเทาขาว คาดสีดำที่ห้องนักบิน และช่วงระยะแรกยังคงเครื่องหมาย LA ที่แพนหางไว้ระยะหนึ่งภายหลังลบออกแล้วพ่นเครื่องหมาย HUNTER
เมื่อเครื่องพร้อมใช้งาน ช่วงระยะแรกๆของ เอฟ-๕ ที่อยู่กองบินนี้มีการใช้เครื่องหมายที่แพนหางสองในช่วงแรกเป็นรูปหัวเยี่ยวสัญลักษณ์กองบิน ๒๓
เดิมและเปลี่ยนเป็นเครื่องหมายฮันเตอร์
ประวัติการรบอันกล้าหาญของ เอฟ-๕ บี นอกจากการใช้อาวุธสนับสนุนระหว่างการปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์แล้ว ในปี ๒๕๓๑
ระหว่างการรบในกรณีพิพาทเหตุการณ์บ้านร่มกล้า อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก เอฟ-๕บี ของฝูงบินขับไล่ที่ ๒๓๑ จำนวน ๔ เครื่อง
เข้าโจมตีที่มั่นฝ่ายตรงข้าม ในวันที่ ๑๓ ก.พ. ๒๕๓๑ (วันเดียวกับที่กองทัพอากาศสูญเสีย เครื่องบินโจมตีแบบ โอวี-๑๐ ซี ) วันนั้น เอฟ-๕ บี
ของฝูงบิน ๒๓๑ ที่มี น.ต.ธีระพงษ์ วรรณสำเริง และ ร.ต.ณฤทธิ์ สุดใจธรรม ถูกจรวดต่อสู้อากาศยานแบบ แซม ๗ ยิงเข้าที่เครื่องยนต์ขวาได้รับความเสียหาย
แต่นักบินทั้งสองนายก็สามารถนำเครื่องบินกลับมาลงที่อุดรได้อย่างปลอดภัย ( 23102 Sel.No.74-0779 ) ซึ่งภายหลังทั้งสองท่านได้รับพระราชทานเหรียญกล้าหาญ
ส่วนเครื่องบินเอฟ-๕ บี เครื่องดังกล่าวก็สามารถซ่อมบำรุงและกลับเข้ามารับใช้ชาติได้เหมือนเดิม
เอฟ-๕ บี เครื่องแรกของโลก ในปี ๒๕๓๙ กองบิน ๒๓ ได้จัดงานฉลองเครื่องบิน เอฟ-๕ บี เครื่องแรกของโลก ( 63-4838 )ในโอกาสครบรอบ ๓๐ ปี
ที่ประจำการในกองทัพอากาศไทย โดยมีการเขียนเครื่องหมายและรวดลายที่สวยงาม จนกระทั่งในปี ๒๕๔๑ เอฟ-๕บี ที่เหลือเพียง ๓ เครื่องจากทั้งหมด ๗ เครื่อง
( ๑ เครื่องเกิดอุบัติเหตุตก , ๑ เครื่องอุบัติไฟไหม้เครื่องยนต์ขณะเติมน้ำมัน และ ๒ เครื่อง หมดอายุการใช้งานโดยมีชั่วโมงถึง ๖,๐๐๐ ชั่วโมง ) ที่เหลือเพียง ๓ เครื่อง
ประกอบด้วย 63-8438 , 74-0778 และ 74-0779 ย้ายไปบรรจุฝูงบินขับไล่ที่ ๗๑๑ กองบิน ๗๑ สุราษฏ์ฯ ยังคงใช้สีพลางเขียวเช่นเดิม แต่ในปี ๒๕๔๓ เปลี่ยนชื่อ
ฝูงบินเป็น ฝูงบิน ๗๐๑ กองบิน ๗ แทน ตามคำสั่งกองทัพอากาศ โดยทั้งหมดเปลี่ยนสีเป็น สีพลางเทา เช่นเดียวกับเอฟ-๕ อี ฝูง ๗๐๑ ในปี ๒๕๔๔ กองบิน ๗ ได้จัดงาน
ฉลองเครื่องบิน เอฟ-๕ บี เครื่องแรกของโลก ( 63-8438 )ในโอกาสครบรอบ ๓๗ ปี ที่สร้างขึ้นมา ถือเป็นเอฟ-๕ เครื่องที่เก่าแก่ที่สุดในโลกที่ยังคงประจำการอยู่
ตลอดอายุและเวลาที่รับใช้ชาติ เอฟ-๕ บี ได้สนับสนุนภารกิจด้านความมั่นคงของชาติทั้งในประเทศและตามแนวชายแดนแม้จะสูญเสียในระหว่างการรบไปจำนวนหนึ่งก็ตาม
เอฟ-๕ บี เคยประจำการอยู่ที่ ฝูง ๑๓ , ฝูงบินที่ ๑๐๓ , ฝูงบินที่ ๒๓๑ , ฝูงบินที่ ๗๑๑ และปลดประจำการในฝูงสุดท้ายที่ฝูงบิน ๗๐๑
เครื่องบินขับไล่แบบ เอฟ-๕ บีของกองทัพอากาศไทย

บ.F-5A/B ที่ ทอ.ได้รับมานั้น เริ่มบรรจุครั้งแรกที่ฝูงบิน 13 กองบิน 1 ดอนเมือง (ปี 2509) ใช้นามเรียกขานว่า LIGHTNING ในปี 2519 ได้เริ่มย้าย บ.F-5A/B
จากฝูงบิน 13 กองบิน 1 ดอนเมือง ไปสังกัด ฝูง 103 กองบิน 1 จ.นครราชสีมา ใช้นามเรียกขาน LIGHTNING เหมือนเดิมการเคลื่อนย้ายได้เสร็จสิ้นสมบูรณ์ในปี 2521
ในปี 2529 ทอ.ได้ปรับวางกำลังใหม่ โดยให้ย้าย บ. F-5A/B จากฝูงบิน 103 ฯ ไปสังกัดฝูงบิน 231 กองบิน 23 จ.อุดรธานี และได้เปลี่ยนนามเรียกขานใหม่เป็น
"HUNTER" ในปี 2541 ได้ย้าย บ.F-5A/B จากฝูง 231 กองบิน 23 จ.อุดรธานี ไปสังกัดฝูง 701 กองบิน 7 จ.สุราษฎร์ธานีรวมกับ บ.F-5E ที่มีอยู่เดิมและ
ได้ใช้นามเรียกขานเป็น "SHARK" ในปี 2543 ทอ.ได้ปลดประจำการ บ.F-5A แต่ยังคงใช้งาน บ.F-5B ที่มีอยู่จำนวน 3 เครื่องและ RF-5A อีก 1 เครื่องต่อไป




บข. ๑๘ ก. เอฟ-๕ บี ฟีร์ดอมไฟเตอร์ ( F-5 B Feedom Fighter )


ผู้สร้าง......บริษัทนอร์ธรอป แอร์คราฟท์ ประเทศสหรัฐอเมริกา

ประเภท.....เครื่องบินไอพ่นฝึกขับไล่ทิ้งระเบิด ความเร็วเหนือเสียง สองนั่งเดียว

เครื่องยนต์...เครื่องยนต์เทอร์โบเจ็ตแฝดแบบ เจเนอรัล อิเลคทริค เจ-๘๕ จีอี-๑๓ ให้แรงขับ ๔,๐๘๐ ปอนด์เมื่อใช้สันดาปท้าย ๒ เครื่อง

กางปีก..... ๗.๘๗ เมตร

ยาว........๑๔.๑๒ เมตร

สูง.........๓.๙๘ เมตร

อัตราเร็วสูงสุด..๑,๔๓๔ กิโลเมตร ต่อ ชั่วโมง ( ๑.๓๔ มัค )

เพดานบิน.....๑๕,๘๕๐ เมตร

พิสัยบินไกลสุด..๒,๐๙๒ กิโลเมตร

รัศมีทำการรบ...๙๑๗ กิโลเมตร เมื่อติดอาวุธหนัก ๑,๕๐๐ ปอนด์ พร้อมถังน้ำมันอะไหล่

อาวุธ.........@ลูกระเบิดขนาดต่างๆมีน้ำหนักรวม ๖,๒๐๐ ปอนด์ ที่ใต้ปีก และลำตัว ๕ ตำแหน่ง

@จรวดนำวิถีแบบ เอไอเอ็ม ๙ ไซด์ไวน์เดอร์ ข้างละลูกที่ปลายปีกทั้งสองข้าง

@กระเปาะถ่ายภาพแบบ ทอ. พัฒนาเอง ที่ใต้ลำตัวในภารกิจลาดตระเวณ

ประจำการ...............บรรจุประจำการใน ทอ. ปี พ.ศ.๒๕๐๙ - ปัจจุบัน





รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:23, 24 พฤศจิกายน 2550

ไฟล์:F-5 flying.jpg
เอฟ-5อี ไทเกอร์ทูว์

เอฟ-5 ฟรีดอมไฟเตอร์ (F-5 Freedom Fighter) เป็นเครื่องบินขับไล่ของสหรัฐอเมริกา เริ่มออกแบบเมื่อปี พ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1962) โดยบริษัทนอร์ธรอป


ประวัติ

ในช่วงปลายสงครามเวียดนาม กองทัพอากาศสหรัฐอเมริกาได้พบว่าเครื่องบินขับไล่ทางยุทธศาสตร์ขนาดใหญ่แบบเอฟ-111 ได้กลายเป็นเป้าซ้อมปืนและจรวดให้กับนักบินมิก-21 อย่างมันมือ ด้วยความใหญ่และหนักของเอฟ-111 ไม่อาจสร้างความได้เปรียบในการรบแบบติดพัน (Dog Fight) ได้ ดังนั้นเอฟ-111 จึงถูกเปลี่ยนภารกิจให้เป็นเครื่องบินทิ้งระเบิดขนาดเบาและออกปฏิบัติการภายใต้การคุ้มกันของเครื่องบินขับไล่แบบเอฟ-4 ซึ่งเป็นเครื่องบินขับไล่ขนาด 2 ที่นั่ง ซึ่งว่าไปแล้วก็ยังมีขนาดใหญ่อยู่ดี และจะต้องใช้ถึงสองเครื่องในการไล่ต้อนมิก-21 ที่แสนจะปราดเปรียว ซึ่งในการดวลกันตัวต่อตัวระหว่างเอฟ-4 กับมิก-21 นั้น ส่วนใหญ่มิก-21 จะบินหลบหนีไปได้

ความต้องการเครื่องบินขับไล่ขนาดเบาเพื่อต่อกรกับมิก-21 อย่างสูสี ทำให้เอฟ-5 เอของบริษัทนอร์ธรอปซึ่งแต่เดิมถูกจัดวางไว้ในฐานะเครื่องบินลาดตระเวนโจมตีเบาและตรวจการณ์ถ่ายภาพทางอากาศเช่นเดียวกับเครื่องเอ-4 ถูกจับตามองด้วยความสนใจ เพราะเอฟ-5 เป็นเครื่องบินเบาที่มีท่วงท่าการบินและความปราดเปรียวคล่องตัวที่ใกล้เคียงกับมิก-21 มากที่สุด ดังนั้นบริษัทนอร์ธรอปจึงได้รับสั่งให้อัพเกรดเครื่องเอฟ-5 เป็นเครื่องบินขับไล่เบา

เครื่องเอฟ-5 ได้รับการปรับปรุงโดยการขยายโครงสร้างให้ใหญ่และยาวขึ้นกว่าเดิมประมาณ 15 เปอร์เซ็นต์ ใช้เครื่องยนต์ของเยเนอรัล อิเลคทริครุ่นใหม่ที่มีแรงขับดันสูงขึ้น ติดเรดาห์ที่มีขีดความสามารถจับเป้าหมายได้อย่างแม่นยำในระยะ 15 ไมล์ สามารถยิงจรวดอากาศสู่อากาศนำวิถีด้วยอินฟราเรดแบบเอไอเอ็ม-9 และเรียกเอฟ-5 รุ่นนี้ว่าเอฟ-5 อี ไทเกอร์ทูว์

เอฟ-5 อี ถูกส่งเข้าประจำการในเวียดนามใต้เพียงไม่กี่ร้อยเครื่องและยังไม่ทันได้ประมือกับมิก-21 สหรัฐอเมริกาก็ยอมถอนตัวออกจากสงครามเวียดนามพร้อมกับทิ้งเอฟ-5 อี จำนวน 350 เครื่องไว้ในเวียดนาม ปัจจุบันรัฐบาลเวียดนามได้เก็บรักษาเอฟ-5 อี ไว้ในอนุสรณ์สถานสงครามเวียดนามเพียงไม่กี่เครื่องและทิ้งส่วนที่เหลือให้ชำรุดผุพังไปตามกาลเวลา เนื่องจากไม่มีการซ่อมบำรุงและอะไหล่สนับสนุน

สหรัฐอเมริกาเองก็ยังคงใช้งานเอฟ-5 อี มาจนถึงปัจจุบัน โดยใช้ในสามภาระกิจคือ เป็นเครื่องบินข้าศึกสมมุติในการฝึกหลักสูตรท็อปกัน (TOP GUN) เพราะเอฟ-5 อี มีลักษณะการบินที่ใกล้เคียงกับเครื่องบินขับไล่มิกของรัสเซียมาก ใช้เป็นเครื่องบินสังเกตการณ์การบินของอากาศยานทดลองและใช้ฝึกนักบิน โดยใช้ที-38 แต่ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นที-45 ของอังกฤษแล้ว กองทัพอากาศไทยก็ได้ทำการปรับปรุงเอฟ-5 อี ในประจำการให้มีขีดความสามารถในการรบเพิ่มขึ้น โดยการเปลี่ยนเรดาห์ให้สามารถจับเป้าข้าศึกได้ในระยะ 25 ไมล์ เพิ่มจอฮัด (HUD) ติดระบบนำร่องแบบทาแคนซึ่งเอฟ-5 อีของกองทัพอากาศไทยเมื่อปรับปรุงแล้ว จึงมีขีดความสามารถในการยิงจรวดนำวิถีแบบไพธอน 4 เพิ่มขึ้นจากเดิมที่ยิงเอไอเอ็ม-9 ได้แบบเดียวเท่านั้น

เครื่องบินขับไล่เบาที่เป็นอมตะที่สุดในโลกนี้ (ยังคงประจำการในกองทัพของประเทศผู้ผลิตจนถึงปัจจุบัน) นอกจากมิก-21 แล้ว มีเพียงเอฟ-5 อีคู่ปรับที่ไม่เคยเจอกันเลยตลอดกาล

รุ่นของเอฟ-5

  • F-5A
  • F-5B
  • F-5C Skoshi Tiger
  • F-5D
  • F-5E Tiger II
  • F-5F Tiger II
  • F-5G ต่อมาคือเอฟ-20
  • F-5N
  • F-5S
  • F-5T
  • RF-5A
  • RF-5A(G)
  • RF-5E Tigereye
  • YF-5

เหตุการณ์ในประเทศไทย

ปี พ.ศ. 2512 กองทัพอากาศไทยได้รับเอฟ-5 เอจากกองทัพสหรัฐอเมริกาจำนวน 5 เครื่องและเมื่อสหรัฐอเมริกาถอนตัวจากสงครามเวียดนาม นักบินสหรัฐอเมริกาได้นำเอฟ-5 อีจำนวน 3 เครื่องบินหนีจากเวียดนามมาลงที่สนามบินอู่ตะเภา ซึ่งเอฟ-5 อีทั้ง 3 เครื่องนี้สหรัฐอเมริกาได้นำกลับไปด้วย

ปี พ.ศ. 2513 กองทัพอากาศไทยขออนุมัติรัฐบาล จัดซื้อเครื่องบินขับไล่เอฟ-5 อีและเอฟ-5 เอฟจากสหรัฐอเมริกาจำนวน 12 เครื่องและได้รับเครื่องบินเข้าประจำการครบฝูงในปี พ.ศ. 2515 โดยใช้ชื่อเครื่องบินขับไล่แบบที่ ๑๘ ข (บ.ข.๑๘ ข) หลังจากนั้นก็ได้มีการจัดซื้อเพิ่มเติมเรื่อย ๆ จนถึงในปัจจุบันกองทัพอากาศไทยมีเอฟ-5 อีมากกว่า 90 เครื่อง

เอฟ-5 ที่ประจำการในประเทศไทย

  • F-5A ใช้ชื่อเครื่องบินขับไล่แบบที่ ๑๘ (บ.ข.๑๘)
  • F-5B ใช้ชื่อเครื่องบินขับไล่แบบที่ ๑๘ ก (บ.ข.๑๘ ก)
  • F-5E ใช้ชื่อเครื่องบินขับไล่แบบที่ ๑๘ ข (บ.ข.๑๘ ข)
  • F-5F ใช้ชื่อเครื่องบินขับไล่แบบที่ ๑๘ ค (บ.ข.๑๘ ค)
  • RF-5A ใช้ชื่อเครื่องบินตรวจการณ์ขับไล่แบบที่ ๑๘ (บ.ตข.๑๘)

รายละเอียด เอฟ-5

  • ผู้สร้าง บริษัท นอร์ธรอป แอร์คราฟท์ (สหรัฐอเมริกา)
  • ประเภท เจ๊ตขับไล่ยุทธวิธีที่นั่วเดียว
  • เครื่องยนต์ เทอร์โบเจ๊ต เจเนอรัล อีเล็กตริค เจ 85-ยีอี-21 ให้แรงขับเครื่องละ 1,588 กิโลกรัม และ 2,268 กิโลกรัม เมื่อสันดาปท้าย 2 เครื่อง
  • กางปีก 8.13 เมตร
  • ยาว 14.68 เมตร
  • สูง 4.06 เมตร
  • พื้นที่ปีก 17.29 เมตร
  • น้ำหนักเปล่า 4,346 กิโลกรัม
  • น้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด 11,192 กิโลกรัม
  • อัตราเร็วสูงสุด ไม่เกิน 1,314 กิโลเมตร/ชั่วโมง เมื่อมีน้ำหนักปฏิบัติการรบ 6,010 กิโลกรัม
  • อัตราเร็วขั้นสูง 1.63 มัค ที่ระยะสูง 10,975 เมตร เมื่อเครื่องบินหนัก 10,975 กิโลกรัม
  • เพดานบินใช้งาน 15,790 เมตร
  • รัศมีทำการรบ 917 กิโลเมตร
  • พิสัยบิน 2,943 กิโลเมตร เมื่อติดตั้งถังเชื้อเพลิงชนิดปลดทิ้งได้
  • อาวุธ ปืนใหญ่อากาศขนาด 20 มม. M-39 A2/A3 ติดตั้งที่ลำตัวส่วนหัว 2 กระบอกพร้อมกระสุนกระบอกละ 280 นัด
    • อาวุธปล่อยอากาศสู่อากาศ เอไอเอ็ม-9 เจ ไซด์ไวน์เดอร์ ติดตั้งที่ปลายปีก ข้างละ 1 แห่ง
    • ลูกระเบิดสังหาร ลูกระเบิดทำลาย ลูกระเบิดเนปาล์ม ลูกระเบิดพวง
    • จรวดขนาด 2.95 นิ้ว
    • สามารถติดตั้งอาวุธที่ใต้ปีกได้ข้างละ 2 แห่ง และ ใต้ลำตัว 1 แห่ง รวมเป็นน้ำหนักสูงสุด 3,175 กิโลกรัม

[1]



อ้างอิง

  1. อภิวัตน์ โควินทรานนท์,อากาศยาน1979ฉบับเครื่องบิน,เอวิเอชั่น ออบเซิร์ฟเวอร์,กรุงเทพ,2522