ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัดมิ่งเมือง"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Supotmails (คุย | ส่วนร่วม)
→‎ลำดับเจ้าอาวาส: ไม่ใช่ hi5 ของท่าน
บรรทัด 49: บรรทัด 49:
๔. ท่านเจ้าคุณ พระปัญญากรโมลี พ.ศ. ๒๔๙๖-๒๕๔๓
๔. ท่านเจ้าคุณ พระปัญญากรโมลี พ.ศ. ๒๔๙๖-๒๕๔๓


๕. [พระครูโสภณศิลปาคม] http://changmub2.hi5.com พ.ศ. ๒๕๔๓ ถึงปัจจุบัน
๕. พระครูโสภณศิลปาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ ถึงปัจจุบัน


== ติดต่อประสานงาน ==
== ติดต่อประสานงาน ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:21, 26 พฤษภาคม 2562

วัดมิ่งเมือง

สถานที่ตั้ง

วัดมิ่งเมือง ตั้งอยู่เลขที่ ๑๙๖ ถนนบรรพประการ ตำบลเวียง อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ภาค ๖

อาณาเขต

พื้นที่ตั้งวัดมีเนื้อที่ ๒ ไร่ ๓ งาน ๔๐ ตารางวา

ทิศเหนือ ติดกับถนนส่วนบุคคล

ทิศใต้ ติดกับถนนบรรพปราการ (แต่เดิมเป็นแนวกำแพงเมืองเก่า) อยู่ด้านตรงข้ามโรงเรียนสามัคคีวิทยาคม

ทิศตะวัดออก ติดกับถนนไตรรัตน์

ทิศตะวันตก ติดกับมูลนิธิสาธารณกุศลสงเคราะห์จังหวัดเชียงราย

ประวัติ

วัดมิ่งเมือง ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๓ เดิมเป็นวัดไทยใหญ่ สร้างสมัยใดไม่ทราบ ได้ร้างไปในยุคพม่าครองเมือง ในช่วงเก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมืองได้มีการกวาดต้อนผู้คนมาฟื้นฟูเมืองเชียงราย ได้มีการขุดดินเพื่อนำไปเผาอิฐสร้างกำแพงเมืองในสมัยเจ้าอุ่นเรือน ขุดลงไปจนมีน้ำชั้นผิวดินออกมาเป็นบริเวณกว้าง มีการนำช้างชักลากของ และพักเล่นน้ำ ชาวบ้านเรียกว่า หนองช้างมูบ ราวๆ ปี พ.ศ. 2420 ได้มีการสร้างวัดขึ้น โดยคณะศรัทธาชาวเงี้ยว (ไทใหญ่) ที่อยู่ภายใต้อาณัติของอังกฤษมาค้าขาย และตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณ จำปาสี่ต้น (ปัจจุบันคือบริเวณโรงแรมแสนภูเพลส) ได้สร้างวัดขึ้น บนพื้นที่วัดร้างเดิม ซึ่งมีบริเวณกว้างขวางมาก หน้าหนองช้างมูบ จึงเรียกชื่อวัดว่า "วัดช้างมูบ" ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น วัดมิ่งเมือง วัดนี้ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับพระนางปายโค พระญามังราย หรือพระนางเทพคำขร่าย แต่อย่างใด ตามที่มีผู้กล่าวอ้างไว้

โบราณสถานและโบราณวัตถุในวัด

องค์พระประธาน เป็นพระพุทธรูปปั้น ลงรักปิดทองทั้งองค์ เป็นศิลปะเชียงแสนสิงห์ ๑ ซึ่งได้ทำการซ่อมแซมมาถึง ๔ ครั้งมีอายุถึง ๔๐๐ กว่าปี เดิมเป็นศิลปะไทยใหญ่ ซึ่งครั้งหลังสุด ช่างที่ก่อสร้างได้เพิ่มขนาดขององค์พระให้ใหญ่ขึ้น โดยมีหน้าตักกว้างขนาด ๘๐ นิ้ว มีนามว่า “หลวงพ่อพระศรีมิ่งเมือง” ที่มีพุทธลักษณะที่งดงามตามพุทธศิลป์แบบเชียงแสนสิงห์ ๑ ยุคต้นโดยเฉพาะที่ยอดพระเกตุโมฬีเป็นรูปดอกบัวตูมแกะสลักจากหินแก้วจุยเจียหรือแก้วโป่งข่าม ซึ่งเป็นหินที่เกิดขึ้นในดินแดนล้านนาเท่านั้น

เจดีย์

เป็นปูชนียสถานเก่าแก่ ที่มีคู่มากับวัด เป็นศิลปะแบบล้านนา เดิมก่อนการบูรณะเป็นรูปทรงพม่าทั้งหมด แต่ต่อมาได้รับการบูรณะใหม่ โดยสร้างเจดีย์บริวารตั้งไว้สี่มุม ประดับด้วยฉัตรศิลปะแบบพม่า ชาวบ้านเรียกเจดีย์นี้ว่า “พระธาตุมิ่งเมือง” นอกจากนี้เจดีย์นี้มีความสำคัญ คือ เป็นที่เก็บรวบรวมประวัติของวัดไว้

วิหาร

เป็นวิหารไทใหญ่ประยุกต์ผสมผสานกับรูปแบบของวิหารล้านนา ภายในตกแต่งด้วยลวดลายแกะสลักลงรักปิดทอง ประกอบกับการกรุฝ้าเพดานแบบไตรภูมิและบราลีเป็นรูปหงส์จำนวน ๓๔ ตัว

บ่อน้ำ

ชาวบ้านทั่วไป เรียกบ่อน้ำนี้ว่า “น้ำบ่อช้างมูบ” เพราะรูปแบบการก่อสร้างมีหลังคาเป็นรูปซุ้มโขง ประดับด้วยรูปปั้นของช้างทรงเครื่อง ซึ่งหมอบอยู่ หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ในสมัยโบราณ บ่อนี้ได้ให้ประโยชน์แก่ชุมชนชาวตลาดเชียงรายเป็นอย่างมากเพราะเป็นบ่อน้ำแห่งเดียวที่อยู่ในบริเวณนี้ ทั้งใช้ตักดื่ม และตักไปขาย และเป็นสถานที่ตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่างในเมืองและนอกเมือง เมื่อชาวบ้านเดินทางไกลมาจะเข้าเมือง จะแวะพักดื่มน้ำที่บ่อนี้ก่อน และไปธุระ พอเสร็จธุระและจะออกจากตัวเมืองก็จะแวะพักเหนื่อย และดื่มน้ำที่บ่อช้างมูบก่อนแล้วค่อยเดินทางต่อไป

ลำดับเจ้าอาวาส

๑. เป็นพระภิกษุไทยใหญ่มาจากประเทศพม่า

๒. ครูบาปัญญา ปญญาปโก พ.ศ. ๒๔๒๐ (สันนิษฐานตามประวัติเมื่อสร้างวัด)

๓. พระมหาบุญตัน (ไม่ระบุ พ.ศ.)

๔. ท่านเจ้าคุณ พระปัญญากรโมลี พ.ศ. ๒๔๙๖-๒๕๔๓

๕. พระครูโสภณศิลปาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ ถึงปัจจุบัน

ติดต่อประสานงาน

โทรศัพท์ ๐-๕๓๗๑-๖๙๖๐

โทรสาร ๐-๕๓๗๑-๑๐๘๙


อ้างอิง

อภิชิต ศิริชัย "รู้เรื่องเมืองเชียงราย"