ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จตุรมิตรสามัคคี"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Mac A380 (คุย | ส่วนร่วม)
Jirutsunbg (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 128: บรรทัด 128:


ชาวจตุรมิตรซาบซึ้งกันทั่วหน้าเมื่อสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชทานถ้วยรางวัลลงพระปรมาภิไธยส่วนพระองค์ 1 ถ้วย และถ้วยจำลองอีก 3 ถ้วย แก่ทั้ง 4 โรงเรียน เราจึงร่วมใจกันทำงานเต็มที่เพื่อถวายความจงรักภักดีแด่พระองค์ และรวบรวมรายได้จากการจัดงานนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อสมทบทุนมูลนิธิสายใจไทย เหมือนเช่นที่เคยปฏิบัติมาทุกปี<br />
ชาวจตุรมิตรซาบซึ้งกันทั่วหน้าเมื่อสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชทานถ้วยรางวัลลงพระปรมาภิไธยส่วนพระองค์ 1 ถ้วย และถ้วยจำลองอีก 3 ถ้วย แก่ทั้ง 4 โรงเรียน เราจึงร่วมใจกันทำงานเต็มที่เพื่อถวายความจงรักภักดีแด่พระองค์ และรวบรวมรายได้จากการจัดงานนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อสมทบทุนมูลนิธิสายใจไทย เหมือนเช่นที่เคยปฏิบัติมาทุกปี<br />

== Jaturamitr Internet Group (JMIG) ==

Jaturamitr Internet Group หรือ JMIG คือกลุ่มนักเรียนอาสาสมัครงานประชาสัมพันธ์ประเพณีฟุตบอลจตุรมิตรสามัคคี โดยมีสมาชิกจากโรงเรียนทั้งสี่โรงเรียน ร่วมมือร่วมใจกันทำงาน ในเริ่มแรกนั้น JMIG ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2544 ครั้งที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยเป็นเจ้าภาพการแข่งขัน และอาสาสมัครที่มาร่วมกันทำงานนั้น แม้จะต่างโรงเรียนแต่ก็มีความสมานฉันท์เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และให้ความสนใจในการทำงานเป็นอย่างดี

จุดประสงค์ของ JMIG คือจัดทำเว็บไซต์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารงานฟุตบอลจตุรมิตร ประชาสัมพันธ์ข่าวต่างๆ และรายงานผลการแข่งขันจากขอบสนาม (LIVE Broadcast) ผ่านเว็บไซต์ เป็นข้อมูลสดให้ผู้ที่ไม่สามารถไปชมการแข่งขันด้วยตนเอง ณ สนาม สามารถมีส่วนร่วมกับกิจกรรมดังกล่าวได้ในอีกทางหนึ่ง

เริ่มแรก JMIG ใช้เว็บไซต์ Jaturamitr.net เป็นเว็บไซต์หลักสำหรับงานฟุตบอล ซึ่งในขณะนั้นถือได้ว่าเป็นนวัตกรรมใหม่ในวงการฟุตบอลระดับมัธยม เพราะยังไม่มีการแข่งขันระดับมัธยมใดๆที่มีการรายงานผลสดๆผ่านเว็บไซต์ ทั้งภาพ, เสียง, และข้อมูล ใหม่ล่าสุด นาทีต่อนาที

การแข่งขันครั้งต่อมา เมื่อโรงเรียนเทพศิรินทร์เป็นเจ้าภาพ JMIG ยังคงทำงานกันอย่างต่อเนื่อง เพื่อรายงานผลการแข่งขัน โดยในครั้งนี้ใช้เว็บไซต์ Jaturamitr.org เป็นเว็บไซต์หลัก ซึ่งได้รับกระแสตอบรับเป็นอย่างดี เพราะสื่ออินเทอร์เน็ตเข้าถึงกว่าแต่ก่อน และเว็บไซต์ของเราก็สามารถให้ข้อมูลการแข่งขันและสกอร์ด้วยความละเอียด

นับเป็นเวลาร่วมสองปีในการเตรียมงานครั้งต่อไป ปี พ.ศ. 2548 จตุรมิตรครั้งที่ 23 โรงเรียนอัสสัมชัญเป็นเจ้าภาพ ทีมงาน JMIG ยังคงก้าวต่อ และพัฒนาการให้บริการข้อมูลข่าวสารให้ดียิ่งขึ้น ผ่านเว็บไซต์ Jaturamitr.com ซึ่งเตรียมพร้อมให้บริการทั้งข่าวสาร, ความเคลื่อนไหว และรายงานผลฟุตบอลสดจากขอบสนาม อย่างที่เราได้ทำมาตลอด

นอกจากการรายงานข่าวและประชาสัมพันธ์ซึ่งเป็นหน้าที่หลักแล้ว JMIG ยังเปรียบเสมือนได้ว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งการรวมกลุ่มจตุรมิตร เพาะอาสาสมัครทุกคนล้วนมาจากต่างสถาบัน เป็นทั้งนักเรียนปัจจุบันและศิษย์เก่า ที่ทำงานร่วมกันด้วยความสามัคคี ประโยชน์ในอีกทางหนึ่งก็คือ ยังเป็นการเพิ่มความสามารถและทักษะในการทำงานให้กับนักเรียนแต่ละโรงเรียน ได้เปิดโลกทัศน์ในอีกมุมหนึ่งที่ห้องเรียนในโรงเรียนอาจไม่เพียงพอ


== จตุรมิตรสามัคคีอาวุโส ==
== จตุรมิตรสามัคคีอาวุโส ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:17, 18 พฤศจิกายน 2550

การแข่งขันฟุตบอลประเพณีจตุรมิตรสามัคคี เป็นการแข่งขันฟุตบอลประเพณีระดับมัธยมศึกษาระหว่างโรงเรียนชายล้วนเก่าแก่ 4 สถาบันของประเทศไทย อันได้แก่ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย โรงเรียนเทพศิรินทร์ โรงเรียนอัสสัมชัญ และ โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุก 2 ปี เพื่อเป็นการเชื่อมความสามัคคีของครูอาจารย์ นักเรียนทั้งฝ่ายนักกีฬาและฝ่ายกองเชียร์ และยังรวมไปถึงกลุ่มศิษย์เก่าอีกด้วย

สำหรับการแข่งขันฟุตบอลจตุรมิตรสามัคคีครั้งที่ 24 ที่กำลังจะมาถึงนั้น จะจัดขึ้นในวันที่ 17 พฤศจิกายน ถึง 24 พฤศจิกายน 2550[1] โดย โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย เป็นเจ้าภาพ

ประวัติและความเป็นมา

การแข่งขันฟุตบอลประเพณีจตุรมิตรสามัคคีนั้น เป็นความคิดริเริ่มของอาจารย์โปร่ง ส่งแสงเติม อาจารย์ใหญ่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย กับอาจารย์อารีย์ เสมประสาท อาจารย์ใหญ่โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ทั้ง 2 ท่านได้มาขอความร่วมมือกับอาจารย์บุญอวบ บูรณะบุตร อาจารย์ใหญ่โรงเรียนเทพศิรินทร์ และอาจารย์บรรณา ชโนดม อาจารย์ใหญ่โรงเรียนอัสสัมชัญ ในอันที่จะร่วมกันจัดการแข่งขันฟุตบอลระหว่างทั้ง 4 สถาบันขึ้น เพื่อเป็นการเชื่อมความสามัคคีของครูอาจารย์ และนักเรียนทุกฝ่าย ซึ่งอาจารย์ทั้ง 4 ท่าน ได้มีความเห็นพ้องกันในความคิดอันนี้

ตราโรงเรียนในเครือจตุรมิตร

การแข่งขันฟุตบอลประเพณีจตุรมิตรสามัคคี ได้เริ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2507 โดยลำดับการแข่งขันและการเป็นเจ้าภาพ ดังนี้

ครั้งที่ วันแข่ง เจ้าภาพ ผู้ชนะอันดับ 1
1 16 ตุลาคม ถึง 18 พฤศจิกายนพ.ศ. 2507 สวนกุหลาบวิทยาลัย สวนกุหลาบวิทยาลัย
2 19 ตุลาคม ถึง 13 พฤศจิกายนพ.ศ. 2508 เทพศิรินทร์ สวนกุหลาบวิทยาลัย
ในปี พ.ศ. 2509 และ พ.ศ. 2510 งดการแข่งขัน เพราะสนามไม่ว่าง เนื่องจากมีการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ และกีฬาแหลมทอง ซึ่งไทยเป็นเจ้าภาพการแข่งขัน
3 16 ตุลาคม ถึง 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2511 อัสสัมชัญ สวนกุหลาบวิทยาลัย
4 21 ตุลาคม ถึง 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2512 กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย สวนกุหลาบวิทยาลัย
5 21 พฤศจิกายน ถึง 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513 สวนกุหลาบวิทยาลัย กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย
6 22 ตุลาคม ถึง 30 ตุลาคม พ.ศ. 2514 เทพศิรินทร์ เทพศิรินทร์
7 20 ตุลาคม ถึง 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2516 อัสสัมชัญ สวนกุหลาบวิทยาลัย
แต่เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจ และภาวะทางการเมืองไม่อำนวยให้จัดการแข่งขันฟุตบอลประเพณีจตุรมิตรสามัคคี จึงว่างเว้นไประยะหนึ่ง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 ถึง พ.ศ. 2520 และได้มีการจัดขึ้นใหม่ในปี พ.ศ. 2521 เป็นครั้งที่ 8
8 24 ตุลาคม ถึง 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2521 กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย แต่ในวันชิงชนะเลิศ ทั้ง 4 โรงเรียนได้ร่วมเป็นเจ้าภาพ โดยใช้สนามจุฬาลงกรณ์เป็นสนามแข่งขัน สวนกุหลาบวิทยาลัย
หลังจากการแข่งขันครั้งที่ 8 แล้วก็เว้นอีก 2 ปี จึงได้มาเริ่มจัดการแข่งขันขึ้นในปี พ.ศ. 2524 ซึ่งนับเป็นการแข่งขันครั้งที่ 9
9 28 พฤศจิกายน ถึง 6 ธันวาคม พ.ศ. 2524 สวนกุหลาบวิทยาลัย สวนกุหลาบวิทยาลัย
10 27 พฤศจิกายน ถึง 4 ธันวาคม พ.ศ. 2525 เทพศิรินทร์ สวนกุหลาบวิทยาลัย
11 20 พฤศจิกายน ถึง 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2526 อัสสัมชัญ สวนกุหลาบวิทยาลัย
12 23 พฤศจิกายน ถึง 1 ธันวาคม พ.ศ. 2527 กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย สวนกุหลาบวิทยาลัย
13 1 พฤศจิกายน ถึง 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2528 สวนกุหลาบวิทยาลัย สวนกุหลาบวิทยาลัย ร่วม อัสสัมชัญ
ต่อมาคณะกรรมการการแข่งขันฟุตบอลประเพณีจตุรมิตรสามัคคี ได้ตกลงกันว่าถ้ามีการแข่งขันทุกปีอาจทำให้สิ้นเปลือง แต่ถ้าเว้นปีไปก็เกรงว่าการแข่งขันฟุตบอลจะขาดช่วง จึงตกลงกันว่าให้มีการแข่งขันฟุตบอลจตุรมิตรปีเว้นปีโดยปีที่ไม่มีการแข่งขันให้จัดให้มีการแข่งขันฟุตบอลจตุรมิตรเหย้า-เยือนขึ้น ซึ่งเป็นการแข่งขันโดยใช้สนามภายในโรงเรียนเท่านั้น
14 19 ธันวาคม ถึง 26 ธันวาคม พ.ศ. 2530 เทพศิรินทร์ สวนกุหลาบวิทยาลัย
15 15 ธันวาคม ถึง 28 ธันวาคม พ.ศ. 2532 อัสสัมชัญ อัสสัมชัญ
16 24 ธันวาคม ถึง 28 ธันวาคม พ.ศ. 2534 กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย
17 18 ธันวาคม ถึง 28 ธันวาคม พ.ศ. 2536 สวนกุหลาบวิทยาลัย สวนกุหลาบวิทยาลัย
18 25 พฤศจิกายน ถึง 2 ธันวาคม พ.ศ. 2538 เทพศิรินทร์ สวนกุหลาบวิทยาลัย ร่วม อัสสัมชัญ
19 13 ธันวาคม ถึง 20 ธันวาคม พ.ศ. 2540 อัสสัมชัญ เทพศิรินทร์ ร่วม กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย
20 11 ธันวาคม ถึง 19 ธันวาคม พ.ศ. 2542 กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย เทพศิรินทร์ ร่วม กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย
21 17 พฤศจิกายน ถึง 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 สวนกุหลาบวิทยาลัย สวนกุหลาบวิทยาลัย ร่วม กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย
22 12 มกราคม ถึง 18 ธันวาคม พ.ศ. 2546 เทพศิรินทร์ กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย
23 26 พฤศจิกายน ถึง 3 ธันวาคม พ.ศ. 2548 อัสสัมชัญ อัสสัมชัญ ร่วม กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย
24 17 พฤศจิกายน ถึง 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย (ยังไม่มีการแข่งขัน)[2]

กำหนดการแข่งขันฟุตบอลจตุรมิตรสามัคคี ครั้งที่ 24[3]

ณ สนามศุภชลาศัย สนามกีฬาแห่งชาติ


วันเสาร์ที่ 17 พฤศจิกายน 2550

นัดเปิดสนาม

คู่ที่ 1 เวลา 13.00 น. ระหว่าง โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย กับ โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนฯ

คู่ที่ 2 เวลา 16.00 น. ระหว่าง โรงเรียนเทพศิรินทร์ กับ โรงเรียนอัสสัมชัญ


วันจันทร์ที่ 19 พฤศจิกายน 2550

คู่ที่ 1 เวลา 14.00 น. ระหว่าง โรงเรียนเทพศิรินทร์ กับ โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย

คู่ที่ 2 เวลา 16.00 น. ระหว่าง โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย กับ โรงเรียนอัสสัมชัญ


วันพุธที่ 21 พฤศจิกายน 2550

คู่ที่ 1 เวลา 14.00 น. ระหว่าง โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย กับ โรงเรียนเทพศิรินทร์

คู่ที่ 2 เวลา 16.00 น. ระหว่าง โรงเรียนอัสสัมชัญ กับ โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย


วันเสาร์ที่ 24 พฤศจิกายน 2550

นัดปิดสนาม

คู่ที่ 1 เวลา 14.00 น. - ชิงตำแหน่งที่ 3

คู่ที่ 2 เวลา 16.00 น. - ชิงชนะเลิศ

ประเพณีชาวจตุรมิตร

ถึงแม้ชาวจตุรมิตรจะมีกิจกรรมมากมาย แต่เมื่อถึงวันสำคัญของทางราชการ ก็จะมีการนัดหมายทำกิจกรรมร่วมกันทุกครั้ง และถือเป็นประเพณีที่ 4 สถาบันได้ร่วมใจกันปฏิบัติมาช้านาน กิจกรรมเหล่านั้นได้แก่

1.วันที่ 5 ธันวาคม ถวายพระพรเนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

2.วันที่ 12 สิงหาคม ถวายพระพรเนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ

3.วันที่ 23 ตุลาคม ถวายบังคมเนื่องในวันปิยมหาราช

4.วันที่ 25 พฤศจิกายน ถวายบังคมเนื่องในวันมหาธีรราชเจ้า

5.วันที่ 10 ธันวาคม วันรัฐธรรมนูญ

นอกจากนั้น ยังมีการริเริ่มการเข้าค่ายจตุรมิตรสัมพันธ์, การบรรเลงดนตรีถวายพระพรของวงโยธวาธิตและวงดนตรีไทยจตุรมิตร ณ สถานีโทรทัศน์ต่างๆ เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ

ชาวจตุรมิตรซาบซึ้งกันทั่วหน้าเมื่อสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชทานถ้วยรางวัลลงพระปรมาภิไธยส่วนพระองค์ 1 ถ้วย และถ้วยจำลองอีก 3 ถ้วย แก่ทั้ง 4 โรงเรียน เราจึงร่วมใจกันทำงานเต็มที่เพื่อถวายความจงรักภักดีแด่พระองค์ และรวบรวมรายได้จากการจัดงานนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อสมทบทุนมูลนิธิสายใจไทย เหมือนเช่นที่เคยปฏิบัติมาทุกปี

จตุรมิตรสามัคคีอาวุโส

ความเป็นมา

การแข่งขันฟุตบอลจตุรมิตรสามัคคีอาวุโส เริ่มจัดการแข่งขันอย่างเป็นทางการเมื่อปีพ.ศ. 2540 โดยมีจุดประสงค์เพื่อความสนุกสนาน สามัคคี เสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่าง 4 สถาบันเสมือนญาติมิตร และแสดงออกถึงความมีน้ำใจนักกีฬาของชาวจตุรมิตร อันเป็นแบบอย่างที่ดีในวงการกีฬาและสังคมไทย โดยแต่ละสถาบันจะผลัดเปลี่ยนกันเป็นเจ้าภาพ สถาบันละ 2 ปี

เพลงจตุรมิตรสามัคคี

ประพันธ์โดย คุณสำเร็จ โชติมงคล (นักเรียนเก่าเทพศิรินทร์)

จตุรมิตรสามัคคีดีเด่น
จตุรมิตรนั้นเป็นสายใย
ยึดดวงใจให้
เราสี่พี่น้องต่างปองรักกัน

จิตใจนั้นของเราเป็นเลิศ
สุดประเสริฐเพราะความสามัคคี
มิตรและไมตรี
เราทั้งสี่นี้มาร่วมกัน

สวนกุหลาบฯ เทพศิรินทร์จำให้มั่น
อัสสัมชัญ กรุงเทพคริสเตียน ร่วมเพียรจัดหา
เกียรติยศชื่อเสียงก้องลือชา
ซึ้งในคุณค่าคำว่า สามัคคี

จตุรมิตรสามัคคีดีเลิศ
ช่วยชูเชิดบรรเจิดเกรียงไกร
รักดังดวงใจ
จรรโลงให้คงอยู่ชั่วนิรันคร์




เมื่อถึงการแข่งขันจตุรมิตรสามัคคีครั้งที่ 22 ในปีพ.ศ. 2546 ซึ่งโรงเรียนเทพศิรินทร์เป็นเจ้าภาพ ได้มีการประพันธ์เพลงจตุรมิตรสามัคคีเพิ่มขึ้นใหม่ ในรูปแบบท่วงทำนองที่ร่วมสมัยกับยุค โดยผู้ประพันธ์เพลงเป็นนักเรียนเก่าโรงเรียนเทพศิรินทร์ คือ คุณปฐมพงศ์ สมบัติพิบูลย์ ที่เป็นศิลปินนักดนตรีประเภทร็อคที่มีชื่อเสียงของเมืองไทย โดยประพันธ์ทั้งเนื้อร้องและเรียบเรียงเสียงดนตรี และได้นำมาร้องแสดง ณ สนามกีฬาแห่งชาติศุภชลาศัย โดยผู้ร้องเป็นนักเรียนเก่าที่เป็นศิลปินจากทั้งสี่โรงเรียน อาทิ สมชาย เข็มกลัด, ธีรภัทร สัจจกุล, ศิรศักดิ์ อิทธิพลพาณิชย,์ เมธวินทร์ อังคทะวานิช เป็นต้น

เพลงนี้คุณปฐมพงษ์ตั้งใจประพันธ์เป็นอย่างมาก โดยมีความตั้งใจอยากให้ใช้ได้กับการแข่งขันฟุตบอลประเพณีจตุรมิตสามัคคีทุกครั้ง เมื่อถึงคราวโรงเรียนใดเป็นเจ้าภาพก็สามารถขยับเนื้อเพลงในส่วนของชื่อโรงเรียนที่เป็นเจ้าภาพขึ้นต้นและหมุนเวียนกันไปเรื่อยๆ ดังเช่นปีนี้ (พ.ศ. 2546) โรงเรียนเทพศิรินทร์เป็นเจ้าภาพก็นำท่อนที่มีชื่อโรงเรียนเทพศิรินทร์ขึ้นก่อน


เพลงจตุรมิตรสามัคคี 22
ทำนอง/เนื้อร้อง/เรียบเรียง
ปฐมพงศ์ สมบัติพิบูลย์ (โป่ง - หิน เหล็ก ไฟ)


จตุรมิตร จตุรมิตร สี่พลังสามัคคี รวมใจไมตรีผูกพันธ์ มานาน
จตุรมิตร จตุรมิตร ความภูมิใจและศักดิ์ศรี สืบต่อเจตนาของเรา ตลอดไป ..... (ตลอดไป)

เรา ..... เทพศิรินทร์ เขียวเหลืองระบือไกล

เรา ..... อัสสัมชัญ มั่นใจในแดงขาวจดจำไว้

เรา ..... กรุงเทพคริสเตียน ม่วงทองยังร้อนแรง

เรา ..... สวนกุหลาบ เชิดชูชมพูฟ้าจดจำไว้

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น