ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ฟ้าเดียวกัน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Komasan1997 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 4: บรรทัด 4:
| image_size = 250px
| image_size = 250px
| image_caption = ปกวารสารฟ้าเดียวกัน เล่มที่ 21 ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนมกราคม - มีนาคม พ.ศ. 2551
| image_caption = ปกวารสารฟ้าเดียวกัน เล่มที่ 21 ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนมกราคม - มีนาคม พ.ศ. 2551
| editor = [[ธนาพล อิ๋วสกุล(ต๊ะตุงต่วง)]]
| editor = [[ธนาพล อิ๋วสกุล]]
| editor_title =
| nickname ต๊ะตุงต่วง
editor_title =
| previous_editor =
| previous_editor =
| staff_writer =
| staff_writer =

รุ่นแก้ไขเมื่อ 01:00, 6 เมษายน 2562

ฟ้าเดียวกัน
ปกวารสารฟ้าเดียวกัน เล่มที่ 21 ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนมกราคม - มีนาคม พ.ศ. 2551
ปกวารสารฟ้าเดียวกัน เล่มที่ 21 ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนมกราคม - มีนาคม พ.ศ. 2551
บรรณาธิการ ธนาพล อิ๋วสกุล
ประเภท สังคม-การเมือง
นิตยสารราย ราย 3 เดือน
ผู้พิมพ์ สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน
วันจำหน่ายฉบับแรก ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มีนาคม พ.ศ. 2546)
ประเทศ ไทย
ภาษา ไทย
เว็บไซต์ www.sameskybooks.org
เลขมาตรฐานสากลสำหรับนิตยสาร (ISSN) 1685-6880

ฟ้าเดียวกัน เป็นวารสารราย 3 เดือน ที่นำเสนอการเคลื่อนไหวทางสังคม ในรูปแบบของขบวนการประชาชนและทางความคิด ฉบับแรกวางแผงเมื่อต้นปี พ.ศ. 2546 พิมพ์โดยสำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน โดยมี ธนาพล อิ๋วสกุล เป็นผู้พิมพ์ผู้โฆษณา

ในบทสัมภาษณ์ ลงนิตยสารศิลปวัฒนธรรม[1] ธนาพล อิ๋วสกุลกล่าวว่า "สังคมไทยในปัจจุบันเติบโตเปิดกว้างจนมาถึงจุดที่ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมของประชาชนซึ่งพยายามจะเสนอ 'ทางเลือก/ทางออก' ให้สังคม และความคิดความเห็นที่แตกต่างสวนทางกับความคิดความเชื่อกระแสหลัก ก็พอจะมีที่มีทางอยู่บ้างในพื้นที่สาธารณะ...แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า การเคลื่อนไหวต่อต้านท้าทายสภาวะสังคมจะสามารถลงรากปักฐานได้อย่าง มั่นคง ซ้ำยังมีแนวโน้มที่จะถูกตอบโต้ทำลาย หรือไม่ก็ถูกผนวกกลืนเข้าไปเป็นลูกไล่อยู่ในโครงสร้างเดิม..."

เว็บไซต์ฟ้าเดียวกันถูกกล่าวหาว่ามีเนื้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เคยถูกปิดกั้นให้เข้าถึงไม่ได้เมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2551 โดยเจ้าของระบุว่าเป็นเพราะเอกชนผู้ให้บริการพื้นที่บนอินเทอร์เน็ตยกเลิกการให้บริการหลังจากผู้ให้บริการรับฝากเครื่องเซิร์ฟเวอร์ปิดเครื่องเซิร์ฟเวอร์เพราะกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสั่งการ ด้วยเหตุที่มีเนื้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ต่อมากระทรวงฯ ปฏิเสธว่าไม่ได้มีการปิดกั้นแต่อย่างใด แต่ได้ให้เจ้าหน้าที่หาข้อมูลความเป็นมาและจับตาการให้บริการ เพราะเนื้อหาค่อนข้างรุนแรงและไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ในขณะนั้น ที่อยู่ระหว่างไว้อาลัยสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์[2] ต่อมายุครัฐบาลสมัคร สุนทรเวช เว็บไซด์กลับมาใช้ได้อีก จนมาถึงรัฐบาลสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ก็ยังคงใช้การได้ แม้จะมีหลายฝ่ายร้องเรียนเนื้อหาที่จาบจ้วงเบื้องสูง และในรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ซึ่งมีประกาศนโยบายว่าจะปกป้องสถาบัน แต่เว็บไซต์นี้ก็ยังใช้การได้เป็นปกติจนถึงปัจจุบัน และในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 37 พ.ศ. 2552 ฟ้าเดียวกันยังได้ร่วมเปิดบู๊ธนิตยสารและหนังสือด้วย[3]

กรณีถูกห้ามขาย จ่าย แจกและยึดหนังสือโดยคำสั่งของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

ไฟล์:ปก ฟ้าเดียวกันปีที่ 3 ฉบับที่ 4 (2548).png
วารสารฉบับที่ถูกเจ้าพนักงานพิมพ์ห้ามจำหน่ายจ่ายแจกและให้ยึด

วารสารฉบับ สถาบันกษัตริย์กับสังคมไทย ที่มุ่งประเด็นการเปลี่ยนแปลงสังคมไทย โดยการมองสถาบันกษัตริย์เป็นศูนย์กลาง ได้ถูกเจ้าพนักงานการพิมพ์สำหรับกรุงเทพมหานคร ลงชื่อโดย พล.ต.อ. โกวิท วัฒนะ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ห้ามการขายหรือจ่ายแจกและให้ยึดสิ่งพิมพ์ดังกล่าว โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2484 ด้วยสาเหตุว่าได้ลงโฆษณาอันอาจจะขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน หนังสือลงวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2549 [4] เจ้าหน้าที่ยังไม่ได้ระบุว่าข้อความใดในวารสารที่เข้าข่ายผิดในข้อหาดังกล่าว แต่ผู้อ่านหลายคนเชื่อว่าบทความที่เป็นปัญหา คือบทสัมภาษณ์ สุลักษณ์ ศิวรักษ์ ชื่อ "การมีสถาบันกษัตริย์ถูกกว่าประธานาธิบดี" ซึ่งหากวิญญูชนคนปรกติได้อ่านเนื้อหาบทความนี้แล้วย่อมรับสารที่สื่อออกมาจากบทความได้ว่าหาได้มีเนื้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพอย่างใดไม่

ทางฟ้าเดียวกันได้อุทธรณ์โดยใช้มาตรา 10 ของพ.ร.บ.การพิมพ์ว่า คำสั่งเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะไม่เปิดให้มีการชี้แจงข้อเท็จจริง นอกจากนี้ทางฟ้าเดียวกันยังได้กล่าวว่า พระะราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2484 นั้นขัดกับรัฐธรรมนูญ รวมถึงได้ยืนยันสิทธิในการเพยแพร่ ตามแนวทางอารยะขัดขืน โดยจะพิมพ์ซ้ำอีกไม่ต่ำกว่า 6,000 เล่ม และพร้อมเข้าสู่กระบวนการตามกฎหมายทุกกระบวนการถ้ามีการแจ้งความ[5][6]

ธนาพล อิ๋วสกุล ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจ สน. สำราญราษฎร์ แจ้งข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2549 โดยพนักงานนัดไปให้ปากคำในวันที่ 4 เมษายน 2549 โดยธนาพลได้เปิดเผยว่าเจ้าหน้าที่ยังไม่ได้ระบุว่าข้อความใดในวารสารที่เข้าข่ายผิดในข้อหาดังกล่าว[7]

อ้างอิง

  1. คอลัมน์สโมสรศิลปวัฒนธรรม. ศิลปวัฒนธรรม. 1 พ.ย. 2546 ปีที่ 25 ฉบับที่ 01. (อ้างตาม ความเห็นในกระดานข่าวมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน[1])
  2. ไทยรัฐ, 'ไอซีที' ปัดสั่งบล็อกเว็บ 'ฟ้าเดียวกัน' เจ้าของยังลังเลเอาผิด, 9 มกราคม 2551
  3. http://www.sameskybooks.org/2009/03/18/book-fair-37/
  4. ประชาไท, สตช. สั่งยึด ’ฟ้าเดียวกัน’ ฉบับสถาบันกษัตริย์กับสังคมไทย, 29 มีนาคม พ.ศ. 2549
  5. ประชาไท, บ.ก. ฟ้าเดียวกัน ลั่น "ผมไม่กลัวคุณ" เตรียมฟ้องศาลปกครองกรณี สตช. ยึดหนังสือ, 31 มีนาคม พ.ศ. 2549
  6. ประชาไท, เปิดใจ ‘ธนาพล อิ๋วสกุล’ แห่ง ‘ฟ้าเดียวกัน’, 31 มีนาคม พ.ศ. 2549
  7. ประชาไท, บ.ก. ฟ้าเดียวกันถูกแจ้งข้อหา หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ, 2 เมษายน พ.ศ. 2549

แหล่งข้อมูลอื่น