ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิทยาทางเดินปัสสาวะ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Schekinov Alexey Victorovich (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
[[ไฟล์:Rtu.jpg|right|thumb|282x282px|<center>{{PAGENAME}}</center>]]
'''วิทยาทางเดินปัสสาวะ''' หรือ '''ศัลยศาสตร์ทางเดินปัสสาวะ''' ({{lang-en|urology หรือ genitourinary surgery}}) เป็นสาขาหนึ่งของแพทยศาสตร์ว่าด้วยโรคทางอายุรกรรมและศัลยกรรมของระบบทางเดินปัสสาวะของเพศชายและหญิง และอวัยวะสืบพันธุ์เพศชาย อวัยวะภายใต้ขอบเขตของวิทยาทางเดินปัสสาวะได้แก่ [[ไต]] [[ต่อมหมวกไต]] [[ท่อไต]] [[กระเพาะปัสสาวะ]] [[ท่อปัสสาวะ]] และอวัยวะสืบพันธุ์เพศชาย ([[อัณฑะ]], [[เอพิดิไดมิส]], [[หลอดนำอสุจิ]], [[ถุงน้ำอสุจิ]], [[ต่อมลูกหมาก]] และ[[องคชาต]])
'''วิทยาทางเดินปัสสาวะ''' หรือ '''ศัลยศาสตร์ทางเดินปัสสาวะ''' ({{lang-en|urology หรือ genitourinary surgery}}) เป็นสาขาหนึ่งของแพทยศาสตร์ว่าด้วยโรคทางอายุรกรรมและศัลยกรรมของระบบทางเดินปัสสาวะของเพศชายและหญิง และอวัยวะสืบพันธุ์เพศชาย อวัยวะภายใต้ขอบเขตของวิทยาทางเดินปัสสาวะได้แก่ [[ไต]] [[ต่อมหมวกไต]] [[ท่อไต]] [[กระเพาะปัสสาวะ]] [[ท่อปัสสาวะ]] และอวัยวะสืบพันธุ์เพศชาย ([[อัณฑะ]], [[เอพิดิไดมิส]], [[หลอดนำอสุจิ]], [[ถุงน้ำอสุจิ]], [[ต่อมลูกหมาก]] และ[[องคชาต]])



รุ่นแก้ไขเมื่อ 03:39, 31 ธันวาคม 2561

วิทยาทางเดินปัสสาวะ

วิทยาทางเดินปัสสาวะ หรือ ศัลยศาสตร์ทางเดินปัสสาวะ (อังกฤษ: urology หรือ genitourinary surgery) เป็นสาขาหนึ่งของแพทยศาสตร์ว่าด้วยโรคทางอายุรกรรมและศัลยกรรมของระบบทางเดินปัสสาวะของเพศชายและหญิง และอวัยวะสืบพันธุ์เพศชาย อวัยวะภายใต้ขอบเขตของวิทยาทางเดินปัสสาวะได้แก่ ไต ต่อมหมวกไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ ท่อปัสสาวะ และอวัยวะสืบพันธุ์เพศชาย (อัณฑะ, เอพิดิไดมิส, หลอดนำอสุจิ, ถุงน้ำอสุจิ, ต่อมลูกหมาก และองคชาต)

ทางเดินปัสสาวะและสืบพันธุ์มีความเชื่อมโยงกันใกล้ชิด และโรคของระบบนี้มักมีผลกระทบต่ออีกระบบ ฉะนั้นหลายภาวะที่มีการรักษาในวิทยาทางเดินปัสสาวะจึงมีอยู่ภายใต้ขอบเขตของโรคอวัยวะเพศและทางเดินปัสสาวะ วิทยาทางเดินปัสสาวะรวมการรักษาภาวะอายุรกรรม เช่น การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะและโรคต่อมลูกหมากโต เข้ากับการรักษาภาวะทางศัลยกรรม เช่น มะเร็งกระเพาะปัสสาวะหรือต่อมลูกหมาก โรคนิ่วไต ความผิดปกติแต่กำเนิด การบาดเจ็บ และการกลั้นปัสสาวะไม่ได้แบบบีบ (stress incontinence)

เทคนิคทางวิทยาทางเดินปัสสาวะได้แก่ การผ่าตัดด้วยหุ่นยนต์และกล้องส่องช่องท้อง (laparoscopic) ที่รุกล้ำน้อย การผ่าตัดแบบใช้เลเซอร์ช่วย และการผ่าตัดที่ใช้กล้องนำอื่น ๆ นักวิทยาทางเดินปัสสาวะได้รับการฝึกทั้งเทคนิคการผ่าตัดแบบเปิดและรุกล้ำน้อย ใช้การชี้นำด้วยอัลตราซาวน์แบบเรียลไทม์ อุปกรณ์ส่องกล้องใยแก้วนำแสง และเลเซอร์หลายชนิดในการรักษาทั้งภาวะไม่ใช่มะเร็งและมะเร็งหลายชนิด วิทยาทางเดินปัสสาวะมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับวิทยามะเร็ง วักกวิทยา นรีเวชวิทยา บุรุษเวชศาสตร์ กุมารศัลยศาสตร์ ศัลยศาสตร์ลำไส้ใหญ่และไส้ตรง วิทยาทางเดินอาหารและวิทยาต่อมไร้ท่อ