ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รังษีนภดล ยุคล"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
กระจ่างนภา (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Noomtong (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 23: บรรทัด 23:
| footnotes =
| footnotes =
}}
}}
'''คุณหญิง รังษีนภดล ยุคล''' ([[2 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2480]] - [[6 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2560]]) (นามเดิม: หม่อมเจ้ารังษีนภดล ยุคล) มีนามลำลองคือ '''ท่านหญิงอ๋อย''' เป็นพระธิดาองค์เล็กของ[[พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล]] กับ[[หม่อมหลวงสร้อยระย้า ยุคล]]
'''หม่อมเจ้าหญิง รังษีนภดล ยุคล''' ([[2 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2480]] - [[6 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2560]]) (นามเดิม: หม่อมเจ้ารังษีนภดล ยุคล) มีนามลำลองคือ '''ท่านหญิงอ๋อย''' เป็นพระธิดาองค์เล็กของ[[พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล]] กับ[[หม่อมหลวงสร้อยระย้า ยุคล]]


== ประวัติ ==
== ประวัติ ==
คุณหญิง รังษีนภดล ยุคล (ท.จ.) เกิดมื่อวันที่ [[2 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2480]] มีเจ้าพี่น้องร่วมพระอุทร 2 พระองค์ คือ
หม่อมเจ้าหญิง รังษีนภดล ยุคล (ท.จ.) เกิดมื่อวันที่ [[2 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2480]] มีเจ้าพี่น้องร่วมพระอุทร 2 พระองค์ คือ
* ท่านผู้หญิง [[พันธุ์สวลี กิติยากร]] หรือหม่อมเจ้าหญิงพันธ์สวลี ยุคล (ท่านหญิงปิ๋ม) มารดาใน[[พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ]]
* ท่านผู้หญิง [[พันธุ์สวลี กิติยากร]] หรือหม่อมเจ้าหญิงพันธ์สวลี ยุคล (ท่านหญิงปิ๋ม) มารดาใน[[พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ]]
* [[หม่อมเจ้าฐิติพันธ์ ยุคล]] หรือท่านชายกบ (สิ้นชีพิตักษัยเมื่อ [[พ.ศ. 2538]])
* [[หม่อมเจ้าฐิติพันธ์ ยุคล]] หรือท่านชายกบ (สิ้นชีพิตักษัยเมื่อ [[พ.ศ. 2538]])
บรรทัด 39: บรรทัด 39:
* นายตรรค สนิทวงศ์ ณ อยุธยา (20 เม.ย. 2506 - ปัจจุบัน)
* นายตรรค สนิทวงศ์ ณ อยุธยา (20 เม.ย. 2506 - ปัจจุบัน)


คุณหญิงรังษีนภดล ยุคล (ท.จ.) ถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคหัวใจวายเฉียบพลัน ในเวลา 20.00 นาฬิกา ของวันพฤหัสบดีที่ [[6 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2560]] สิริอายุได้ 79 ปี สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานโกศโถประกอบเกียรติยศศพ ณ ศาลากวีนีรมิต วัดเทพศิรินทราวาส
หม่อมเจ้าหญิงรังษีนภดล ยุคล (ท.จ.) ถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคหัวใจวายเฉียบพลัน ในเวลา 20.00 นาฬิกา ของวันพฤหัสบดีที่ [[6 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2560]] สิริอายุได้ 79 ปี สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานโกศโถประกอบเกียรติยศศพ ณ ศาลากวีนีรมิต วัดเทพศิรินทราวาส


== ปริญญาดุษฎีบัณฑิตย์กิตติมศักดิ์ ==
== ปริญญาดุษฎีบัณฑิตย์กิตติมศักดิ์ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:08, 10 กรกฎาคม 2560

รังษีนภดล ยุคล
ไฟล์:Tanying.jpg
เกิดหม่อมเจ้ารังษีนภดล ยุคล
2 ตุลาคม พ.ศ. 2480
วังอัศวิน กรุงเทพมหานคร
เสียชีวิต6 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 (79 ปี)
กรุงเทพมหานคร
คู่สมรสหม่อมหลวงตวง สนิทวงศ์ (หย่า)
วิเชียร ตระกูลสิน
บุตรสายฝน สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
ดุลสิทธิ์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
รังษิดล สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
ตรรค สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
บิดามารดาพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล
หม่อมหลวงสร้อยระย้า ยุคล

หม่อมเจ้าหญิง รังษีนภดล ยุคล (2 ตุลาคม พ.ศ. 2480 - 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2560) (นามเดิม: หม่อมเจ้ารังษีนภดล ยุคล) มีนามลำลองคือ ท่านหญิงอ๋อย เป็นพระธิดาองค์เล็กของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล กับหม่อมหลวงสร้อยระย้า ยุคล

ประวัติ

หม่อมเจ้าหญิง รังษีนภดล ยุคล (ท.จ.) เกิดมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2480 มีเจ้าพี่น้องร่วมพระอุทร 2 พระองค์ คือ

ทรงเข้าศึกษาที่โรงเรียนราชินีจนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จึงไปศึกษาต่อที่เมืองโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ นอกจากวิชาสามัญแล้วท่านหญิงได้ศึกษาด้านการกีฬา และด้านภาษา มีปรีชาด้านการกีฬาหลายชนิด เช่น ขี่ม้า เทนนิส ว่ายน้ำ

หม่อมเจ้ารังษีนภดล ยุคล ได้ขอพระราชทานกราบถวายบังคมลาออกจากฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์ เพื่อสมรสกับหม่อมหลวงตวง สนิทวงศ์ เมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2499[1] มีบุตร-ธิดา รวม 4 คน คือ

  • นางสาวสายฝน สนิทวงศ์ ณ อยุธยา (28 ส.ค. 2499 - ปัจจุบัน)
  • นายดุลสิทธิ์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา (31 ส.ค. 2500 - ปัจจุบัน)
  • นายรังษิดล สนิทวงศ์ ณ อยุธยา (16 ธ.ค. 2502 - ปัจจุบัน)
  • นายตรรค สนิทวงศ์ ณ อยุธยา (20 เม.ย. 2506 - ปัจจุบัน)

หม่อมเจ้าหญิงรังษีนภดล ยุคล (ท.จ.) ถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคหัวใจวายเฉียบพลัน ในเวลา 20.00 นาฬิกา ของวันพฤหัสบดีที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 สิริอายุได้ 79 ปี สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานโกศโถประกอบเกียรติยศศพ ณ ศาลากวีนีรมิต วัดเทพศิรินทราวาส

ปริญญาดุษฎีบัณฑิตย์กิตติมศักดิ์

คุณหญิงรังษีนภดล ยุคล (ท.จ.) ทรงเข้ารับพระราชทานปริญญาดุษฎีบัณฑิตย์กิตติมศักดิ์ สาขาวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม จากมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทนา ณ สวนอัมพรเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

อุปนิสัย

ชีวิตในวัยทรงเยาว์ท่านหญิง รังษีนภดล ชอบตามเสด็จพระบิดาไปเที่ยวชมสภาพธรรมชาติในพื้นที่ป่าหลายแห่ง เช่น ป่าพนมสารคาม ป่าชายแดนเทือกเขาตะนาวศรี สนใจการศึกษาพันธุ์ไม้และความเป็นอยู่ของสัตว์ป่าแต่ละชนิด ตลอดจนศึกษาเกี่ยวกับรอยเท้าสัตว์ป่า จนมีความเชี่ยวชาญอย่างมาก ซึ่งท่านหญิงสามารถนำความรู้เหล่านี้มาถ่ายทอดให้กับผู้ที่ร่วมงานและอยู่ใกล้ชิดกับองค์ท่านเป็นอย่างดี ท่านหญิง รังษีนภดล ทรงได้รับการยกย่องในฐานะนักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ทรงทุ่มเทวรกาย เพื่องานอนุรักษ์ธรรมชาติ สัตว์ป่าและสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันมีพลานามัยที่แข็งแรง สามารถดำเนินป่า และขับรถยนต์ด้วยตัวเอง นอกจากนี้ยังมีความจำเป็นเลิศ สามารถถ่ายทอดเรื่องราวเก่าๆ ได้อย่างแม่นยำ มีอุปนิสัยเรียบง่าย ไม่ถือตัว และยังไปในงานพิธีต่างๆ ตามการทูลเชิญ

ในปัจฉิมวัยพักอยู่ ณ ตำหนักรังสิตคลองสี่ ซึ่งตั้งตรงปากทางเข้าคลอง 4 (ริมถนนรังสิต-นครนายก) ถนนพระองค์เจ้าสาย ตรงข้ามร้านอาหารบ่อเงิน และสนามม้าพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ซึ่งอยู่ฝั่งเดียวกันกับพระตำหนักบึงยี่โถ ในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ในบริเวณแนวเดียวกัน ซึ่งนอกจากเป็นที่ประทับแล้ว ยังเป็นที่ทำการมูลนิธิท่านหญิงรังษีนภดล ยุคล เป็นมูลนิธิที่ได้เล็งเห็นความสำคัญในการอนุรักษ์ช้างป่า กระทิง และสัตว์ป่าอื่นๆ ด้วย โดยภายในพื้นที่ตำหนัก ท่านหญิงรังษีนภดลทรงนำที่นาส่วนองค์มาใช้เป็นแปลงปลูกข้าวหอมนิล ตามแนวพระราชดำรัสเศรษฐกิจพอเพียง โดยลงมือหว่านพันธุ์ข้าว ใส่ปุ๋ยและควบคุมการเก็บผลผลิต ด้วยตัวเอง ทั้งยังใช้ที่นาเป็นที่ทำงาน เพื่อติดตามดูแปลงข้าว ซึ่งนำผลผลิตข้าวหอมนิลที่ได้ไปแจกจ่ายประชาชนในพื้นที่ต่างๆ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แหล่งข้อมูลอื่น

  1. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักพระราชวัง ที่ ๒/๒๔๙๙ เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ลาออกจากฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์ (หม่อมเจ้ารังษีนภดล ยุคล), เล่ม ๗๓, ตอน ๕๙ ง, ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๙ หน้า ๒๑๒๕
  2. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 117 (9ข): 1. 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2543. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)