ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พาราด็อกซ์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Felicidad (คุย | ส่วนร่วม)
Jittat (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 42: บรรทัด 42:
===ก้าวสู่จีนี่เรคคอร์ดส===
===ก้าวสู่จีนี่เรคคอร์ดส===


ต่อมาพาราด็อกซ์ได้มีโอกาสทำเพลงเพื่อรวมอยู่ในอัลบั้ม Intro 2000 ร่วมกับศิลปินอื่น ในสังกัด[[จีนี่เรคคอร์ดส]] ต้าจึงได้ชักชวน [[เสรฐพร กฤดากร ณ อยุธยา]] หรือ โจอี้ ซึ่งเป็นญาติผู้น้องเข้ามาร่วมวงในตำแหน่งมือกลอง และ [[นัทธา กมลรัตนกุล]] หรือ เก่ง มาช่วยร้องคอรัส และเพิ่มสีสันในการแสดงสด และ [[ชาญณรงค์ วังเย็น]] หรือ อ๊อฟ มาช่วยร้องประสานแบบโหดๆ ซึ่งเป็นเพื่อนที่ให้ความช่วยเหลือในงานดนตรีของพวกเขามาต้ั้งแต่อัลบั้ม Lunatic Planet ทำให้เกิดวงพาราด็อกซ์ที่สมบูรณ์
ต่อมาพาราด็อกซ์ได้มีโอกาสทำเพลงเพื่อรวมอยู่ในอัลบั้ม Intro 2000 ร่วมกับศิลปินอื่น ในสังกัด[[จีนี่เรคคอร์ดส]] ต้าจึงได้ชักชวน [[เสรฐพร กฤดากร ณ อยุธยา]] หรือ โจอี้ ซึ่งเป็นญาติผู้น้องเข้ามาร่วมวงในตำแหน่งมือกลอง และ [[นัทธา กมลรัตนกุล]] หรือ เก่ง มาช่วยร้องคอรัส และเพิ่มสีสันในการแสดงสด และ [[ชาญณรงค์ วังเย็น]] หรือ อ๊อฟ มาช่วยร้องประสานแบบโหดๆ ซึ่งเป็นเพื่อนที่ให้ความช่วยเหลือในงานดนตรีของพวกเขามาต้ั้งแต่อัลบั้ม Lunatic Planet ทำให้เกิดวงพาราด็อกซ์ที่สมบูรณ์


ไม่นานหลังจากอัลบั้ม Intro 2000 พาราด็อกซ์ก็มีโอกาสได้ทำอัลบั้มเต็มของตัวเองอีกครั้งในชื่อชุด [[Summer]] โดยม "น้องเปิ้ล" เป็นเพลงเปิดตัว และ "ฤดูร้อน" ซึ่งเป็นเพลงที่ทำให้ทุกคนรู้จักพาราด็อกซ์ในวงกว้าง รวมถึงเพลงที่นักศึกษาวิชาทหารรู้จักกันดีอย่าง ร.ด.Dance
ไม่นานหลังจากอัลบั้ม Intro 2000 พาราด็อกซ์ก็มีโอกาสได้ทำอัลบั้มเต็มของตัวเองอีกครั้งในชื่อชุด [[Summer]] โดยม "น้องเปิ้ล" เป็นเพลงเปิดตัว และ "ฤดูร้อน" ซึ่งเป็นเพลงที่ทำให้ทุกคนรู้จักพาราด็อกซ์ในวงกว้าง รวมถึงเพลงที่นักศึกษาวิชาทหารรู้จักกันดีอย่าง ร.ด.Dance

รุ่นแก้ไขเมื่อ 01:34, 29 สิงหาคม 2550

พาราด็อกซ์ (Paradox)
ไฟล์:Paradox1.JPG
ข้อมูลพื้นฐาน
ที่เกิดไทย กรุงเทพ ประเทศไทย
แนวเพลงอัลเทอร์เนทีฟ
ช่วงปี2539 - ปัจจุบัน
ค่ายเพลงอิสเทอร์นสกาย เร็คคอร์ดส
ตาต้า เร็คคอร์ดส
จีนี่ เรคคอร์ดส
สมาชิกอิทธิพงศ์ กฤดากร ณ อยุธยา
ขจัดภัย กาญจนาภา
จักรพงษ์ สิริริน
เสรฐพร กฤดากร ณ อยุธยา
ชาญณรงค์ วังเย็น
นัทธา กมลรัตนกุล
อดีตสมาชิกพรภัฏ ชีวีวัฒน์

พาราด็อกซ์ เป็นวงดนตรีชาวไทย เริ่มก่อตั้งในปี พ.ศ. 2539 โดยกลุ่มนิสิตจากคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นวงที่มีเอกลักษณ์ทางการแสดงสด โดยจะมีการแสดงประกอบการเล่นดนตรี เช่น พ่นไฟ

สมาชิก

อดีตสมาชิก

ประวัติ

จุดเริ่มต้น

ไฟล์:Paradox-lpperiod2.jpg
สมาชิกพาราด็อกซ์ในยุคก่อตั้ง (จากขวาไปซ้าย) พรภัฏ ชีวีวัฒน์ อิทธิพงศ์ กฤดากร ณ อยุธยา จักรพงษ์ สิริริน

พาราด็อกซ์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อประมาณปีพ.ศ. 2537 โดย อิทธิพงศ์ กฤดากร ณ อยุธยา หรือ ต้า (ร้องนำ/กีต้าร์) ซึ่งเป็นนิสิตจากคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีความคิดที่จะตั้งวงดนตรีเพื่อร่วมกิจกรรมภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในฐานะนักศึกษาปีที่ 1จึงได้ชวน จักรพงษ์ สิริริน หรือ สอง (เบส) เข้ามาร่วมวง โดยได้รับแรงบันดาลใจมาจากวงโมเดิร์นด็อก ซึ่งเป็นวงดนตรีแนวอัลเทอร์เนทีฟที่่มีชื่อเสียงอีกวงหนึ่ง ทั้งสองคนได้ร่วมกันแต่งเพลงแนวลูกทุ่งชื่อเพลง "โรงหนังเ่ก่า" ขึ้นเป็นเพลงแรก ต่อมาก็ได้ พรภัฏ ชีวีวัฒน์ หรือ โน้ต นิสิตคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เข้ามาร่วมวงในตำแหน่งมือกลอง

อัลบั้มแรก

1 ปีต่อมา สมาชิกทั้งหมดก็ได้ตัดสินใจที่จะผลิตอัลบั้มเป็นของตัวเอง เพื่อนำออกขายในงานกิจกรรมต่างๆของคณะ ต้า ซึ่งในขณะนั้นเป็นเพียงมือกีต้าร์ของวง จึงได้รับตำแหน่งนักร้องนำและมือกีต้าร์อย่างเต็มตัว และเนื่องจากประสบปัญหาในการจัดทำอัลบั้ม "หอยจ๊อ" จึงได้ัตัดสินใจส่ง Demo เทป เพื่อเสนอแก่ค่ายเพลง

หลังจากที่"หอยจ๊อ" ส่ง Demo เทปไปยัง อิสเทอร์นสกาย เร็คคอร์ดส ซึ่งเป็นค่ายเพลงเล็กๆ พวกเขาก็ได้โอกาสออกอัลบั้มแรก Lunatic Planet พร้อมเปลี่ยนชื่อวงเป็น "พาราด็อกซ์" (Paradox) ด้วยซาวนด์ดนตรีและเนื้อหาเพลงที่แปลก แตกต่างจากวงดนตรีอื่นๆในสมัยนั้น ทำให้พาราด็อกซ์ได้รับความนิยมพอสมควร โดยมีเพลงดังอย่าง นักมายากล, ไก่ และ โรตีที่รัก โน้ต จึงได้ชักชวนให้ ขจัดภัย กาญจนาภา หรือ บิ๊ก มาช่วยเสริมในฐานะกีต้าร์ และได้กลายเป็นสมาชิกวงอย่างเป็นทางการ แต่ต่อมาไม่นาน อิสเทอร์นสกาย เร็คคอร์ดส ก็ได้ปิดตัวลง โน้ตซึ่งสำเร็จการศึกษาก็ได้ตัดสินใจแต่งงาน และเดินทางไปศึกษาต่อยังประเทศสหรัฐอเมริกา ประจวบกับที่สมาชิกอีก 2 คนกำลังจะสำเร็จการศึกษา พาราดอกซ์จึงว่างเว้นจากงานดนตรีไปกว่า 1 ปีเต็ม

ไฟล์:Paradox-lpperiod.jpg
สมาชิกพาราด็อกซ์ในช่วงแรก(จากขวาไปซ้าย) ขจัดภัย กาญจนาภา จักรพงษ์ สิริริน อิทธิพงศ์ กฤดากร ณ อยุธยา พรภัฏ ชีวีวัฒน์

หลังจากจากที่ อิสเทอร์นสกาย เร็คคอร์ดส ได้ปิดตัวลง สมาชิกที่ยังเหลืออยู่จึงได้หันไปผลิตอัลบั้ม "แมงลงวันเสปน" โดยจัดทำเป็นอัลบั้มใต้ดิน เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการส่งชิ้นงานก่อนจบการศึกษา โดยบันทึกเสียงภายในห้องนอนของ ต้า นักร้องนำ โดยจัดทำออกมาเพียง 1,000 ม้วน ภายใต้ค่ายเพลงชื่อ ตาต้า เร็คคอร์ดส และอัลบั้ม Paradox & My Friends ซึ่งได้รวมเอาผลงานของเพื่อนๆของสมาชิกในวงเอาไว้ด้วย

ก้าวสู่จีนี่เรคคอร์ดส

ต่อมาพาราด็อกซ์ได้มีโอกาสทำเพลงเพื่อรวมอยู่ในอัลบั้ม Intro 2000 ร่วมกับศิลปินอื่น ในสังกัดจีนี่เรคคอร์ดส ต้าจึงได้ชักชวน เสรฐพร กฤดากร ณ อยุธยา หรือ โจอี้ ซึ่งเป็นญาติผู้น้องเข้ามาร่วมวงในตำแหน่งมือกลอง และ นัทธา กมลรัตนกุล หรือ เก่ง มาช่วยร้องคอรัส และเพิ่มสีสันในการแสดงสด และ ชาญณรงค์ วังเย็น หรือ อ๊อฟ มาช่วยร้องประสานแบบโหดๆ ซึ่งเป็นเพื่อนที่ให้ความช่วยเหลือในงานดนตรีของพวกเขามาต้ั้งแต่อัลบั้ม Lunatic Planet ทำให้เกิดวงพาราด็อกซ์ที่สมบูรณ์

ไม่นานหลังจากอัลบั้ม Intro 2000 พาราด็อกซ์ก็มีโอกาสได้ทำอัลบั้มเต็มของตัวเองอีกครั้งในชื่อชุด Summer โดยม "น้องเปิ้ล" เป็นเพลงเปิดตัว และ "ฤดูร้อน" ซึ่งเป็นเพลงที่ทำให้ทุกคนรู้จักพาราด็อกซ์ในวงกว้าง รวมถึงเพลงที่นักศึกษาวิชาทหารรู้จักกันดีอย่าง ร.ด.Dance

และภายในปีเดียวกันนั้น พาราด็อกซ์ก็ได้ออกอัลบั้ม แค้นผีนรก ซึ่งเป็นอัลบั้มใต้ดินขึ้นมาอีก 1 ชุด ซึ่งถือเป็นอัลบั้มใต้ดินชุดสุดท้ายของวง

ในยุคที่วงอิสระเป็นที่ยอมรับ หรือที่เรียกกันว่า ยุคอินดี้นั้น มีส่วนทำให้วงพาราด็อกซ์เป็นที่ยอมรับในตลาด จนเกิดอัลบั้มพิเศษที่ชื่อ On The Beach ขึ้น โดยนำเพลงจากอัลบั้ม Summer และ Lunatic Planet มาร้องใหม่ และให้ศิลปินรับเชิญมาช่วยเรียบเรียงดนตรีในแบบอคูสติก พร้อม 2 เพลงใหม่คือเพลง ดาว และ สงสัย

ไฟล์:Paradox-otrperiod.jpg
พาราด็อกซ์ กับอัลบั้มที่ 2 On The Rainbow(จากขวาไปซ้าย) อิทธิพงศ์ กฤดากร ณ อยุธยา ขจัดภัย กาญจนาภา จักรพงษ์ สิริริน เสรฐพร กฤดากร ณ อยุธยา

อัลบั้ม On The Rainbow เป็นอัลบั้มที่มีความแตกต่างไปจากอัลบั้มก่อนๆของพาราด็อกซ์ เนื่องจากเพลงส่วนใหญ่ลดความแรงลงไปมาก แต่ทดแทนมาด้วยฝีมือที่พัฒนาขึ้นไปอีกขั้น โดยเน้นการทำดนตรีและท่วงทำนองที่สวยงาม พร้อมบทเพลงที่ไพเราะอย่างเพลง รุ้ง และ เศษ หรือ เพลง กวีบทเก่า ที่นำบทเพลงของวง นูโว มาเรียบเรียงใหม่ในแบบฉบับของตัวเอง

นับจากอัลบั้ม On The Rainbow นี้ บทบาทในการทำอัลบั้มของเก่งและอ๊อฟจะลดลงไป แต่ทั้งสองคนก็ยังมีส่วนช่วยในการทำเพลงอยู่เบื้องหลัง และเป็นกำลังสำคัญในการแสดงคอนเสิร์ต ของพาราด็อกซ์อยู่เสมอๆ

คอนเสิร์ตแรก

ในปี 2546 Fat Radio ได้จัดให้มีคอนเสิร์ตใหญ่ของพาราด็อกซ์ขึ้นเป็นครั้งแรกในวันที่ 28 มีนาคม 2546 ที่อินดอร์สเตเดี้ยม หัวหมาก ในชื่อ Fat Live 4 : The Paradox Circus ซึ่งเป็นคอนเสิร์ตที่ได้รับการตอบรับเป็นอย่างอบอุ่น พร้อมแขกรับเชิญพิเศษคือ ก้อย - Saturday Seiko เล็ก - สุรชัย กิจเกษมสิน ผิง - Club F และ สามสาวจากวง H และในปีเดียวกันนี้ พาราด็อกซ์ก็ได้ออกอัลบั้ม Freestyle ที่มีเพลงดังอย่าง Sexy ทาส บอลลูน พร้อมทั้งนำเพลงนักมายากล จากอัลบั้ม Lunatic Planet กลับมาทำใหม่อีกครั้ง

หลังจากอัลบั้ม Free Style เพียงไม่กี่เดือน พาราด็อกซ์ก็มีผลงานพิเศษที่ร่วมกับศิลปินอื่นอีกครั้งในชื่อ Little Rock Project ซึ่งเป็นการนำเพลงของวงในตำนานอย่าง ไมโคร กลับมาทำใหม่ตามแบบฉบับของแต่ละวงในอัลบั้มนี้ ซึ่งพาราด็อกซ์มีผลงานอยู่2เพลงคือ มันก็ยังงง งง และ รักคุณเข้าแล้ว และได้มีคอนเสิร์ตที่ชื่อ Rock Size S เกิดขึ้นที่ Impact Arena เมืองทองธานี

เมื่ออัลบั้มเก่าๆของพาราด็อกซ์เริ่มหายาก จึงมีการทำอัลบั้ม Hit Me ขึ้น ซึ่งเป็นผลงานรวมเพลงของพาราด็อกซ์ตั้งแต่อัลบั้ม Summer เป็นต้นมา และพาราด็อกซ์ก็ได้มีโอกาสทำเพลงประกอบภาพยนตร์ วัยอลวน4 โดยนำเพลงดังในอดีต อย่าง เธอที่รัก กลับมาเรียบเรียงใหม่ รวมถึงการนำเพลง Let's Go Rider Kick ซึ่งเป็นเพลงเปิดตัวของ ไอ้มดแดง V.1 มาเรียบเรียงใหม่เพื่อใช้สำหรับงาน ไอ้มดแดง Live Show In Bangkok

10 ปี พาราด็อกซ์

ไฟล์:12459 004.jpg
ระหว่างการถ่ายทำมิวสิควีดีโอเพลงผงาดง้ำค้ำโลก จากอัลบั้ม X (10 Years After)

เมื่อห่างหายจากอัลบั้มเต็มไปถึง 3 ปี พาราด็อกซ์ก็ได้กลับมาอีกครั้งกับอัลบั้ม X (10 Years After) ซึ่งเป็นผลงานที่ออกมาในช่วงครบรอบ 10 ปีของทางวง อัลบั้มนี้มีการเพิ่มโบนัสแทร็คถึง12แทร็ค รวมกับเพลงปกติอีก10แทร็ค แทร็คทั้งหมดในอัลบั้มนี้จึงมีถึง22แทร็ค เพลงที่เป็นที่รู้จักในอัลบั้มนี้คือเพลง ผงาดง้ำค้ำโลก ซึ่งเป็นเพลงที่มีการนำคำต่างๆมาพลิกแพลงจนกลายมาเป็นเพลงที่มีมุมมองที่แตกต่างจากเพลงทั่วๆไป เพลงส่งรักส่งยิ้มซึ่งมีเนื้อหาที่ชวนให้ทุกคนหันหน้าสร้างรอยยิ้มให้กัน พร้อมทั้งเพลงจังหวะสนุกๆแบบย้อนยุคอย่าง คิด และ มองตา ในส่วนของโบนัสแทร็คจะประกอบด้วยเพลงแนวทดลองโดยสมาชิกวงแต่ละคนอย่าง escape นั่งยาง และมีการนำเพลงใต้ดินมาใส่ไว้ เช่นเพลงโรงหนังเก่า ซึ่งเป็นเพลงแรกที่ต้าและสองแต่งขึ้นมา

และในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2550 พาราด็อกซ์ก็ได้ออกอัลบั้มพิเศษในชื่อว่า Paradox In Paradise ซึ่งเป็นการนำเพลงตั้งแต่อัลบั้ม On The Rainbow มาร้องใหม่ และเรียบเรียงดนตรีในแบบเบาๆโดยศิลปินรับเชิญอีกครั้ง พร้อมด้วยเพลงใหม่ที่ชื่อใครสักคน และเพลงสิงห์รถบรรทุก ซึ่งเป็นเพลงที่มีอยู่ในซีดีแบบ Special Edition เท่านั้น

เดือนเมษายนในปีเดียวกัน พาราด็อกซ์ได้มีผลงานเขียนออกวางจำหน่ายเป็นครั้งแรกชื่อ บันทึกลึกลับ Paradox X ซึ่งต้าได้รวบรวมประสบการณ์ระหว่างการทำงานในอัลบั้ม X (10 Years After) มาเขียนลงหนังสือเพื่ออธิบายถึงที่มาของแต่ละเพลง รวมถึงขั้นตอนการทำงานเบื้องหลังต่างๆภายในอัลบั้มนี้

ปัจจุบันวงพาราด็อกซ์อยู่ในระหว่างเตรียมงานอัลบั้มใหม่ที่จะออกในปลายปี 2550 นี้

ผลงาน

อัลบั้มใต้ดิน

แมลงวันเสปน (พ.ศ. 2540)

แมลงวันเสปน
  • สังกัด: ตาต้า เร็คคอร์ดส
ลำดับ ชื่อเพลง ความยาว หมายเหตุ
1 Intro 1.56 -
2 อกหักเพราะรักเณร 1.38 -
3 ทำไม 2.54 -
4 แมลงวันสเปน (Tata Mix) 3.45 -
5 เคารพกฎจราจร 2.14 -
6 นักมายากล(demo) 4.12 -

PARADOX & My Friends (พ.ศ. 2541)

PARADOX & My Friends
  • สังกัด: ตาต้า เร็คคอร์ดส
  • เป็นอัลบั้มที่มีเพลงใหม่ของวงอยู่หน้า A ส่วนหน้า B เป็นเพลงของเพื่อนๆที่มาอัดเสียงที่บ้าน
ลำดับ ชื่อเพลง ความยาว หมายเหตุ
1 กลัว 2.54 -
2 โรงหนังเก่า 4.25 -
3 ยั่ว 3.32 -
4 แมลงวัน 5.04 -
5 น้องแอน ( live ) 5.07 -
6 หน้าไหว้หลังหลอก 2.58 -
7 รู้สึกว่านาน 4.38 -
8 นั่งเศร้า 2.55 -

แค้นผีนรก (พ.ศ. 2543)

แค้นผีนรก
ลำดับ ชื่อเพลง ความยาว หมายเหตุ
1 นักมายากล (Dark mix) 4.34 -
2 นักมายากล(Zalza) 4.31 -
3 มันไม่เม้ม 1.06 -
4 แมลงวัน ( live ) 3.51 -
5 แค้นผีนรก 6.13 -

อัลบั้มสตูดิโอ

Lunatic Planet (พ.ศ. 2539)

Lunatic Planet
ลำดับ ชื่อเพลง ความยาว หมายเหตุ
1 ไก่ 2.08 บทเพลงในอดีต ไม่ทราบนามผู้แต่ง
2 โรตีที่รัก 4.11 ทำนองและเนื้อร้อง โดย จักรพงษ์ สิริริน
3 นักมายากล 4.07 จัดทำใหม่ในอัลบั้มแค้นผีนรก และ Free Style
4 แกงเผ็ดเป็ดย่าง 3.50 -
5 ลา ลา ลา 5.54 -
6 เพ้อ 4.04 -
7 อยาก 5.35 -
8 เสือไบ 2.48 เนื้อร้อง โดย จักรพงษ์ สิริริน
9 ห้ามดื่ม (Drunk Mix) 1.41 -

Summer (พ.ศ. 2543)

Summer
ลำดับ ชื่อเพลง ความยาว หมายเหตุ
1 น้องเปิ้ล 3.58 -
2 LOVE 3.17 -
3 ภารตะฟิล์ม 3.16 -
4 มีแต่เธอ 3.18 -
5 ฤดูร้อน 3.55 -
6 ร.ด. Dance 4.23 -
7 โดดน้ำตาย 3.18 -
8 3 มิติ 3.28 -
9 ไถล 3.25 -
10 อยู่ในใจ 3.26 -
11 ทัชมาฮาล 6.18 -
12 อกหักเพราะรักเณร 1.42 Bonus track

On The Rainbow (พ.ศ. 2545)

On the rainbow
ลำดับ ชื่อเพลง ความยาว หมายเหตุ
1 รุ้ง 4.44 -
2 กลิ่นโรงพยาบาล 3.49 -
3 เพลงสุดท้าย 3.56 -
4 ไฟ 3.01 -
5 ทะเลแสนหวาน 2.49 -
6 กวีบทเก่า 3.10 เรียบเรียงจากผลงานเดิมของ นูโว
7 คู่ควร 4.07 -
8 ผีเสื้อกับดอกไม้ 3.48 -
9 คลาย 3.27 -
10 เศษ 3.28 -
11 แมลงวัน 4.17 ก่อนหน้านี้อยู่ในอัลบั้มแค้นผีนรก
12 นั่งเศร้า 2.04 ก่อนหน้านี้อยู่ในอัลบั้ม Paradox & My Friends
13 Bonus Track 0.20 Bonus track

Free Style(พ.ศ. 2546)

Free Style
ลำดับ ชื่อเพลง ความยาว หมายเหตุ
1 SEXY 2.49 -
2 ทาส 3.30 -
3 บ่วงไฟ 3.36 -
4 ขอ 4.01 -
5 ไซโค 2.20 -
6 โลภ 3.27 -
7 Star 4.00 -
8 บอลลูน 3.15 -
9 เทพธิดา 3.11 เพลงประกอบละครเรื่องสุภาพบุรุษลูกผู้ชาย
10 นักมายากล 4.10 ก่อนหน้านี้อยู่ในอัลบั้ม Lunatic Planet
11 กรงทอง 4.38 -
12 ปีศาจ 4.43 -
13 จันทร์เหงา 4.15 -
14 Bonus Track 1.25 Bonus track

X (Ten Years After) (พ.ศ. 2549)

X (Ten Years After)
  • สังกัด : จีนี่ เรคคอร์ดส
  • วางจำหน่าย 28 กันยายน 2549 โดย MGA
  • อัลบั้มที่ 4 ของวงพาราด็อกซ์ ที่ออกกับค่าย จีนี่ เรคคอร์ดส เป็นอัลบั้มที่ออกมาเนื่องในโอกาสครบรอบ 10 ปีของวง โดยรูปผู้หญิงหัวปลาหมึกแสดงท่าเป็นรูปตัวอักษร X ซึ่งเป็นเลขโรมัน หมายถึงเลข 10
  • อัลบั้มนี้มีเพลงพิเศษ หรือ Bonus Track 12 เพลง ซึ่งมีมากกว่าจำนวนเพลงหลักในอัลบั้ม
  • มีการจัดทำหนังสือ"บันทึกลึกลับ Paradox X" เบื้องหลังการทำงานของอัลบัม เขียนโดย อิทธิพงศ์ กฤดากร ณ อยุธยา หรือ ต้า พาราด็อกซ์ นักร้องนำ
ลำดับ ชื่อเพลง ความยาว หมายเหตุ
1 ก็มีแค่นั้น 2.49 -
2 คิด 3.49 -
3 ผงาดง้ำค้ำโลก 3.56 -
4 ส่งรักส่งยิ้ม 3.01 -
5 ชัชชา 2.49 -
6 มองตา 3.10 -
7 เงา 4.07 -
8 เป็นวัยรุ่นมันเหนื่อย 3.48 เพลงประกอบโฆษณาเครื่องดื่ม M-Max
9 Say Hey! 3.27 -
10 ทุกๆอย่าง 3.28 -
Bonus Track
11 จ้าวป่าฮาเฮ 2.49 -
12 Escape (by DJ. Big It All) 3.49 แต่งโดยขจัดภัย กาญจนาภา
13 เกจิ (by Joseph) 3.56 แต่งโดย เสรฐพร กฤดากร ณ อยุธยา (โจอี้)
14 หอยใหญ่ 3.01 -
15 นั่งยาง (Soundtrack by TATA) 2.49 -
16 ก็มีแค่โน้น (DJ. มานิตย์ mix) 3.10 แต่งโดย จักรพงษ์ สิริริน
17 มองยาย 4.07 -
18 มะเร็งอารมณ์ (Live) 3.48 -
19 เงา (Version ลูกกรอก mix) 3.27 -
20 กลัว (underground 1998) 3.28 ก่อนหน้านี้อยู่ในอัลบั้ม Lunatic Planet
211 หน้าไหว้หลังหลอก (DJ. Big Body Slim mix) 4.17 ดัดแปลงจากฉบับเดิม ในอัลบั้ม Paradox & My Friends โดยขจัดภัย กาญจนาภา
22 โรงหนังเก่า (underground 1998) 2.04 ก่อนหน้านี้อยู่ในอัลบั้ม Paradox & My Friends

บันทึกการแสดงสด

Pattaya Music Festival 2003 Vol. 4 (พ.ศ. 2546)

  1. รุ้ง
  2. กลิ่นโรงพยาบาล
  3. ฤดูร้อน

Fat Live 4 : The Paradox Circus (พ.ศ. 2546)

ไฟล์:VC0000053.jpg
VCD Fat Live 4 : The Paradox Circus
  1. ไก่
  2. กลิ่นโรงพยาบาล
  3. โรตีที่รัก
  4. ทัชมาฮาล
  5. มีแต่เธอ
  6. อะไรที่ฉันเป็น
  7. 3 มิติ
  8. น้องเปิ้ล
  9. Love
  10. ไถล
  11. นักมายากล
  12. เพ้อ
  13. ดาว
  14. Sexy
  15. ท่ามกลาง
  16. แมลงวัน
  17. สงสัย
  18. ฤดูร้อน
  19. รุ้ง
  20. ไฟ
  21. ร.ด.แดนซ์
  22. เสือไบ

Rock Size S (พ.ศ. 2547)

  1. มันก็ยัง งง งง
  2. Sexy
  3. บอลลูน
  4. รักคุณเข้าแล้ว


ผลงานรวมเพลง

On The Beach (พ.ศ. 2544)

On The Beach
  1. ดาว
  2. สงสัย
  3. 3 มิติ
  4. ไก่ (คนขายไก่)
  5. เพ้อ
  6. ฤดูร้อน
  7. ไถล
  8. LOVE
  9. มีแต่เธอ
  10. อยู่ในใจ

Hit Me (พ.ศ. 2547)

ลำดับ ชื่อเพลง ความยาว หมายเหตุ
1 ทาส 3.30 จากอัลบั้ม Free Style
2 ฤดูร้อน 3.55 จากอัลบั้ม Summer
3 LOVE 3.17 จากอัลบั้ม Summer
4 เพลงสุดท้าย 3.56 จากอัลบั้ม On The Rainbow
5 3 มิติ 3.28 จากอัลบั้ม Summer
6 รุ้ง 4.44 จากอัลบั้ม On The Rainbow
7 นักมายากล 4.10 จากอัลบั้ม Free Style
8 ขอ 4.01 จากอัลบั้ม Free Style
9 เพ้อ 4.01 จากอัลบั้ม On The Beach
10 ดาว 4.01 จากอัลบั้ม On The Beach
11 SEXY 2.49 จากอัลบั้ม Free Style
12 น้องเปิ้ล 3.58 จากอัลบั้ม Summer
13 ร.ด. Dance 4.23 จากอัลบั้ม Summer
14 เศษ 3.28 จากอัลบั้ม On The Rainbow

Paradox In Paradise (พ.ศ. 2550)

Paradox In Paradise รูปแบบธรรมดา
ไฟล์:Cdparadiselimited.jpg
Paradox In Paradise รูปแบบพิเศษจำนวนจำกัด
  • สังกัด : จีนี่ เรคคอร์ดส
  • วางจำหน่าย 23 กุมภาพันธ์ 2547 โดย MGA
  • อัลบั้มพิเศษอันดับที่ 3 ของวงพาราด็อกซ์
  • บันทึกเสียงร้องใหม่ และเรียบเรียงดนตรีโดยศิลปินรับเชิญ
  • วางจำหน่ายทั้งรูปแบบทั่วไป และรูปแบบพิเศษจำนวนจำกัด
ลำดับ ชื่อเพลง ความยาว หมายเหตุ
1 ใครสักคน 4:21 Bonus Track
2 มองตา 4:29 -
3 ผงาดง้ำค้ำโลก 4:29 -
4 นักมายากล 3:47 -
5 ขอ 4:01 -
6 ทะเลแสนหวาน 2:52 -
7 เพลงสุดท้าย 4:07 -
8 เศษ 3:14 เพลงประกอบละครเรื่องสุภาพบุรุษลูกผู้ชาย
9 ส่งรักส่งยิ้ม 3:05 ก่อนหน้านี้อยู่ในอัลบั้ม Lunatic Planet
10 ก็มีแค่นั้น 2:38 -
11 กลิ่นโรงพยาบาล 3:34 -
12 เงา 3:08 -
13 ใครสักคน (Accapella) 3:24 -
14 สิงห์รถบรรทุก 3:12 Bonus Track เฉพาะอัลบั้ม Paradox In Paradise รูปแบบพิเศษจำนวนจำกัดเท่านั้น

ผลงานพิเศษ

ผลงานที่ร่วมกับศิลปินอื่น

ปี ชื่อเพลง อัลบั้ม
พ.ศ. 2540 นักมายากล Hotwave Rock Marathon #2
พ.ศ. 2542 แมลงวัน พลังแห่งสันติภาพ
ท่ามกลาง Intro 2000
พ.ศ. 2546 เทพธิดา เพลงประกอบละคร สุภาพบุรุษลูกผู้ชาย
มันก็ยัง งง งง Little Rock Project vol.1
รักคุณเข้าแล้ว Little Rock Project vol.2
พ.ศ. 2548 เธอที่รัก เพลงประกอบภาพยนตร์ วัยอลวน 4
Let's Go Rider Kick ไอ้มดแดง Live In Bangkok
พ.ศ. 2549 จิ๊บ ร.ด. เพลงประกอบภาพยนตร์ เขาชนไก่

ผลงานเขียน

หน้าปกหนังสือหนังสือบันทึกลึกลับ พาราด็อกซ์ เอ็กซ์)

บันทึกลึกลับ Paradox X

  • เขียนโดย อิทธิพงศ์ กฤดากร ณ อยุธยา (ต้า) นักร้องนำ
  • วางจำหน่ายครั้งแรกในงานสัปดาห์หนังสือนานาชาติครั้งที่ 5 ระหว่างวันที่ 30 มีนาคม 2550 - 10 เมษายน 2550 ที่ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
  • เปิดตัวอย่างเป็นทางการในวันที่ 24 เมษายน 2550 ณ ร้านบีทูเอส สาขาเซ็นทรัล เวิลด์ พลาซ่า ในงานที่ชื่อว่า "10 ปีที่ผ่านมา และ 10เพลง ที่ผ่านไป"[1]
  • ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2 มีการเพิ่มรูปภาพในหน้า 108 มีการปรับเปลี่ยนการจัดวางหน้า เพิ่มข้อมูลที่ขาดหาย และแก้คำผิด
  • เนื้อหาว่าด้วยรายละเอียดต่างๆในการจัดทำอัลบั้ม X (Ten Years After) และ Paradox In Paradise เป็นการขยายปกซีดีให้กลายร่างมาเป็นหนังสือหนึ่งเล่ม [2]
  • ผู้เขียนได้กล่าวไว้ในหน้าคำนำว่าหนังสือเล่มนี้เป็นนวัตกรรมใหม่ในการฟังดนตรี [2]การได้รับรู้การทำงานเบื้องหลังของแต่ละอัลบั้มเป็นตัวเพิ่มอรรถรสในการฟังเพลง

รางวัล

  • รางวัลรถติดคนติด (เพลง ขอ จากอัลบั้ม Freestyle) : FAT AWARDS #2 (พ.ศ. 2547)
  • รางวัลท่อนฮุคเฆี่ยนใจ (เพลง ขอ จากอัลบั้ม Freestyle) : FAT AWARDS #2 (พ.ศ. 2547)
  • รางวัลศิลปินยอดนิยม : FAT AWARDS #5 (พ.ศ. 2550)

อ้างอิง

  1. ผู้จัดการรายสัปดาห์. เปลือย “พาราด็อกซ์”สัมผัสบั้นท้ายงานเพลง. [19 สิงหาคม 2550]
  2. 2.0 2.1 อิทธิพงศ์ กฤดากร ณ อยุธยา. บันทึกลึกลับ Paradox X. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ : มาร์ส, 2550

แหล่งข้อมูลอื่น