ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นกเงือก"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 12: บรรทัด 12:
| range_map_caption = แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ของนกเงือก (ทั่วโลก)
| range_map_caption = แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ของนกเงือก (ทั่วโลก)
| familia = '''Bucerotidae'''
| familia = '''Bucerotidae'''
| familia_authority = [[Constantine Samuel Rafinesque|Rafinesque]], [[ค.ศ. 1815]]
| familia_authority = [[Constantine Samuel Rafinesque|Rafinesque]], [[ค.ศ. 1815|1815]]
| subdivision_ranks = [[genus|สกุล]]<ref name="itis"/>
| subdivision_ranks = [[genus|สกุล]]<ref name="itis"/>
| subdivision = *''[[Aceros]]'' <small>Hodgson, 1844</small>
| subdivision = *''[[Aceros]]'' <small>Hodgson, 1844</small>
บรรทัด 31: บรรทัด 31:
| synonyms = *Bucerotiformes
| synonyms = *Bucerotiformes
*Bucerotes
*Bucerotes
| synonyms_ref = <ref name="itis">[http://www.itis.gov/servlet/SingleRpt/SingleRpt?search_topic=TSN&search_value=178139 จาก itis.gov]</ref>
| synonyms_ref = <ref name="itis">{{ITIS|id=178139|taxon=Bucerotidae}}</ref>
}}
}}


'''นกเงือก''' ({{lang-en|Hornbill}}) เป็นนกขนาดใหญ่ ที่อยู่ในวงศ์ Bucerotidae ใน[[Coraciiformes|อันดับนกตะขาบ]] (Coraciiformes) (บางข้อมูลซึ่งเป็นข้อมูลเก่าจะจัดให้อยู่ในอันดับ Bucerotiformes ซึ่งเป็นอันดับเฉพาะของนกเงือกเอง แต่ปัจจุบันนับเป็นชื่อพ้อง โดยนับรวม[[Bucorvus|นกเงือกดิน]]เข้าไปด้วย<ref name="itis"/><ref>Walters, Michael P. (1980). ''Complete Birds of the World''. David & Charles PLC. ISBN 0715376667.</ref>) เป็นนกที่เชื่อว่าถือกำเนิดมานานกว่า 45 ล้านปีมาแล้ว<ref name="นก"/>
'''นกเงือก''' ({{lang-en|Hornbills}}) เป็นนกขนาดใหญ่ ที่อยู่ในวงศ์ Bucerotidae ใน[[Coraciiformes|อันดับนกตะขาบ]] (Coraciiformes) (บางข้อมูลซึ่งเป็นข้อมูลเก่าจะจัดให้อยู่ในอันดับ Bucerotiformes ซึ่งเป็นอันดับเฉพาะของนกเงือกเอง แต่ปัจจุบันนับเป็นชื่อพ้อง โดยนับรวม[[Bucorvus|นกเงือกดิน]]เข้าไปด้วย<ref name="itis"/><ref>Walters, Michael P. (1980). ''Complete Birds of the World''. David & Charles PLC. ISBN 0715376667.</ref>) เป็นนกที่เชื่อว่าถือกำเนิดมานานกว่า 45 ล้านปีมาแล้ว<ref name="นก"/>


นกเงือก เป็นนกป่าขนาดใหญ่ ที่มีจุดเด่น คือ จะงอยปากหนาที่ใหญ่และมีโหนกทางด้านบนเป็นโพรง ภายในโพรงมีเนื้อเยื่อคล้ายฟองน้ำ<ref name="นก">[http://student.nu.ac.th/51320756/ho1.html ลักษณะเด่นของนกเงือก]</ref> ส่วนใหญ่ลำตัวมีสีขาวดำหางยาว ปีกกว้างใหญ่ บินได้แข็งแรง เวลาบินจะโบกปีกช้า ๆ กินผลไม้เป็นอาหารหลัก และสัตว์เลื้อยคลานเล็ก ๆ เป็นอาหารเสริม ทำรังในโพรงไม้ ตัวเมียจะเข้าไปกดไข่ในโพรงโดยใช้โคลนและมูลปิดปากโพรงไว้ เหลือเพียงช่องพอให้ตัวผู้อื่นส่งอาหารเข้าไปได้ เมื่อลูกนกโตพอแล้ว จึงเจาะโพรงออกมา<ref>[http://61.19.202.164/works/birds/L02-30.htm วงศ์นกเงือก]</ref>
นกเงือก เป็นนกป่าขนาดใหญ่ ที่มีจุดเด่น คือ จะงอยปากหนาที่ใหญ่และมีโหนกทางด้านบนเป็นโพรง ภายในโพรงมีเนื้อเยื่อคล้ายฟองน้ำ<ref name="นก">[http://student.nu.ac.th/51320756/ho1.html ลักษณะเด่นของนกเงือก]</ref> ส่วนใหญ่ลำตัวมีสีขาวดำหางยาว ปีกกว้างใหญ่ บินได้แข็งแรง เวลาบินจะโบกปีกช้า ๆ กินผลไม้เป็นอาหารหลัก และสัตว์เลื้อยคลานเล็ก ๆ เป็นอาหารเสริม ทำรังในโพรงไม้ ตัวเมียจะเข้าไปกดไข่ในโพรงโดยใช้โคลนและมูลปิดปากโพรงไว้ เหลือเพียงช่องพอให้ตัวผู้อื่นส่งอาหารเข้าไปได้ เมื่อลูกนกโตพอแล้ว จึงเจาะโพรงออกมา<ref>[http://61.19.202.164/works/birds/L02-30.htm วงศ์นกเงือก]</ref>

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:09, 16 สิงหาคม 2559

นกเงือก
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: โอลิโกซีน-ปัจจุบัน, 45–0Ma
ส่วนหัวของนกกก (Buceros bicornis)
เสียงร้องของนกกก
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Aves
อันดับ: Coraciiformes
วงศ์: Bucerotidae
Rafinesque, 1815
สกุล[1]
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ของนกเงือก (ทั่วโลก)
ชื่อพ้อง[1]
  • Bucerotiformes
  • Bucerotes

นกเงือก (อังกฤษ: Hornbills) เป็นนกขนาดใหญ่ ที่อยู่ในวงศ์ Bucerotidae ในอันดับนกตะขาบ (Coraciiformes) (บางข้อมูลซึ่งเป็นข้อมูลเก่าจะจัดให้อยู่ในอันดับ Bucerotiformes ซึ่งเป็นอันดับเฉพาะของนกเงือกเอง แต่ปัจจุบันนับเป็นชื่อพ้อง โดยนับรวมนกเงือกดินเข้าไปด้วย[1][2]) เป็นนกที่เชื่อว่าถือกำเนิดมานานกว่า 45 ล้านปีมาแล้ว[3]

นกเงือก เป็นนกป่าขนาดใหญ่ ที่มีจุดเด่น คือ จะงอยปากหนาที่ใหญ่และมีโหนกทางด้านบนเป็นโพรง ภายในโพรงมีเนื้อเยื่อคล้ายฟองน้ำ[3] ส่วนใหญ่ลำตัวมีสีขาวดำหางยาว ปีกกว้างใหญ่ บินได้แข็งแรง เวลาบินจะโบกปีกช้า ๆ กินผลไม้เป็นอาหารหลัก และสัตว์เลื้อยคลานเล็ก ๆ เป็นอาหารเสริม ทำรังในโพรงไม้ ตัวเมียจะเข้าไปกดไข่ในโพรงโดยใช้โคลนและมูลปิดปากโพรงไว้ เหลือเพียงช่องพอให้ตัวผู้อื่นส่งอาหารเข้าไปได้ เมื่อลูกนกโตพอแล้ว จึงเจาะโพรงออกมา[4]

และจากจะงอยปากและส่วนหัวที่ใหญ่เหมือนโหนกหรือหงอนนั้น ทำให้นกเงือกถูกใช้ในเชิงสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมมาแต่โบราณ โดยใช้ทำเป็นเครื่องประดับของชนเผ่าต่าง ๆ[5]

พบทั่วโลกมี 55 ชนิด[6]ใน 14 สกุล (ดูในตาราง) มีการแพร่กระจายอยู่ในแถบเขตร้อน ของทวีปแอฟริกา และเอเชีย

นกเงือกเป็นนกผัวเดียวเมียเดียว มีลักษณะการทำรังที่แปลกจากนกอื่น คือ เมื่อถึงฤดูกาลทำรัง นกคู่ผัวเมียจะพากันหารัง ซึ่งได้แก่ โพรงไม้ตามต้นไม้ใหญ่ เช่น ต้นยาง ที่อยู่ในที่ลับตา เมื่อตัวเมียเข้าไปอยู่ในโพรง จะทำความสะอาดแล้วเริ่มปิดปากโพรง ด้วยวัสดุต่าง ๆ เช่น ดิน เปลือกไม้ ตัวเมียจะขังตัวเองอยู่ภายในเพื่อออกไข่และเลี้ยงลูก

นกเงือก เป็นดัชนีชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติได้ประการหนึ่ง เนื่องจากจะอาศัยอยู่ในป่าหรือพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์เท่านั้น เนื่องจากนกเงือกเป็นนกขนาดใหญ่ถึงใหญ่มาก กินทั้งผลไม้และสัตว์เป็นอาหาร อีกทั้งธรรมชาติในการหากินต้องอาศัยพื้นที่ป่าที่กว้าง[7] และยังเป็นตัวแพร่กระจายพันธุ์พืชชนิดต่าง ๆ ในป่าได้อย่างดีอีกด้วย เนื่องจากเป็นนกที่กินผลไม้ชนิดต่าง ๆ ได้ถึง 300 ชนิด และทิ้งเมล็ดไว้ตามที่ต่าง ๆ[3]

นกเงือกในประเทศไทย

ประเทศไทยมีนกเงือก 13 ชนิด โดยในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ซึ่งมีอาณาเขตส่วนหนึ่งอยู่ใน จังหวัดนครราชสีมา มี 4 ชนิด ได้แก่ นกกก หรือ นกกะวะ หรือ นกกาฮัง นกเงือกสีน้ำตาล นกเงือกกรามช้าง หรือ นกกู่กี๋ และนกแก๊ก หรือนกแกง และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา พบ 9 ใน 12 ชนิดของนกเงือกที่พบในไทย ได้แก่ นกเงืกปากย่น นกเงือกชนหิน นกแก๊ก นกกก นกเงือกหัวหงอก นกเงือกปากดำ นกเงือกหัวแรด นกเงือกดำ นกเงือกกรามช้าง[8]

รายชื่อนกเงือกที่พบในประเทศไทย

โดยนกเงือกทุกชนิดในประเทศ จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง และมีการศึกษา วิจัย และอนุรักษ์นกเงือกมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521 มีการจัดตั้งเป็นมูลนิธิ โดยทางมหาวิทยาลัยมหิดล[7] และนักวิชาการที่ศึกษาเกี่ยวกับนกเงือกโดยเฉพาะ จนได้รับฉายาว่า "มารดาแห่งนกเงือก" คือ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.พิไล พูลสวัสดิ์[9]

รูปภาพ

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 "Bucerotidae". ระบบข้อมูลการจำแนกพันธุ์แบบบูรณาการ.
  2. Walters, Michael P. (1980). Complete Birds of the World. David & Charles PLC. ISBN 0715376667.
  3. 3.0 3.1 3.2 ลักษณะเด่นของนกเงือก
  4. วงศ์นกเงือก
  5. Hodgson,BH (1833). "Description of the Buceros Homrai of the Himalaya". Asiat. Res. 18 (ฉบับที่ 2): 169–188.
  6. นกเงือก
  7. 7.0 7.1 วันรัก"นกเงือก" สัตว์ที่เป็น "ดัชนีชี้วัดความสมบูรณ์ของป่าและธรรมชาติ" จากมติชน
  8. เดินป่า-ชมนกเงือก น้ำตกสิรินทร-นราธิวาส
  9. ยกย่อง"พิไล" แม่ของนกเงือก จากข่าวสด

แหล่งข้อมูลอื่น