ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระปรมาภิไธย (พระมหากษัตริย์ไทย)"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 65: บรรทัด 65:
== พระปรมาภิไธยโดยสังเขปตามแบบพระราชนิยมรัชกาลที่ 6 ==
== พระปรมาภิไธยโดยสังเขปตามแบบพระราชนิยมรัชกาลที่ 6 ==
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชนิยมให้ใช้พระปรมาภิไธยโดยสังเขปโดยมีคำนำหน้าว่า '''"รามาธิบดีศรีสินทร"''' ทุกรัชกาล โดยพระองค์ได้ถวายพระปรมาภิไธยแก่บูรพกษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ทุกรัชกาล และเฉลิมพระปรมาภิไธยของพระองค์เอง <ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2459/A/212.PDF พระบรมราชโองการ ประกาศ เฉลิมพระปรมาภิไธย], เล่ม 33, ตอน 0ก, 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2459, หน้า 212 </ref> ดังนี้
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชนิยมให้ใช้พระปรมาภิไธยโดยสังเขปโดยมีคำนำหน้าว่า '''"รามาธิบดีศรีสินทร"''' ทุกรัชกาล โดยพระองค์ได้ถวายพระปรมาภิไธยแก่บูรพกษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ทุกรัชกาล และเฉลิมพระปรมาภิไธยของพระองค์เอง <ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2459/A/212.PDF พระบรมราชโองการ ประกาศ เฉลิมพระปรมาภิไธย], เล่ม 33, ตอน 0ก, 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2459, หน้า 212 </ref> ดังนี้
:* รัชกาลที่ 1: พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาจักรีบรมนาถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก หรือ พระบาทสมด็จพระรามาธิบดีที่ 1
:* รัชกาลที่ 1: พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาจักรีบรมนาถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก หรือ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1
:* รัชกาลที่ 2: พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาอิศรสุนทร พระพุทธเลิศหล้านภาลัย หรือ พระบาทสมด็จพระรามาธิบดีที่ 2
:* รัชกาลที่ 2: พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาอิศรสุนทร พระพุทธเลิศหล้านภาลัย หรือ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2
:* รัชกาลที่ 3: พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรเจษฏาธิบดินทร์ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ พระบาทสมด็จพระรามาธิบดีที่ 3
:* รัชกาลที่ 3: พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรเจษฏาธิบดินทร์ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 3
:* รัชกาลที่ 4: พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหามงกุฏ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ พระบาทสมด็จพระรามาธิบดีที่ 4
:* รัชกาลที่ 4: พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหามงกุฏ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 4
:* รัชกาลที่ 5: พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ พระบาทสมด็จพระรามาธิบดีที่ 5
:* รัชกาลที่ 5: พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 5
:* รัชกาลที่ 6: พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ พระบาทสมด็จพระรามาธิบดีที่ 6
:* รัชกาลที่ 6: พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 6
ส่วนในภาคภาษาอังกฤษนั้น โปรดเกล้าฯ ให้ใช้คำว่า '''"Rama"''' แล้วตามด้วยหมายเลขลำดับรัชกาลแบบ[[เลขโรมัน]]ตามธรรมเนียมยุโรป
ส่วนในภาคภาษาอังกฤษนั้น โปรดเกล้าฯ ให้ใช้คำว่า '''"Rama"''' แล้วตามด้วยหมายเลขลำดับรัชกาลแบบ[[เลขโรมัน]]ตามธรรมเนียมยุโรป



รุ่นแก้ไขเมื่อ 03:34, 8 ธันวาคม 2558

ไฟล์:Seal KRama4.jpg
อักษรพระปรมาภิไธยย่อ มปร ในตราสัญลักษณ์ ครบ 200 ปี แห่งการพระบรมราชสมภพ
ไฟล์:บวรนิเวศ.JPG
อักษรพระปรมาภิไธยย่อ จปร ในตราสัญลักษณ์ประจำโรงเรียนวัดบวรนิเวศ

พระปรมาภิไธย (พระ+ปรม+อภิไธย แปลว่า ชื่ออันประเสริฐยิ่ง) [1] หมายถึง พระนามของพระมหากษัตริย์ราชเจ้า ตามที่จารึกในพระสุพรรณบัฏ หลังจากที่ได้มีพระราชพิธีบรมราชาภิเษกแล้ว ซึ่งเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 4

ลำดับการถวายพระปรมาภิไธย

โดยพระองค์โปรดให้เฉลิมพระปรมาภิไธยแด่พระองค์เอง และทรงเฉลิมพระปรมาภิไธย ถวายแด่ สมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราช ดังนี้

การลงพระปรมาภิไธยในเอกสารราชการ

ลายพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช 'ภูมิพลอดุลยเดช ปร'

การทรงลงพระปรมาภิไธยในเอกสารสำคัญต่างๆ ของทางราชการ มีรูปแบบของแต่ละรัชกาล ดังนี้

  • รัชกาลที่ 4: สมเด็จพระปรเมนทรมหามกุฎฯ พระจอมเกล้าเจ้ากรุงสยาม
  • รัชกาลที่ 5: จุฬาลงกรณ์ ป.ร. หรือ สยามมินทร์
  • รัชกาลที่ 6: วชิราวุธ ป.ร. หรือ ราม วชิราวุธ หรือ ราม ร
  • รัชกาลที่ 7: ประชาธิปก ป.ร.
  • รัชกาลที่ 8: อานันทมหิดล
  • รัชกาลที่ 9: ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.

ในเอกสารกลุ่มสัญญาบัตร หิรัญบัตร สุพรรณบัตรตั้งสมณศํกดิ์ จะลงว่า

  • รัชกาลที่ 9: สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ปร.

พระปรมาภิไธยย่อ

ไฟล์:RamaIX Emblem 84th.png
อักษรพระปรมาภิไธยย่อ ภปร ในตราสัญลักษณ์ พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554

พระปรมาภิไธยย่อ คือ การย่อพระปรมาภิไธยให้เหลือเพียง 3 ตัวอักษร โดยส่วนมาก มักใช้เป็น ตราสัญลักษณ์ประจำพระองค์ และ ตราสัญลักษณ์งานพระราชพิธี และงานเฉลิมพระเกียรติ ในวโรกาสสำคัญต่าง ๆ [2] ดังนี้

รัชกาลที่ พระนามย่อ พระนามเต็ม
1 จปร มหาจักรีบรมนาถ ปรมราชาธิราช
2 อปร มหาอิศรสุนทร ปรมราชาธิราช
3 จปร มหาเจษฎาบดินทร ปรมราชาธิราช
4 มปร มหามงกุฎ ปรมราชาธิราช
5 จปร มหาจุฬาลงกรณ์ ปรมราชาธิราช
6 วปร มหาวชิราวุธ ปรมราชาธิราช
7 ปปร มหาประชาธิปก ปรมราชาธิราช
8 อปร มหาอานันทมหิดล ปรมราชาธิราช
9 ภปร มหาภูมิพลอดุลยเดช ปรมราชาธิราช

โดยพระปรมาภิไธยของบางพระองค์จะซ้ำกัน ดังนั้น เพื่อให้ทราบว่าเป็นรัชกาลใด เมื่อประดิษฐ์เป็นตรา ท่าน[ใคร?]จะเขียนหมายเลขประจำรัชกาลไว้ ระหว่างพระจอนของพระมหาพิชัยมงกุฎ หรือถ้าเขียนเป็นข้อความ อาจมีเลขประจำรัชกาลต่อท้าย

พระปรมาภิไธยโดยสังเขปตามแบบพระราชนิยมรัชกาลที่ 6

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชนิยมให้ใช้พระปรมาภิไธยโดยสังเขปโดยมีคำนำหน้าว่า "รามาธิบดีศรีสินทร" ทุกรัชกาล โดยพระองค์ได้ถวายพระปรมาภิไธยแก่บูรพกษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ทุกรัชกาล และเฉลิมพระปรมาภิไธยของพระองค์เอง [3] ดังนี้

  • รัชกาลที่ 1: พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาจักรีบรมนาถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก หรือ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1
  • รัชกาลที่ 2: พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาอิศรสุนทร พระพุทธเลิศหล้านภาลัย หรือ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2
  • รัชกาลที่ 3: พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรเจษฏาธิบดินทร์ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 3
  • รัชกาลที่ 4: พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหามงกุฏ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 4
  • รัชกาลที่ 5: พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 5
  • รัชกาลที่ 6: พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 6

ส่วนในภาคภาษาอังกฤษนั้น โปรดเกล้าฯ ให้ใช้คำว่า "Rama" แล้วตามด้วยหมายเลขลำดับรัชกาลแบบเลขโรมันตามธรรมเนียมยุโรป

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์จะให้พระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีใช้พระปรมาภิไธยโดยสังเขปตามแบบข้างต้นสืบไปทุกรัชกาล แต่เมื่อรัชกาลที่ 7 เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ การใช้พระปรมาภิไธยก็กลับไปใช้ตามแบบพระราชนิยมของรัชกาลที่ 4 เช่นเดิม อย่างไรก็ตาม การใช้คำว่า "Rama" แล้วตามด้วยหมายเลขลำดับรัชกาล เพื่อสื่อถึงพระมหากษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ยังคงใช้สืบมาจนถึงปัจจุบัน

พระบรมนามาภิไธย

พระบรมนามาภิไธย หมายถึง พระนามเดิมของพระมหากษัตริย์ ก่อนจะเสด็จขึ้นครองสิริราชสมบัติ [1]

หมายเหตุ

  • พระปรมาภิไธยที่ลงไว้ในบทความนี้ เป็นพระปรมาภิไธยที่เผยแพร่โดยทั่วไป โดยพระปรมาภิไธยที่แท้จริงนั้น มีความยาวมากกว่าที่ปรากฏนี้ ซึ่งสามารถค้นคว้าได้จากหน้าบทความของแต่ละรัชกาล


อ้างอิง