ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เดอะดรีมเควสต์ออฟอันโนนคาดัธ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
2T (คุย | ส่วนร่วม)
Kuruni (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 8: บรรทัด 8:
==การตอบรับ==
==การตอบรับ==


''ดรีมเควสต์'' เป็นงานประพันธ์ที่ได้รับปฏิกิริยาที่หลากหลายจากผู้อ่าน ผู้ที่ติดตามงานของเลิฟคราฟท์บางส่วนนั้นถึงกับเห็นว่าเรื่องนี้แย่จน"อ่านไม่ได้" ขณะที่อีกกลุ่มนั้นเปรียบเทียบเรื่องนี้กับ''[[อลิซในแดนมหัศจรรย์]]'' และนิยายแฟนตาซีของ[[จอร์จ แม็คโดนัลด์]]<ref name="Joshi and Schultz, p. 74"/>
''ดรีมเควสต์'' เป็นงานประพันธ์ที่ได้รับปฏิกิริยาที่หลากหลายจากผู้อ่าน ผู้ที่ติดตามงานของเลิฟคราฟท์บางส่วนนั้นถึงกับเห็นว่าเรื่องนี้แย่จน"อ่านไม่ได้" ขณะที่อีกกลุ่มนั้นเปรียบเทียบเรื่องนี้กับ''[[อลิซท่องแดนมหัศจรรย์]]'' และนิยายแฟนตาซีของ[[จอร์จ แม็คโดนัลด์]]<ref name="Joshi and Schultz, p. 74"/>


เลิฟคราฟท์เองเห็นว่าดรีมเควสต์ไม่ใช่ผลงานที่ดีนัก แต่ก็ช่วยฝึกฝนตัวเขาในการเขียนนิยายเรื่องต่อๆได้มาก ขณะที่เขียนเรื่องนี้นั้น เลิฟคราฟท์ยังกังวลว่าผู้อ่านอาจจะเบื่อหรือเฉยชากับสิ่งแปลกประหลาดที่มีมากมายในเรื่องจนไม่รู้สึกถึงความแปลกพิกลที่เขาต้องการสื่อถึง<ref>H. P. Lovecraft, ''Selected Letters'' Vol. 2, pp. 94-95; cited in Joshi and Schultz, p. 74.</ref>
เลิฟคราฟท์เองเห็นว่าดรีมเควสต์ไม่ใช่ผลงานที่ดีนัก แต่ก็ช่วยฝึกฝนตัวเขาในการเขียนนิยายเรื่องต่อๆได้มาก ขณะที่เขียนเรื่องนี้นั้น เลิฟคราฟท์ยังกังวลว่าผู้อ่านอาจจะเบื่อหรือเฉยชากับสิ่งแปลกประหลาดที่มีมากมายในเรื่องจนไม่รู้สึกถึงความแปลกพิกลที่เขาต้องการสื่อถึง<ref>H. P. Lovecraft, ''Selected Letters'' Vol. 2, pp. 94-95; cited in Joshi and Schultz, p. 74.</ref>

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:56, 7 ธันวาคม 2558

เดอะดรีมเควสต์ออฟอันโนนคาดัธ (อังกฤษ: The Dream-Quest of Unknown Kadath) เป็นนิยายซึ่งเอช. พี. เลิฟคราฟท์ประพันธ์เสร็จในปีพ.ศ. 2470แต่ไม่เคยมีการพิมพ์เผยแพร่ในช่วงที่เลิฟคราฟท์มีชีวิตอยู่ เรื่องนี้เป็นงานประพันธ์ในเรื่องชุดโลกแห่งความฝันที่ยาวที่สุดของเลิฟคราฟท์และมี แรนดอล์ฟ คาเตอร์เป็นตัวเอก ดรีมเควสต์นั้นมีลักษณะที่ผสมกันระหว่างเรื่องแนวแฟนตาซีระดับสูงกับนิยายสยองขวัญเข้าด้วยกัน

อิทธิพล

เชื่อกันว่าเดอะดรีมเควสต์ออฟอันโนนคาดัธนั้นได้รับอิทธิพลจากนิยายเรื่อง Vathek (พ.ศ. 2329) ของ วิลเลียม โทมัส เบคฟอร์ด ซึ่งเป็นนิยายแฟนตาซีที่ไม่มีการแบ่งเป็นบท[1] ขณะที่ วิล เมอเรย์ และ เดวิด อี. ชูลทซ์ เห็นว่าเรื่องนี้น่าจะพัฒนามาจากเรื่อง อซาธอท ที่เลิฟคราฟท์เคยเขียนไม่จบ[2]

แม้ว่าเรื่องชุดโลกแห่งความฝันนั้นจะได้รับอิทธิพลมาจากงานของลอร์ดดุนซานีอย่างเห็นได้ชัด โรเบิร์ต เอ็ม. ไพรซ์ ได้ชี้ให้เห็นว่าเลิฟคราฟท์เพียงแต่นำมาใช้สร้างฉากของเรื่องเท่านั้น การดำเนินเรื่องและบทบาทของแรนดอล์ฟ คาเตอร์ในดรีมเควสต์น่าจะมาจากเรื่องชุดเทพเจ้าดาวอังคารของเอ็ดการ์ ไรซ์ เบอโรห์เสียมากกว่า[3] ไพรซ์ยังเห็นว่าดรีมเควสต์ยังมีความคล้ายคลึงกับเรื่องพ่อมดแห่งออซของลีแมน แฟรงก์ บอมอย่างมากอีกด้วย[4]

การตอบรับ

ดรีมเควสต์ เป็นงานประพันธ์ที่ได้รับปฏิกิริยาที่หลากหลายจากผู้อ่าน ผู้ที่ติดตามงานของเลิฟคราฟท์บางส่วนนั้นถึงกับเห็นว่าเรื่องนี้แย่จน"อ่านไม่ได้" ขณะที่อีกกลุ่มนั้นเปรียบเทียบเรื่องนี้กับอลิซท่องแดนมหัศจรรย์ และนิยายแฟนตาซีของจอร์จ แม็คโดนัลด์[1]

เลิฟคราฟท์เองเห็นว่าดรีมเควสต์ไม่ใช่ผลงานที่ดีนัก แต่ก็ช่วยฝึกฝนตัวเขาในการเขียนนิยายเรื่องต่อๆได้มาก ขณะที่เขียนเรื่องนี้นั้น เลิฟคราฟท์ยังกังวลว่าผู้อ่านอาจจะเบื่อหรือเฉยชากับสิ่งแปลกประหลาดที่มีมากมายในเรื่องจนไม่รู้สึกถึงความแปลกพิกลที่เขาต้องการสื่อถึง[5]

เรื่องย่อ

แรนดอล์ฟ คาเตอร์ได้ฝันเห็นเมืองอันสวยงามยามพระอาทิตย์ตกดินถึงสามครั้ง แต่ทุกครั้งเขาก็ตื่นขึ้นมาก่อนจะเห็นมันใกล้ๆ เมื่อคาเตอร์สวดมนต์ถึงเหล่าเทพแห่งความฝันให้บอกว่าเมืองลึกลับนั้นอยู่ที่ใดก็ไม่ได้รับคำตอบ อีกทั้งยังหยุดฝันถึงเสียเลยด้วย คาเคอร์จึงได้ตัดสินใจเดินทางไปยังปราสาทคาดัธที่เหล่าเทพอยู่เพื่อถามต่อหน้า แต่ก็ไม่เคยมีใครเคยไปคาดัธหรือรู้ว่าปราสาทนั้นอยู่ไหน

คาเตอร์ได้ฝันว่าตนได้ลงบันไดเจ็ดสิบขั้นสู่คูหาแห่งเพลิง และได้พูดกับนักบวช นัชท์ กับ คามัน ทาห์ ผู้อยู่ในวิหารซึ่งตั้งอยู่ ณ ชายแดนของโลกแห่งความฝัน ทั้งสองได้เตือนคาเตอร์ถึงอันตรายที่รออยู่ในภายภาคหน้าและบอกว่าเหล่าเทพต้องมีเหตุผลที่ปิดบังนิมิตรของเมืองแห่งนั้น

เริ่มเดินทาง

คาเตอร์เข้าไปในป่าเวทมนตร์และพบกับ ซุก สิ่งมีชีวิตกินเนื้อทรงปัญญารูปร่างเหมือนหนู คาเตอร์นั้นมีประสบการณ์การเดินทางในโลกแห่งความฝันมาแล้วและรู้ภาษากับธรรมเนียมของซุกเป็นอย่างดี ซุกนั้นไม่ทราบว่าคาดัธอยู่ที่ไหน แต่ได้แนะนำให้คาเตอร์ไปหานักบวชอทาล ที่เมืองอุลธาร์ ซึ่งเป็นผู้รู้เรื่องราวของเหล่าเทพ

ในเมืองอุลทาร์ที่เต็มไปด้วยแมว คาเตอร์ได้พบกับอทาลผู้บอกเขาเรื่องภาพสลักของเหล่าเทพที่ภูเขาไฟงราเนค คาเตอร์เข้าใจว่าถ้าเขาได้เห็นภาพสลักของเทพและสามารถหาสถานที่ซึ่งมนุษย์สืบเชื้อสายมาจากเทพและมีรูปลักษณ์เช่นเดียวกันได้แล้ว เขาก็ต้องเข้าใกล้คาดัธแล้วนั่นเอง

เกาะโอริอับ

คาเตอร์เดินทางต่อไปยังเมืองไดลัธ ลีนเพื่อหาทางไปยังเกาะโอริอับ แต่ได้ถูกกลุ่มคนโพกผ้าจับและพาตัวไปดวงจันทร์ด้วยเรือสีดำ ก่อนจะรู้ว่าคนเหล่านี้เป็นทาสของเหล่าอสุรกายที่เรียกว่ามูนบีสต์ ซึ่งมูนบีสต์ได้พาคาเตอร์ไปหาไนอาลาโธเทป แต่ระหว่างทางนั้นเหล่าแมวจากอุลธาร์ได้โจมตีขบวนของมูนบีสต์และช่วยพาคาเตอร์กลับไปยังท่าเรือของไดลัธ ลีน

คาเตอร์ขึ้นเรือไปยังบาฮาร์นาซึ่งเป็นท่าเรือใหญ่ของเกาะโอริอับ ขณะที่เดินทางข้ามเกาะโดยนั่งม้าลายไปนั้น คาเตอร์ได้ยินผู้คนกระซิบถึงไนท์กอนท์ คาเตอร์ได้ปีนข้ามภูเขาไฟงราเนคและพบกับภาพสลักขนาดมหึมาของเหล่าเทพและนึกได้ว่ารูปลักษณ์นั้นคล้ายกับกะลาสีซึ่งค้าขายที่ท่าเรือเซเลฟาอิส แต่ก่อนที่จะได้ทำอะไร คาเตอร์ก็ถูกไนท์กอนท์จับและพาตัวไปทิ้งไว้ในหุบเขาพนาธในแดนใต้พิภพ

คาเตอร์ได้พบกับเหล่ากูลซึ่งเป็นมิตรและได้พบกับเพื่อนเก่า ริชาร์ด พิคแมน ซึ่งได้กลายเป็นกูลไปแล้วเช่นกัน พิคแมนตกลงที่จะช่วยคาเตอร์กลับไปโลกเบื้องบนอีกครั้ง คาเตอร์เดินทางผ่านนครอันน่ากลัวของกักไปยังหอคอยคอธซึ่งมีบันไดอันพากลับไปโลกเบื้องบนได้ เหล่ากูลพยายามลอบผ่านเมืองไปในขณะที่เหล่ากักหลับอยู่ แต่แกสต์ที่เป็นศัตรูของกักก็บุกเข้าโจมตีเมืองในขณะนั้นพอดี ถึงกระนั้นพวกคาเตอร์ก็สามารถหนีกลับไปโลกเบื้องบนและเปิดประตูไปยังป่าเวทมนตร์ได้

เดินทางสู่เซเลฟาอิส

คาเตอร์ได้พบกับพวกซุกที่กำลังเตรียมทำสงครามกับแมวแห่งอุลธาร์ เขาได้เตือนพวกแมวทำให้เหล่าแมวโจมตีซุกขณะที่ไม่ตั้งตัวได้ หลังจากที่พ่ายแพ้แล้ว เหล่าซุกก็ได้ยอมรับสัญญาใหม่กับแมว

คาเตอร์เดินทางไปยังเมืองธรานและขึ้นเรือไปยังเซเลฟาอิส ระหว่างทางนั้นเขาได้ถามกะลาสีถึงกลุ่มคนที่ค้าขายที่เซเลฟาอิสซึ่งคาเตอร์เชื่อว่าเป็นพวกเดียวกับเทพ คาเตอร์ได้ทราบว่าคนเหล่านั้นมาจากแดนอินกานอคอันมืดมิดหนาวเย็น[6] และมีน้อยคนนักจะกล้าไปที่นั่น ที่นั้นไม่มีแมวอยู่ และก็อยู่ใกล้ที่ราบสูงแห่งเลงซึ่งเต็มไปด้วยเหล่าอมนุษย์ชั่วร้ายมากเกินไป

ที่เซเลฟาอิส คาเตอร์ได้พบกับคูราเนส ผู้เป็นสหายเก่าและราชาของเมือง คูราเนสเป็นนักเดินทางในความฝันซึ่งรู้จักกับคาเตอร์ในโลกมนุษย์ แต่ได้อยู่ในโลกแห่งความฝันเป็นการถาวรหลังจากที่ตายไปแล้ว คูราเนสรู้ว่าภารกิจของคาเตอร์นั้นเป็นอันตรายเพียงใดและพยายามเกลี้ยกล่อมให้เขาล้มเลิก แต่คาเตอร์ก็ไม่เปลี่ยนใจ

สู่ดินแดนอันมืดและหนาวเย็น

คาเตอร์ร่วมเป็นลูกเรือเดินทางไปสู่อินกานอค ประเทศที่เต็มไปด้วยโอนิกซ์ การเดินทางครั้งนี้เป็นเวลาสามสัปดาห์ เมื่อใกล้ถึง คาเตอร์ได้เห็นเกาะหินแกรนิตประหลาด ซึ่งกัปตันบอกคาเตอร์ว่าเป็นเพียงหินไร้ชื่อที่ไม่ควรจะพูดถึง คืนนั้น คาเตอร์ก็ได้ยินเสียงหอนประหลาดดังจากเกาะนั้น

เมื่อคาเตอร์ไปยังอินกานอคก็ได้ซื้อจามรีและเดินทางไปทางเหนือด้วยความหวังว่าเมื่อพ้นหุบเขาโอนิกซ์แล้วเขาจะไปถึงคาดัธได้ เมื่อคาเตอร์ไปถึงยอดเขาก็ได้เห็นหุบเขาอันใหญ่โต แต่จามรีก็เกิดตื่นกลัวและทิ้งคาเตอร์ไปขณะเดินทางไปหุบเขานั้น

คาเตอร์ถูกชายตาเขซึ่งเขาจำได้ว่าเป็นหนึ่งในพ่อค้าที่ไดลัธ ลีน ชายคนนั้นเรียกแชนแทคมาให้พาทั้งคู่ไปยังที่ราบแห่งเลงซึ่งเต็มไปด้วยสิ่งมีชีวิตที่คล้ายกับเทพแพนเพื่อให้คาเตอร์พบกับ"นักบวชผู้ไม่อาจบรรยายได้"ในอารามแห่งหนึ่ง ทำให้คาเตอร์คิดว่าชายตาเขผู้นี้ก็เป็นหนึ่งในคนที่พยายามขัดขวางเขาเช่นกัน

นักบวชผู้นั้นสวมผ้าคลุมและหน้ากากซึ่งทำจากไหม คาเตอร์ทราบจากนักบวชว่าชายโพกผ้าและพวกพ่อค้าแห่งไดลัธ ลีนนั้นก็คือมนุษย์แห่งเลงที่ใช้ผ้าปิดเขาของตนไว้ และไนท์กอนทืนั้นก็มิได้รับใช้ไนอาลาโธเทปแต่เป็นนอเดนส์ ซึ่งแม้แต่เหล่าเทพแห่งโลกก็หวาดกลัวไนท์กอนท์ คาเตอร์นั้นกลัวว่านักบวชผู้นี้จะเป็นไนอาลาโธเทปและฉวยโอกาสที่ชายตาเขเผลอผลักลงไปในบ่อน้ำก่อนจะหนีไป ซึ่งทางเดินในอารามนั้นทั้งมืดและวกวนเหมือนเขาวงกต แต่คาเตอร์ก็ออกมาข้างนอกได้และรู้ว่าอารามนี้ก็คือซากโบราณซาร์โคมานด์ซึ่งอยู่ใกล้กับทะเล

คาเตอร์ได้พบกับพวกกูลอีกครั้ง เหล่ากูลนั้นถูกมนุษย์แห่งเลงจับและพาไปยังหินไร้ชื่อ ซึ่งแท้ที่จริงแล้วเป็นหน้าด่านของมูนบีสต์ คาเตอร์เรียกกูลจากใต้พิภพเพื่อยึดเรือและช่วยเหลือเพื่อนๆก่อนจะยกกำลังไปต่อสู้กับมูนบีสต์ที่เกาะนั้น เหล่ากูลชนะแต่คาเตอร์กังวลว่าพวกมูนบีสต์อาจจะมาสมทบอีกจึงกลับไปซาร์โคมานด์อีกครั้ง ก่อนจะเรียกให้ฝูงไนท์กอนท์มาพาตนและเหล่ากูลไปยังปราสาทคาดัธ

บทสรุป

เมื่อไปถึงคาดัธ คาเตอร์ก็พบว่าเหล่าเทพได้ไปจากที่นั้นจนหมดแล้ว แต่ได้พบกับชายผู้มีลักษณะคล้ายฟาโรห์ ผู้บอกว่าเหล่าเทพแห่งโลกนั้นได้เห็นเมืองในฝันของคาเตอร์และตัดสินใจย้ายไปที่นั่นหมดแล้ว เทพเหล่านั้นมิใช่เทพอีก หากแต่เป็นคนธรรมดาในเมืองนั้น ฟาโรห์บอกคาเตอร์ให้ไปยังเมืองนั้นเพื่อให้ทุกอย่างกลับสู่สภาพเดิมก่อนจะบอกว่าแท้จริงแล้วคาเตอร์รู้จักเมืองนั้นดี ภาพอันสวยงามที่เขาเห็นนั้นเป็นเพียงภาพรวมของสิ่งที่คาเตอร์เคยเห็นและรักทั้งสิ้น แล้วฟาโรห์จึงได้เปิดเผยตัวจริงว่าตนก็คือไนอาลาโธเทป ความวุ่นวายที่คืบคลาน ทูตของเทพอื่นผู้อยู่ในอวกาศอันดำมืด

ไนอาลาโธเทปให้คาเตอร์นั่งไปบนแชนแทคเพื่อเดินทางข้ามอวกาศไปยังเมืองตะวันตกดินนั้น แต่ในที่สุดคาเตอร์ก็รู้ตัวว่าตนถูกไนอาลาโธเทปหลอกและแชนแทคนั้นกำลังพาคาเตอร์ไปยังที่พำนักของอซาธอท ณ ใจกลางของจักรวาล ขณะที่คิดว่าตนต้องพบหายนะแน่แล้วนั้น คาเตอร์ก็นึกขึ้นได้ว่าตอนนี้ตนยังอยู่ในฝันและตัดสินใจกระโดดลงจากแชนแทคสู่อวกาศอันมืดมิด เมื่อคาเตอร์ตื่นขึ้นก็เห็นว่าตนไม่ได้อยู่ในโลกแห่งความฝันอีก หากแต่เป็นห้องของตน ที่ซึ่งเขาสามารถเห็นเมืองบอสตันใต้แสงอาทิตย์อันงดงามได้

ความเกี่ยวข้องกับเรื่องอื่นๆของเลิฟคราฟท์

  • กูลที่ชื่อ พิคแมน ริชาร์ด อัพทัน นั้นมาจากเรื่อง Pickman's Model ซึ่งในเรื่องนั้นพิคแมนยังเป็นมนุษย์และวาดรูปที่มีสัตว์ประหลาดต่างๆเป็นแบบ
  • นักบวช อทาล เป็นเด็กชายในเรื่อง The Cats of Ulthar และ The Other Gods
  • ไนอาลาโธเทปเป็นตัวละครสำคัญในเรื่องชุดตำนานคธูลู แต่ในดรีมเควสต์นี้เป็นเรื่องเดียวที่เลิฟคราฟท์เขียนให้ไนอาลาโธเทปได้สนทนากับตัวละครอื่นๆอย่างชัดเจนที่สุด
  • คูราเนส มาจากเรื่อง Celephaïs โดยเป็นมนุษย์ที่ทิ้งโลกมนุษย์ไปยังโลกแห่งความฝัน
  • ที่ราบแห่งเลง เคยปรากฏในเรื่องอื่นๆ เช่น The Hound และ At the Mountains of Madness แต่ตำแหน่งของสถานที่นี้เปลี่ยนไปในแต่ละเรื่อง
  • คาดัธ เคยได้รับการกล่าวถึงในข้อความจากนีโครโนมิคอนในเรื่อง The Dunwich Horror และได้รับการกล่าวถึงสั้นๆใน At the Mountains of Madness

อ้างอิง

  • Harms, Daniel (1998). The Encyclopedia Cthulhiana (2nd ed. ed.). Oakland, CA: Chaosium. ISBN 1-56882-119-0. {{cite book}}: |edition= has extra text (help)
  • Lovecraft, Howard P. The Dream-Quest of Unknown Kadath (1926) in At the Mountains of Madness and Other Novels (7th corrected printing), S.T. Joshi (ed.), Sauk City, WI: Arkham House, 1985. ISBN 0-87054-038-6.

หมายเหตุ

  1. 1.0 1.1 Joshi and Schultz, p. 74.
  2. Price, The Azathoth Cycle, p. vii.
  3. Robert M. Price, "Randolph Carter, Warlord of Mars", pp. 66-67.
  4. Robert M. Price, "The Dream Quest of Brian Lumley", Nightscapes No. 5.
  5. H. P. Lovecraft, Selected Letters Vol. 2, pp. 94-95; cited in Joshi and Schultz, p. 74.
  6. ข้อความตรงนี้บางครั้งจะเขียนว่า "อินควานอค" ตามที่ออกัสต์ เดอเลธอ่านลายมือของเลิฟคราฟท์ผิดขณะที่พิมพ์ครั้งแรก (Harms, "Inganok", The Encyclopedia Cthulhiana, p. 149)

แหล่งข้อมูลอื่น