ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แผ่นดินไหวในชูเอ็ตสึ จังหวัดนีงาตะ พ.ศ. 2547"

พิกัด: 37°18′N 138°48′E / 37.3°N 138.8°E / 37.3; 138.8
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่ "โฮะคุริกุ" → "โฮะกุริกุ" +แทนที่ "จูเอ็ทสึ" → "ชูเอะสึ" +แทนที่ "เอ็ทสึ" → "เอะสึ" +แทนที่ "ชิ...
Ponpan (คุย | ส่วนร่วม)
เปลี่ยนแม่แบบ
บรรทัด 48: บรรทัด 48:
นอกจากนั้น ยังมีเหตุ [[แผ่นดินไหวนอกฝั่งชูเอะสึ พ.ศ. 2550]] ที่เกิดขึ้นหลังจากพายุไต้ฝุ่นพัดผ่านไม่นาน
นอกจากนั้น ยังมีเหตุ [[แผ่นดินไหวนอกฝั่งชูเอะสึ พ.ศ. 2550]] ที่เกิดขึ้นหลังจากพายุไต้ฝุ่นพัดผ่านไม่นาน


== แหล่งข้อมูลอื่น ==
== External links ==
* [http://www.gsi.go.jp/ENGLISH/index.html Geographical Survey Institute site (in English)]
* [http://www.gsi.go.jp/ENGLISH/index.html Geographical Survey Institute site (in English)]
* [http://www.gsi.go.jp/WNEW/PRESS-RELEASE/2004/1024.htm GSI Press Release (in Japanese)]
* [http://www.gsi.go.jp/WNEW/PRESS-RELEASE/2004/1024.htm GSI Press Release (in Japanese)]
บรรทัด 55: บรรทัด 55:


{{DEFAULTSORT:Chuetsu Earthquake, 2004}}
{{DEFAULTSORT:Chuetsu Earthquake, 2004}}
{{แผ่นดินไหว 2547}}
{{Earthquakes in 2004}}


[[หมวดหมู่:แผ่นดินไหวในประเทศญี่ปุ่น|2547]]
[[หมวดหมู่:แผ่นดินไหวในประเทศญี่ปุ่น|2547]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 09:05, 27 ตุลาคม 2558

แผ่นดินไหวในชูเอะสึ พ.ศ. 2547
ไฟล์:Chuetsu earhquake, 2004.jpg
เวลาสากลเชิงพิกัด??
รหัสเหตุการณ์ ISC
USGS-ANSS
วันที่*23 ตุลาคม พ.ศ. 2547
[[Category:EQ articles using 'date' or 'time'
(deprecated)]]
วันที่ท้องถิ่น
เวลาท้องถิ่น
ขนาด6.9
พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
ผู้ประสบภัยเสียชีวิต 40 ราย
เลิกใช้แล้ว ดูเอกสาร

แผ่นดินไหวในชูเอะสึ พ.ศ. 2547 (ญี่ปุ่น: 中越地震โรมาจิChūetsu jishin) เกิดขึ้นเมื่อเวลา 17:56 (ตามเวลาท้องถิ่น) เมื่อวันเสาร์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2547 สำนักอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น ได้ตั้งชื่อว่า Heisei 16 Niigata Prefecture Chuetsu Earthquake (平成16年新潟県中越地震) หรือ The Mid Niigata Prefecture Earthquake of 2004 จังหวัดนีงะตะตั้งอยู่ในภูมิภาคโฮะกุริกุบนเกาะฮนชู ซึ่งเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น แผ่นดินไหวครั้งนี้สามารถรับรู้แรงสะเทือนได้จากพื้นที่เกือบครึ่งหนึ่งของเกาะฮนชู ได้แก่บางส่วนของภูมิภาคโทโฮะกุ โฮะกุริกุ ชูบุ และคันโต

รายละเอียดของแผ่นดินไหว

การไหวครั้งแรกสร้างแรงสั่นสะเทือนในพื้นที่ชูเอะสึในจังหวัดนีงะตะ อ่านค่าความรุนแรงของแผ่นดินไหวในมาตราชินโดะที่เมืองคะวะงุจิ จังหวัดนีงะตะ ได้ที่ระดับ 7 และอ่านขนาดของแผ่นดินไหวได้ที่แมกนิจูด 6.9 (เพื่อการเปรียบเทียบ แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ฮันชิงที่ทำลายพื้นที่หลายส่วนในโคเบะ วัดค่าความรุนแรงตามาตราชินโดะได้ระดับ 7 และวัดขนาดได้ที่แมกนิจูด 7.2 ) แผ่นดินไหวเกิดขึ้นที่ความลึก 15.8 กิโลเมตร JMA ได้ให้พิกัดของแผ่นดินไหวที่ 37°18′N 138°48′E / 37.3°N 138.8°E / 37.3; 138.8

การไหวครั้งที่สองเกิดขึ้นเมื่อเวลา 18:12 (16 นาทีหลังจากครั้งแรก) ครั้งนี้เกิดขึ้นที่ความลึกน้อยกว่าครั้งแรกมาก วัดความรุนแรงได้ชินโดะ 6+ และวัดขนาดได้ที่แมกนิจูก 5.9 ครั้งที่สามเกิดขึ้นเมื่อเวลา 18:34 ระดับความรุนแรงวัดได้ที่ชินโดะ 6- เวลา 19:46 เกิดแผ่นดินไหวระดับความรุนแรงชินโดะ 6- ขึ้นอีกครั้ง และยังมีแผ่นดินไหวย่อยที่รุนแรงน้อยกว่าเกิดขึ้นเป็นระยะในภูมิภาค ใน 66 ชั่วโมงแรก มีแผ่นดินไหวระดับความรุนแรงชินโดะ 5- หรือสูงกว่าเกิดขึ้น 15 ครั้งในภูมิภาคชูเอะสึ

ตามรายงานของสื่อ Geographical Survey Institute (GSI) ในสังกัดรัฐบาลญี่ปุ่น ได้ประเมินขึ้นต้นว่า รอยเลื่อนที่ยาว 22 กิโลเมตร และกว้าง 17 กิโลเมตร ได้เคลื่อนที่ไป 1.4 เมตร

แผ่นดินไหวครั้งนี้เป็นครั้งที่ร้ายแรงที่สุดในญี่ปุ่นนับตั้งแต่แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ฮันชิงเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2538

ความเสียหาย

ถนนที่เสียหาย ถ่ายภาพเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2547 ในเมืองโอะจิยะ
รถบรรเทาสาธารณภัยของกองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่น
ซุปที่ปรุงเพื่อแจกจ่ายให้ผู้ไร้ที่พักอาศัยจากแผ่นดินไหว
รถของกองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่น บรรทุกอุปกรณ์ปฐมพยาบาล

ในวันที่ 3 พฤศจิกายน พบผู้เสียชีวิตจากเหตุแผ่นดินไหวรายที่ 39 ขณะที่ยังคงมีแผ่นดินไหวตามเกิดขึ้นในระดับที่รู้สึกได้ มีรายงานว่าในจังหวัดนีงะตะมีผู้บาดเจ็บมากกว่า 3,000 คน คนมากกว่าหนึ่งหมื่นคนต้องละทิ้งบ้าน แผ่นดินไหวทำให้บ้านหลายหลังในเมืองโอะจิยะพังถล่ม

เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่รถไฟชิงกันเซ็งตกรางขณะให้บริการ ตู้ของ Toki 35 (ชิงกันเซ็ง 200 series) แปดตู้จากสิบตู้ตกรางบนโจเอะสึ ชิงกันเซ็งระหว่างสถานีนะงะโอะกะในเมืองนะงะโอะกะ กับสถานีอุระสะในเมืองยะมะโตะ มีผู้โดยสาร 155 คน แต่ไม่มีรายงานผู้ได้รับบาดเจ็บ ทั้ง Railbeds สะพาน และอุโมงล้วนแต่ได้รับผลกระทบ บริษัทรถไฟญี่ปุ่นตะวันออก ได้หยุดรถไฟทุกขบวนในจังหวัดนีงะตะ ซึ่งสายที่ได้รับความเสียหายอย่างหนักได้แก่ สายโจเอะสึ สายหลักชินเอะสึ สายอียะมะ สายทะดะมิ และสายเอะชิโงะ ส่วนหนึ่งของสถานีนะงะโอะกะพร้อมจะพังถล่มได้ทุกเมื่อจากแผ่นดินไหวตาม แต่หลังจากปิดชั่วคราวก็เปิดให้บริการอีกครั้ง

เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2547 รถไฟสายโจเอะสึและอียะมะส่วนที่ยังคงเหลืออยู่ได้เปิดให้บริการอีกครั้ง ต่อมาวันที่ 28 ธันวาคม ชิงกันเซ็งสายโจะเอะสึกลับมาเปิดให้บริการ Japan Highways ได้ปิดทางด่วนทั้งหมดในจังหวัดนีงะตะ ซึ่งมีผลให้ทางด่วนสายคันเอะสึและสายโฮะกุริกุต้องปิดด้วยเช่นกัน ในวันที่ 4 พฤศจิกายน ทางด่วนสายคันเอะสึยังคงปิดให้บริการในช่วงระหว่าง Nagaoka Interchange กับ Koide Interchange ซึ่งส่วนนี้กลับมาเปิดในวันที่ 5 พฤศจิกายน

เหตุแผ่นดินถล่มและปัญหาอื่นๆทำให้ต้องปิดทางหลวงสองสาย คือ หมายเลข 8 และหมายเลข 17 รวมทั้งถนนในจังหวัดอีกหลายเส้นทาง ทำให้ท้องถิ่นหลายส่วนถูกตัดขาด อย่างเช่นหมู่บ้านยะมะโกะชิเกือบทั้งหมู่บ้าน ซึ่งเคยเป็นหมู่บ้านในเขตโคะชิ แต่ต่อมาถูกผนวกรวมเป็นส่วนหนึ่งของเมืองนะงะโอะกะ ในวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 รัฐบาลได้ยกเลิกคำสั่งอพยพประชาชนที่มีมานานเก้าเดือน โดยมีผลต่อ 528 ครัวเรือนจากที่ได้รับผลกระทบ 690 ครัวเรือน

นอกจากนี้แผ่นดินไหวยังทำให้เกิดแผ่นดินถล่มทับรถยนต์สามคัน เด็กชายคนหนึ่งถูกช่วยเหลือออกมาจากรถยนต์คันหนึ่งได้ แต่มารดาและพี่สาวเสียชีวิต (พายุไต้ฝุ่นที่เกิดขึ้นก่อนหน้าไม่นานทำให้ดินอุ้มน้ำ จึงถล่มได้ง่ายขึ้น)

แผ่นดินไหวทำให้ท่อส่งน้ำประปาเสียหาย และมีรายงานว่าไฟฟ้า โทรศัพท์ (รวมโทรศัพท์มือถือ) และอินเทอร์เน็ต ใช้งานไม่ได้เป็นพื้นที่วงกว้าง ระบบโทรศัพท์มือถือขัดข้องเนื่องจากสถานีถ่ายทอดสัญญาณได้รับความเสียหายโดยตรง อีกทั้งพลังงานสำรองก็ถูกใช้จนหมด

ผลพวง

ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2550 มีการยกเลิกคำสั่งอพยพชุมชนห้าแห่งที่เคยอยู่ในหมู่บ้านยะมะโคะชิ (ต่อมากลายเป็นส่วนหนึ่งของเมืองนะงะโอะกะ) ผู้พักอาศัยได้รับอนุญาตให้กลับบ้านหลังจากอพยพออกไปนานเกือบสองปีครึ่ง

ประวัติศาสตร์

ตามที่บันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ จังหวัดนีงะตะประสบเหตุแผ่นดินไหวบ่อยครั้ง ครั้งใหญ่ที่ผ่านมาไม่นานคือเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2507 เกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.5 มีผู้เสียชีวิต 28 คน อีกทั้งยังทำให้เกิดเหตุดินกลายเป็นของเหลวครั้งใหญ่และเกิดคลื่นสึนามิพัดเข้าทำลายท่าเรือของเมืองนีงะตะ แผ่นดินไหวครั้งนั้นเป็นครั้งแรกที่วิศวกรเริ่มศึกษาปรากฏการณ์ดินกลายเป็นของเหลวอย่างจริงจัง

นอกจากนั้น ยังมีเหตุ แผ่นดินไหวนอกฝั่งชูเอะสึ พ.ศ. 2550 ที่เกิดขึ้นหลังจากพายุไต้ฝุ่นพัดผ่านไม่นาน

แหล่งข้อมูลอื่น