ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โซตัส"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Warara (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
→‎ประวัติ: มีภาษาพูดอยู่ในส่วนนี้
บรรทัด 8: บรรทัด 8:
ปัจจุบันการรับน้องในสถานศึกษาบางแห่งเริ่มทวีความรุนแรงและไม่สร้างสรรค์ เห็นได้จากข่าวที่นำเสนอสู่สาธารณชนครั้งแล้วครั้งเล่า โดยที่สถาบันการศึกษาและหน่วยงานระดับกระทรวงก็ยังไม่สามารถแก้ปัญหาหรือยับยั้งความรุนแรงได้สำเร็จ <ref>http://m.news.thaipbs.or.th/content/%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87-%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87</ref>
ปัจจุบันการรับน้องในสถานศึกษาบางแห่งเริ่มทวีความรุนแรงและไม่สร้างสรรค์ เห็นได้จากข่าวที่นำเสนอสู่สาธารณชนครั้งแล้วครั้งเล่า โดยที่สถาบันการศึกษาและหน่วยงานระดับกระทรวงก็ยังไม่สามารถแก้ปัญหาหรือยับยั้งความรุนแรงได้สำเร็จ <ref>http://m.news.thaipbs.or.th/content/%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87-%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87</ref>
== ประวัติ==
== ประวัติ==
{{แก้ภาษา}}

ระบบโซตัส (SOTUS) ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในหลายสถาบันการศึกษาในปัจจุบันนั้น สันนิษฐานว่าเริ่มต้นขึ้นจากการนำระบบอาวุโสของโรงเรียนกินนอนในประเทศอังกฤษ (Fagging system) เข้ามาใช้ในโรงเรียนมหาดเล็กตั้งแต่ประมาณทศวรรษ 2440 ซึ่งเป็นระบบที่มีการแต่งตั้งดรุณาณัติ (Fag-master หรือ Prefect) จากนักเรียนอาวุโสผู้เรียนดีและประพฤติดี เพื่อทำหน้าที่ช่วยครูในการอบรมสั่งสอนและดูแลคณะนักเรียน โรงเรียนมหาดเล็กซึ่งพัฒนามาจากโรงเรียนสำหรับฝึกหัดวิชาข้าราชการฝ่ายพลเรือนนี้เป็นส่วนหนึ่งของพระบรมราโชบายปฏิรูประบบบริหารราชการแผ่นดินของรัชกาลที่ 5 โดยมีวัตถุประสงค์แรกเริ่มเพื่อผลิตข้าราชการสำหรับกิจการปกครองท้องถิ่น
ระบบโซตัส (SOTUS) ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในหลายสถาบันการศึกษาในปัจจุบันนั้น สันนิษฐานว่าเริ่มต้นขึ้นจากการนำระบบอาวุโสของโรงเรียนกินนอนในประเทศอังกฤษ (Fagging system) เข้ามาใช้ในโรงเรียนมหาดเล็กตั้งแต่ประมาณทศวรรษ 2440 ซึ่งเป็นระบบที่มีการแต่งตั้งดรุณาณัติ (Fag-master หรือ Prefect) จากนักเรียนอาวุโสผู้เรียนดีและประพฤติดี เพื่อทำหน้าที่ช่วยครูในการอบรมสั่งสอนและดูแลคณะนักเรียน โรงเรียนมหาดเล็กซึ่งพัฒนามาจากโรงเรียนสำหรับฝึกหัดวิชาข้าราชการฝ่ายพลเรือนนี้เป็นส่วนหนึ่งของพระบรมราโชบายปฏิรูประบบบริหารราชการแผ่นดินของรัชกาลที่ 5 โดยมีวัตถุประสงค์แรกเริ่มเพื่อผลิตข้าราชการสำหรับกิจการปกครองท้องถิ่น



รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:10, 28 สิงหาคม 2558

โซตัส (SOTUS) เป็นระบบการฝึกนักศึกษาอย่างหนึ่ง พบในสถาบันอุดมศึกษาบางแห่ง โดยเฉพาะคณะวิศวกรรมศาสตร์ และโรงเรียนมัธยมบางแห่ง โดยเฉพาะในช่วงกิจกรรมต้อนรับนักศึกษาใหม่ ("รับน้อง") เป็นที่ถกเถียงกันทั่วไปว่า ระบบนี้มีความถูกต้องชอบธรรมหรือไม่ ผู้บริหารหรือองค์การนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาบางแห่งมีนโยบายอย่างชัดเจนว่าไม่สนับสนุนระบบโซตัส[ต้องการอ้างอิง] แต่ระบบนี้ยังแพร่หลายอยู่ บางครั้งก็ได้รับการสนับสนุนเป็นการส่วนตัวจากอาจารย์ แม้จะขัดกับนโยบายของสถาบัน[ต้องการอ้างอิง] ทั้งนี้ โซตัสเป็นรูปแบบการรับน้องที่เข้มข้น ใช้การริดรอนสิทธิเสรีภาพของรุ่นน้อง โดยยกข้ออ้างเรื่องความสามัคคีในหมู่คณะ เพื่ออำพรางจุดประสงค์ คือ ใช้หลักจิตวิทยา และสร้างเหตุการณ์ตบตาขึ้น เพื่อบังคับให้รุ่นน้องเกิดความกลัว ต้องเคารพยำเกรงรุ่นพี่ ให้อภิสิทธิแก่รุ่นพี่ เพื่อให้รู้ว่าใครใหญ่ ใช้การแบ่งชนชั้นว่าใครมีอำนาจหรือไม่มีอำนาจ หากไม่ปฎิบัติตามจะต้องได้รับการลงโทษ ไม่ว่าทำถูกหรือทำผิด


ปัจจุบันการรับน้องในสถานศึกษาบางแห่งเริ่มทวีความรุนแรงและไม่สร้างสรรค์ เห็นได้จากข่าวที่นำเสนอสู่สาธารณชนครั้งแล้วครั้งเล่า โดยที่สถาบันการศึกษาและหน่วยงานระดับกระทรวงก็ยังไม่สามารถแก้ปัญหาหรือยับยั้งความรุนแรงได้สำเร็จ [1]

ประวัติ

ระบบโซตัส (SOTUS) ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในหลายสถาบันการศึกษาในปัจจุบันนั้น สันนิษฐานว่าเริ่มต้นขึ้นจากการนำระบบอาวุโสของโรงเรียนกินนอนในประเทศอังกฤษ (Fagging system) เข้ามาใช้ในโรงเรียนมหาดเล็กตั้งแต่ประมาณทศวรรษ 2440 ซึ่งเป็นระบบที่มีการแต่งตั้งดรุณาณัติ (Fag-master หรือ Prefect) จากนักเรียนอาวุโสผู้เรียนดีและประพฤติดี เพื่อทำหน้าที่ช่วยครูในการอบรมสั่งสอนและดูแลคณะนักเรียน โรงเรียนมหาดเล็กซึ่งพัฒนามาจากโรงเรียนสำหรับฝึกหัดวิชาข้าราชการฝ่ายพลเรือนนี้เป็นส่วนหนึ่งของพระบรมราโชบายปฏิรูประบบบริหารราชการแผ่นดินของรัชกาลที่ 5 โดยมีวัตถุประสงค์แรกเริ่มเพื่อผลิตข้าราชการสำหรับกิจการปกครองท้องถิ่น

ในแง่นี้ อาจกล่าวได้ว่า โรงเรียนมหาดเล็กคือกลไกสำคัญในการทำให้โครงสร้างการรวมศูนย์อำนาจเพื่อ "ปกครอง" และ "ควบคุม" เมืองขึ้นแข็งแกร่งขึ้น ในช่วงเวลาที่สยามยังไม่ได้เป็นรัฐชาติเฉกเช่นที่เรารู้จักกันทุกวันนี้

ครั้นต่อมา เมื่อได้รับการสถาปนาเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็ได้สานต่อระบบอาวุโส ผนวกกับแนวคิดเรื่องระเบียบ ประเพณี สามัคคีและน้ำใจ จนคำว่า โซตัส (SOTUS) กลายเป็นคำขวัญทั้ง 5 ของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและเป็นปณิธานในการอบรมสั่งสอนของผู้บริหาร อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลานี้ ไม่ปรากฏการใช้ความรุนแรงใดๆ

ดังนั้น จะเห็นได้ว่าระบบโซตัสในระยะแรกมีลักษณะของความเป็น "อุดมคติ" คือเป็นจินตนาการร่วมของมาตรฐานทางจริยธรรมที่ข้าราชการพลเรือน (ซึ่งต้องออกไป "ปกครอง" ท้องถิ่นแดนไกลอันป่าเถื่อนล้าหลังในนามของราชการไทย) ต้องไปให้ถึง ซึ่งสอดรับเป็นอย่างดีกับบริบททางการเมืองของการผนวกรวมชาติและการสร้างมาตรฐานเดียวให้กับคุณค่าต่างๆ ซึ่งจำเป็นต้องเป็นมาตรฐานของ "ส่วนกลาง" เท่านั้น

ต่อมา ระบบโซตัสในรูปแบบที่เข้มข้นขึ้น ซึ่งหมายถึงการผนวกรวมกิจกรรมการว้ากและการลงทัณฑ์เข้าเป็นส่วนหนึ่งนั้น ประเทศไทยรับมาในช่วงสงครามเย็นหรือประมาณทศวรรษ 2480 โดยได้มีการส่งนักศึกษาไปเรียนระดับปริญญาตรีในสหรัฐอเมริกา (โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยโอเรกอนและมหาวิทยาลัยคอร์แนล) และในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์แห่งชาติ ณ เมืองลอสแบนยอส ประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งในขณะนั้น ฟิลิปปินส์ถูกยึดครองโดยอเมริกามาเกือบครึ่งศตวรรษก่อนหน้า "ผู้ปกครอง" ได้ถ่ายทอดรูปแบบเทคโนโลยีและรูปแบบการเรียนการสอนให้กับ "ผู้ถูกปกครอง" จึงทำให้ แนวคิดและระบบการศึกษาในมหาวิทยาลัยนี้เป็นไปในแบบอเมริกัน

เมื่อจบกลับมา นักศึกษาของไทยก็ได้นำเอาระบบการว้าก (การกดดันทางจิตวิทยา) และการลงโทษ (การทรมานทางร่างกาย) มาใช้กับมหาวิทยาลัยไทย โดยเริ่มจากโรงเรียนเตรียมวิทยาลัยเกษตรศาสตร์แม่โจ้ เชียงใหม่ ซึ่งผลิตนักเรียนเพื่อเข้าเป็นนิสิตของวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ ซึ่งต่อมาได้รับการสถาปนาเป็นมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

เป็นไปได้ว่าในช่วงเวลานี้ มหาวิทยาลัยหลายแห่งได้นำคำว่า "โซตัส" ซึ่งเป็นคำขวัญของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมาปรับใช้เรียกระบบการรับน้อง "นำเข้า" รูปแบบใหม่นี้

จากมุมมองทางประวัติศาสตร์นี้ ระบบ โซตัส ถือเป็น "ประดิษฐกรรมทางวัฒนธรรม" ซึ่งถือกำเนิดขึ้นจากการหยิบยืม "องค์ความรู้" และ "เทคโนโลยี" สมัยใหม่มาจากมหาอำนาจจักรวรรดินิยมทั้งอังกฤษและอเมริกัน แม้จะต่างกรรมต่างวาระ แต่ก็อิงอยู่บนฐานกรอบคิดเดียวกัน กล่าวคือ กรอบคิดแบบเจ้าผู้ปกครองอาณานิคม ซึ่งมีรูปแบบที่เข้มข้นรุนแรงเพื่อกำราบ "เมืองขึ้น" ให้สยบยอม โดยในทางเนื้อหานั้น การเข้าไปรุกรานและควบคุม จำต้องนำรูปแบบการปกครองแบบทหารเข้ามาใช้ โดยผ่านกลไกของระบบการศึกษาของพลเรือน

นอกจากนี้ หากพิจารณาบริบททางการเมืองของไทยในยุคที่โซตัสลงหลักปักฐานอย่างจริงจังในมหาวิทยาลัยไทยนั้น เรากำลังอยู่ในยุค "รัฐนิยม" ที่มาพร้อมกับการปลูกฝังลัทธิชาตินิยมให้แก่เยาวชนและราษฎรไทย จึงไม่น่าแปลกใจเลยหากแนวคิดและรูปแบบของการปกครองนี้จะถูกหยิบมาใช้ในสถาบันการศึกษาชั้นนำ โดยมีจุดประสงค์เชิงอุดมการณ์ เพื่อสร้างราษฎรที่มีคุณภาพ (ตามอุดมคติของรัฐ) เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการสร้างชาติ เพราะในลัทธิชาตินิยม ไม่มีพื้นที่ให้กับความเป็นปัจเจกและความเป็นพลเมืองที่มีสิทธิเสรีภาพเป็นของตน จะมีก็เพียงแต่สำหรับราษฎรที่เชื่อฟังและปฏิบัติตามหน้าที่ของตน (ตามที่รัฐบอก) อย่างเชื่องๆ

ต่อมาในทศวรรษ 2510 เมื่อกระแสสำนึกประชาธิปไตยถูกปลุกให้ตื่นขึ้นอีกครั้งเพื่อต่อต้านอำนาจเผด็จการทหารโดยเฉพาะในหมู่นิสิตนักศึกษา ประเพณีและวิถีปฏิบัติจารีตนิยมหลายอย่างได้ถูกตั้งคำถามในฐานะฟันเฟืองสำคัญทางวัฒนธรรม ซึ่งผู้นำเผด็จการและเครือข่ายอุปถัมภ์นำมาใช้ครอบงำความคิดในระดับจิตใต้สำนึกของประชาชนอย่างแนบเนียน [2]

ระบบโซตัสในมหาวิทยาลัยไทยมีต้นกำเนิดที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้ที่นำระบบโซตัสเข้ามาคืออาจารย์รุ่นแรกๆที่จบจากมหาวิทยาลัยบอสบานยอสในฟิลิปปินส์ มหาวิทยาลัยคอร์แนล และมหาวิทยาลัยโอเรกอนในสหรัฐอเมริกา[3]

ความหมาย

คำว่า โซตัส (SOTUS) มาจากตัวอักษรนำของคำ 5 คำในภาษาอังกฤษ

  • Seniority - อาวุโส
  • Order - การปฏิบัติตามระเบียบวินัย
  • Tradition - ประเพณี
  • Unity - ความสามัคคี
  • Spirit - จิตวิญญาณ

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าความหมายของแต่ละคำของโซตัสนั้นจะชัดเจน แต่ว่าขอบเขตเงื่อนไขนั้นค่อนข้างจะคลุมเครือ ทำให้มีการพยายามนิยามและกำหนดความหมายของคำเหล่านี้อยู่ทั่วไป ด้านล่างนี้เป็นการอธิบายความหมาย และเหตุผลของคำต่าง ๆ โดยมีที่มาจากโคลงสี่สุภาพที่พบในหนังสือเฟรชชี่รุ่นโบราณ จากห้องสมุดภาควิศวกรรมโยธา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ดู โคลงโซตัส)

โซตัสเป็นรูปแบบการรับน้องที่เข้มข้น ที่เห็นเด่นชัดที่สุดในปัจจุบันคงเป็นการว๊าก และการลงโทษผู้กระทำผิดที่ค่อนข้างจะรุนแรงต่อสภาพร่างกายและจิตใจพอสมควร(บางกรณีอาจจะมากเกินไป) ซึ่งวิธีการนั้นก็ตามแต่ที่รุ่นพี่ผู้ผูกขาดอำนาจจะสรรหาวิธีการมา[4]

จุดประสงค์

จุดประสงค์ของระบบ คือ การฝึกทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ของนักศักษาชั้นปีที่ 1 ที่เพิ่งเข้าศึกษาระดับมหาวิทยาลัย ร่วมจัดขึ้นโดยรุ่นพี่ในคณะในแต่ละชั้นปี โดยการยึดถือกฎโซตัสทั้งหมด 5 ข้อ โดยรวมถึงการเคารพผู้อาวุโสซึ่งเป็นคุณค่าของขนบธรรมเนียมประเพณีไทย การปฏิบัติตามคำสั่งเพื่อฝึกการมีระเบียบวินัย การปฏิบัติตามประเพณี เพื่อการถ่ายทอดธรรมเนียมและความรู้จากรุ่นหนึ่งไปอีกรุ่นหนึ่ง การฝึกความเป็นหนึ่งเดียว เพื่อให้นักศึกษาเข้าใหม่ที่มาจากพื้นฐานทางสังคมแตกต่างกันมีการแลกเปลี่ยนความรู้และความเข้าใจ เพื่อพัฒนาจิตใจของนักศึกษาสำหรับการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย พัฒนาการทำงานเป็นกลุ่ม ในขณะเดียวกันพัฒนาความเป็นหนึ่งเดียวระหว่างรุ่นพี่และรุ่นน้อง และสุดท้ายการฝึกจิตใจเพื่อพร้อมรับกับปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ว่าทั้งทางด้านการเรียน หรือการทำงาน[ต้องการอ้างอิง]

หากรุ่นน้องตัดสินใจเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว รุ่นพี่จะอ้างอภิสิทธิ จะใช้การว้ากหรือการตะโกนด่าและต่อว่ารุ่นน้อง การออกคำสั่งกับรุ่นน้อง เพื่อบังคับให้รุ่นน้องต้องเกรงกลัวรุ่นพี่ อีกทั้งเพื่อลงโทษผู้ที่ไม่ทำตามที่สั่ง หรือไม่เห็นด้วยกับระบบดังกล่าว ที่เรียกว่า การกดขี่ หรือลงโทษวินัย กล่าวคือ หากผู้กระทำผิด หรือไม่ยอมปฎิบัติตามคำสั่งรุ่นพี่ จะถูกประนามหรือกลั่นแกล้งต่างๆนานา ใช้อำนาจสั่งลงโทษต่างๆ เช่น ให้วิ่งรอบสนามจนกว่าจะหมดแรง ให้หมอบลงกับพื้นดินในเวลากลางวันและกลิงบนพื้นร้อนๆ หมอบคลานในสถานที่ต่างๆ ให้วิ่งลุยโคลน รวมทั้งให้แทงปลาไหล หรือวิดพื้นจนกว่ารุ่นพี่จะพอใจ ซึ่งอาจเลยเถิดไปถึงการทำอนาจารย์ต่างๆ เช่น ให้ถอดเสื้อนักศึกษา ให้นักศึกษาหญิงลูกคลำอวัยวะเพศของฝ่ายชายหรือของรุ่นพี่ โดยอ้างว่ารุ่นพี่มีสิทธิสั่ง เพราะมีความอาวุโส ทั้งที่จริงแล้วไม่มีสิทธิหรืออำนาจใดๆ เนื่องจากเป็นสิ่งที่ผิดกฏหมายและริดรอนเสรีภาพของนักศึกษาอย่างร้ายแรง[5]

ทั้งนี้ ระบบโซตัสก็คือ ผลสะท้อนของโครงสร้างของวัฒนธรรมในสังคมใหญ่ที่เตรียมคนรุ่นใหม่ ให้ออกไปอยู่ในระบบที่ยอมรับว่าสังคมไม่เท่าเทียมกัน ขณะที่ผู้ที่สนับสนุนระบบนี้ ก็มักจะอธิบายว่าระบบโซตัสนั้นมีคุณประโยชน์เป็นอย่างมาก [6]

ปัญหาที่เกิดขึ้น

ระบบโซตัสมีเป้าหมายที่ฝึกให้คนในกลุ่มมีความรักสามัคคีกัน มีความเป็นพวกพ้องกัน ซึ่งระบบนี้ที่ผ่านมามีผู้เชื่อว่ามีส่วนทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมต่อกลุ่มคนที่ไม่อยู่ในกลุ่ม เช่น ในการทำงานพบคำกล่าวว่าสถานที่บางแห่ง "มีสี" เป็นต้น

ในปัจจุบัน ปัญหาอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับความรุนแรงของการรับน้อง ได้กลายเป็นประเด็นที่สังคมให้ความสนใจ ยกตัวอย่างเช่น

  • ปี พ.ศ. 2546 ได้มีการฟ้องร้องระหว่างผู้ปกครองของนักศึกษากับทางมหาวิทยาลัย โดยกล่าวอ้างถึงการคุกคามทางคำพูด
  • เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2548 ได้มีเหตุการณ์นักศึกษาฆ่าตัวตาย โดยมีผู้เชื่อว่ารุ่นพี่ใช้ความรุนแรงเหล่านี้ผ่านระบบโซตัส[ต้องการอ้างอิง]

กลุ่มผู้สนับสนุนโซตัสให้ความเห็นว่าเกิดมาจากการที่รุ่นพี่ในแต่ละมหาวิทยาลัย นำระบบโซตัสไปใช้ในทางที่ผิด โดยกล่าวอ้าง หลักการเคารพผู้อาวุโส และ การปฏิบัติตามคำสั่ง ซึ่งเป็น 2 ใน 5 ของโซตัส ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาที่ตามมาทีเกิดขึ้นรวมทั้ง ความรุนแรงในมหาวิทยาลัย หรือการลวนลามนักศึกษาที่เข้าใหม่

แม้ผู้สนับสนุนระบบโซตัสอ้างผลดีที่ได้จากระบบนี้ แต่ผู้ไม่สนับสนุนก็ตั้งคำถามว่า ผลดีนั้นจำเป็นต้องได้มาโดยระบบโซตัสหรือไม่, หรือพูดอีกอย่างคือ มีวิธีอื่นที่จะได้ผลลัพธ์นั้นโดยไม่ต้องใช้ระบบโซตัสหรือไม่ หรือกระทั่งตั้งคำถามว่า สิ่งที่ผู้สนับสนุนระบบโซตัสเรียกว่า "ผลดี" นั้น ที่สุดแล้ว เป็นสิ่งที่ดีงาม หรือจำเป็นจริงหรือไม่[ต้องการอ้างอิง]

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น