ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ธนาคาร"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
TjBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.2) (โรบอต เพิ่ม: gl:Banco
ZéroBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.1) (โรบอต เพิ่ม: af:Bank (finansiële instelling)
บรรทัด 22: บรรทัด 22:
[[หมวดหมู่:ธนาคาร| ]]
[[หมวดหมู่:ธนาคาร| ]]


[[af:Bank (finansiële instelling)]]
[[ar:مصرف]]
[[ar:مصرف]]
[[arc:ܒܝܬ ܥܘܪܦܢܐ]]
[[arc:ܒܝܬ ܥܘܪܦܢܐ]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 06:22, 7 มีนาคม 2556

ธนาคาร (อังกฤษ: bank) คือสถาบันรับฝากเงินจากสาธารณชนทั่วไปและให้ผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ยเงินฝาก แล้วนำเงินที่รับฝากไปปล่อยให้หน่วยงานเอกชนหรือรัฐบาลกู้และรับผลตอบแทนมาเป็นดอกเบี้ยเงินกู้ ต่างจาก อธนาคาร (น็อนแบงค์) ซึ่งเป็นสถาบันการเงินที่มิใช่ธนาคาร กล่าวคือไม่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์จากธนาคารแห่งประเทศไทย ไม่สามารถเปิดบัญชีเงินฝากให้แก่ประชาชน แต่สามารถให้kuay

ประเภทของธนาคาร

  1. ธนาคารกลางหรือธนาคารชาติ
  2. ธนาคารพาณิชย์
  3. ธนาคารที่ตั้งขึ้นเฉพาะกิจ

หน้าที่ของธนาคารแต่ละประเภท

  1. ธนาคารกลางหรือธนาคารชาติทำหน้าที่ทางการเงินของประเทศ ภายใต้การควบคุมของกระทรวงการคลัง เพื่อดูแลรักษาผลประโยชน์โดยรวมของชาติมีชื่อเรียกว่า"ธนาคารแห่งประเทศไทยหรือธนาคารชาติ" มีหน้าที่สำคัญพอสรุปได้ดังนี้
    1. มีอำนาจออกธนบัตรและพิมพ์ธนบัตรขึ้นใช้
    2. รับฝากเงินจากหน่วยงานราชการต่างๆ และรัฐวิสาหกิจ
    3. รับฝากเงินจากธนาคารพาณิชย์
    4. ให้ธนาคารพาณิชย์กู้ยืมเงิน
    5. เป็นตัวแทนทางการเงินของรัฐบาล ในการติดต่อธนาคารโลก
    6. รักษาเสถียรภาพทางการเงินของรัฐบาล
    7. ควบคุมสินเชื่อ และเป็นตัวแทนของรัฐบาลในการกำกับดูแลและควบคุมธนาคารพาณิชย์

ประวัติธนาคารของไทย

วันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2447 ในสมัยรัชกาลที่ 5 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไชยันตมงคล กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย ซึ่งตอนนั้นได้ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ได้ทรงก่อตั้ง บุคคลัภย์ (Book Club) ขึ้นที่ตึกแถวของพระคลังข้างที่ ตำบลบ้านหม้อ กรุงเทพฯ ที่นี่เป็นตันกำเนิดของธนาคารแห่งแรกของไทย คือ แบงก์สยามกัมมาจล หรือ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)ในปัจจุบัน