ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โอโซน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
Sz-iwbot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต แก้ไข: fa:اوزون (مولکول)
บรรทัด 99: บรรทัด 99:
[[et:Osoon]]
[[et:Osoon]]
[[eu:Ozono]]
[[eu:Ozono]]
[[fa:ازن]]
[[fa:اوزون (مولکول)]]
[[fi:Otsoni]]
[[fi:Otsoni]]
[[fr:Ozone]]
[[fr:Ozone]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:32, 30 มกราคม 2556

โอโซน
ชื่อ
IUPAC name
Trioxygen
เลขทะเบียน
เคมสไปเดอร์
ECHA InfoCard 100.030.051 แก้ไขสิ่งนี้ที่วิกิสนเทศ
RTECS number
  • RS8225000
  • InChI=1S/O3/c1-3-2
    Key: CBENFWSGALASAD-UHFFFAOYSA-N
  • InChI=1/O3/c1-3-2
    Key: CBENFWSGALASAD-UHFFFAOYAY
คุณสมบัติ
O3
มวลโมเลกุล 47.998 g·mol−1
ลักษณะทางกายภาพ bluish colored gas
ความหนาแน่น 2.144 g/L (0 °C), gas
จุดหลอมเหลว 80.7 K, −192.5 °C
จุดเดือด 161.3 K, −111.9 °C
0.105 g/100mL (0 °C)
1.2226 (liquid)
อุณหเคมี
Std molar
entropy
(S298)
237.7 J·K−1.mol−1
+142.3 kJ·mol−1
สารประกอบอื่นที่เกี่ยวข้องกัน
หากมิได้ระบุเป็นอื่น ข้อมูลข้างต้นนี้คือข้อมูลสาร ณ ภาวะมาตรฐานที่ 25 °C, 100 kPa

โอโซน (Ozone หรือ O3) เป็นโมเลกุลที่ประกอบจากออกซิเจน 3 อะตอม ปรากฏอยู่ในชั้นบรรยากาศของโลก และมีการใช้งานในทางอุตสาหกรรมและเครื่องใช้ตามบ้านทั่วไป โอโซนถูกค้นพบครั้งแรกโดย คริสเตียน ฟรีดริช เชินไบน์ (Christian Friedrich Schönbein) นักเคมีชาวเยอรมัน ในปี ค.ศ. 1840 โดยตั้งชื่อตามภาษากรีกคำว่า ozein ซึ่งแปลว่ากลิ่น

โอโซนเข้มข้นมีสีฟ้าที่อุณหภูมิและความดันมาตรฐาน (Standard Temperature and Pressure; STP) เมื่ออุณหภูมิลดลงถึง -112 °C โอโซนจะเป็นเป็นของเหลวสีน้ำเงิน และเมื่ออุณหภูมิลดต่ำกว่า -193 °C ก็จะกลายเป็นของแข็งสีดำ

เรานำโอโซนไปใช้ประโยชน์ในหลาย ๆ ด้าน เช่น นำไปใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตเคมีภัณฑ์ นำไปใช้เป็นสารซักฟอก ใช้ฆ่าแบคทีเรีย ฯลฯ

โอโซนในทางเคมี

แก๊สโอโซนเป็นตัวออกซิไดส์ที่ดีมาก และในขณะเดียวกันก็เป็นสารที่ไม่อยู่ตัว มักจะสลายเป็นแก๊สออกซิเจนได้ง่าย ดังสมการ

2 O3 → 3 O2

ถ้าเราเพิ่มอุณหภูมิและลดความดัน ปฏิกิริยาข้างต้นจะไปข้างหน้าได้เร็วมาก โดยปกติโอโซนมักออกซิไดส์โลหะ (ยกเว้นทองคำ แพลทินัม และแพลเลเดียม) ให้มีเลขออกซิเดชันสูงขึ้น