ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์)"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 37: บรรทัด 37:
ต่อมาเป็นผู้ประพันธ์เรื่องและเพลงตลอดจนกำกับการแสดงเรื่อง '''"หลงทาง"''' ซึ่งออกฉายเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ [[1 เมษายน]] [[พ.ศ. 2475]] "หนังพูด" เรื่องยาวครั้งแรก ของ[[ภาพยนตร์เสียงศรีกรุง]] มีเพลงประกอบทั้งหมด 6 เพลง คือ เพลงพัดชา เพลงบัวบังใบ เพลงลาวเดินดง เพลงกุหลาบหอม (ขึ้นพลับพลา) เพลงโยสะลัม และเพลงเงี้ยว โดย [[ขุนสนิทบรรเลงการ]]ใช้ทำนองเพลงไทยเดิมทั้งหมด แล้วใส่เนื้อร้องประกอบเข้าไป ออกฉายที่โรงภาพยนตร์พัฒนากร ได้รับคำชมเชยเป็นอย่างดี ทำให้ศรีกรุงได้ชื่อว่าเป็นผู้บุกเบิกภาพยนตร์เสียงอย่างสมบูรณ์แบบ
ต่อมาเป็นผู้ประพันธ์เรื่องและเพลงตลอดจนกำกับการแสดงเรื่อง '''"หลงทาง"''' ซึ่งออกฉายเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ [[1 เมษายน]] [[พ.ศ. 2475]] "หนังพูด" เรื่องยาวครั้งแรก ของ[[ภาพยนตร์เสียงศรีกรุง]] มีเพลงประกอบทั้งหมด 6 เพลง คือ เพลงพัดชา เพลงบัวบังใบ เพลงลาวเดินดง เพลงกุหลาบหอม (ขึ้นพลับพลา) เพลงโยสะลัม และเพลงเงี้ยว โดย [[ขุนสนิทบรรเลงการ]]ใช้ทำนองเพลงไทยเดิมทั้งหมด แล้วใส่เนื้อร้องประกอบเข้าไป ออกฉายที่โรงภาพยนตร์พัฒนากร ได้รับคำชมเชยเป็นอย่างดี ทำให้ศรีกรุงได้ชื่อว่าเป็นผู้บุกเบิกภาพยนตร์เสียงอย่างสมบูรณ์แบบ


ท่านร่วมงานกับภาพยนตร์เสียงศรีกรุงโดยตลอด สร้างผลงานที่น่าจดจำไว้หลายเรื่อง ทั้งข่าวสารคดี และแนวบันเทิงคดี เช่น '''บันทึกเหตุการณ์ ฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 150 ปี''' (2475) และ '''บันทึกเหตุการณ์ [[สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]]พระราชทาน[[รัฐธรรมนูญ]]''' (2475) ทั้งสองเรื่องเป็นข่าวสารคดี ส่วนแนวบันเทิงคดีเด่นๆ เช่น เรื่อง '''"ปู่โสมเฝ้าทรัพย์"''' (2476) ซึ่งถ่ายทำบางฉากเป็นสีเรื่องแรกของไทย เรื่อง '''"เลือดทหารไทย"''' (2477) ที่แสดงแสนยานุภาพ ของ[[กองทัพไทย]] ซึ่งบริษัทศรีกรุงได้รับการว่าจ้าง จาก[[กระทรวงกลาโหม]] และ เรื่อง "'''เพลงหวานใจ'''" (2480) ภาพยนตร์เพลงลงทุนสูงเป็นประวัติการณ์ โดยเฉพาะการเนรมิตฉากประเทศสมมุติ ซานคอซซาร์ให้ดูสมจริง
ร่วมงานกับภาพยนตร์เสียงศรีกรุงโดยตลอด สร้างผลงานที่น่าจดจำไว้หลายเรื่อง ทั้งข่าวสารคดี และแนวบันเทิงคดี เช่น '''บันทึกเหตุการณ์ ฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 150 ปี''' (2475) และ '''บันทึกเหตุการณ์ [[สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]]พระราชทาน[[รัฐธรรมนูญ]]''' (2475) ทั้งสองเรื่องเป็นข่าวสารคดี ส่วนแนวบันเทิงคดีเด่นๆ เช่น เรื่อง '''"ปู่โสมเฝ้าทรัพย์"''' (2476) ซึ่งถ่ายทำบางฉากเป็นสีเรื่องแรกของไทย เรื่อง '''"เลือดทหารไทย"''' (2477) ที่แสดงแสนยานุภาพ ของ[[กองทัพไทย]] ซึ่งบริษัทศรีกรุงได้รับการว่าจ้าง จาก[[กระทรวงกลาโหม]] และ เรื่อง "'''เพลงหวานใจ'''" (2480) ภาพยนตร์เพลงลงทุนสูงเป็นประวัติการณ์ โดยเฉพาะการเนรมิตฉากประเทศสมมุติ ซานคอซซาร์ให้ดูสมจริง


เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ใน พ.ศ. 2475 คณะราษฎร์ได้ประกาศใช้เพลงชาติมหาชัย ซึ่งประพันธ์เนื้อร้องโดย [[เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา)]] ต่อมาจึงเปลี่ยนเป็นเพลงชาติฉบับที่แต่งทำนองโดยพระเจนดุริยางค์ เมื่อแรกๆ นั้น ได้ใช้คำร้องของขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธ์) ประพันธ์ เป็นเพลงชาติไทยฉบับที่ห้า ใช้เป็นเพลงชาติระหว่างปี พ.ศ. 2475-2477
เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ใน พ.ศ. 2475 คณะราษฎร์ได้ประกาศใช้เพลงชาติมหาชัย ซึ่งประพันธ์เนื้อร้องโดย [[เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา)]] ต่อมาจึงเปลี่ยนเป็นเพลงชาติฉบับที่แต่งทำนองโดยพระเจนดุริยางค์ เมื่อแรกๆ นั้น ได้ใช้คำร้องของขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธ์) ประพันธ์ เป็นเพลงชาติไทยฉบับที่ห้า ใช้เป็นเพลงชาติระหว่างปี พ.ศ. 2475-2477


ในปี [[พ.ศ. 2485]] เกิดสงครามมหาเอเซียบูรพา สร้างความเดือดร้อน เกิดภาวะขาดแคลนขึ้นในอุตสาหกรรมทุกระดับ ไม่เว้นแม้แต่ อุตสาหกรรมภาพยนตร์ ฟิล์มเริ่มขาดแคลน ศรีกรุงเลิกทำหนัง เหลือแต่ที่ของรัฐบาล มีเนื้อหาปลุกใจให้รักชาติทั้งหมด หนึ่งในหลายเรื่องที่โดดเด่นในปีนั้นคือ '''"บ้านไร่นาเรา"''' ซึ่งท่านทำหน้าที่ประพันธ์เนื้อเรื่องโดยผูกเรื่องราวของชาวนาเข้ากับอุดมการณ์รักชาติ สอดคล้องกับนโยบายการบริหารประเทศของ [[จอมพล ป. พิบูลสงคราม]]ผู้นำประเทศ ในสมัยนั้น รวมทั้งประพันธ์เพลงประกอบ ด้วยซึ่งบทเพลง "บ้านไร่นาเรา" โดย[[พระเจนดุริยางค์]]เป็นผู้ประพันธ์ทำนองในแนวของความขยันขันแข็งในการทำงาน บ้านเมืองอุดมสมบูรณ์ และเป็นเพลงที่[[สำนักงานวัฒนธรรมแห่งชาติ]]ยกย่องว่า เป็น[[เพลงลูกทุ่ง]] เพลงแรกในงานวันเพลงลูกทุ่ง เพลงนี้ได้รับความนิยมมาจนถึงปัจจุบัน
ในปี [[พ.ศ. 2485]] เกิดสงครามมหาเอเซียบูรพา สร้างความเดือดร้อน เกิดภาวะขาดแคลนขึ้นในอุตสาหกรรมทุกระดับ ไม่เว้นแม้แต่ อุตสาหกรรมภาพยนตร์ ฟิล์มเริ่มขาดแคลน ศรีกรุงเลิกทำหนัง เหลือแต่ของรัฐบาลที่มีเนื้อหาปลุกใจให้รักชาติทั้งหมด หนึ่งในหลายเรื่องที่โดดเด่นในปีนั้นคือ '''"บ้านไร่นาเรา"''' ซึ่งท่านทำหน้าที่แต่งเนื้อเรื่องโดยผูกเรื่องราวของชาวนาเข้ากับอุดมการณ์รักชาติ ที่สอดคล้องกับนโยบายการบริหารประเทศของ [[จอมพล ป. พิบูลสงคราม]]ผู้นำประเทศ ในสมัยนั้น รวมทั้งเพลงประกอบอมตะ "บ้านไร่นาเรา" โดย[[พระเจนดุริยางค์]] ประพันธ์ทำนองในแนวของความขยันขันแข็งในการทำงาน บ้านเมืองอุดมสมบูรณ์ และเป็นเพลงที่ [[สำนักงานวัฒนธรรมแห่งชาติ]] ยกย่องเป็น [[เพลงลูกทุ่ง]] เพลงแรกในงานวันเพลงลูกทุ่ง


เมื่อ[[สงครามโลกครั้งที่สอง]] ยุติ ท่านได้ทำภาพยนตร์ อีกครั้งในปี [[พ.ศ. 2495]] เรื่อง '''"ทะเลรัก"''' อำนวยการสร้างโดย นาย [[เสวตร์ เปี่ยมพงศ์สานต์]] ปีถัดมาได้สร้างภาพยนตร์จากนวนิยายชื่อเดียวกัน ที่ประพันธ์ไว้เมื่อปี พ.ศ. 2469 เรื่อง '''"วารุณี"''' ภาพยนตร์ทั้งสองเรื่องเป็นภาพยนตร์ 16 มิลลิเมตรบันทึกเสียงลงในฟิล์ม ประสบความสำเร็จพอสมควร หลังจากนั้นก็พักงานภาพยนตร์ยาวนานถึง 16 ปี
เมื่อ[[สงครามโลกครั้งที่สอง]] ยุติ ได้ทำภาพยนตร์ อีกครั้งในปี [[พ.ศ. 2495]] เรื่อง '''"ทะเลรัก"''' อำนวยการสร้างโดย นาย [[เสวตร์ เปี่ยมพงศ์สานต์]] ปีถัดมาได้สร้างภาพยนตร์จากนวนิยายชื่อเดียวกัน ที่ประพันธ์ไว้เมื่อปี พ.ศ. 2469 เรื่อง '''"วารุณี"''' ภาพยนตร์ทั้งสองเรื่องเป็นภาพยนตร์ 16 มิลลิเมตรบันทึกเสียงลงในฟิล์ม ประสบความสำเร็จพอสมควร หลังจากนั้นได้พักงานภาพยนตร์ยาวนานถึง 16 ปี


พ.ศ. 2514 บริษัทภาพยนตร์เสียงศรีกรุง กลับมาสร้างภาพยนตร์อีกครั้ง และได้เชิญท่านเป็นที่ปรึกษาของบริษัท แต่ไม่สามารถสู้กับกระแสภาพยนตร์ 16 ม.ม.ซึ่งกำลังแรงอยู่ได้ ดังนั้นหลังจากทำภาพยนตร์ออกมาได้ไม่กี่เรื่อง จึงได้ปิดกิจการลงถาวรในปี [[พ.ศ. 2515]]
พ.ศ. 2514 บริษัทภาพยนตร์เสียงศรีกรุง กลับมาสร้างภาพยนตร์อีกครั้ง และได้เชิญเป็นที่ปรึกษาของบริษัท แต่ไม่สามารถสู้กับกระแสภาพยนตร์ 16 ม.ม.ซึ่งกำลังแรงอยู่ได้ ดังนั้นหลังจากทำภาพยนตร์ออกมาได้ไม่กี่เรื่อง จึงได้ปิดกิจการลงถาวรในปี [[พ.ศ. 2515]]


นับแต่นั้นท่านก็มิได้เกี่ยวข้องกับงานภาพยนตร์อีกเลย จนวาระสุดท้ายของชีวิต เมื่อวันที่ [[2 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2523]] มีอายุได้ 83 ปี
นับแต่นั้นก็มิได้เกี่ยวข้องกับงานภาพยนตร์อีกเลย จนวาระสุดท้ายของชีวิต เมื่อวันที่ [[2 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2523]] มีอายุได้ 83 ปี


== ครอบครัว ==
== ครอบครัว ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 00:01, 3 ตุลาคม 2555

ขุนวิจิตรมาตรา
(สง่า กาญจนาคพันธุ์)
ไฟล์:ขุนวิจิตรมาตรา.jpg
เกิด7 กรกฎาคม พ.ศ. 2440
เสียชีวิต2 กรกฎาคม พ.ศ. 2523 (อายุ 81 ปี)
อาชีพผู้กำกับ, นักเขียน, นักแต่งเพลง
สัญชาติไทย
คู่สมรสวิเชียร อภิวัฒน์

ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์) (7 กรกฎาคม พ.ศ. 2440 - 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2523) ผู้สร้างหนัง ผู้กำกับภาพยนตร์ไทย ผู้ประพันธ์เพลงต่างๆ หลายเพลง ซึ่งรวมถึงเนื้อร้องเพลงชาติไทยฉบับแรกสุดในปี พ.ศ. 2475 และเป็นผู้แต่งหนังสือต่างๆ หลายเรื่อง เช่น หลักไทย ภูมิศาสตร์สุนทรภู่ เป็นต้น นับได้ว่าเป็นนักคิด นักค้นคว้า และนักเขียนสำคัญคนหนึ่งของ ยุครัตนโกสินทร์

ประวัติ

เกิดเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2440 มีบิดาชื่อ ขุนสารการ (ทองดี) อาชีพรับราชการ สังกัดกระทรวงมหาดไทย และเป็นผู้พิพากษา มารดาชื่อ พับ จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 8 จากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย แล้วเข้ารับราชการเป็นล่ามภาษาอังกฤษในกรมแผนที่ กระทรวงกลาโหม เมื่อ พ.ศ. 2463 ต่อมาในปี พ.ศ. 2467 จึงได้รับโอนย้ายไปรับราชการในกระทรวงพาณิชย์ จนเกษียณอายุในตำแหน่งหัวหน้ากองมาตราชั่งตวงวัดเมื่อปี พ.ศ. 2500

เริ่มชีวิตนักประพันธ์ด้วยการเขียน บทละครร้อง ตั้งแต่อายุได้ 20 ปี หลังจากนั้นก็ได้ทำงานเขียนประเภท นิยาย สารคดี การประพันธ์เพลง และงานภาพยนตร์

ด้าน ภาพยนตร์ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกันในช่วงปี พ.ศ. 2473 เมื่อได้รับการติดต่อจาก หม่อมราชวงศ์อนุศักดิ์ หัสดินทร์ แห่งหัสดินทร์ภาพยนตร์ ให้ช่วยแต่งเรื่อง สำหรับภาพยนตร์เรื่องต่อไป ของบริษัท หลังจากตอบตกลงได้ไม่นาน จึงได้ประพันธ์บทภาพยนตร์เรื่องแรก ในชีวิตเป็นผลสำเร็จเรื่อง "'''รบระหว่างรัก'''" ในเรื่องนี้นอกจาก เป็นผู้ประพันธ์เรื่องแล้วยังเป้นผู้กำกับการแสดงอีกด้วย

ต่อมาเป็นผู้ประพันธ์เรื่องและเพลงตลอดจนกำกับการแสดงเรื่อง "หลงทาง" ซึ่งออกฉายเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2475 "หนังพูด" เรื่องยาวครั้งแรก ของภาพยนตร์เสียงศรีกรุง มีเพลงประกอบทั้งหมด 6 เพลง คือ เพลงพัดชา เพลงบัวบังใบ เพลงลาวเดินดง เพลงกุหลาบหอม (ขึ้นพลับพลา) เพลงโยสะลัม และเพลงเงี้ยว โดย ขุนสนิทบรรเลงการใช้ทำนองเพลงไทยเดิมทั้งหมด แล้วใส่เนื้อร้องประกอบเข้าไป ออกฉายที่โรงภาพยนตร์พัฒนากร ได้รับคำชมเชยเป็นอย่างดี ทำให้ศรีกรุงได้ชื่อว่าเป็นผู้บุกเบิกภาพยนตร์เสียงอย่างสมบูรณ์แบบ

ร่วมงานกับภาพยนตร์เสียงศรีกรุงโดยตลอด สร้างผลงานที่น่าจดจำไว้หลายเรื่อง ทั้งข่าวสารคดี และแนวบันเทิงคดี เช่น บันทึกเหตุการณ์ ฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 150 ปี (2475) และ บันทึกเหตุการณ์ สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานรัฐธรรมนูญ (2475) ทั้งสองเรื่องเป็นข่าวสารคดี ส่วนแนวบันเทิงคดีเด่นๆ เช่น เรื่อง "ปู่โสมเฝ้าทรัพย์" (2476) ซึ่งถ่ายทำบางฉากเป็นสีเรื่องแรกของไทย เรื่อง "เลือดทหารไทย" (2477) ที่แสดงแสนยานุภาพ ของกองทัพไทย ซึ่งบริษัทศรีกรุงได้รับการว่าจ้าง จากกระทรวงกลาโหม และ เรื่อง "เพลงหวานใจ" (2480) ภาพยนตร์เพลงลงทุนสูงเป็นประวัติการณ์ โดยเฉพาะการเนรมิตฉากประเทศสมมุติ ซานคอซซาร์ให้ดูสมจริง

เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ใน พ.ศ. 2475 คณะราษฎร์ได้ประกาศใช้เพลงชาติมหาชัย ซึ่งประพันธ์เนื้อร้องโดย เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) ต่อมาจึงเปลี่ยนเป็นเพลงชาติฉบับที่แต่งทำนองโดยพระเจนดุริยางค์ เมื่อแรกๆ นั้น ได้ใช้คำร้องของขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธ์) ประพันธ์ เป็นเพลงชาติไทยฉบับที่ห้า ใช้เป็นเพลงชาติระหว่างปี พ.ศ. 2475-2477

ในปี พ.ศ. 2485 เกิดสงครามมหาเอเซียบูรพา สร้างความเดือดร้อน เกิดภาวะขาดแคลนขึ้นในอุตสาหกรรมทุกระดับ ไม่เว้นแม้แต่ อุตสาหกรรมภาพยนตร์ ฟิล์มเริ่มขาดแคลน ศรีกรุงเลิกทำหนัง เหลือแต่ของรัฐบาลที่มีเนื้อหาปลุกใจให้รักชาติทั้งหมด หนึ่งในหลายเรื่องที่โดดเด่นในปีนั้นคือ "บ้านไร่นาเรา" ซึ่งท่านทำหน้าที่แต่งเนื้อเรื่องโดยผูกเรื่องราวของชาวนาเข้ากับอุดมการณ์รักชาติ ที่สอดคล้องกับนโยบายการบริหารประเทศของ จอมพล ป. พิบูลสงครามผู้นำประเทศ ในสมัยนั้น รวมทั้งเพลงประกอบอมตะ "บ้านไร่นาเรา" โดยพระเจนดุริยางค์ ประพันธ์ทำนองในแนวของความขยันขันแข็งในการทำงาน บ้านเมืองอุดมสมบูรณ์ และเป็นเพลงที่ สำนักงานวัฒนธรรมแห่งชาติ ยกย่องเป็น เพลงลูกทุ่ง เพลงแรกในงานวันเพลงลูกทุ่ง

เมื่อสงครามโลกครั้งที่สอง ยุติ ได้ทำภาพยนตร์ อีกครั้งในปี พ.ศ. 2495 เรื่อง "ทะเลรัก" อำนวยการสร้างโดย นาย เสวตร์ เปี่ยมพงศ์สานต์ ปีถัดมาได้สร้างภาพยนตร์จากนวนิยายชื่อเดียวกัน ที่ประพันธ์ไว้เมื่อปี พ.ศ. 2469 เรื่อง "วารุณี" ภาพยนตร์ทั้งสองเรื่องเป็นภาพยนตร์ 16 มิลลิเมตรบันทึกเสียงลงในฟิล์ม ประสบความสำเร็จพอสมควร หลังจากนั้นได้พักงานภาพยนตร์ยาวนานถึง 16 ปี

พ.ศ. 2514 บริษัทภาพยนตร์เสียงศรีกรุง กลับมาสร้างภาพยนตร์อีกครั้ง และได้เชิญเป็นที่ปรึกษาของบริษัท แต่ไม่สามารถสู้กับกระแสภาพยนตร์ 16 ม.ม.ซึ่งกำลังแรงอยู่ได้ ดังนั้นหลังจากทำภาพยนตร์ออกมาได้ไม่กี่เรื่อง จึงได้ปิดกิจการลงถาวรในปี พ.ศ. 2515

นับแต่นั้นก็มิได้เกี่ยวข้องกับงานภาพยนตร์อีกเลย จนวาระสุดท้ายของชีวิต เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2523 มีอายุได้ 83 ปี

ครอบครัว

ท่านได้สมรสกับ นางสาววิเชียร อภิวัฒน์ ธิดาของ นายจิ๋ว และ นางเล็ก มีบุตร-ธิดา รวม 7 ท่าน คือ

  • นายโสภณ กาญจนาคพันธุ์
  • นายโสภิณ กาญจนาคพันธุ์
  • นางโสภา เปี่ยมพงศ์สานต์ ภรรยา นายเสวตร เปี่ยมพงศ์สานต์
  • นายชาญ กาญจนาคพันธุ์
  • นายดิเรก กาญจนาคพันธุ์
  • นางสีแพร จริตงาม ภรรยา เรืออากาศเอกสงวน จริตงาม
  • ร้อยตรีเอก กาญจนาคพันธุ์

ผลงาน

ภาพยนตร์

  • รบระหว่างรัก (2474) กำกับ / ประพันธ์เรื่อง (หนังเงียบ)
  • หลงทาง (2475) กำกับ / ประพันธ์เรื่อง / ประพันธ์เพลง
  • ท้าวกกขนาก (2475) กำกับ / ประพันธ์เรื่อง (หนังเงียบ)
  • ปู่โสมเผ้าทรัพย์ (2476) กำกับ / ประพันธ์เรื่อง / ประพันธ์เพลง
  • เลือดทหารไทย (2478) กำกับ / ประพันธ์เรื่อง / ประพันธ์เพลง
  • พญาน้อยชมตลาด (2478) ประพันธ์เพลง
  • เมืองแม่หม้าย (2478) ประพันธ์เพลง
  • เพลงหวานใจ (2480) กำกับ / ประพันธ์เรื่อง/ประพันธ์เพลง
  • บ้านไร่นาเรา (2485) ประพันธ์เรื่อง / ประพันธ์เพลง
  • ทะเลรัก (2495) กำกับ / ประพันธ์เรื่อง
  • วารุณี (2496) กำกับ / ประพันธ์เรื่อง

บทเพลง

เพลงชาติสยามฉบับราชการ พ.ศ. 2477 (บทร้อง 2 บทแรกประพันธ์โดยขุนวิจิตรมาตราเมื่อ พ.ศ. 2475 และได้แก้ไขเพิ่มเติมสำหรับเข้าประกวดเพลงชาติฉบับราชการในปี พ.ศ. 2476)

ขุนวิจิตรมาตรา ยังมีผลงานการแต่ง เพลงประกอบ ซึ่งส่วนใหญ่ขุนวิจิตรมาตราจะรับหน้าที่ในการประพันธ์คำร้องมากกว่า บทเพลงหลายเพลงที่ท่านแต่ง มักได้รับความนิยม อย่างต่อเนื่องแม้ ภาพยนตร์เรื่องนั้น ๆ จะออกจากโรงไปแล้ว

  • เพลงบวงสรวง (จากภาพยนตร์เรื่อง "เมืองแม่หม้าย" - พ.ศ. 2470)
  • เพลงกุหลาบหอม (ขึ้นพลับพลา) (จากภาพยนตร์เรื่อง "หลงทาง" - พ.ศ. 2474)
  • เพลงบัวบังใบ (จากภาพยนตร์เรื่อง "หลงทาง" - พ.ศ. 2474)
  • เนื้อร้องเพลงชาติสยาม พ.ศ. 2475 (ทำนองโดยพระเจนดุริยางค์)
  • เพลงลาทีกล้วยไม้ (จากภาพยนตร์เรื่อง "ปู่โสมเฝ้าทรัพย์" - พ.ศ. 2476)
  • เพลงกุหลาบในมือเธอ (จากภาพยนตร์เรื่อง "เลือดทหารไทย" - พ.ศ. 2477)
  • เพลงประจำมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ทำนองมอญดูดาว พ.ศ. 2477)
  • เพลงเธอใกล้หรือไกล (จากภาพยนตร์เรื่อง "เพลงหวานใจ" - พ.ศ. 2480)
  • เพลงบ้านไร่นาเรา (จากภาพยนตร์ชื่อเรื่องเดียวกัน - พ.ศ. 2485)

หนังสือ

  • หลักไทย (งานค้นคว้าเกี่ยวกับทฤษฎีชนชาติไทย ได้รับพระราชทานรางวัลจากรัชกาลที่ 7 เมื่อ พ.ศ. 2471)
  • เด็กคลองบางหลวง
  • กรุงเทพฯ เมื่อวานนี้
  • กรุงเทพเมื่อ 70 ปีก่อน
  • 80 ปีในชีวิตข้าพเจ้า
  • สำนวนไทย
  • ภูมิศาสตร์สุนทรภู่
  • ภูมิศาสตร์วัดโพธิ์
  • คอคิดขอเขียน
  • สิ่งที่คิดเห็นในเรื่องคาวี
  • ประวัติการค้าไทย

อ้างอิง