ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นาก"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
RedBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.2) (โรบอต เพิ่ม: he:לוטרות
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
replaceViaSearch: ตาราง
บรรทัด 22: บรรทัด 22:
}}
}}
{{ความหมายอื่น}}
{{ความหมายอื่น}}
'''นาก''' เป็น[[สัตว์]]อยู่ใน[[ไฟลัม]][[สัตว์มีแกนสันหลัง]] ชั้น[[สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม]] อันดับ[[สัตว์กินเนื้อ]] ในวงศ์ใหญ่ [[Mustelidae]] อันเป็นวงศ์เดียวกับ[[วีเซล]]หรือเพียงพอน แต่นากจัดอยู่ในวงศ์ย่อย Lutrinae มีทั้งหมด 6 [[สกุล (ชีววิทยา)|สกุล]] (ดูในตางราง)
'''นาก''' เป็น[[สัตว์]]อยู่ใน[[ไฟลัม]][[สัตว์มีแกนสันหลัง]] ชั้น[[สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม]] อันดับ[[สัตว์กินเนื้อ]] ในวงศ์ใหญ่ [[Mustelidae]] อันเป็นวงศ์เดียวกับ[[วีเซล]]หรือเพียงพอน แต่นากจัดอยู่ในวงศ์ย่อย Lutrinae มีทั้งหมด 6 [[สกุล (ชีววิทยา)|สกุล]] (ดูในตาราง)


เป็นสัตว์บกที่สามารถ[[ว่ายน้ำ]]และหากินในน้ำได้อย่างคล่องแคล่วมาก มีรูปร่างโดยรวมหัวสั้นและกว้าง หูเล็ก นิ้วเท้าทั้ง 4 ข้างมีพังผืดคล้ายตีนเป็ด ขนลำตัว[[สีน้ำตาล]]อม[[เทา]] มี 2 ชั้น ชั้นในละเอียด ชั้นนอกหยาบ ขาหลังใหญ่และแข็งแรงกว่า ขาหน้า ใช้ว่ายนํ้าร่วมกับหาง มีฟันแหลมและแข็งแรง มีหนวดยาวใช้เป็นอวัยวะจับการเคลื่อนไหวของสิ่งที่อยู่ใต้น้ำและใช้เป็นประสาทสัมผัสเมื่อเวลาอยู่ในน้ำ ไล่จับ[[ปลา]]และ[[สัตว์นํ้า]]เล็ก ๆ เป็นอาหาร ในบาง[[สปีชีส์|ชนิด]]อาจกินสัตว์จำพวกอื่นที่มีขนาดใหญ่กว่าได้ด้วย ออกหากินทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูงเล็ก ๆ ขุดรูอยู่ริมตลิ่งใช้เป็นรังสำหรับอาศัยและเลี้ยงดูลูกอ่อน
เป็นสัตว์บกที่สามารถ[[ว่ายน้ำ]]และหากินในน้ำได้อย่างคล่องแคล่วมาก มีรูปร่างโดยรวมหัวสั้นและกว้าง หูเล็ก นิ้วเท้าทั้ง 4 ข้างมีพังผืดคล้ายตีนเป็ด ขนลำตัว[[สีน้ำตาล]]อม[[เทา]] มี 2 ชั้น ชั้นในละเอียด ชั้นนอกหยาบ ขาหลังใหญ่และแข็งแรงกว่า ขาหน้า ใช้ว่ายนํ้าร่วมกับหาง มีฟันแหลมและแข็งแรง มีหนวดยาวใช้เป็นอวัยวะจับการเคลื่อนไหวของสิ่งที่อยู่ใต้น้ำและใช้เป็นประสาทสัมผัสเมื่อเวลาอยู่ในน้ำ ไล่จับ[[ปลา]]และ[[สัตว์นํ้า]]เล็ก ๆ เป็นอาหาร ในบาง[[สปีชีส์|ชนิด]]อาจกินสัตว์จำพวกอื่นที่มีขนาดใหญ่กว่าได้ด้วย ออกหากินทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูงเล็ก ๆ ขุดรูอยู่ริมตลิ่งใช้เป็นรังสำหรับอาศัยและเลี้ยงดูลูกอ่อน

รุ่นแก้ไขเมื่อ 19:01, 12 กันยายน 2555

นาก
นากใหญ่ธรรมดา (Lutra lutra)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Carnivora
วงศ์: Mustelidae
วงศ์ย่อย: Lutrinae
สกุล

นาก เป็นสัตว์อยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อันดับสัตว์กินเนื้อ ในวงศ์ใหญ่ Mustelidae อันเป็นวงศ์เดียวกับวีเซลหรือเพียงพอน แต่นากจัดอยู่ในวงศ์ย่อย Lutrinae มีทั้งหมด 6 สกุล (ดูในตาราง)

เป็นสัตว์บกที่สามารถว่ายน้ำและหากินในน้ำได้อย่างคล่องแคล่วมาก มีรูปร่างโดยรวมหัวสั้นและกว้าง หูเล็ก นิ้วเท้าทั้ง 4 ข้างมีพังผืดคล้ายตีนเป็ด ขนลำตัวสีน้ำตาลอมเทา มี 2 ชั้น ชั้นในละเอียด ชั้นนอกหยาบ ขาหลังใหญ่และแข็งแรงกว่า ขาหน้า ใช้ว่ายนํ้าร่วมกับหาง มีฟันแหลมและแข็งแรง มีหนวดยาวใช้เป็นอวัยวะจับการเคลื่อนไหวของสิ่งที่อยู่ใต้น้ำและใช้เป็นประสาทสัมผัสเมื่อเวลาอยู่ในน้ำ ไล่จับปลาและสัตว์นํ้าเล็ก ๆ เป็นอาหาร ในบางชนิดอาจกินสัตว์จำพวกอื่นที่มีขนาดใหญ่กว่าได้ด้วย ออกหากินทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูงเล็ก ๆ ขุดรูอยู่ริมตลิ่งใช้เป็นรังสำหรับอาศัยและเลี้ยงดูลูกอ่อน

นากจึงเป็นสัตว์ที่มีที่อยู่ในธรรมชาติใกล้กับแหล่งน้ำหรือพื้นที่ชุ่มน้ำ พบได้ทั่วโลก โดยชนิดที่ใหญ่ที่สุด คือ นากยักษ์ (Pteronura brasiliensis) พบในลุ่มแม่น้ำอเมซอนในทวีปอเมริกาใต้ ชนิดที่เล็กที่สุด คือ นากเล็กเล็บสั้น (Aonyx cinerea) บางชนิดพบในทะเล เช่น นากทะเล (Enhydra lutris) ที่สามารถนอนหงายท้องบนผิวน้ำทะเลและเอาหินทุบเปลือกหอยกินเป็นอาหารได้ด้วย สำหรับนากชนิดที่หายากที่สุดในโลก คือ นากจมูกขน (Lutra sumatrana) ที่พบในภูมิภาคอินโดจีน สำหรับในประเทศไทยพบทั้งหมด 4 ชนิด คือ นากใหญ่ธรรมดา หรือ นากยุโรป (L. lutra), นากใหญ่ขนเรียบ (Lutrogale perspicillata), นากเล็กเล็บสั้น และนากจมูกขน

นากมีความสำคัญต่อมนุษย์ คือ ในอดีตมีการล่าเพื่อเอาหนังและขนทำเป็นเสื้อขนสัตว์ โดยเฉพาะในทวีปยุโรปมีการล่าอย่างหนัก ทำให้นากหลายชนิดเกือบสูญพันธุ์ จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1975 ทางกองทุนสัตว์ป่าโลก (World Wide Fund for Nature) ได้เรียกร้องให้รัฐบาลประเทศต่าง ๆ ยกเลิกการค้าหนังนาก ซึ่งก็ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี ทำให้นากได้รับความคุ้มครอง แต่กระนั้นในบางพื้นที่ก็ยังคงมีการลักลอบกันอยู่

นอกจากนี้แล้ว นากยังเป็นสัตว์ที่สามารถเลี้ยงให้เชื่องและนำมาแสดงโชว์ได้ตามสวนสัตว์ต่าง ๆ เช่นเดียวกับ โลมา หรือ แมวน้ำ

อ้างอิง