ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภัยพิบัตินิวเคลียร์ฟูกูชิมะแห่งที่หนึ่ง"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Mjbmrbot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.1) (โรบอต แก้ไข: de:Unfallserie im Kernkraftwerk Fukushima I
บรรทัด 23: บรรทัด 23:
[[ca:Accident nuclear de Fukushima I]]
[[ca:Accident nuclear de Fukushima I]]
[[da:Fukushima I-ulykkerne]]
[[da:Fukushima I-ulykkerne]]
[[de:Nuklearunfälle von Fukushima-Daiichi]]
[[de:Unfallserie im Kernkraftwerk Fukushima I]]
[[en:Fukushima I nuclear accidents]]
[[en:Fukushima I nuclear accidents]]
[[es:Accidente nuclear de Fukushima I]]
[[es:Accidente nuclear de Fukushima I]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 04:38, 28 มีนาคม 2554

ไฟล์:Fukushima I by Digital Globe 2.jpg
ภาพถ่ายดาวเทียมของอาคารเครื่องปฏิกรณ์ที่ได้รับความเสียหายสี่หลัง (16 มีนาคม)

อุบัติเหตุนิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิชิ เป็นเหตุการณ์ที่อุปกรณ์เครื่องมือขัดข้องและปลดปล่อยสารกัมมันตรังสีที่เกิดขึ้น ณ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิชิ หลังจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในโทโฮะกุ พ.ศ. 2554 ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 11 มีนาคม โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ดังกล่าวประกอบด้วยเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์แบบน้ำเดือดหกเครื่องแยกออกจากกันจำนวน 6 เครื่อง บำรุงรักษาโดยบริษัทผลิตไฟฟ้าโตเกียว (TEPCO) เครื่องปฏิกรณ์ที่ 4, 5 และ 6 ถูกปิดลงก่อนหน้าที่จะเกิดแผ่นดินไหว ตามกำหนดบำรุงรักษา[1] ส่วนเครื่องปฏิกรณ์ที่เหลือถูกปิดลงโดยอัตโนมัติหลังจากเกิดเหตุแผ่นดินไหว แต่คลื่นสึนามิสูง 14 เมตร[2] ที่เกิดขึ้นตามมาได้เข้าท่วมโรงไฟฟ้า และทำให้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าฉุกเฉินที่จำเป็นสำหรับการทำงานของปั๊มความเย็นและควบคุมเครื่องปฏิกรณ์ ความเสียหายจากอุทกภัยและแผ่นดินไหวทำให้ความช่วยเหลือจากที่อื่นไม่สามารถเข้าถึงได้

นับตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคมเป็นต้นมา มีหลักฐานว่าแกนปฏิกรณ์บางส่วนเกิดการหลอมละลายในเครื่องปฏิกรณ์ที่ 1, 2 และ 3 การระเบิดของไฮโดรเจนได้ทำลายวัสดุใช้หุ้มส่วนบนของอาคารซึ่งเป็นที่ตั้งของเตาปฏิกรณ์ที่ 1, 3 และ 4 แรงระเบิดได้ทำลายวัสดุคลุมภายในเตาปฏิกรณ์ที่ 2 และเกิดเพลิงไหม้ขึ้นหลายจุดที่เครื่องปฏิกรณ์ที่ 4 นอกเหนือจากนี้ แท่งเชื้อเพลิงใช้แล้วซึ่งถูกเก็บไว้ในบ่อเก็บเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ของเครื่องปฏิกรณ์หน่วยที่ 1-4 เริ่มมีความร้อนเกินเนื่องจากระดับน้ำในบ่อลดลง ด้วยเกรงว่าจะเกิดการรั่วไหลของกัมมันตรังสี จึงนำไปสู่การอพยพประชาชนในรัศมี 20 กิโลเมตรโดยรอบโรงไฟฟ้า คนงานซึ่งทำงานอยู่ที่โรงไฟฟ้าได้รับปริมาณรังสีเข้าไปและถูกอพยพชั่วคราวหลายครั้ง เมื่อวันที่ 18 มีนาคม กำหนดระดับอันตรายของเครื่องปฏิกรณ์ที่ 1-3 อยู่ที่ระดับ 5 จากทั้งหมด 7 ระดับ ตามระดับความรุนแรงของภัยพิบัติทางนิวเคลียร์ (INES)[3] โรงไฟฟ้าบางส่วนกลับมามีพลังงานอีกครั้งหนึ่งเมื่อวันที่ 20 มีนาคม แต่เครื่อจักรกลที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย เพลิงไหม้และการระเบิดยังคงไม่สามารถใช้การได้[4]

เมื่อวันที่ 25 มีนาคม ผู้วางระเบียบด้านนิวเคลียร์ในญี่ปุ่นประกาศว่า น่าจะมีรอยแตกเกิดขึ้นในหม้อความดันห่อหุ้มเครื่องปฏิกรณ์ที่ 3 (ซึ่งบรรจุเชื้อเพลิงออกไซด์ผสม) ซึ่งทางการสงสัยว่าอาจเกิดรอยร้าวและการรั่วไหลของกัมมันตรังสี[5][6][7] การตรวจวัดฝุ่นกัมมันตรังสีที่ปลดปล่อยจากเครื่องปฏิกรณ์ทั่วโลกได้รับรายงานโดยนิวไซแอนทิสว่า "ใกล้เคียงกับระดับของเชอร์โนบิล" มีการรายงานว่าองค์การสนธิสัญญาว่าด้วยการห้ามทดลองอาวุธนิวเคลียร์โดยสมบูรณ์วัดระดับของไอโอดีน-131 ที่ 73% และซีเซียม-137 อยู่ที่ 60% ของระดับที่ปลดปล่อยออกมาจากหายนะเชอร์โนบิล[8] การปนเปื้อนในพื้นที่ใกล้เคียงโรงไฟฟ้านำไปสู่การห้ามขายอาหารที่ปลูกในพื้นที่ฟุกุชิมะมากที่สุดถึง 100 กิโลเมตรโดยรอบโรงไฟฟ้าและน้ำประปาในพื้นที่โตเกียวถูกส่งไปให้แก่ทารก[9] รัฐบาลได้แจกจ่ายน้ำดื่มขวด[10] การสุ่มตัวอย่างที่เกิดขึ้นตามมาในพื้นที่โตเกียวพบว่าปลอดภัยและคำสั่งห้ามถูกยกเลิกนับตั้งแต่นั้น

เมื่อวันที่ 26 มีนาคม TEPCO ระบุว่า สามารถตรวจวัดกัมมันตรังสีได้มากกว่าระดับปกติถึง 10 ล้านเท่า (1,000 มิลลิซีเวิร์ต/ชั่วโมง) ในน้ำที่สะสมไว้ในโข่งไอเสียของเครื่องปฏิกรณ์ที่ 2[11][12] คนงานกำลังปั๊มน้ำที่ปนเปื้อนกัมมันตรังสีออกจากเครื่องปฏิกรณ์ที่ 2 ถูกอพยพเพื่อป้องกันการได้รับกัมมันตรังสีเพิ่มเติม[12]

ผู้นำประเทศหลายคนได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับอุบัติเหตุดังกล่าว รัฐบาลญี่ปุ่นและ TEPCO ถูกวิพากษ์วิจารณ์สำหรับการสื่อสารที่ไม่ค่อยดีแก่สาธารณชน[13][14] เมื่อวันที่ 20 มีนาคม เลขานุการคณะรัฐมนตรี ยูคิโอะ เอดาโนะ ประกาศว่า โรงไฟฟ้าดังกล่าวจะถูกปิดเมื่อวิกฤตการณ์ดังกล่าวสิ้นสุดลง[15]

อ้างอิง

  1. Black, Richard (15 March 2011). "BBC News - Reactor breach worsens prospects". BBC News. สืบค้นเมื่อ 23 March 2011.
  2. "Fukushima faced 14-metre tsunami". World Nuclear News. March 23, 2011. สืบค้นเมื่อ march 24, 2011. {{cite web}}: Cite ไม่รู้จักพารามิเตอร์ว่างเปล่า : |1= (help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. 'Japan raised nuclear alert level' BBC News online 18 March 2011.
  4. Stricken Reactors May Get Power Sunday, Wall Street Journal, 19 March 2011
  5. "Reactor Core May Be Breached at Damaged Fukushima Plant". Bloomberg.com. 25 March 2011. สืบค้นเมื่อ 25 March 2011. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  6. "Core reactor at at Fukushima Dai-ichi plant in Japan may have been breached". Associated Press. March 25, 2011. สืบค้นเมื่อ 25 March 2011.
  7. "High radiation leak suggests damage to No. 3 reactor vessel: agency". Kyodo. สืบค้นเมื่อ March 25, 2011.
  8. "Fukushima radioactive fallout nears Chernobyl levels". New Scientist. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-25. สืบค้นเมื่อ 2011-11-25.
  9. Japan mulls Fukushima food ban: IAEA, Reuters, 19 March 2011
  10. Justin McCurry in Osaka. "Justin McCurrey, "Tokyo water unsafe for infants after high radiation levels detected" guardian.co.uk 23 March 2010". Guardian. UK. สืบค้นเมื่อ 23 March 2011.
  11. "Woes deepen over radioactive waters at nuke plant, sea contamination". Tokyo: Kyodo News Network. 27 March 2011. สืบค้นเมื่อ 27 March 2011.
  12. 12.0 12.1 "Radioactivity soars inside Japanese reactor". Tokyo. 27 March 2011. สืบค้นเมื่อ 27 March 2011. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  13. Wagner, Wieland (15 March 2011). "Problematic Public Relations: Japanese Leaders Leave People in the Dark". Der Spiegel. สืบค้นเมื่อ 19 March 2011.
  14. "China urges Japan's openness amid panic buying of salt". Channel NewsAsia. 17 March 2011. สืบค้นเมื่อ 17 March 2011.
  15. "Progress at Japan Reactors; New Signs of Food Radiation". The New York Times. 20 March 2011. สืบค้นเมื่อ 20 March 2011. {{cite news}}: ข้อความ "author:Tabuchi, Hiroko, and Norimitsu Onishi" ถูกละเว้น (help)