ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เครย์ฟิช"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 58: บรรทัด 58:


[[หมวดหมู่:กุ้ง]]
[[หมวดหมู่:กุ้ง]]
[[หมวดหมู่:สัตว์เลี้ยง]]

[[หมวดหมู่:สัตว์เศรษฐกิจ]]
[[az:Xərçəng]]
[[az:Xərçəng]]
[[ca:Cranc de riu]]
[[ca:Cranc de riu]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 06:21, 15 กรกฎาคม 2553

เครย์ฟิช
คริวฟิช
Procambarus clarkii สีตามธรรมชาติ
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Arthropoda
ไฟลัมย่อย: Crustacea
ชั้น: Malacostraca
อันดับ: Decapoda
อันดับย่อย: Pleocyemata
อันดับฐาน: Astacidea
วงศ์ใหญ่: Astacoidea
(Latreille, 1802)
Parastacoidea
(Huxley, 1879)
วงศ์

Astacoidea
  * Astacidae
  * Cambaridae
  * Erymidae (สูญพันธุ์แล้ว)
Parastacoidea
  * Parastacidae

เครย์ฟิช (Crayfish) หรือ คริวฟิช (Crawfish) ชื่อสามัญภาษาอังกฤษใช้เรียกกุ้งน้ำจืดจำพวกหนึ่ง มีรูปร่างโดยรวมลำตัวใหญ่ เปลือกหนา ก้ามใหญ่แลดูแข็งแรง มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาเหนือ, ทวีปยุโรป, โอเชียเนียและบริเวณใกล้เคียง เช่น อีเรียน จายา และเอเชียตะวันออก ปัจจุบันมีการอนุกรมวิธานเครย์ฟิชไปแล้วกว่า 500 ชนิด ซึ่งกว่าครึ่งนั้นเป็นเครย์ฟิชที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาเหนือ แต่ก็ยังมีอีกหลายร้อยชนิดที่ยังไม่ได้รับการอนุกรมวิธาน อีกทั้งหลายชนิดยังมีความหลากหลายทางสีสันมากอีกด้วย (variety)

สำหรับในประเทศไทยไม่มีกุ้งในลักษณะเครย์ฟิช ซึ่งกุ้งน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่สุดที่พบในประเทศไทย คือ กุ้งก้ามกราม (Macrobrachium rosenbergii) ซึ่งในลักษณะกุ้งก้ามกรามนี้ ชื่อสามัญในภาษาอังกฤษจะเรียกว่า prawn

โครงสร้างของร่างกาย

ร่างกายเครย์ฟิชนั้นแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน คือ ส่วนหัว ส่วนกลาง หรือ thorax คือส่วนที่มีขาใช้สำหรับเดิน ส่วนสุดท้ายคือ ส่วนท้องซึ่งเป็นส่วนที่มีเนื้อเยอะมากที่สุด ซึ่งส่วนหัวกับส่วนกลางนั้นเชื่อมติดรวมกันเป็นชิ้นเดียว เรียกว่า cephalothorax (ข้อมูลบางแหล่งอาจระบุว่าเครย์ฟิชนั้นมีลำตัวเพียง 2 ส่วนก็ได้) ทั้งตัวนั้นจะถูกหุ้มด้วยเปลือก หรือ carapace ซึ่งทำหน้าที่ 2 อย่าง คือ ใช้สำหรับปกป้องลำตัว และเป็นที่ตั้งของอวัยวะหายใจ คือ เหงือกที่มีลักษณะคล้ายขนนกอยู่ใกล้บริเวณปาก ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในระบบหายใจ คือเป็นทางผ่างของน้ำเพื่อให้น้ำไหลผ่านช่องเหงือกนั่นเอง

ในส่วนของขานั้นแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ขาเดิน หรือ paraeopods ซึ่งมีด้วยกันทั้งหมด 5 คู่ โดยคู่แรกนั้นถูกพัฒนาจนกลายเป็นก้าม หรือ cheliped ใช้สำหรับหยิบจับอาหารและใช้ต่อสู้ และ ขาว่ายน้ำ หรือ pleopods จะมีลักษณะเป็นแผ่นบาง ๆ มีไว้สำหรับโบกน้ำที่มีออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายเพื่อหายใจ รวมทั้งโบกพัดแพลงก์ตอนเข้าหาตัวเพื่อกินเป็นอาหารอีก ในเครย์ฟิชตัวเมีย ขาว่ายน้ำยังใช้เป็นที่อุ้มไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิอีกแล้วต่างหาก

Procambarus clarkii ในสภาพที่หงายท้องเห็นส่วนที่เป็นขาเดินและขาว่ายน้ำ
Cherax sp. "zebra" ในตู้เลี้ยง
Cherax quadricarinatus ในตู้เลี้ยง

การแบ่งวงศ์และสกุล

เครย์ฟิชนั้นสามาถแบ่งออกได้เป็น 2 วงศ์ใหญ่ ๆ คือ Astacoidea ซึ่งเป็นวงศ์ใหญ่มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาเหนือและทวีปยุโรป สามารถแบ่งเป็นวงศ์ย่อยได้อีก 2 วงศ์คือ Astacidae และ Cambaridae โดยเครย์ฟิชชนิดที่เป็นที่รู้จักกันดีในวงศ์นี้คือ Procambarus clarkii โดยรวมแล้วเครย์ฟิชในวงศ์นี้ มีรูปร่างใหญ่ ไม่มีกรี มีลักษณะเด่นคือ ก้ามมีหนาม ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 20 เซนติเมตร และวงศ์ใหญ่ Parastacoidea ซึ่งมีถิ่นกำเนิดในภูมิภาคโอเชียเนียและอีเรียน จายา เครย์ฟิชในวงศ์นี้ก้ามจะไม่มีหนาม และลักษณะของก้ามจะป่องออกต่างไปจากวงศ์ Astacoidea แต่มีที่หนีบสั้นและเล็กกว่า ขนาดเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 30-40 เซนติเมตร ชนิดของเครย์ฟิชในวงศ์นี้ที่เป็นที่รู้จัก คือ Cherax quadricarinatus

การแบ่งเพศและวงจรชีวิต

เครย์ฟิชนั้นในธรรมชาติจะอาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำที่มีลักษณะน้ำใสสะอาด มีออกซิเจนสูง โดยจะซ่อนตัวอยู่ตามขอนไม้หรือหินใต้น้ำ เป็นสัตว์ที่กินอาหารได้หลากหลายทั้งพืชและสัตว์ รวมทั้งซากพืชซากสัตว์ด้วย ออกหากินในเวลากลางคืน โดยจะไม่หากินทุกวัน แต่จะเว้นระยะไปราว 1-2 วัน จึงออกหากินอีกครั้ง มีอาณาเขตของตัวเองประมาณ 40 เซนติเมตร

เครย์ฟิชในวัยเล็กจะมีระยะการลอกคราบบ่อยกว่าตัวที่โตแล้ว โดยจะมีอัตราเฉลี่ยอยู่ที่หนึ่งครั้งต่อหนึ่งเดือน เมื่ออายุได้ 1 ปี การลอกคราบจะเหลือเพียงปีละครั้งเท่านั้น การลอกคราบแต่ละครั้งใช้เวลานานราว 2-3 วัน กว่าเปลือกใหม่ที่ได้นั้นจะแข็งแรงเท่าเดิม ในบางครั้งอาจมีพฤติกรรมกินเปลือกตัวเองที่ลอกออกหรือของตัวอื่นก็ได้ เพราะร่างกายของเครย์ฟิชในช่วงลอกคราบต้องการแคลเซี่ยมเพื่อสร้างเปลือกใหม่ให้แข็งแรง

การจำแนกเพศนั้น ในวงศ์ Astacoidea เครย์ฟิชตัวผู้จะมีอวัยวะคล้ายตะขออยู่บริเวณขาเดินคู่ที่ 2 และ 3 ใช้สำหรับเกาะเกี่ยวตัวเมียในการผสมพันธุ์ และจะมีอวัยวะสืบพันธุ์ที่เรียกว่า papillae บริเวณโคนขาคู่สุดท้าย ส่วนตัวเมียจะมีอวัยวะสืบพันธุ์ที่เรียกว่า annulus ventralis ลักษณะเป็นแผ่นวงรีสีขาว ขนาดประมาณ 1-2 มิลลิเมตร บริเวณขาเดินคู่ที่ 3 นอกจากนี้แล้วในตัวผู้ขาว่ายน้ำคู่แรกและคู่ที่ 2 จะถูกพัฒนาเป็นแขนเล็ก ๆ เรียกว่า petasma สำหรับผ่านน้ำเชื้อไปยังตัวเมียอีกด้วย

แต่ร่างกายโดยรวมแล้ว เครย์ฟิชตัวผู้จะใหญ่กว่าตัวเมียอย่างเห็นได้ชัดเจน รวมทั้งก้ามที่ใหญ่และแข็งแรงกว่า

ส่วนในวงศ์ Parastacoidea นั้น ตัวผู้จะมีอวัยวะเป็นรูปวงรีบริเวณโคนขาคู่ที่ 3 ซึ่งตัวเมียไม่มี และอวัยวะส่วนนี้จะแตกต่างไปจากในวงศ์ Astacoidea

การผสมพันธุ์นั้น เครย์ฟิชตัวผู้จะประกบตัวเมียจากด้านหลัง และพลิกท้องตัวเมียให้หงายแล้วตัวผู้จะเข้าประกบโดยใช้อวัยวะที่คล้ายตะขอนั้นจับตัวเมียในลักษณะท้องชนท้อง หันหัวไปในทางเดียวกัน ตัวผู้จะส่งผ่านถุงน้ำเชื้อไปปะติดไว้กับท้องของตัวเมีย ซึ่งพฤติกรรมนี้เครย์ฟิชในวงศ์ Astacoidea จะใช้เวลานานราว 10 นาที ขณะที่ในวงศ์ Parastacoidea กินเวลาเพียง 1-2 นาที เท่านั้น หลังจากนั้นเมื่อไข่ได้รับการปฏิสนธิจากน้ำเชื้อแล้ว ไข่จะฟักเป็นตัวในเวลาราว 3-4 สัปดาห์ โดยตัวเมียจะอุ้มไข่ไว้ในช่องท้อง ไข่มีลักษณะวงกลมสีดำคล้ายเมล็ดพริกไทยดำ ในการผสมพันธุ์แต่ละครั้งอาจได้ลูกเครย์ฟิชมากถึง 300 ตัว ซึ่งเครย์ฟิชในวัยเล็กจะยังอาศัยอยู่กับแม่ โดยกินเศษอาหารที่แม่กินเหลือ เมื่อโตขึ้นจึงค่อยแยกจากไป

เครย์ฟิชที่ถูกทำเป็นอาหารในรัฐลุยเซียนา

เครย์ฟิชกับมนุษย์

เครย์ฟิชมีความสัมพันธ์กับมนุษย์มาแต่อดีต โดยใช้เป็นอาหารมานาน สามารถนำไปปรุงเป็นอาหารได้หลากหลาย โดยมักเป็นอาหารราคาแพงในภัตตาคาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครย์ฟิชในชนิด Cherax quadricarinatus มีการเพาะพันธุ์ในที่เลี้ยงเป็นการเกษตรกรรมในประเทศออสเตรเลียด้วย

นอกจากนี้แล้วในปัจจุบัน ยังมีการนิยมนำมาเลี้ยงในตู้ปลาเป็นสัตว์น้ำสวยงามอีกด้วย ทั้งวงศ์ Astacoidea และวงศ์ Parastacoidea โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชนิด Procambarus clarkii ที่มีรูปร่างดูบึกบึน แข็งแกร่ง มีการพัฒนาสายพันธุ์จนมีสีสันที่หลากหลาย จากเดิมที่สีตามธรรมชาติ คือ สีแดง กลายมามีสีที่หลากหลาย เช่น สีฟ้า, สีน้ำเงิน, สีน้ำเงินเข้ม, สีขาว หรือ สีส้มและ สีแดงเข้ม เป็นต้น ซึ่งสำหรับในประเทศไทย เครย์ฟิชชนิดนี้มีการเลี้ยงกันมานานแล้วไม่ต่ำกว่า 20 ปี ในชื่อของ "กุ้งแดง" หรือ "กุ้งญี่ปุ่น" สำหรับในตัวที่มีสีสันหลากหลายออกไปตามที่ได้กล่าวมา ก็เรียกชื่อต่าง ๆ กันไปตามสี เช่น "ไบร์ออเรนจ์", "อิเล็คทริค บลู", "กุ้งฟ้า" หรือ "สโนว์ไวท์" เป็นต้น

สำหรับในวงศ์ Parastacoidea สายพันธุ์ที่นิยมเลี้ยงกันก็ได้แก่ Cherax quadricarinatus และ Cherax quinquecarinatus เพราะมีสีสันที่หลากหลายในตัวเดียวกัน ทั้งสีฟ้า, สีน้ำตาลอมเขียว หรือ สีน้ำตาลเข้ม เป็นต้น ในประเทศไทยนิยมเรียกว่า "กุ้งเรนโบว์" และชนิด Cherax sp. "zebra" ซึ่งเป็นชนิดที่ยังไม่ได้รับการตั้งชื่อสายพันธุ์ มีสีสันลำตัวที่สวยงาม มีสีดำเป็นเงาสลับกับลายปล้องสีขาวอมส้ม ก้ามสีขาว ในบางตัวอาจมีก้ามสีน้ำเงินหรือสีม่วงสวยงาม ซึ่งนิยมเรียกว่า "กุ้งม้าลาย" หรือ "กุ้งซีบร้า"

อ้างอิง