ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เมกาวาตี ซูการ์โนปูตรี"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 29: บรรทัด 29:


เมกาวาตีเข้าศึกษาใน[[มหาวิทยาลัยปาจาจารัน]]ใน[[บันดุง]]ทางด้าน[[เกษตรกรรม]] แต่แต่ก็ลาออกในปีในปีที่บิดาถูกโค่นลงจากอำนาจ ในปี[[พ.ศ. 2513]] ซึ่งเป็นปีที่ซูการ์โนเสียชีวิต เมกาวาตีได้เข้าศึกษาต่อที่[[มหาวิทยาลัยอินโดนีเซีย]]ทางด้าน[[จิตวิทยา]] แต่ก็ลาออกหลังจากเข้าเรียนได้เพียงสองปี<ref name="East Thomas">{{Harvnb|East|Thomas|2003|p=233}}</ref>
เมกาวาตีเข้าศึกษาใน[[มหาวิทยาลัยปาจาจารัน]]ใน[[บันดุง]]ทางด้าน[[เกษตรกรรม]] แต่แต่ก็ลาออกในปีในปีที่บิดาถูกโค่นลงจากอำนาจ ในปี[[พ.ศ. 2513]] ซึ่งเป็นปีที่ซูการ์โนเสียชีวิต เมกาวาตีได้เข้าศึกษาต่อที่[[มหาวิทยาลัยอินโดนีเซีย]]ทางด้าน[[จิตวิทยา]] แต่ก็ลาออกหลังจากเข้าเรียนได้เพียงสองปี<ref name="East Thomas">{{Harvnb|East|Thomas|2003|p=233}}</ref>


== การดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี ==


ประธานาธิบดีเมกะวะตี เป็นบุตรสาวของซูการ์โน ผู้นำชาตินิยมและประธานาธิบดีคนแรกของอินโดนีเซีย เข้ารับตำแหน่งแทนในฐานะรองประธานาธิบดีภายหลังประธานาธิบดีวาหิดออกจากตำแหน่ง เป็นประธานาธิบดีหญิงคนแรกของอินโดนีเซีย ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ 23 กรกฎาคม 2001 ถึง 19 ตุลาคม 2004 ระหว่างดำรงตำแหน่ง แม้จะได้รับการสนับสนุนจากกองทัพ แต่ขณะนั้นประเทศมีปัญหารุมเร้ามากมาย ทั้งการเมือง สังคม และเศรษฐกิจที่ไม่ฟื้นตัว ปัญหาทุจริตที่ยังมีเรื่อยมา และปัญหาใหญ่คือ ปัญหาการก่อการร้าย อันเนื่องจากเหตุการณ์โจมตีสหรัฐฯ เมื่อ 11 กันยายน 2000 และการโจมตีอัฟกานิสถานของสหรัฐฯในปี 2001 ทำให้มีกลุ่มต่อต้านสหรัฐฯและชาวตะวันตก เกิดขึ้นมากมายในอินโดนีเซีย และได้มีการก่อความรุนแรงหลายครั้ง ซึ่งครั้งที่รุนแรงที่สุดครั้งหนึ่ง คือการลอบวางระเบิดสถานบันเทิงที่เกาะบาหลี จนมีผู้เสียชีวิตกว่า 200 คน จนทำให้รัฐบาลอินโดนีเซียต้องดำเนินการในการต่อต้านปราบปรามการก่อการร้ายอย่างเข้มงวดจนถึงปัจจุบัน


== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 21:50, 31 สิงหาคม 2552

เมกาวาตี ซูการ์โนบุตรี
ประธานาธิบดีคนที่ 5 ของอินโดนีเซีย
ดำรงตำแหน่ง
23 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 – 20 ตุลาคม พ.ศ. 2547
ก่อนหน้าอับดุราห์มาน วาฮิด
ถัดไปซูซีโล บัมบัง ยูโดโยโน
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด23 มกราคม พ.ศ. 2490 (77 ปี)
ยอกยาการ์ตา อินโดนีเซีย
ศาสนาอิสลาม

เมกาวาตี ซูการ์โนบุตรี (อินโดนีเซีย: Megawati Soekarnoputri) เป็นนักการเมืองหญิงชาวอินโดนีเซีย หัวหน้าพรรค PDI-P และยังเคยดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐอินโดนีเซียระหว่างปีพ.ศ. 2544 - 2547 ซึ่งเป็นครั้งแรกที่อินโดนีเซียมีประธานาธิบดีเป็นผู้หญิง เมกาวาตีเป็นธิดาของซูการ์โน ประธานาธิบดีคนแรกของสาธารณรัฐ

ชื่อ 'เมกาวาตี' เป็นคำภาษาสันสกฤต 'เมกา' (mega) ก็คือคำว่า 'เมฆ' (megha) ส่วน 'วาตี' wati ก็คือ 'วตี' (vatī ในภาษาไทยกลายเป็น 'วดี') รวมกันก็หมายความว่า 'มีเมฆ' เพราะเมกาวาตีเกิดตอนที่ฝนกำลังตก ส่วน 'ซูการ์โนบุตรี' หมายถึง ธิดาของซูการ์โน ซึ่งไม่ใช่นามสกุล (ชาวชวาไม่มีธรรมเนียมการใช้นามสกุล)

ในปี ค.ศ. 2004 นิตยสารฟอร์บได้จัดลำดับให้เมกาวาตีเป็นผู้หญิงที่ทรงอิทธิพลที่สุดในโลกลำดับที่ 8

ชีวิตในวัยเด็ก

ประธานาธิบดีซูการ์โน กุนทูร์ และเมกาวาตี ถ่ายรูปคู่กับนายกรัฐมนตรีของอินเดีย จาวาฮาร์ลาลและภริยา

เมกาวาตีเกิดเมื่อวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2490 ที่ยอกยาการ์ตาในภาคกลางของเกาะชวา หลังจากที่ซูการ์โนประกาศเอกราชของอินโดนีเซียได้ไม่ถึงสองปี มารดาของเมกาวาตีคือ ฟัตมาวาตี ซึ่งเป็นภรรยาคนหนึ่งในบรรดาเก้าคนของซูการ์โน เมกาวาตีเป็นลูกสาวคนแรกของซูการ์โน โดยมีพี่ชายหนึ่งคน ชื่อว่ากุนทูร์ เมกาวาตีเติบโตขึ้นมาในวังเอกราช ซึ่งเป็นทำเนียบประธานาธิบดีในสมัยนั้น เมื่อซูการ์โนถูกโค่นลงจากอำนาจ เมกาวาตีมีอายุเพียง 19 ปีเท่านั้น ซึ่งหลังจากซูการ์โนลงจากอำนาจแล้ว รัฐบาลใหม่ไม่อนุญาตให้คนในครอบครัวของซูการ์โนเข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมืองอีก

เมกาวาตีเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยปาจาจารันในบันดุงทางด้านเกษตรกรรม แต่แต่ก็ลาออกในปีในปีที่บิดาถูกโค่นลงจากอำนาจ ในปีพ.ศ. 2513 ซึ่งเป็นปีที่ซูการ์โนเสียชีวิต เมกาวาตีได้เข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยอินโดนีเซียทางด้านจิตวิทยา แต่ก็ลาออกหลังจากเข้าเรียนได้เพียงสองปี[1]


การดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี

ประธานาธิบดีเมกะวะตี เป็นบุตรสาวของซูการ์โน ผู้นำชาตินิยมและประธานาธิบดีคนแรกของอินโดนีเซีย เข้ารับตำแหน่งแทนในฐานะรองประธานาธิบดีภายหลังประธานาธิบดีวาหิดออกจากตำแหน่ง เป็นประธานาธิบดีหญิงคนแรกของอินโดนีเซีย ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ 23 กรกฎาคม 2001 ถึง 19 ตุลาคม 2004 ระหว่างดำรงตำแหน่ง แม้จะได้รับการสนับสนุนจากกองทัพ แต่ขณะนั้นประเทศมีปัญหารุมเร้ามากมาย ทั้งการเมือง สังคม และเศรษฐกิจที่ไม่ฟื้นตัว ปัญหาทุจริตที่ยังมีเรื่อยมา และปัญหาใหญ่คือ ปัญหาการก่อการร้าย อันเนื่องจากเหตุการณ์โจมตีสหรัฐฯ เมื่อ 11 กันยายน 2000 และการโจมตีอัฟกานิสถานของสหรัฐฯในปี 2001 ทำให้มีกลุ่มต่อต้านสหรัฐฯและชาวตะวันตก เกิดขึ้นมากมายในอินโดนีเซีย และได้มีการก่อความรุนแรงหลายครั้ง ซึ่งครั้งที่รุนแรงที่สุดครั้งหนึ่ง คือการลอบวางระเบิดสถานบันเทิงที่เกาะบาหลี จนมีผู้เสียชีวิตกว่า 200 คน จนทำให้รัฐบาลอินโดนีเซียต้องดำเนินการในการต่อต้านปราบปรามการก่อการร้ายอย่างเข้มงวดจนถึงปัจจุบัน

อ้างอิง

  1. East & Thomas 2003, p. 233