ข้ามไปเนื้อหา

พิพิธภัณฑ์เซี่ยงไฮ้

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พิพิธภัณฑ์เซี่ยงไฮ้
上海博物馆
พิพิธภัณฑ์เซี่ยงไฮ้ตั้งอยู่ในShanghai
พิพิธภัณฑ์เซี่ยงไฮ้
ที่ตั้งในShanghai
ก่อตั้ง1952[1][2]
ที่ตั้งจัตุรัสประชาชน เซี่ยงไฮ้ 200003[3]
พิกัดภูมิศาสตร์31°13′49″N 121°28′14″E / 31.230278°N 121.470556°E / 31.230278; 121.470556
จำนวนผู้เยี่ยมชม2,109,200 (2017)[4]
ผู้อำนวยการหม่า เฉิงหยฺวัน (1985–99)
เว็บไซต์shanghaimuseum.net
พิพิธภัณฑ์เซี่ยงไฮ้
อักษรจีนตัวย่อ上海博物馆
อักษรจีนตัวเต็ม上海博物館

พิพิธภัณฑ์เซี่ยงไฮ้เป็นพิพิธภัณฑ์สาธารณะระดับเทศบาลนคร จัดแสดงศิลปะจีนโชราณ ตั้งอยู่ในจัตุรัสประชาชนในอำเภอหวังผู่ นครเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน อาคารพิพิธภัณฑ์หลังปัจจุบันสร้างขึ้นในปี 1996

พิพิธภัณฑ์สถาปนาขึ้นในปี 1952 และเปิดสู่สาธารณะครั้งแรกภายในอาคารสโมสรของลู่แข่งเซี่ยงไฮ้ (Shanghai Racecourse club house) ซึ่งตั้งอยู่บนถนนหนานจิง[5] ของสะสมชุดแรกสุดส่วนใหญ่มาจากสามแหล่ง ได้แก่ กองพันคอมมิวนิสต์ภาคพื้นที่สาม ซึ่งได้โบราณวัตถุมาระหว่างสงครามกลางเมืองและจากการค้นพบโดยบังเอิญขณะยึดบ้านเรือนของผู้คนก่อนจะนำมายังเซี่ยงไฮ้เสื่อคอมมิวนิสต์ยึดนครได้, โบราณวัตถุที่ยึดได้โดยศุลกากร และโบราณวัตถุที่ถูกขายโดยนักสะสมเอกชนเนื่องจากแรงกดดันทางสังคม ก่อนที่จะถูกซื้อโดยรัฐบาล ต่อมายังมีการเพิ่มเติมของสะสมจากของสะสมขององค์กรต่าง ๆ ในเซี่ยงไฮ้ เช่น the ของสะสมจากอดีตพิพิธภัณฑ์เซี่ยงไฮ้ของสมาคมเอเชียติกหลวงในทศวรรษ 1950s ต่อมาในปี 1959 พิพิธภัณฑ์ย้ายไปเปิดบริการภายในอาคารจงฮุ่ย (Zhonghui Building) บนถนนเหอหนานใต้[1][2] ในระหว่างการก้าวไปข้างหน้าครั้งใหญ่ พิพิธภัณฑ์เซี่ยงไฮ้มีส่วนในการช่วยกู้วัตถุทองสัมฤทธิ์ที่ถูกยึดมาและกำลังจะถูกส่งไปหลอมทิ้ง

ในการประกาศแผนพัฒนานครเซี่ยงไฮ้ระยะห้าปีเมื่อปี 1992 ซึ่งประกอบด้วยการก่อสร้างอาคารใหม่จำนวนมาก ไม่ปรากฏชื่อของพิพิธภัณฑ์เซี่ยงไฮ้อยู่ในโครงการ แต่เนื่องด้วยของสะสมที่เพิ่มขึ้นอย่างมากของพิพิธภัณฑ์ทำให้พื้นที่จัดแสดงคับแคบลง ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ หม่า เฉิงหยวัน (อยู่ในตำแหน่งระหว่างปี 1985 - 1999) ได้ทำการล็อบบีนายกเทศมนตรีของเซี่ยงไฮ้ หวัง จู ให้มีการสร้างพิพิธภัณฑ์ใหม่สำหรับพิพิธภัณฑ์เซี่ยงไฮ้ หลัวนายกเทศมนตรีเดินทางเยือนพิพิธภัณฑ์เซี่ยงไฮ้ในอาคารจงฮุ่ย เขาได้อนุมัติพื้นที่บนจัตุรัสประชาชนเพื่อสร้างพิพิธภัณฑ์ใหม่ โดยมีข้อแม้ว่าพิพิธภัณฑ์จะต้องเป็นผู้ระดมทุนก่อสร้างเอง[6][7] หม่า สามารถระดมทุนได้ 25 ล้านดอลล่าร์สหรัฐผ่านการปล่อยอาคารหลังเก่าให้แก่นักพัฒนาจากฮ่องกงเช่า รวมถึงยังเดินทางไปต่างประเทศหลายครั้งเพื่อเรี่ยไรทุนจากชาวเซี่ยงไฮ้ที่อพยพออกนอกประเทศจีนหลังการปฏิวัติคอมมิวนิสต์ ทำให้ระดมเงินได้เพิ่มอีก 10 ล้านดอลล่าร์ และเงินสมทบอีก 140 ล้านหยวนจากรัฐบาลนครเซี่ยงไฮ้[6] อาคารพิพิธภัณฑ์หลังใหม่เริ่มต้นก่อสร้างในปี 1993 และเปิดเป็นทางการในปี 1996[1] และได้รับการตอบรับอย่างดี[7] อาคารความสูง 29.5 เมตร ห้าชั้น พื้นที่ 39,200 ตารางเมตร[1] ยังคงเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์เซี่ยงไฮ้มาจนปัจจุบัน

อาคารเป็นผลงานออกแบบโดยสถาปนิกชาวท้องถิ่น ซิง ทงเหอ (Xing Tonghe)[2] โดยออกแบบเป็นทรงของหม้อประกอบอาหารยุคโบราณหรือ ติ่ง ว่ากันว่าได้รับแรงบันดาลใจเป็นพิเศษมาจากต่าเค่อติ่ง ซึ่งจัดแสดงอยู่ภายในพิพิธภัณฑ์ บนสุดของอาคารเป็นรูปวงกลม ส่วนฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ซึ่งสะท้อนคติจีนโบราณที่เชื่อว่า “ฟ้ากลม โลกเหลี่ยม” (จีน: 天圆地方[8])

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 "Shanghai Museum". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-05. สืบค้นเมื่อ 2023-11-30.
  2. 2.0 2.1 2.2 American Friends of the Shanghai Museum
  3. "Service Installation - Visitor's Information". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-30. สืบค้นเมื่อ 2023-11-30.
  4. Xu Yicheng; Sun Jiayin (18 January 2018). "2017上海博物馆大数据出炉:红色纪念馆参观人数喷涌式增长" (ภาษาจีน). Xinmin Evening News. สืบค้นเมื่อ 22 March 2018.
  5. "上海博物馆". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-05. สืบค้นเมื่อ 2023-11-30.
  6. 6.0 6.1 Jasper Becker (3 January 2001). "Ma Chengyuan and the creation of Shanghai Museum". South China Morning Post. สืบค้นเมื่อ 12 September 2013.
  7. 7.0 7.1 "Ma Chengyuan, 77, President of Shanghai Museum, Dies". New York Times. 15 October 2004. สืบค้นเมื่อ 9 September 2013.
  8. Zhongshu, Zhao (1992-01-01). "Round Sky and Square Earth (Tian Yuan Di Fang): Ancient Chinese Geographical Thought and its Influence". GeoJournal. 26 (2): 149–152. JSTOR 41145346.