ข้ามไปเนื้อหา

พายุหมุนเขตร้อนในแอตแลนติกใต้

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เส้นทางเดินพายุหมุนเขตร้อนและพายุหมุนกึ่งเขตร้อนที่มีนัยสำคัญในแอตแลนติกใต้ตั้งแต่ พ.ศ. 2547

พายุหมุนเขตร้อนในแอตแลนติกใต้ เป็นเหตุการณ์ลมฟ้าอากาศที่ปรากฏไม่บ่อยครั้งภายในซีกโลกใต้ เนื่องจากลมเฉือนที่มีกำลังแรงรบกวนการก่อตัวของพายุหมุน ทั้งยังขาดแคลนลมฟ้าอากาศแปรปรวน (Weather disturbances) ที่เหมาะสมสำหรับการก่อตัวภายในมหาสมุทรแอตแลนติกตอนใต้ด้วย ทำให้ระบบพายุหมุนเขตร้อนที่มีความรุนแรงนั้นหาพบได้ยากมาก และพายุเฮอร์ริเคนกาตารีนาในปี พ.ศ. 2547 ก็เป็นพายุเฮอร์ริเคนเพียงลูกเดียวที่บันทึกได้ในประวัติศาสตร์ของฤดูพายุเฮอร์ริเคนแอตแลนติก พายุในแอตแลนติกใต้มีการก่อตัวขึ้นได้ตลอดทั้งปี โดยช่วงที่มีอัตราสูงที่สุดจะอยู่ระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนพฤษภาคม นับตั้งแต่ พ.ศ. 2554 ศูนย์อุทกศาสตร์ กองทัพเรือบราซิล ได้ริเริ่มการตั้งชื่อให้กับพายุหมุนเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน ที่อยู่ในด้านตะวันตกของแอ่งใกล้กับประเทศบราซิล โดยจะตั้งชื่อเมื่อพายุดังกล่าวมีความเร็วลมต่อเนื่องอย่างน้อย 65 กม./ชม. ซึ่งเป็นความเร็วลมระดับต่ำสุดสำหรับการแปรปรวน ที่ถูกนิยามกำหนดให้เป็นพายุโซนร้อนในแอ่งแอตแลนติกเหนือ โดยรายชื่อด้านล่างนี้เป็นพายุหมุนเขตร้อนและพายุหมุนกึ่งเขตร้อนที่มีชื่อเสียงในแอตแลนติกใต้

ทฤษฎีเกี่ยวกับความถี่ของการปรากฏ

[แก้]

ช่วงก่อนเดือนเมษายน พ.ศ. 2534 เราคิดว่าพายุหมุนเขตร้อนนั้นไม่สามารถก่อตัวขึ้นภายในมหาสมุทรแอตแลนติกใต้ได้[1] เนื่องจากลมเฉือนแนวตั้งที่มีกำลังแรงมากในบรรยากาศชั้นโทรโพสเฟียร์นั้นเป็นตัวยับยั้ง[2] ร่องความกดอากาศต่ำที่เลื่อนต่ำลงมาหนึ่งถึงสององศาทางใต้จากเส้นศูนย์สูตร[3] ก็ไม่ได้ห่างจากเส้นศูนย์สูตรจนจะทำให้แรงคอริออลิสช่วยเหลือให้เกิดการก่อตัวได้ อีกทั้งอุณหภูมิน้ำทะเลในเขตร้อนของมหาสมุทรแอตแลนติกตอนใต้ก็เย็นเกินกว่าในเขตร้อนของมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือเกินไป[4]

ในช่วงเดือนเมษายน พ.ศ. 2534 การยืนยันเหล่านี้ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าไม่ถูกต้อง เมื่อศูนย์เฮอร์ริเคนแห่งชาติของสหรัฐ ได้รายงานว่ามีพายุหมุนเขตร้อนก่อตัวขึ้นในมหาสมุทรแปซิฟิกใต้ด้านตะวันออก[1][5] ในปีต่อ ๆ มา มีระบบพายุบางลูกที่มีการสงสัยว่ามันมีลักษณะบางอย่างที่ต้องจัดให้มันเป็นพายุหมุนเขตร้อน เช่น ระบบพายุในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2537 และเดือนมกราคม พ.ศ. 2547[6][7] ในช่วงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2547 มีพายุหมุนนอกเขตร้อนก่อตัวขึ้นแล้วเปลี่ยนผ่านมาเป็นพายุหมุนเขตร้อน จากนั้นได้พัดขึ้นฝั่งประเทศบราซิล ซึ่งมีความรุนแรงเป็นถึงพายุเฮอร์ริเคนระดับ 2 ตามมาตราเฮอร์ริเคนแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน ในขณะที่พายุดังกล่าวกำลังเป็นภัยคุกคามต่อรัฐซังตากาตารีนาของประเทศบราซิลอยู่นั้น หนังสือพิมพ์ได้เรียกพายุนี้ในพัดหัวข่าวว่า "Furacão Catarina" ซึ่งหมายถึง พายุเฮอร์ริเคนกาตารีนา (Furacão แปลว่า พายุเฮอร์ริเคน และ Catarina ที่เป็นชื่อของรัฐกาตารีนา หมายความถึง พายุเฮอร์ริเคนที่กำลังคุกคาม(รัฐ)กาตารีนา)[1] หลังจากนั้นสื่อสากลก็ได้ติดตามระบบพายุดังกล่าวและเรียกพายุดังกล่าวว่า "Hurricane Catarina" ชื่อนี้จึงได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการ

ในการประชุมเชิงปฏิบัติการสากลครั้งที่หกขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลกในเรื่องพายุหมุนเขตร้อน (IWTC-VI) เมื่อปี พ.ศ. 2549 มีการตั้งคำถามว่ามีพายุหมุนเขตร้อนหรือนอกเขตร้อนก่อตัวขึ้นภายในแอตแลนติกใต้ก่อนพายุกาตารีนาหรือไม่[7] พบว่าระบบพายุที่อาจเกิดขึ้นจริงนั้น ก่อตัวขึ้นในเดือนมกราคม พ.ศ. 2513, มีนาคม พ.ศ. 2537, มกราคม พ.ศ. 2547, มีนาคม พ.ศ. 2547, พฤษภาคม พ.ศ. 2547, กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 และมีนาคม พ.ศ. 2549[7] และมีข้อเสนอแนะว่าควรพยายามค้นหาระบบพายุผ่านทางภาพถ่ายดาวเทียมและข้อมูลใจความสำคัญ อย่างไรก็ตาม มีการตั้งข้อสังเกตว่าความพยายามนี้อาจมีอุปสรรค เนื่องจากขาดภาพถ่ายดาวเทียมเหนือแอ่งนี้ในช่วงก่อนปี พ.ศ. 2509[7] การศึกษาได้รับการดำเนินการและถูกเผยแพร่ในปี พ.ศ. 2555 ซึ่งสรุปว่ามีพายุหมุนกึ่งเขตร้อนในแอตแลนติกใต้จำนวน 63 ลูก ระหว่าง พ.ศ. 2500 ถึง 2550[8] ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2552 มีพายุกึ่งโซนร้อนก่อตัวขึ้นภายในแอ่ง และในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2553 ก็มีพายุโซนร้อนก่อตัวขึ้น และได้รับชื่อว่า อะนีตา โดยศูนย์ลมฟ้าอากาศเอกชนและสาธารณะบราซิล[9][10] ในปี พ.ศ. 2554 ศูนย์อุทกศาสตร์ กองทัพเรือบราซิลได้ริเริ่มการกำหนดชื่อให้กับพายุหมุนเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน ที่ก่อตัวภายในพื้นที่รับผิดชอบไปจนถึงด้านตะวันตกของเส้นเมริเดียนที่ 20 องศาตะวันตก เมื่อพายุมีความเร็วลมต่อเนื่องอย่างน้อย 65 กม./ชม.[11]

พายุที่เป็นที่รู้จักและผลกระทบ

[แก้]

พายุโซนร้อนที่แองโกลา พ.ศ. 2534

[แก้]
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 10 – 14 เมษายน พ.ศ. 2534
ความรุนแรง 65 กม./ชม. (40 ไมล์/ชม.) (1 นาที)
ไม่ทราบความกดอากาศ

พายุเฮอร์ริเคนกาตารีนา

[แก้]
พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 2 (SSHWS)
ระยะเวลา 24 – 28 มีนาคม พ.ศ. 2547
ความรุนแรง 155 กม./ชม. (100 ไมล์/ชม.) (1 นาที)
972 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.7 นิ้วปรอท)

พายุโซนร้อนอะนีตา

[แก้]
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 8 – 12 มีนาคม พ.ศ. 2553
ความรุนแรง 85 กม./ชม. (50 ไมล์/ชม.) (1 นาที)
995 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.38 นิ้วปรอท)

พายุกึ่งโซนร้อนอารานี

[แก้]
พายุกึ่งโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 14 – 16 มีนาคม พ.ศ. 2554
ความรุนแรง 85 กม./ชม. (50 ไมล์/ชม.) (1 นาที)
989 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.21 นิ้วปรอท)

พายุกึ่งโซนร้อนบาปู

[แก้]
พายุกึ่งโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 5 – 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
ความรุนแรง 65 กม./ชม. (40 ไมล์/ชม.) (1 นาที)
992 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.29 นิ้วปรอท)

พายุกึ่งโซนร้อนการี

[แก้]
พายุกึ่งโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 10 – 13 มีนาคม พ.ศ. 2558
ความรุนแรง 65 กม./ชม. (40 ไมล์/ชม.) (1 นาที)
998 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.47 นิ้วปรอท)

พายุกึ่งโซนร้อนเดนี

[แก้]
พายุกึ่งโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 15 – 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
ความรุนแรง 75 กม./ชม. (45 ไมล์/ชม.) (1 นาที)
998 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.47 นิ้วปรอท)

พายุกึ่งโซนร้อนเอซาอี

[แก้]
พายุกึ่งโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 4 – 6 ธันวาคม พ.ศ. 2559
ความรุนแรง 100 กม./ชม. (65 ไมล์/ชม.) (1 นาที)
992 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.29 นิ้วปรอท)

พายุกึ่งโซนร้อนกวารา

[แก้]
พายุกึ่งโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 9 – 11 ธันวาคม พ.ศ. 2560
ความรุนแรง 75 กม./ชม. (45 ไมล์/ชม.) (1 นาที)
996 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.41 นิ้วปรอท)

พายุโซนร้อนอีบา

[แก้]
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 23 – 28 มีนาคม พ.ศ. 2562
ความรุนแรง 85 กม./ชม. (55 ไมล์/ชม.) (1 นาที)
1006 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.71 นิ้วปรอท)

เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2562 พายุดีเปรสชันเขตร้อนก่อตัวขึ้นภายในร่องมรสุม บริเวณนอกชายฝั่งรัฐบาเยีย ประเทศบราซิล[12][13] วันต่อมา พายุดีเปรสชันเขตร้อนได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน และได้รับชื่อ อีบา (Iba) จากศูนย์อุทกศาสตร์ กองทัพเรือบราซิล ทำให้พายุนี้กลายเป็นระบบพายุโซนร้อนที่ก่อตัวขึ้นภายในแอ่ง นับตั้งแต่พายุโซนร้อนอะนีตาเมื่อปี พ.ศ. 2553 และกลายเป็นพายุลูกแรกที่ได้รับชื่อจากชุดรายชื่อของบราซิลด้วย[14]

พายุกึ่งโซนร้อนฌากัวร์

[แก้]
พายุกึ่งโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 20 – 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
ความรุนแรง 65 กม./ชม. (40 ไมล์/ชม.) (1 นาที)
1010 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.83 นิ้วปรอท)

เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 พายุดีเปรสชันกึ่งเขตร้อนก่อตัวขึ้นทางตะวันออกของริโอเดจาเนโร ต่อมาได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุกึ่งโซนร้อน และได้รับชื่อว่า ฌากัวร์ (Jaguar) จากศูนย์อุทกศาสตร์ กองทัพเรือบราซิล[15]

พายุกึ่งโซนร้อนกูรูมี

[แก้]
พายุกึ่งโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 23 – 25 มกราคม พ.ศ. 2563
ความรุนแรง 65 กม./ชม. (40 ไมล์/ชม.) (1 นาที)
998 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.47 นิ้วปรอท)

พายุกึ่งโซนร้อนมานี

[แก้]
พายุกึ่งโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 25 – 28 ตุลาคม พ.ศ. 2563
ความรุนแรง 65 กม./ชม. (40 ไมล์/ชม.) (1 นาที)
1004 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.65 นิ้วปรอท)

พายุกึ่งโซนร้อนโอคีรา

[แก้]
พายุกึ่งโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 27 – 31 ธันวาคม พ.ศ. 2563
ความรุนแรง 65 กม./ชม. (40 ไมล์/ชม.) (1 นาที)
998 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.47 นิ้วปรอท)

พายุโซนร้อน 01Q

[แก้]
พายุกึ่งโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 – 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564
ความรุนแรง 65 กม./ชม. (40 ไมล์/ชม.) (1 นาที)
990 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.23 นิ้วปรอท)

พายุกึ่งโซนร้อนปอฌีรา

[แก้]
พายุกึ่งโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 19 เมษายน พ.ศ. 2564 – 25 เมษายน พ.ศ. 2564
ความรุนแรง 75 กม./ชม. (45 ไมล์/ชม.) (1 นาที)
1006 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.71 นิ้วปรอท)

พายุกึ่งเขตร้อนราโอนี

[แก้]
พายุกึ่งโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 28 มิถุนายน 2564 – 2 ของเดือนกรกฎาคม 2564
ความรุนแรง 85 กม./ชม. (50 ไมล์/ชม.) (1 นาที)
986 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.12 นิ้วปรอท)


รายชื่อพายุ

[แก้]

ชื่อต่อไปนี้เป็นชื่อที่เผยแพร่โดยศูนย์อุทกศาสตร์ กองทัพเรือบราซิล และใช้เป็นชื่อพายุที่ก่อตัวภายในพื้นที่ทางตะวันตกของเส้นเมริเดียนที่ 20 องศาตะวันตก ทางใต้ของเส้นศูนย์สูตรภายในมหาสมุทรแอตแลนติกใต้ ถูกเผยแพร่ครั้งแรกในปี 2554[11] รายชื่อถูกขยายจากสิบชื่อเป็นสิบห้าชื่อในปี 2561 โดยชื่อจะเรียงตามลำดับตัวอักษร และใช้ต่อเนื่องกันไปโดยไม่คำนึงถึงปี ซึ่งชื่อของพายุหมุนเขตร้อนหรือกึ่งเขตร้อนที่มีนัยสำคัญจะถูกถอนออก[16]

  • อารานี (Arani)
  • บาปู (Bapo)
  • การี (Cari)
  • เดนี (Deni)
  • เอซาอี (Eçaí)
  • กวารา (Guará)
  • อีบา (Iba)
  • ฌากัวร์ (Jaguar)
  • กูรูมี (Kurumí)
  • มานี (Mani)
  • โอคีรา (Oquira)
  • ปอฌีรา (Potira)
  • ฮาโอนี (Raoni) (ยังไม่ใช้)
  • อูบา (Ubá) (ยังไม่ใช้)
  • ยาเคกัน (Yakecan) (ยังไม่ใช้)

ชื่อ กังบี (Kamby) ถูกแทนที่ด้วย กูรูมี (Kurumí) ในปี 2561 โดยไม่ถูกนำมาใช้

สถิติทางภูมิอากาศวิทยา

[แก้]

พายุหมุนเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนจำนวน 80 ลูก ถูกบันทึกไว้ในมหาสมุทรแอตแลนติกใต้ นับตั้งแต่ พ.ศ. 2500 ซึ่งคล้ายกับฤดูพายุหมุนเขตร้อนในซีกโลกใต้ส่วนใหญ่ ที่พายุมักก่อตัวในระหว่างเดือนพฤษจิกายน ถึง พฤษภาคม

จำนวนพายุแบ่งตามเดือน

จำนวนพายุแบ่งตามทศวรรษ

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 Padgett, Gary. "Monthly Tropical Cyclone Summary March 2004". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 7, 2015. สืบค้นเมื่อ February 7, 2015.
  2. Landsea, Christopher W (July 13, 2005). "Subject: Tropical Cyclone Names: G6) Why doesn't the South Atlantic Ocean experience tropical cyclones?". Tropical Cyclone Frequently Asked Question. United States National Oceanic and Atmospheric Administration's Hurricane Research Division. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 7, 2015. สืบค้นเมื่อ February 7, 2015.
  3. Gordon E. Dunn & Banner I. Miller (1960). Atlantic Hurricanes. Louisiana State University Press. p. 33. ASIN B0006BM85S.
  4. Atlantic Oceanographic and Meteorological Laboratory, Hurricane Research Division. "Frequently Asked Questions: How do tropical cyclones form?". National Oceanic and Atmospheric Administration. สืบค้นเมื่อ July 26, 2006.
  5. National Hurricane Center (1991). McAdie, Colin J; Rappaport, Edward N (บ.ก.). II. Tropical cyclone activity in the Atlantic Basin: A. Overview (Diagnostic Report of the National Hurricane Center: June and July 1991). National Oceanic and Atmospheric Administration. pp. 10–14. สืบค้นเมื่อ May 12, 2013.
  6. Padgett, Gary. "Monthly Tropical Cyclone Summary January 2004". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 7, 2015. สืบค้นเมื่อ February 7, 2015.
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 Topic 2a: The Catarina Phenomenon (PDF). The Sixth WMO International Workshop on Tropical Cyclones (IWTC-VI). San José, Costa Rica: World Meteorological Organization. 2006. pp. 329–360. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ February 7, 2015. สืบค้นเมื่อ February 7, 2015.
  8. Evans, Jenny L; Braun, Aviva J (2012). "A Climatology of Subtropical Cyclones in the South Atlantic". Journal of Climate. American Meteorological Society (25): 7328–7340. Bibcode:2012JCli...25.7328E. doi:10.1175/JCLI-D-11-00212.1.
  9. Padgett, Gary (April 7, 2009). "January 2009 Tropical Weather Summary". สืบค้นเมื่อ April 15, 2010.
  10. Padgett, Gary. "Monthly Global Tropical Cyclone Tracks March 2010". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 7, 2015. สืบค้นเมื่อ February 7, 2015.
  11. 11.0 11.1 "Normas Da Autoridade Marítima Para As Atividades De Meteorologia Marítima" (PDF) (ภาษาโปรตุเกส). Brazilian Navy. 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ February 6, 2015. สืบค้นเมื่อ October 5, 2018.
  12. "Análise Sinótica" (ภาษาโปรตุเกส). CPTEC. 23 March 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (GIF)เมื่อ 23 March 2019. สืบค้นเมื่อ 23 March 2019.
  13. "WARNING NR 205/2019". Marine Meteorological Service. 23 March 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 March 2019. สืบค้นเมื่อ 23 March 2019.
  14. "WARNING NR 208/2019". Marine Meteorological Service. 24 March 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 March 2019. สืบค้นเมื่อ 24 March 2019.
  15. "WARNING NR 422/2019". Marine Meteorological Service. 20 May 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-24. สืบค้นเมื่อ 20 May 2019.
  16. "NORMAS DA AUTORIDADE MARÍTIMA PARA AS ATIVIDADES DE METEOROLOGIA MARÍTIMA NORMAM-19 1a REVISÃO" (PDF) (ภาษาโปรตุเกส). Brazilian Navy. 2018. p. C-1-1. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 6 November 2018. สืบค้นเมื่อ 6 November 2018.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]