พระไพศาล วิสาโล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระอธิการไพศาล วิสาโล

(ไพศาล วิสาโล)
ส่วนบุคคล
เกิด10 พฤษภาคม พ.ศ. 2500 (66 ปี)
นิกายมหานิกาย
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดป่าสุคะโต จังหวัดชัยภูมิ
อุปสมบท5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2526
ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดป่าสุคะโต

พระอธิการไพศาล วิสาโล (วงศ์วรวิสิทธิ์) เป็นพระนักเผยแผ่ที่เป็นที่รู้จักดีรูปหนึ่งของเมืองไทยในปัจจุบัน ท่านเกิดเมื่อ พ.ศ. 2500 บรรพชาและอุปสมบทเป็นพระ เมื่อ พ.ศ. 2526 ปัจจุบันพระไพศาลเป็นเจ้าอาวาสวัดป่าสุคะโต อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ

พระไพศาล เป็นพระนักวิชาการ นักคิดนักเขียนในบวรพระพุทธศาสนารุ่นใหม่ เป็นนักปฏิบัติธรรม และนักบรรยายธรรมที่ผลิตผลงานออกมาในรูปสื่อโทรทัศน์ และหนังสือออกมาอย่างสม่ำเสมอในยุคปัจจุบัน ท่านยังเป็นผู้ริเริ่มในการเตรียมตัวทางจิตวิญญาณก่อนตาย เพื่อให้ผู้ตายจากไปอย่างสงบ มีผลงานเผยแพร่ในสื่อหลายรูปแบบ

ประวัติ[แก้]

พระอธิการไพศาล วิสาโล นามเดิม ไพศาล วงศ์วรวิสิทธิ์ เป็นบุตรคนที่ ๔ ของนายก๊กกี๊ และนางกิมวา แซ่อุ่ย เกิดเมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๐๐ ตรงกับวันศุกร์ ขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน ๖ ปีระกา ที่โรงพยาบาลหัวเฉียว ภูมิลำเนา คลองมหานาค อำเภอป้อมปราบ กรุงเทพมหานคร

พ.ศ. ๒๕๐๔-๒๕๐๕ การศึกษาระดับก่อนวัยเรียนที่โรงเรียนสตรีจุลนาค

พ.ศ. ๒๕๐๖-๒๕๑๗ การศึกษาระดับประถม และมัธยมศึกษา แผนกศิลปะ โรงเรียนอัสสัมชัญ

พ.ศ. ๒๕๑๘-๒๕๒๓ การศึกษาระดับอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ สาขาวิชาประวัติศาสตร์

ระหว่างเรียนที่ธรรมศาสตร์ เคยเป็นสาราณียกรปาจารยสาร และเป็นเจ้าหน้าที่กลุ่มประสานงานศาสนาเพื่อสังคมตั้งแต่ปี ๒๕๑๙ จนถึงปี ๒๕๒๖ โดยมีบทบาทร่วมในแนวทางอหิงสาต่อเหตุการณ์ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ จนเป็นเหตุให้ถูกล้อมปราบภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และถูกคุมขังในเรือนจำเป็นเวลา ๓ วัน

อุปสมบทเมื่อวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๖ ณ วัดทองนพคุณ กรุงเทพมหานคร เรียนกรรมฐานจากหลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ วัดสนามใน ก่อนไปจำพรรษาแรก ณ วัดป่าสุคะโต อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ โดยศึกษาธรรมกับหลวงพ่อคำเขียน สุวณฺโณ จนกระทั่งหลวงพ่อคำเขียนมรณภาพเมื่อปี ๒๕๕๗

ปัจจุบันเป็นเจ้าอาวาสวัดป่าสุคะโต ซึ่งมีแนวปฏิบัติเจริญสติแบบเคลื่อนไหว แบบหลวงพ่อเทียน จิตสุโภ ส่วนใหญ่ท่านพำนักอยู่ที่วัดป่ามหาวัน อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ โดยจำพรรษาสลับระหว่างวัดป่าสุคะโต กับวัดป่ามหาวัน

งานหนังสือ[แก้]

  • งานเขียน พ.ศ. ๒๕๑๘ - ๒๕๕๕ จำนวน ๑๕๒ เล่ม
  • งานเขียนร่วม พ.ศ. ๒๕๓๐ - ๒๕๕๔ จำนวน ๒๔ เล่ม
  • งานแปล พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๕๐ จำนวน ๕ เล่ม
  • งานแปลร่วม พ.ศ. ๒๕๑๘ - ๒๕๓๕ จำนวน ๔ เล่ม
  • งานบรรณาธิกรณ์ พ.ศ. ๒๕๒๙ - ๒๕๔๙ จำนวน ๕ เล่ม
  • งานบรรณาธิกรณ์ร่วม พ.ศ. ๒๕๒๑ จำนวน ๒ เล่ม

งานศึกษา งานวิชาการและงานวิจัย[แก้]

  • พ.ศ. ๒๕๒๗ ปาฐกถาโกมลคีมทอง เรื่อง “แสวงหารากฐานของชีวิตในโลกแห่งกิจกรรม”
  • พ.ศ. ๒๕๓๗ งานวิจัยเรื่อง “ประวัติศาสตร์การบริโภคสุราในประเทศไทย” สนับสนุนโดย มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ
  • พ.ศ. ๒๕๓๗ ปาฐกถาปาจารยสาร เรื่อง “ด้วยพลังแห่งปัญญาและความรัก”
  • พ.ศ. ๒๕๔๖ งานวิจัยเรื่อง “พุทธศาสนาในอนาคต : แนวโน้มและทางออกจากวิกฤต”
  • พ.ศ. ๒๕๔๗ ปาฐก ๑๔ ตุลา เรื่อง “ทางออกจากกับดักแห่งความรุนแรงในยุคทักษิณ”
  • พ.ศ. ๒๕๔๖ งานวิจัยเรื่อง “การจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธีในระบบการแพทย์และสาธารณสุข”
  • พ.ศ. ๒๕๕๐ ปาฐกถา เรื่อง “ความหวังและปัญหาท้าทายแนวทางสันติวิธีในปัจจุบัน” ในงานมหกรรมสันติวิธี ภาคใต้
  • พ.ศ. ๒๕๕๑ ปาฐกถานำในการประชุมประจำปีของสมาคมปรัชญาและศาสนาแห่งประเทศไทย ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เรื่อง “พุทธธรรม ศีลธรรม กับประชาธิปไตย”
  • พ.ศ. ๒๕๕๕ ปาฐกถาศาสตราจารย์อดุล วิเชียรเจริญ เรื่อง “ศิลปศาสตร์กับการพัฒนามนุษย์” ในวาระ ๕๐ ปีแห่งการก่อตั้งคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

กิจกรรมและตำแหน่ง[แก้]

  • พ.ศ. ๒๕๑๘-๒๕๑๙ สาราณียกร วารสารปาจารยสาร
  • พ.ศ. ๒๕๑๙ จัดตั้งกลุ่มประสานงานศาสนาเพื่อสังคม (อดีต)
  • พ.ศ. ๒๕๑๙-๒๕๒๖ เจ้าหน้าที่กลุ่มประสานงานศาสนาเพื่อสังคม
  • พ.ศ. ๒๕๓๐-๒๕๓๑ อนุกรรมการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • พ.ศ. ๒๕๓๔ ที่ปรึกษาชมรมเด็กรักนกรักษ์ธรรมชาติ จ.ชัยภูมิ
  • พ.ศ. ๒๕๓๕ กรรมการกลุ่มเสขิยธรรม
  • พ.ศ. ๒๕๓๘-๒๕๕๑ กรรมการสถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • พ.ศ. ๒๕๓๙ กรรมการมูลนิธิโกมลคีมทอง
  • พ.ศ. ๒๕๔๐ กรรมการมูลนิธิสุขภาพไทย
  • พ.ศ. ๒๕๔๒ จัดตั้งเครือข่ายพุทธิกา
  • พ.ศ. ๒๕๕๒-ปัจจุบัน ที่ปรึกษาโครงการส่งเสริมสุขภาวะทางปัญญา เครือข่ายพุทธิกา
  • พ.ศ. ๒๕๔๓-๒๕๔๕ วิทยากรโครงการเสริมสร้างทักษะแก่ผู้ปฏิบัติต่อผู้ชุมนุมด้วยสันติวิธี
  • พ.ศ. ๒๕๔๓ จัดตั้งและดำเนินโครงการธรรมยาตราลุ่มน้ำลำปะทาว เพื่อฟื้นฟูชีวิตและธรรมชาติบนเทือกเขาภูแลนคา จังหวัดชัยภูมิ
  • พ.ศ. ๒๕๔๖ กรรมการที่ปรึกษามูลนิธิโรงเรียนรุ่งอรุณ
  • พ.ศ. ๒๕๔๕ กรรมการที่ปรึกษาโรงเรียนวรรณสว่างจิต
  • พ.ศ. ๒๕๔๗ วิทยากรหลักและที่ปรึกษา โครงการเผชิญความตายอย่างสงบ ของเครือข่ายพุทธิกา
  • พ.ศ. ๒๕๔๗-๒๕๔๙ วิทยากรโครงการการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธีในระบบการแพทย์และสาธารณสุข
  • พ.ศ. ๒๕๔๘-๒๕๔๙ กรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ
  • พ.ศ. ๒๕๔๘-๒๕๕๒ กรรมการบริหารสำนักงานกองทุนสนับสนุนสร้างเสริมสุขภาพ
  • พ.ศ. ๒๕๕๐ กรรมการมูลนิธิส่งเสริมสันติวิถี
  • พ.ศ. ๒๕๔๙-๒๕๕๔ กรรมการสภาสถาบันอาศรมศิลป์
  • พ.ศ. ๒๕๕๑ กรรมการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • พ.ศ. ๒๕๕๒ กรรมการที่ปรึกษา International Network of Engaged Buddhists
  • พ.ศ. ๒๕๕๓-๒๕๕๕ กรรมการปฏิรูป
  • พ.ศ. ๒๕๕๓ กรรมการที่ปรึกษา Buddhist Peace Fellowship (USA)

ประกาศเกียรติคุณและรางวัล[แก้]

  • พ.ศ. ๒๕๑๘ ทุนภูมิพล
  • พ.ศ. ๒๕๔๓ รางวัลบุคคลดีเด่นด้านสันติภาพ ในวาระครบรอบ ๑๐๐ ปีชาตกาล นายปรีดี พนมยงค์
  • พ.ศ. ๒๕๔๘ รางวัลชูเกียรติ อุทกะพันธุ์ หนังสือดีเด่นสาขาศาสนาและปรัชญาเรื่อง พุทธศาสนาไทยในอนาคต แนวโน้มและทางออกจากวิกฤต
  • พ.ศ. ๒๕๕๑ รางวัลคนดีนำทางแทนคุณแผ่นดิน
  • พ.ศ. ๒๕๕๒ ประกาศเกียรติคุณ ผู้มีคุณูปการต่อกระทรวงสาธารณสุข ด้านการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม
  • พ.ศ. ๒๕๕๓ รางวัลศรีบูรพา
  • พ.ศ. ๒๕๕๓ รางวัลเกียรติยศคนค้นฅนอวอร์ด
  • พ.ศ. ๒๕๕๓ รางวัลนักเขียนอมตะ
  • พ.ศ. ๒๕๕๓ รางวัลพระธาตุพนมทองคำ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • พ.ศ. ๒๕๕๔ โล่เกียรติยศ ประเภทศิษย์เก่าดีเด่น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • พ.ศ. ๒๕๕๔ รางวัลผู้ทำคุณประโยชน์ด้านนันทนาการ ประเภทการอ่าน การเขียน การพูด จากกรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
  • พ.ศ. ๒๕๕๔ เกียรติคุณดำเนินงานดีเด่น ด้านการควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กระทรวงสาธารณสุข
  • พ.ศ. ๒๕๕๔ รางวัลพุทธคุณูปการ ประเภทรัชตเกียรติคุณ
  • พ.ศ. ๒๕๕๕ ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาพุทธศาสนศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • พ.ศ. ๒๕๕๕ ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาปรัชญาและศาสนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

อ้างอิง[แก้]