พระราชบัญญัติความผิดอาญาฐานเป็นกบฏ ค.ศ. 1848
ชื่อเต็ม | An Act for the better Security of the Crown and Government of the United Kingdom. |
---|---|
อ้างอิง | 11 & 12 Vict. c. 12 |
เขตอำนาจ | สหราชอาณาจักร |
วาระ | |
ได้รับพระบรมราชานุญาต | 22 เมษายน ค.ศ. 1848 |
การแก้ไขเพิ่มเติม | |
แก้ไขเพิ่มเติมโดย | Indictments Act 1915 |
สถานะ: มีการแก้ไขเพิ่มเติม |
พระราชบัญญัติความผิดอาญาฐานเป็นกบฏ ค.ศ. 1848 (อังกฤษ: Treason Felony Act 1848) เป็นพระราชบัญญัติที่ออกโดยรัฐสภาแห่งสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ ที่ยังคงมีผลบังคับใช้จนกระทั่งในปัจจุบัน เป็นพระราชบัญญัติที่มีจุดประสงค์ในการพิทักษ์สถาบันพระมหากษัตริย์
การกระทำผิดต่อพระราชบัญญัติถือว่าเป็นโทษระดับการเป็นกบฏต่อแผ่นดินตามพระราชบัญญัติปลุกระดมมวลชน ค.ศ. 1661 (Sedition Act 1661) (ที่ต่อมาคือ พระราชบัญญัติกบฏ ค.ศ. 1795 (Treason Act 1795) ซึ่งมีโทษถึงประหารชีวิต แต่โดยทั่วไปแล้วลูกขุนมักจะไม่เต็มใจที่จะเอาโทษกับผู้ที่ถูกกล่าวหาในกรณีที่มีโทษถึงตาย และเป็นที่เชื่อกันว่าถ้าตัดสินลงโทษโดยการเนรเทศไปยังอาณานิคมในออสเตรเลียแล้ว (ที่ในปัจจุบันคือโทษการจำคุกตลอดชีวิต) ก็อาจจะเป็นการทำให้อัตราการตัดสินว่าผิดก็สูงขึ้น ซึ่งเป็นผลให้ข้อหากบฏสามชนิดถูกลดฐานะลงมาเป็นความผิดทางอาญา (felony) ใน ค.ศ. 1848 การลดฐานะเกิดขึ้นในสมัยที่การลงโทษโดยการประหารชีวิตในสหราชอาณาจักรอยู่ในระหว่างการเลิกใช้เป็นบทลงโทษสำหรับความผิดหลายชนิด
”ความผิดอาญาฐานเป็นกบฏ” (treason felony) เป็นอาชญากรรมที่รวมทั้งการ ”คิดการณ์ ก่อการ หรือ ตั้งใจ” ที่จะ:
- ปลดพระมหากษัตริย์หรือกษัตรีย์จากราชบัลลังก์
- ก่อการสงครามต่อพระมหากษัตริย์หรือกษัตรีย์ หรือ
- การ ”ยุยงหรือก่อการ” ให้ชาวต่างประเทศเข้ามารุกรานสหราชอาณาจักรหรือประเทศใดใดที่เป็นของพระมหากษัตริย์หรือกษัตรีย์
ใน ค.ศ. 2001 หนังสือพิมพ์ เดอะการ์เดียน ท้าทายพระราชบัญญัติฉบับนี้ในศาลยุติธรรมสูงสุดแห่งสหราชอาณาจักร (High Court of Justice) แต่ไม่สำเร็จ โดยกล่าวว่าเป็นพระราชบัญญัติทำให้ ”...การสนับสนุนความคิดในการยุบเลิกสถาบันพระมหากษัตริย์แม้ว่าจะเป็นการกระทำที่ใช้วิธีที่สงบสุขเป็นอาชญากรรมที่มีโทษถูกจำขังได้...”[2] โดยอ้างว่าแม้แต่ พระราชบัญญัติว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ค.ศ. 1998 (Human Rights Act 1998) ก็ยังได้รับแก้ไขให้ครอบคลุมถึงพฤติกรรมที่ถือว่ารุนแรงเท่านั้นที่เป็นอาชญากรรม ศาลกล่าวว่าข้อกล่าวหาเป็นเพียงสมมติฐานที่ไม่จำเป็นต้องได้รับคำตอบ เพราะไม่มีผู้ใดที่ถูกกล่าวหาตามมูลที่เสนอโดยการ์เดียนจริง กรณีนี้ในที่สุดก็ถูกนำขึ้นอุทธรณ์ในสภาขุนนางในปี ค.ศ. 2003 สภาขุนนางออกเสียงเป็นเอกฉันท์ว่าการฟ้องร้องเป็นเรื่องที่ไม่จำเป็น เป็นเอกฉันท์ แต่ผู้พิพากษาต่างก็เห็นด้วยกับทัศนคติของลอร์ดเสตนที่ว่า ”มาตราที่ 3 ของพระราชบัญญัติที่ดูเหมือนจะลงโทษผู้ที่สนับสนุนการเป็นสาธารณรัฐเป็นมาตราของกฎหมายจากสมัยที่ผ่านมาแล้ว และไม่เหมาะสมกับสถานะและระบบกฎหมายของสังคมสมัยใหม่ ความคิดที่ว่ามาตราที่ 3 จะรอดจากการพิจารณาโดยใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยสิทธิมนุษยชนเป็นเครื่องวัดเป็นเรื่องที่เกินเลยความเป็นจริง”
คดีสุดท้ายที่มีผู้ทำผิดพระราชบัญญัติฉบับนี้เกิดขึ้นใน ค.ศ. 1883 แม้ว่าจะมาใช้ตัดสินในออสเตรเลียใน ค.ศ. 1916 ในกรณี "Sydney Twelve"
ในสกอตแลนด์
[แก้]ในประเทศสกอตแลนด์นั้น ได้มีการยกเลิกกฎหมายอาญาว่าด้วยความผิดฐานปลุกระดมและดูหมิ่นประมุขของรัฐ (sedition and leasing-making) ที่มีใจความในลักษณะเดียวกับพระราชบัญญัติความผิดอาญาฐานเป็นกบฏ ค.ศ. 1848 เมื่อ ค.ศ. 2010 ทั้งนี้ อาศัยอำนาจตามมาตรา 51 แห่งพระราชบัญญัติความยุติธรรมทางอาญาและการให้อำนาจ (สกอตแลนด์) ค.ศ. 2010 (Criminal Justice and Licensing (Scotland) Act 2010) โดยการยกเลิกกฎหมายดังกล่าวเป็นการกระทำในเชิงทฤษฎีเท่านั้น เพราะไม่มีการดำเนินคดีในความผิดลักษณะนี้ในสกอตแลนด์ตั้งแต่ปี 1715 [3][4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ This short title was conferred by the Short Titles Act 1896, section 1 and the first schedule.
- ↑ Judgments - Regina v Her Majesty's Attorney General (Appellant) ex parte Rusbridger and another (Respondents). House of Lords. June 26, 2003
- ↑ "Justice Committee Official Report". Scottish Parliament. 20 April 2010. สืบค้นเมื่อ 4 January 2014.
- ↑ ม.112 : กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ชาติไหนใช้ ชาติไหนเลิก
- Halsbury's Laws of England, 4th Edition, 2006 reissue, Volume 11(1), Paragraph 367
ดูเพิ่ม
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Lords halt challenge to treason law - The Guardian, Thursday June 26, 2003
- House of Lords judgement - UK Parliament website
- เนื้อฉบับสมบูรณ์ของ “the Treason Felony Act 1848” ตามที่ได้รับการแก้ไขและใช้ปฏิบัติในสหราชอาณาจักรในปัจจุบัน (จาก “ฐานข้อมูลราชบัญญัติแห่งสหราชอาณาจักร” (UK Statute Law Database))