พระยาอรรคราชนารถภักดี (หวาด บุนนาค)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระยาอรรคราชนารถภักดี
(หวาด บุนนาค)
เสียชีวิต4 สิงหาคม พ.ศ. 2444
ตำแหน่งเจ้าเมืองจันทบุรี
คู่สมรสคุณหญิงบัว
คุณอิน
บุตรพระยาวิชยาธิบดี (แบน บุนนาค)
และบุตรธิดา รวม 10 คน
บิดามารดา
ญาติตาด บุนนาค (น้องชายร่วมมารดา)
เจ้าจอมโหมด ในรัชกาลที่ 5 (หลานลุง)

พระยาอัครราชนารถภักดี (หวาด บุนนาค) ท.จ., ร.จ.พ. อดีตเจ้าเมืองจันทบุรี ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 บิดาชื่อ พระยาอภัยสงคราม (นกยูง บุนนาค) มารดาชื่อคุณหญิงปริก อภัยสงคราม (ธิดาพระยาเสนานุชิต (นุช ณ นคร)) (หลานปู่เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย ณ นคร)) มีน้องชายร่วมบิดามารดา ชื่อ นายตาด บุนนาค ซึ่งเป็นบิดาของ เจ้าจอมโหมด ในรัชกาลที่ 5

พระยาอรรคราชนารถภักดี (หวาด บุนนาค) เริ่มต้นเข้ารับราชการสมัยรัชกาลที่ 4 เป็น หลวงวิเศษพจนกร สังกัดกรมท่า ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระศรีธรรมสาส์น สังกัดกรมท่า ต่อมาในปี พ.ศ. 2436 ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ พระยาวิชยาธิบดี ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี ต่อมาเมื่อวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2439 ได้ทรงมีพระกรุณาโปรดเกล้าให้ พระยาวิชยาธิบดี เข้ารับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นทุติยจุลจอมเกล้า(ฝ่ายหน้า) พร้อมด้วยพานทองคำกลม คนโททองคำ กระโถนทองคำ และเหรียญจักรพรรดิมาลา และในค่ำวันนั้นได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานตราตติยจุลจอมเกล้า(ฝ่ายใน) แก่คุณหญิงบัว วิชยาธิบดี ต่อมาเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2441 พระยาวิชยาธิบดีได้รับพระราชทานสัญญาบัตรแต่งตั้งขึ้นเป็น พระยาอรรคราชนารถภักดี เจ้าเมืองจันทบุรี มีตำแหน่งราชการในกระทรวงว่าการต่างประเทศ คงถือศักดินา 5000[1] จึงทำให้ต้องพ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองจันทบุรีเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2441 โดยมี พระเทพสงคราม (แบน) (ต่อมาคือ พระยาวิชยาธิบดี (แบน บุนนาค)) บุตรชายซึ่งเป็นปลัดเมืองจันทบุรีเป็นผู้รักษาราชการเมืองจันทบุรี[2]

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะนั้นไทยเกิดกรณีพิพาทกับฝรั่งเศส ทำให้เมืองจันทบุรีต้องตกไปเป็นเมืองประกันของฝรั่งเศส ในปี พ.ศ. 2436 ทหารฝ่ายฝรั่งเศสที่เข้ามาส่วนใหญ่เป็นทหารญวนที่มาจากไซ่ง่อน รวมกำลังฝ่ายฝรั่งเศสมีประมาณ 600 คน แยกกำลังไปรักษาอยู่สองแห่งคือ ที่ป้อมปากน้ำแหลมสิงห์และที่ตัวเมืองจันทบุรี พวกที่ไปอยู่ที่ป้อมปากน้ำแหลมสิงห์ ได้รื้อป้อมพิฆาตปัจจามิตรออกแล้วสร้างที่พักกับกองบัญชาการแทน เรียกว่า ตึกแดง และได้สร้างที่คุมขังนักโทษชาวไทยขึ้นด้วย เรียกว่าคุกขี้ไก่ ส่วนพวกที่ไปตั้งอยู่ในเมืองได้ไปอยู่ในบริเวณพื้นที่ค่ายตากสินในปัจจุบัน ฝรั่งเศสจะปกครองในส่วนกองทหารฝรั่งเศสและบุคคลที่อยู่ในความคุ้มครองของ ฝรั่งเศสเท่านั้น ส่วนไทยยังคงปกครองดินแดนนอกเขตฝรั่งเศสยึดครอง โดยมีพระยาวิชชยาธิบดี หรือต่อมาคือ พระยาอรรคราชนารถภักดี เป็นเจ้าเมืองจันทบุรี ได้รับราชการต่างพระเนตรพระกรรณสนองใต้เบื้องพระยุคลบาทในเวลานั้นตราบจนถึงแก่อนิจกรรม

พระยาอรรคราชนารถภักดี (หวาด บุนนาค) ท.จ., ร.จ.พ. ถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2444[3] ได้รับพระราชทานมหากรุณาธิคุณพระราชทานหีบทองลายเครือองุ่นเป็นเครื่องประกอบศพและเป็นเกียรติแก่ผู้วายชนม์ ศพของพระยาอรรคราชนาถภักดี (หวาด บุนนาค) นั้นตกค้างอยู่หลายปีจึงได้มีขอพระราชทานเพลิง ระหว่างนั้นสำนักพระราชวังเองก็หาหีบทองลายเครือองุ่นใบนั้นไม่พบ จนกระทั่งเมื่อครั้งจะปลงศพจึงได้พบว่าหีบทองลายเครือองุ่นนั้นไปตกค้างอยู่ที่ศพพระยาอรรคราชนารถภักดี (หวาด บุนนาค) ท้ายที่สุดในเวลาต่อมาศพของพระยาอรรคราชนาถภักดี (หวาด บุนนาค) ได้รับพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานเพลิงพร้อมด้วยศพ คุณหญิงบัว อรรคราชนารถภักดี ที่มณฑลจัณฑบุรี เมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2453 โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เจ้าพนักงานส่งเครื่องษมาศพไปพระราชทานพร้อมพระราชทานผ้าไตร 5 ไตร เงิน 2000 สตางค์ สำหรับษมาศพพระยาอรรคราชนารถภักดี (หวาด บุนนาค) และ พระราชทานผ้าขาว 1 พับ และ พระราชทานเงิน 1000 สตางค์ สำหรับษมาศพคุณหญิงบัว อรรคราชนารถภักดี ในการนั้นด้วย

ครอบครัว[แก้]

บุตรที่เกิดกับคุณหญิงบัว อรรคราชนารถภักดี ต.จ. ธิดาพระยาสมบัติวานิช (บุญศรี สมบัติศิริ)[แก้]

  • มหาเสวกโท พระยาเดชานุชิต (หนา บุนนาค) (พ.ศ. 2408 - พ.ศ. 2489) ป.ช., ป.ม., ท.จ.ว., ว.ป.ร.3
  • นางจำเริญ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา (พ.ศ. 2410 - พ.ศ. 2446) สมรสกับ พันตรี หม่อมราชวงศ์สุวพรรณ สนิทวงศ์ (ดร.ใหญ่ สนิทวงศ์) มีบุตรคือ

- มหาอำมาตย์ตรี พระยาชลมารคพิจารณ์ (หม่อมหลวงพงศ์ สนิทวงศ์) สมรสกับ คุณหญิงติ๋ว ชลมารคพิจารณ์ (หม่อมหลวงหญิงติ๋ว ชุมสาย)

- หม่อมหลวงหญิงต้อม สนิทวงศ์

- อำมาตย์โท พระสุวพันธ์พิทยาการ (หม่อมหลวงเป้ สนิทวงศ์) ท.ม., ต.ช. สมรสกับ นางแจ่มศรี สุวพันธ์พิทยาการ (วิเศษกุล)

- หม่อมหลวงหญิงคลอง ไชยันต์ (สนิทวงศ์) เสกสมรสกับ พลเรือตรี หม่อมเจ้าถาวรมงคลวงศ์ ไชยันต์

- หม่อมหลวงหญิงรวง จรูญสนิทวงศ์ สมรสกับ หลวงจรูญสนิทวงศ์ (หม่อมหลวงจรูญ สนิทวงศ์)

- หม่อมหลวงหญิงฟ่อน ผดุงชีวิต (สนิทวงศ์) สมรสครั้งแรกกับ หลวงจรูญสนิทวงศ์ (หม่อมหลวงจรูญ สนิทวงศ์) สมรสครั้งที่สองกับ นายแจ้ ผดุงชีวิต

- หม่อมหลวงธัญญะ สนิทวงศ์

- หม่อมหลวงหญิงนวม สนิทวงศ์ สมรสครั้งแรกกับ หลวงศิริสมบัติ (พุ่ม โชติกะพุกกณะ) สมรสครั้งที่สองกับ หม่อมหลวงอุดม สนิทวงศ์

  • มหาอำมาตย์ตรี พระยาวิชยาธิบดี (แบน บุนนาค) ท.ม., ต.ช. (พ.ศ. 2411 - 27 เมษายน พ.ศ. 2465)
  • อำมาตย์ตรี พระเทพสงคราม (โต บุนนาค) ภ.ช., ภ.ม. (พ.ศ. 2413 - 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2459) มีบุตรคือ

- เหลี่ยม บุนนาค

- แปลก บุนนาค

- ลี่ บุนนาค

  • คุณหญิงเพิ่ม พิพิธภักดี สมรสกับ อำมาตย์โท พระยาพิพิธภักดี ต.ม., จ.ช., ร.จ.พ.
  • มหาเสวกโท พระยาศรีธรรมศกราช (ปิ๋ว บุนนาค) ท.จ.ว., ป.ม., ท.ม., ร.จ.พ. (23 เมษายน พ.ศ. 2417 - 14 กันยายน พ.ศ. 2496)
  • อำมาตย์เอก พระยาวิสุทธิราชรังสรรค์ (ใหญ่ บุนนาค)
  • คุณหญิงผัน วิสูตรสาครดิษฐ์ ต.จ. สมรสกับ มหาอำมาตย์ตรี พระยาวิสูตรสาครดิษฐ์ (เทียน ประทีปะเสน) ท.จ., ม.ม., ร.จ.พ. (พ.ศ. 2410 - 30 กันยายน พ.ศ. 2458) มีบุตรคือ

- คุณหญิงเพี้ยง ชาติเดชอุดม ต.จ. (พ.ศ. 2443 - 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2575) สมรสกับ มหาเสวกตรี พระยาชาติเดชอุดม (หม่อมราชวงศ์โป๊ะ มาลากุล) ร.ว., ท.จ., ป.ม., ท.ช., ว.ป.ร.3 (12 มกราคม พ.ศ. 2434 - 3 มกราคม พ.ศ. 2509) มีบุตร คือ

- หม่อมหลวงหญิงปลื้มใจ ไพรัชพากย์ภักดี (มาลากุล)

- หม่อมหลวงปฤถา มาลากุล

- หม่อมหลวงหญิงปริยา มาลากุล

- หม่อมหลวงประกุล มาลากุล

- หม่อมหลวงหญิงประอร จักรพันธุ์ (มาลากุล) สมรสครั้งแรกกับ หม่อมราชวงศ์ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ สมรสครั้งที่สองกับ หม่อมเจ้าการวิก จักรพันธุ์)

  • รองอำมาตย์เอก หลวงวินิจนราการ (เล็ก บุนนาค)

บุตรที่เกิดกับนางอิน บุนนาค[แก้]

  • นางสาวแดง บุนนาค
  • นายโอ้ บุนนาค สมรสครั้งแรกกับนางสุ่น บุนนาค (นาคะนิธิ) บุตรีขุนภักดีสมบัติ (นิต นาคะนิธิ) มีบุตรคือ

1.รองอำมาตย์โท ขุนอนุสสรณสุขการ (เอื้อน บุนนาค) บ.ม. (5 มีนาคม พ.ศ. 2442 - 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2481) อดีตสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสงคราม มีบุตร 2 คน คือ

- นางธิดา บุนนาค (ประทิน บุนนาค) นักเขียนหนังสือแนวอีโรติคชื่อดัง

- นายอนุสร บุนนาค

2.นายสอาด บุนนาค

สมรสครั้งที่สองกับ นางผัน บุนนาค

3.นางอบ พรหมธน (บุนนาค) สมรสกับ ร้อยโทประจวบ พรหมธน

สมรสครั้งที่สามกับ นางทองขาว บุนนาค บุตรี นายเกิด นางหนูมั่น (เชื้อสายเจ้าลาวเวียงจันทน์)

4.นายพิศณุ บุนนาค (สำอางค์ บุนนาค)

5.นายอุดม บุนนาค

6.นางศิริวรรณ์ ทองชิตร์ (อุไร บุนนาค) (21 ธันวาคม พ.ศ. 2465 - 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2550) สมรสครั้งแรกกับ นายอารี นุตะมาน สมรสครั้งที่สองกับ นายนิยม ทองชิตร์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

ลำดับสาแหรก[แก้]

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
16. เจ้าพระยามหาเสนา (เสน)
 
 
 
 
 
 
 
8. เจ้าพระยาอรรคมหาเสนา (บุนนาค)
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
17. หม่อมบุญศรี
 
 
 
 
 
 
 
4. สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค)
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
18. พระชนกทอง ณ บางช้าง
 
 
 
 
 
 
 
9. เจ้าคุณพระราชพันธุ์นวล
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
19. สมเด็จพระรูปศิริโสภาค มหานาคนารี
 
 
 
 
 
 
 
2. พระยาอภัยสงคราม (นกยูง บุนนาค)
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
5. หม่อมเกษ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
1. พระยาอรรคราชนารถภักดี (หวาด บุนนาค)
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
24. สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
 
 
 
 
 
 
 
12. เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย ณ นคร)
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
25. เจ้าจอมมารดาเจ้าหญิงปราง
 
 
 
 
 
 
 
6. พระยาเสนานุชิต (นุช ณ นคร)
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
3. คุณหญิงปริก อภัยสงคราม
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

อ้างอิง[แก้]

  1. "พระราชทานสัญญาบัตร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-02-11. สืบค้นเมื่อ 2020-06-17.
  2. แจ้งความกระทรวงมหาดไทย
  3. ข่าวตายในกรุง
  4. พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเครื่องยศ
  5. พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเครื่องยศ

แหล่งข้อมูล[แก้]