พงศ์ศักดิ์ วัฒนสินธุ์
รองศาสตราจารย์ พงศ์ศักดิ์ วัฒนสินธุ์ (เกิด 3 กันยายน พ.ศ. 2497) เป็นภูมิสถาปนิกชาวไทย อาจารย์ประจำภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เคยดำรงตำแหน่งคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อดีตผู้อำนวยการ สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย(พ.ศ. 2552–2554) อดีตหัวหน้าภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรม (พ.ศ. 2540–2545) อดีตนายกสมาคมภูมิสถาปนิกประเทศไทย(พ.ศ. 2542–2544) สภาสถาปนิกอาเซียน (ASEAN Architect Council -AAC) อดีตกรรมการสภาสถาปนิก ตัวแทนสาขาภูมิสถาปัตยกรรม 2 วาระ (พ.ศ. 2547–2550) และ (พ.ศ. 2550–2553)
รองศาสตราจารย์ พงศ์ศักดิ์ จบการศึกษาจากภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ด้วยเกียรตินิยม จากนั้นได้ศึกษาระดับปริญญาโทด้านภูมิสถาปัตยกรรมที่มหาวิทยาลัยมิชิแกน ประเทศสหรัฐอเมริกา จากนั้นจึงศึกษาต่อในสาขาเกี่ยวกับการวางแผนชุมชนและภูมิภาค จนจบปริญญาเอก ณ มหาวิทยาลัยบริทิชโคลัมเบีย เมืองแวนคูเวอร์ ประเทศแคนาดา รองศาสตราจารย์ พงศ์ศักดิ์ มีผลงานการวิจัยและวางแผนหลายชิ้น ทั้งในนามของภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรม และสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2546 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[1]
- พ.ศ. 2542 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)[2]
- พ.ศ. 2551 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-07-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๑๐๔, ๑๐ มีนาคม ๒๕๔๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-07-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๓๑, ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา ประจำปี ๒๕๕๑ เก็บถาวร 2022-07-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๑ ข หน้า ๒๑, ๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๒