ข้ามไปเนื้อหา

ปอมปีย์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปอมปีย์
รูปปั้นหินอ่อนของปอมปีย์ในพิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ที่ปารีส
กงสุลแห่งสาธารณรัฐโรมัน
ดำรงตำแหน่ง
52 – 51 ปีก่อนค.ศ.
ก่อนหน้าMarcus Valerius Messalla Rufus กับ Gnaeus Domitius Calvinus
ถัดไปMarcus Claudius Marcellus กับ Servius Sulpicius Rufus
ดำรงตำแหน่ง
55 – 54 ปีก่อนค.ศ.
ดำรงตำแหน่งร่วมกับ มาร์กุส ลิกินิอุส กรัสซุส
ก่อนหน้าGnaeus Cornelius Lentulus Marcellinus กับ Lucius Marcius Philippus
ถัดไปAppius Claudius Pulcher กับ Lucius Domitius Ahenobarbus
ดำรงตำแหน่ง
70 – 69 ปีก่อนค.ศ.
ดำรงตำแหน่งร่วมกับ มาร์กุส ลิกินิอุส กรัสซุส
ก่อนหน้าPublius Cornelius Lentulus Sura กับ Gnaeus Aufidius Orestes
ถัดไปQuintus Caecilius Metellus Creticus กับ Quintus Hortensius
ผู้ว่าการประจำHispania Ulterior
ดำรงตำแหน่ง
58 – 55 ปีก่อนค.ศ.
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด29 กันยายน 106 ปีก่อนค.ศ.
Picenum, อิตาเลีย, สาธารณรัฐโรมัน
เสียชีวิต28 กันยายน 48 ปีก่อนค.ศ. (aged 57)[1]
Pelusium, ราชอาณาจักรทอเลมี
ลักษณะการเสียชีวิตถูกลอบสังหาร
เชื้อชาติโรมัน
พรรคการเมืองOptimates
คู่สมรสAntistia (86–82 ปีก่อนค.ศ., ถูกหย่า)
Aemilia Scaura (82–79 ปีก่อนค.ศ., เธอเสียชีวิต)
Mucia Tertia (79–61 ปีก่อนค.ศ., ถูกหย่า)
Julia (59–54 ปีก่อนค.ศ., เธอเสียชีวิต)
Cornelia Metella (52–48 ปีก่อนค.ศ., เขาเสียชีวิต)
บุตรGnaeus Pompeius
Pompeia Magna
Sextus Pompeius
อาชีพนักการเมืองและผู้บัญชาการทหาร

ไนอุส ปอมเปอุส มักนุส (อังกฤษ: Gnaeus Pompeius Magnus; ภาษาละติน: [ˈnːae̯.ʊs pɔmˈpɛjjʊs ˈmaŋnʊs]) รู้จักกันในนาม ปอมปีย์มหาบุรุษ (Pompey the Great; 29 กันยายน 106 ปีก่อน ค.ศ. – 28 กันยายน 48 ปีก่อน ค.ศ.) เป็นแม่ทัพระดับสูงและรัฐบุรุษชาวโรมัน ซึ่งการงานอาชีพของเขาได้เป็นส่วนสำคัญในการเปลี่ยนแปลงของโรมันจากสาธารณรัฐสู่จักรวรรดิ เขาเป็นพันธมิตรทางการเมืองในช่วงเวลานึงและต่อมาก็กลายเป็นคู่ปรับของจูเลียส ซีซาร์ สมาชิกของขุนนางสภาสูง ปอมปีย์ได้เข้ามาเป็นทหารในขณะที่ยังอยู่ในวัยหนุ่มและได้ก้าวหน้าในการดำรงตำแหน่งที่มีชื่อเสียงต่อจากเผด็จการ ซูลลา ในฐานะผู้บัญชาการทหารในสงครามกลางเมืองของซูลลา ด้วยความสำเร็จของเขาซึ่งได้รับฉายาว่า มักนุส – "มหาบุรุษ" ฉายานี้มาจากวีรบุรุษที่เป็นที่ชื่นชอบในวัยเด็กของปอมปีย์อย่างอเล็กซานเดอร์มหาราช ศัตรูของเขาได้มอบฉายาแก่เขาว่า adulescentulus carnifex ("หนุ่มนักฆ่าสัตว์") จากความโหดเหี้ยมของเขา[2] ความสำเร็จของปอมปีย์ในฐานะแม่ทัพในขณะที่ยังอยู่ในวัยหนุ่มทำให้เขาได้ก้าวหน้าโดยทันทีในการเป็นกงสุลคนแรก โดยไม่ต้องเข้าร่วมประชุมแบบปกติของระบบเส้นทางแห่งเกียรติยศ (cursus honorum)(ซึ่งเป็นขั้นตอนที่จำเป็นในอาชีพทางการเมือง) เขาเป็นกงสุลมาถึงสามสมัยและเป็นที่เลื่องลือถึงการประกาศชัยชนะของโรมัน (Roman triumphs) ถึงสามครั้ง

ในปี 60 ก่อนคริสตกาล ปอมปีย์ได้ร่วมมือกับมาร์กุส ลิกินิอุส กรัสซุส และกาอิอุส ยูลิอุส ไกซาร์ (จูเลียส ซีซาร์) ในการเป็นพันธมิตรระหว่างการทหารและการเมืองอย่างไม่เป็นทางการ ที่เป็นที่รู้จักกันคือ คณะสามผู้นำที่หนึ่ง ซึ่งปอมปีย์ได้สมรสกับยูลิอา ลูกสาวของซีซาร์เพื่อช่วยให้ความปลอดภัย ภายหลังกรัสซุสและยูลิอาเสียชีวิต ปอมปีย์ได้เข้าข้างฝ่ายออปติเมตส์ ฝ่ายอนุรักษ์นิยมของวุฒิสภาโรมัน ปอมปีย์และซีซาร์ได้แย่งชิงกันเป็นผู้นำของรัฐโรมัน ซึ่งนำไปสู่สงครามกลางเมือง ในสงคราม ปอมปีย์ได้พบความปราชัยที่ยุทธการที่ฟาร์ซาลุสในปี 48 ก่อนคริสตกาล เขาได้ลี้ภัยไปอยู่ในอียิปต์ ซึ่งถูกลอบสังหารในเวลาต่อมา

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Pompey the Great". Britannica.com. สืบค้นเมื่อ October 21, 2018.
  2. Leach, John. Pompey the Great. p. 29.