ปวดคอ
ปวดคอ | |
---|---|
ภาพประกอบแสดงอาการปวดคอ | |
สาขาวิชา | ประสาทศัลยศาสตร์, อื่น ๆ |
ความชุก | 2/3 ของประชากร[1] |
ปวดคอ (อังกฤษ: Neck pain หรือ cervicalgia) เป็นปัญหาที่พบบ่อยในทางการแพทย์ ประชากรราวสองในสามมีอาการปวดคอในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต[1] การศึกษาในปี 2010 พบว่าประชากรของโลกราว 5% มีอาการปวดคอ[2]
การวินิจฉัยแยกโรค
[แก้]อาการปวดคอสามารถเกิดได้จากโครงสร้างใด ๆ ของคอ ซึ่งได้แก่ หลอดเลือด, เส้นประสาท, ทางเดินหายใจ, ทางเดินอาหาร และระบบกล้ามเนื้อและกระดูก หรืออาจเป็นการปวดนอกบริเวณจากพยาธิสภาพในส่วนอื่นนอกเหนือจากคอ[3]
สาเหตุสำคัญและมีความอันตรายที่ทำให้เกิดการปวดคอซึ่งมีอาการปวดอย่างรุนแรง เช่น:
- หลอดเลือดแดงคารอทิดแบ่งชั้น
- การปวดนอกบริเวณจากโรคหลอดเลือดหัวใจฉับพลัน
- มะเร็งของศีรษะและคอ
- การติดเชื้อ เช่น:
- การปลิ้นของแผ่นรองกระดูกสันหลัง
- สะปอนดัยโลสิส
- ภาวะโพรงสันหลังตีบแคบ
สำหรับสาเหตุในการปวดคอที่น้อยกว่าและพบได้บ่อย มักเกิดจากการอักเสบของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกบริเวณคอหรือหลังส่วนบน ซึ่งสามารถเกิดได้จากการใช้งานเป็นระยะเวลานาน การอยู่ในท่าที่ไม่ถูกต้อง ความเครียด เป็นต้น
การรักษา
[แก้]การรักษาขึ้นอยู่กับสาเหตุในการปวดคอ ในกรณีส่วนใหญ่สามารถรักษาแบบอนุรักษนิยมได้ ข้อแนะนำซึ่งอาจช่วยบรรเทาอาการปวดคอได้ เช่น การประคบร้อนหรือเย็น[4] การให้ยาแก้ปวด, การฝึกกล้ามเนื้อคอ, การปรับท่าทางให้เหมาะสม และการทำกายภาพบำบัด นอกจากนี้ในการรักษาอาจรวมถึงการให้คสามรู้แก้ผู้ป่วย กระนั้นหลักฐานที่มีอยู่ไม่แสดงให้เห็นว่าเป็นแนวทางที่ได้ผลนัก[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Binder AI (March 2007). "Cervical spondylosis and neck pain". BMJ. 334 (7592): 527–31. doi:10.1136/bmj.39127.608299.80. PMC 1819511. PMID 17347239.
- ↑ March L, Smith EU, Hoy DG, Cross MJ, Sanchez-Riera L, Blyth F, และคณะ (June 2014). "Burden of disability due to musculoskeletal (MSK) disorders". Best Practice & Research. Clinical Rheumatology. 28 (3): 353–66. doi:10.1016/j.berh.2014.08.002. PMID 25481420.
- ↑ 3.0 3.1 Mattu A, Goyal D, Barrett JW, Broder J, DeAngelis M, Deblieux P, และคณะ (2007). Emergency medicine: avoiding the pitfalls and improving the outcomes. Malden, Mass: Blackwell Pub./BMJ Books. pp. 46–7. ISBN 978-1-4051-4166-6.
- ↑ Garra G, Singer AJ, Leno R, Taira BR, Gupta N, Mathaikutty B, Thode HJ (May 2010). "Heat or cold packs for neck and back strain: a randomized controlled trial of efficacy". Academic Emergency Medicine. 17 (5): 484–9. doi:10.1111/j.1553-2712.2010.00735.x. PMID 20536800.
- ↑ Gross A, Forget M, St George K, Fraser MM, Graham N, Perry L, และคณะ (March 2012). "Patient education for neck pain". The Cochrane Database of Systematic Reviews (3): CD005106. doi:10.1002/14651858.cd005106.pub4. PMID 22419306.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]การจำแนกโรค | |
---|---|
ทรัพยากรภายนอก |