ภาวะเสียความเข้าใจความเจ็บปวด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ภาวะเสียความเข้าใจความเจ็บปวด[1] (อังกฤษ: Pain asymbolia, pain dissociation) เป็นสภาพที่รู้สึกเจ็บปวดโดยไม่รู้สึกทุกข์ร้อน ปกติเป็นผลของการบาดเจ็บต่อสมอง, การผ่าตัดแบบ prefrontal lobotomy หรือ cingulotomy, และความไม่รู้เจ็บเพราะมอร์ฟีน นอกจากนั้น รอยโรคที่ insular cortex อาจกำจัดความไม่น่าชอบใจของสิ่งเร้าที่เจ็บ แม้จะยังสามารถรู้ตำแหน่งและระดับความรุนแรง ปกติแล้ว คนไข้จะรายงานว่ารู้สึกเจ็บแต่ไม่ทุกข์ร้อน คือเข้าใจว่าเจ็บ แต่ก็ไม่เดือดร้อน[2][3][4]

insular cortex[แก้]

โนซิเซ็ปเตอร์ทั่วร่างกายส่งข้อมูลไปยังคอร์เทกซ์ต่าง ๆ ในสมองรวมทั้ง insular cortex ที่อยู่ใน Lateral sulcus ซึ่งเป็นช่องที่แบ่งสมองกลีบขมับจากสมองกลีบข้างและกลีบหน้า เป็นเขตสมองที่ตอบสนองอย่างแข็งขันและโดยเฉพาะต่อสัญญาณโนซิเซ็ปเตอร์ที่มาจากระบบรับความรู้สึกทางกาย และได้รับแอกซอนโดยตรงจากทาลามัสโดยเฉพาะจาก medial nuclei และ ventroposterior medial nucleus เซลล์ประสาทในสมองเขตนี้มีหน้าที่ประมวลข้อมูลภายในร่างกายแบบต่าง ๆ และมีบทบาทในการตอบสนองของระบบประสาทอิสระต่อความเจ็บปวด[5]

คนไข้ที่มีรอยโรคในเขตนี้ ปรากฏอาการ Pain asymbolia ที่น่าแปลกใจ เพราะแม้จะรู้สึกเจ็บปวด แต่จะไม่ตอบสนองทางอารมณ์หรือทางพฤติกรรม โดยความเจ็บปวดจะไม่ให้ทำให้รู้สึกว่ามีอันตรายหรือมีภัย[6] ลักษณะต่าง ๆ เหล่านี้แสดงนัยว่า insular cortex เป็นเขตสมองที่รวบรวมความรู้สึกเจ็บปวด และมีบทบาทในการตอบสนองทางอารมณ์และทางประชานต่อความเจ็บปวด[5]

prefrontal lobotomy[แก้]

คนไข้ที่ได้ผ่าตัดใยประสาทที่เชื่อมต่อกับ prefrontal cortex กับสมองส่วนอื่นออกหมดหรือเกือบหมด ซึ่งเป็นการผ่าตัดที่เรียกว่า prefrontal lobotomy จะบกพร่องในความกังวลและการครุ่นคิดเรื่องความเจ็บปวด แต่ยังรู้สึกได้ว่าเป็นภัยถ้ามีคนอื่นชี้ให้ เทียบกับคนไข้ที่มี insular cortex เสียหาย ผู้จะไม่รู้สึกว่าความเจ็บปวดนั้นเป็นภัยโดยประการทั้งปวง[7]

เชิงอรรถและอ้างอิง[แก้]

  1. "asymbolia", ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑ ฉบับ ๒๕๔๕, (แพทยศาสตร์) ภาวะเสียความเข้าใจสื่อ
  2. Neuroscience: With STUDENT CONSULT Online Access. Philadelphia: Saunders. 2006. ISBN 1-4160-3445-5.
  3. Nikola Grahek, Feeling pain and being in pain, Oldenburg, 2001. ISBN 3-8142-0780-7
  4. Phantoms in the Brain by VS Ramachandran — Page 208
  5. 5.0 5.1 Basbaum & Jessell 2013, Cingulate and Insular Areas Are Active During the Perception of Pain, p. 545
  6. Wegner, ST (MD); Jacobs, M (2011). Kreutzer, Jeffrey S; DeLuca, John; Caplan, Bruce (บ.ก.). Pain Asymbolia. Encyclopedia of Clinical Neuropsychology. Springer. p. 1847-1848. doi:10.1007/978-0-387-79948-3. ISBN 978-0-387-79947-6.
  7. Price DD, Hirsh A, Robinson ME (2008). Bushnell, Catherine, Basbaum, Allan I (บ.ก.). 5.64 Psychological Modulation of Pain. The Senses: A Comprehensive Reference. Vol. 5: Pain. Elsevier. 5.64.1.2.3 The pivotal role of the anterior cingulate cortex (ACC) in pain affect, pp. 979-980.

แหล่งอ้างอิงอื่น ๆ[แก้]

  • Basbaum AI, Jessell TM (2013). "24 - Pain". ใน Kandel Eric R, Schwartz James H, Jessell Thomas M, Siegelbaum Steven A, Hudspeth, AJ (บ.ก.). Principles of Neural Science (5th ed.). United State of America: McGraw-Hill. pp. 530–555. ISBN 978-0-07-139011-8.