ปลากระเบนค้างคาว
ปลากระเบนค้างคาว ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: Upper Cretaceous–Recent[1] | |
---|---|
ปลากระเบนค้างคาวบริเวณ หมู่เกาะเติกส์และเคคอส | |
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Chondrichthyes |
อันดับ: | Myliobatiformes |
วงศ์: | Myliobatidae |
สกุล: | Aetobatus |
สปีชีส์: | A. narinari |
ชื่อทวินาม | |
Aetobatus narinari (Euphrasén, 1790) | |
พื้นที่การกระจายพันธ์ | |
ชื่อพ้อง[3] | |
Aetobatis latirostris |
ปลากระเบนค้างคาว,[4] หรือ ปลากระเบนนก, ปลากระเบนเนื้อดำ, ปลากระเบนยี่สนหรือปลากระเบนนกจุดขาว (อังกฤษ: spotted eagle ray; ชื่อวิทยาศาสตร์: Aetobatus Ocellatus[5]) เป็นปลากระเบนชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ (Aetobatidae)[6]
มีผิวหนังเรียบ ใกล้โคนหางด้านบนมีเงี่ยง 1–4 เงี่ยง พบมากที่สุด 6 เงี่ยง เรียงอยู่ชิดกัน ด้านหลังสีดำมีจุดสีขาวกระจายอยู่ส่วนท้าย ด้านท้องสีขาว หางเรียวยาวมาก มีส่วนหัวที่แยกออกจากครีบเห็นได้ชัดเจน จึงทำให้ว่ายน้ำไปมาได้อย่างอิสระเหมือนนกบิน มีขนาดกว้างได้ถึง 1.5 เมตร เคยพบสูงสุดถึง 3 เมตร น้ำหนัก 230 กิโลกรัม[7]
หากินจำพวกสัตว์น้ำหน้าดิน เช่น หอย, กุ้ง, กั้ง, ปู บริเวณใต้พื้นน้ำเป็นอาหาร โดยใช้ปากคุ้ยเขี่ยพื้นทรายหา บางครั้งอาจเข้ามาหากินถึงบริเวณปากแม่น้ำที่เป็นน้ำกร่อยได้ บางครั้งจะรวมตัวกันเป็นฝูงหลายตัว และสามารถดำน้ำได้ลึกถึง 80 เมตร
ในปี ค.ศ. 2010 มีงานวิจัย[5]ว่าด้วยเรื่องการแบ่งชื่อสายพันธุ์ใหม่จากสายพันธุ์เดิม Aetobatus Narinari เนื่องจากในงานวิจัยพบความแตกต่างที่ชัดเจนของตัวอย่างที่พบในแต่ละพื้นที่ทั่วโลก พบการกระจายพันธุ์ Aetobatus Narinari ในบริเวณมหาสมุทรแอตแลนติก สายพันธุ์ Aetobatus Laticeps ในบริเวณตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิก และ Aetobatus Ocellatus ในบริเวณตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก และ มหาสมุทรอินเดีย รวมถึงบริเวณ อ่าวไทย และ ทะเลอันดามัน ของประเทศไทย
ปลากระเบนค้างคาวออกลูกเป็นไข่ แต่ไข่ได้พัฒนาเป็นตัวในช่องท้องของปลาตัวเมีย เมื่อแรกเกิดลูกปลาจะมีถุงไข่แดงติดตัวมาด้วย
ปลากระเบนค้างคาวนั้น มักถูกล่าเป็นอาหารจากปลาฉลาม โดยเฉพาะปลาฉลามหัวค้อน[8] สำหรับความสัมพันธ์ต่อมนุษย์แล้ว นิยมเลี้ยงในพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำต่าง ๆ เพราะความสวยงามในสีสันและการว่ายน้ำ และยังนิยมใช้เนื้อเพื่อการบริโภคด้วยทั้งการบริโภคสดและเก็บรักษาเป็นปลาแห้ง และทำเป็นปลาหย็อง[9]
ณ ปัจจุบันกระเบนค้างคาวยังไม่สามารถเพาะพันธุ์ในเชิงพาณิชย์ได้ เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายที่สูงในการจัดการพื้นที่ มีเพียงการเพาะพันธุ์โดยไม่ได้ตั้งใจจากพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำบางแห่งเท่านั้น จึงยังไม่สามารถเพาะพันธุ์ทดแทนกับปริมาณที่ลดลงในธรรมชาติได้
รูปภาพ
[แก้]-
ขณะว่ายเป็นฝูงในทะเล
-
ขณะคุ้ยเขี่ยหาอาหารกินบนพื้นทราย
-
ส่วนปากและซี่กรองเหงือก
-
คลิปวิดีโอในพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ
-
ในน้ำตื้น
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Summers, Adam (2001). "Aetobatus narinari". Digital Morphology. สืบค้นเมื่อ 1 November 2011.
- ↑ Kyne, P.M.; Ishihara, H.; Dudley, S. F. J. & White, W. T. (2006). "Aetobatus narinari". The IUCN Red List of Threatened Species. IUCN. 2006: e.T39415A10231645. doi:10.2305/IUCN.UK.2006.RLTS.T39415A10231645.en. สืบค้นเมื่อ 12 January 2018.
- ↑ Bester, Cathleen. "Ichthyology at the Florida Museum of Natural History". Florida Museum of Natural History. สืบค้นเมื่อ 21 October 2011.
- ↑ ทัศพล กระจ่างดารา. 2560. ปลากระดูกอ่อน (ปลาฉลาม ปลากระเบน และปลาหนู) ที่พบในน่านน้ำไทยและน่านน้ำใกล้เคียง. กองวิจัยและพัฒนาประมงทะเล. กรมประมง. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 331 หน้า.
- ↑ 5.0 5.1 White, W. T., Last, P. R., Naylor, G. J. P, Jensen, K. and Caira, J. N. 2010. Descriptions of new sharks and rays from Borneo. "Clarification of Aetobatus ocellatus (Kuhl, 1823) as a valid species, and a comparison with Aetobatus narinari (Euphrasen, 1790) (Rajiformes: Myliobatidae)"
- ↑ White, W. T. & Naylor, G. J. P. (2016). Resurrection of the family Aetobatidae (Myliobatiformes) for the pelagic eagle rays, genus Aetobatus. Zootaxa 4139, 435–438. 10.11646/zootaxa.4139.3.10
- ↑ SPOTTED EAGLE RAY
- ↑ Chapman, D.D. and Gruber, S.H. (May 2002). "A further observation of the prey-handling behavior of the great hammerhead shark, Sphyrna mokarran: predation upon the spotted eagle ray, Aetobatus narinari". Bulletin of Marine Science 70 (3): 947–952
- ↑ ปลาค้างคาวสนหยอง ของดีเมืองแม่กลอง