ข้ามไปเนื้อหา

ประมวล ตั้งบริบูรณ์รัตน์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ศ.ดร. ประมวล ตั้งบริบูรณ์รัตน์

ศาสตราจารย์ ประมวล ตั้งบริบูรณ์รัตน์ (2505 -) นักวิจัยไทยผู้เชี่ยวชาญด้านโพลิเมอร์คอลลอยด์ และน้ำยางธรรมชาติ เจ้าของรางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ สาขาเคมี (พอลิเมอร์) ประจำปี พ.ศ. 2539 และเป็นหนึ่งในผู้ได้รับทุนวิจัยลอรีอัลประเทศไทย “เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์” (L'OREAL-UNESCO Fellowship for Women in Science) ประจำปี พ.ศ. 2550 สาขาวัสดุศาสตร์ จากผลงานวิจัย "การปรับแต่งพื้นผิวยางธรรมชาติด้วยอนุภาคขนาดนาโนเพื่อประยุกต์ใช้ในการเตรียมถุงมือแพทย์" ทั้งนี้ ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ได้เสด็จมาประทานทุนวิจัย ณ พระที่นั่งเทวราชย์สภารมย์ พระราชวังพญาไท เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2550

ประวัติการศึกษา

[แก้]

ศาสตราจารย์ ประมวล ตั้งบริบูรณ์รัตน์ หรือ ศาสตราจารย์ ดร.ประมวล ตั้งบริบูรณ์รัตน์ ศึกษาขั้นต้นที่โรงเรียนผะดุงศิษย์พิทยาประจันตคาม โรงเรียนประจันตราษฎร์บำรุง และสำเร็จชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเมื่อปี พ.ศ. 2522 ที่โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย กรุงเทพฯ จบการศึกษาระดับปริญญาตรี (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง) สาขาเคมี ที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้รับรางวัลเรียนดีและประพฤติดีเป็นเยี่ยม จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น เมื่อปี พ.ศ. 2524 และรางวัลผู้สอบได้คะแนนยอดเยี่ยมในหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเคมี มหาวิทยาลัยขอนแก่น จากมูลนิธิศาสตราจารย์ ดร. แถบ นีละนิธิ ในปี พ.ศ. 2526 จากนั้นได้เข้าศึกษาต่อระดับปริญญาโท สาขาฟิสิคัลเคมี ที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับรางวัลผู้สอบได้คะแนนยอดเยี่ยมในหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาฟิสิคัลเคมี มหาวิทยาลัยมหิดล จากมูลนิธิศาสตราจารย์ ดร. แถบ นีละนิธิ ในปี พ.ศ. 2529 และได้ทุนของรัฐบาลฝรั่งเศสไปศึกษาต่อระดับปริญญาเอก โดยได้รับ Diplôme Élémentaire de la Langue Française (DELF) ที่ CAVILAM เมือง Vichy ในปี พ.ศ. 2530 ได้รับ Diplôme d’Étude Applofondie (DEA; Chimie Physique) ในปี พ.ศ. 2531 และปริญญาเอก (Docteur; Chimie Macromoléculaire) จาก Université de Haute Alsace, École Nationale Supérieure de Chimie de Mulhouse ประเทศฝรั่งเศส ในปี พ.ศ. 2534

ประวัติการทำงาน

[แก้]

ศาสตราจารย์ ดร.ประมวล ตั้งบริบูรณ์รัตน์ เข้ารับราชการเป็นอาจารย์ในภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในปี พ.ศ. 2537 ตำแหน่งรองศาสตราจารย์ เมื่อ พ.ศ. 2540 และได้รับโปรดเกล้าฯ ตำแหน่งศาสตราจารย์ เมื่อปี พ.ศ. 2547

ศ.ดร.ประมวล ตั้งบริบูรณ์รัตน์ ศึกษาวิจัยและพัฒนายางธรรมชาติเพื่อให้ได้ความรู้พื้นฐานที่ผิวของอนุภาคยางในน้ำยางธรรมชาติและสามารถนำอนุภาคยางธรรมชาติไปใช้ในรูปแบบใหม่ ๆ โดยได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากมหาวิทยาลัยมหิดล ทุนโครงการวิจัย พัฒนาและวิศวกรรม สาขาอุตสาหกรรมยาง จากศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ทุนจาก Eno Science Foundation (Japan) ทุนพัฒนานักวิจัย (เมธีวิจัย สกว.) พ.ศ. 2538-43 และทุนองค์ความรู้ใหม่ที่เป็นพื้นฐานต่อการพัฒนา (วุฒิเมธีวิจัย สกว.) พ.ศ. 2544-50 จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ ประจำปี พ.ศ. 2539 ของมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้รับคัดเลือกให้ได้ทุนเผยแพร่ผลงานวิจัยในต่างประเทศสำหรับนักวิจัยที่มีผลงานดีเยี่ยม จาก สกว. ใน ปี พ.ศ. 2540 ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2542 ผลงานวิจัยได้รับคัดเลือกให้เป็น1 ใน 15 ผลงานวิจัยดีเด่นของ สกว. ในปี พ.ศ. 2550 ได้รับทุนวิจัย “เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์” ลอริอัลประเทศไทย สาขาวัสดุศาสตร์ (L’OREAL-UNESCO Fellowship for Women in Science) และได้รับทุนส่งเสริมกลุ่มวิจัย (เมธีวิจัยอาวุโส สกว.) ประจำปี พ.ศ. 2551 จาก สกว. ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)

นอกจากนั้น ในปี พ.ศ. 2545-47 ได้ทำหน้าที่ผู้ประสานงานโครงการเจียระไนเพชร ฝ่ายวิชาการ สกว. ปี พ.ศ. 2546-49 เป็นเลขานุการคณะกรรมการบริหารมูลนิธิบัณฑิตยสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (บวท.) ปี พ.ศ. 2548 เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนากำลังคน ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี (ศจ.) ต่อมาในปี พ.ศ. 2549-51 ดำรงตำแหน่งรักษาการรองผู้อำนวยการ ศจ. และรักษาการผู้ช่วยผู้อำนวยการ สวทช. และในระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2549 ถึงกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 ปฏิบัติหน้าที่เลขานุการรัฐมนตรีกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปัจจุบันทำหน้าที่กรรมการกลั่นกรองวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนครและวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ กองบรรณาธิการวารสารของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ กรรมการบริหาร บวท. กรรมการและเลขานุการคณะกรรมการรางวัลวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มูลนิธิโทเร เพื่อการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ ประเทศไทย

ผลงานวิจัย

[แก้]

งานวิจัยของ ศ.ดร.ประมวล ตั้งบริบูรณ์รัตน์ เป็นการศึกษาน้ำยางธรรมชาติหรือพอลิเมอร์ลาเทกซ์ที่ได้มาจากต้นยางพารา โดยนำเทคนิคเฟสทรานสเฟอร์/การพอลิเมอร์ไรซ์แบบบัลค์หรือซัสเพนชัน/กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องผ่าน มาใช้ตรวจสอบชนิดของประจุที่ผิวของอนุภาคยางที่แขวนลอยอยู่ในน้ำ และศึกษาโครงสร้างสัณฐานของอนุภาคยางที่มีการเชื่อมโยงสายโซ่พอลิเมอร์หรือพรีวัลคาไนซ์ องค์ความรู้ที่ค้นพบสามารถนำไปใช้ในการควบคุมสมบัติของผลิตภัณฑ์ยางที่ผลิตจากน้ำยางข้น เช่น ถุงมือ และนำไปสู่การคิดค้นนวัตกรรมในการเตรียมพอลิสไตรีนเหนียวทนแรงกระแทกจากน้ำยางธรรมชาติชนิดพรีวัลคาไนซ์

นอกจากเพื่อให้ได้ความรู้พื้นฐาน ยังได้ทำวิจัยเพื่อพัฒนาให้นำน้ำยางธรรมชาติไปใช้ในรูปแบบของผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ได้แก่ การใช้น้ำยางธรรมชาติเตรียมเป็นแคปซูลหุ้มปุ๋ยยูเรียด้วยเทคนิคการตกตะกอนในกรดเพื่อให้ควบคุมอัตราการปลดปล่อยปุ๋ยให้นานขึ้นในปริมาณที่เหมาะสม ด้วยเทคนิคนี้ต่อมาได้นำไปใช้เตรียมเม็ดมาสเตอร์แบทซ์ของเขม่าดำกับน้ำยางธรรมชาติที่จะเป็นการแปรให้เป็นวัตถุดิบกึ่งสำเร็จรูป อยู่ในรูปแบบที่สะดวกในการผสม การขึ้นรูป เพิ่มประสิทธิภาพการผสมในเครื่องผสม ลดพลังงานที่ใช้ในการผสมในแบบเดิม และลดการฟุ้งกระจายของสารเคมีที่ใช้เติม ต่อมาได้นำอนุภาคยางสังเคราะห์พอลิคลอโรพรีนที่ปรับแต่งผิวแล้ว มายึดเกาะเพื่อหุ้มอนุภาคยางธรรมชาติให้มีโครงสร้างแบบแกน/เปลือกโดยเทคนิคการควบคุมการเกาะรวมกัน ซึ่งทำให้สมบัติการทนน้ำมันของยางธรรมชาติดีขึ้น จากนั้นได้นำมาประยุกต์ใช้กับอนุภาคยางธรรมชาติที่มีขนาดเล็กในน้ำยางสกิม

งานวิจัยในปัจจุบัน เป็นการวิจัยเพื่อพัฒนาถุงมือแพทย์ที่ทำจากน้ำยางธรรมชาติให้มีโครงสร้างสามชั้นประกอบด้วยชั้นของไมโครและ/หรือนาโนแคปซูลของยาฆ่าเชื้อโรคอยู่ระหว่างฟิล์มยาง เพื่อให้สามารถฆ่าเชื้อโรคที่ติดมากับปลายเข็มฉีดยาเมื่อถุงมือที่บุคลากรทางการแพทย์สวมใส่ระหว่างการปฏิบัติงานที่ต้องสัมผัสโดยตรงกับเลือดหรือน้ำเหลืองของผู้ป่วยเกิดรอยรั่วจากการที่เข็มแทงทะลุผ่าน ทั้งนี้ได้ทำการศึกษาเพื่อติดอนุภาค poly (methyl methacrylate) (PMMA) ลงบนผิวของแผ่นยางธรรมชาติด้วยเทคนิคการเคลือบผิวทีละชั้น เพื่อเป็นต้นแบบของการติดแคปซูลยาฆ่าเชื้อโรค รวมทั้งเพิ่มความขรุขระและความแข็งที่ผิวของแผ่นยางส่งผลให้สัมประสิทธิ์แรงเสียดทานลดลง ซึ่งมีประโยชน์ทำให้การสวมใส่หรือถอดถุงมือออกสะดวกขึ้น โดยไม่ต้องใช้แป้ง และยังเป็นการลดการสัมผัสโดยตรงระหว่างแผ่นยางกับผิวหนังอีกด้วย

งานวิจัยในอีกด้านหนึ่ง คือ การสังเคราะห์และปรับแต่งอนุภาคพอลิเมอร์ลาเทกซ์เพื่อเตรียมชุดตรวจเชื้อมาลาเรียเพื่อใช้งานในภาคสนาม โดยอาศัยการยึดเกาะของโปรตีนจากแอนติเจนของเชื้อมาลาเรีย (หรือแอนติบอดีต่อเชื้อมาลาเรีย) บนอนุภาคพอลิเมอร์ที่แขวนลอยอยู่ในน้ำ ที่จะเกิดการเกาะกลุ่มกันเมื่อแอนติเจน (หรือแอนติบอดี) จับกับแอนติบอดี (หรือแอนติเจน) ที่อยู่ในเลือดของคนไข้ที่ติดเชื้อ อนุภาคจะรวมตัวกันมีขนาดใหญ่ ทำให้อ่านผลการทดสอบได้อย่างชัดเจนด้วยตาเปล่า

ผลงานทางวิชาการ

[แก้]

บทความวิชาการที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติ (2007-2011)

  1. Anancharungsuk, W., Tanpantree, S., Sruanganurak, A., Tangboriboonrat, P.*, “Surface Modification of Natural Rubber Film by UV-induced Graft Copolymerization with Poly (Methyl Methacrylate) ”, J. Appl. Polym. Sci., 2007, 104: 2270-2276.
  2. Sruanganurak, A., Tangboriboonrat, P.*, “Surface Modification of Sulphur-prevulcanised Natural Rubber Film via Layer-by-Layer Assembled Nanoparticles”, Colloid Surface A, 2007, 301: 147-152.
  3. Paiphansiri, U., Tangboriboonrat, P.*, Landfester, K., “Antiseptic Nanocapsule Formation via Controlling Polymer Deposition onto Water-in-Oil Miniemulsion Droplets” Macromolecular Symposia 2007, 251: 54-62.
  4. Polpanich, D., Tangboriboonrat, P.*, Elaissari, A., Udomsangpetch, R., “Detection of Malaria Infection via Latex Agglutination Assay” Anal. Chem. 2007, 79: 4690-4695.
  5. Suteewong, T., Tangboriboonrat, P.*, “Particle Morphology of Epoxidized Natural Rubber Latex Prevulcanized by Peroxide System” e-Polymer, 2007, 21: 1-9.
  6. Opaprakasit, P.*, Opaprakasit, M., Tangboriboonrat, P., “Study of Crystallization of Poly (lactide) s and Their Racemic Crystal Structure (Stereocomplex) Employing Two-Dimensional FTIR Correlation Spectroscopy” Appl. Spectrosc., 2007, 61: 1352-1358.
  7. Thonggoom, R.*, Thamasirianuant, P., Sanguansap, K., Tangboriboonrat, P., “Bulk Phase Separation Study by Atomic Force Microscope Friction Imaging of Natural Rubber/Poly (Methyl Methacrylate) Film”, Polym. Test., 2008, 27: 368-377.
  8. Amornchaiyapitak, C., Taweepreda, W., Tangboriboonrat, P.*, “Modification of Epoxidised Natural Rubber Film Surface by Polymerisation of Methyl Methacrylate”, Eur. Polym. J., 2008, 44: 1782-1788.
  9. Paiphansiri, U., Tangboriboonrat, P.*, “Deposition of Disinfectant Poly (methyl acrylate) Nanocapsules onto Natural Rubber Film via Layer-by-Layer Technique”, J. Appl. Polym. Sci., 2009, 112: 769-777.
  10. Sunintaboon, P.*, Duangphet, S., Tangboriboonrat, P., “Polyethyleneimine-functionalized Poly (methyl methacrylate) Colloidal Nanoparticles for Directly Coating Natural Rubber Sheet”, Colloid Surface A, 2009, 350: 114-120.
  11. Polpanich, D.*, Tangboriboonrat, P., Elaissari, A.*, “Preparation and Agglutination of Immuno-nanolatex for Malaria Diagnosis”, J. Biomed. Nanotechnol., 2009, 5: 486-492.
  12. Anancharungsuk, W., Taweepreda, W., Wirasate, S., Thonggoom, R., Tangboriboonrat, P.*, "Reduction of Surface Friction of Natural Rubber Film Coated with PMMA Particle: Effect of Particle Size", J. Appl. Polym. Sci., 2010, 115: 3680-3686.
  13. Anancharungsuk, W., Polpanich, D., Jangpatarapongsa, K., Tangboriboonrat, P.*, “In vitro Cytotoxicity Evaluation of Natural Rubber Latex Film Surface Coated with PMMA Nanoparticles”, Colloid Surface B, 2010, 78: 328-333.
  14. Tanpantree, S., Opaprakasit, P., Loykulnant, S., Kangwansupamonkon, W., Tangboriboonrat, P.*, “Nanocapsules Embedded in Natural Rubber Latex Gloves”, J. Appl. Polym. Sci., 2010, 117: 1798-1803
  15. Kaewsaneha, C., Polpanich, D., Smanmoo, S., Tangboriboonrat, P.*, Preparation of Core-Shell Particle of Disinfectant Agent Nanocapsules – Skim Rubber Particles by the Heterocoagulation Technique”, Macromol. Res., 2010, 18: 876-883.
  16. Kaewsaneha, C., Opaprakasit, P., Polpanich, D., Smanmoo, S., Tangboriboonrat, P.*, “Composite Particles of Disinfectant Nanocapsules-Skim Rubber Latex”, Int. J. Polym. Anal. Ch., 2010, 15: 524-535.
  17. Tanpantree, S., Opaprakasit, P., Polpanich, D., Smanmoo, S., Tangboriboonrat, P.*, “Polymeric Disinfectant Nanocapsules: Effect of Molecular Weight of Poly (methyl methacrylate) ”, J. Biomed. Nanotechnol., 2010, 6: 1-6.
  18. Nguyen, T. H., Petchsuk, A., Tangboriboonrat, P., Opaprakasit, M., Sharp, A., Opaprakasit, P.*, “Synthesis and Characterizations of PLLA/PEG Block Copolymers”, Adv. Mater. Research 2010, 93-94: 198-201.
  19. Thiramanas, R., Wanotayan, R., Rahong, S., Jangpatarapongsa, K., Tangboriboonrat, P., Polpanich, D.*, “Improving Malaria Diagnosis via Latex Immunoagglutination Assay in Microfluidic Device”, Adv. Mater. Research 2010, 93-94: 292-295.
  20. Thammawong, C., Petchsuk, A., Opaprakasit, M., Chanunpanich, N., Tangboriboonrat, P., Opaprakasit, P.*, “Preparation and Characterizations of Electrospun Lactide-based Polymeric Nanofibers”, Adv. Mater. Research 2010, 93-94, 377-380.
  21. Jangpatarapongsa, K.*, Polpanich, D., Yamkamon, V., Ditaroth, Y., Peng-On, J., Thiramanas, R., Hongeng, S., Jootar, S., Charoenmak, L., Tangboriboonrat, P., “DNA Detection of Chronic Myelogenous Leukemia by Magnetic Nanoparticles”, Analyst, 2011, 136, 354-358.
  22. Nasomphan, W., Tangboriboonrat, P., Smanmoo, S.*, “Selective Fluorescence Sensing of Deoxycytidine 5’-monophosphate (dCMP) employing a bis (diphenyl-phosphate) diimine ligand”, J. Fluoresc., 2011, 21, 187-194.
  23. Smanmoo, S.*, Nasomphan, W., Tangboriboonrat, P., "Highly Selective Fluorescent Chemosensor for Fe3+ Imaging in Living Cells", Inorg. Chem. Commun., 2011, 14, 351-354.
  24. Smanmoo, S.*, Nasomphan, W., Tangboriboonrat, P., “Isothiocyanate luminol as a CL labeling reagent for amino acids and proteins”, Chem. Lett., 2011, 40, 188-190.

หนังสือ

[แก้]
  • D. Polpanich, P. Tangboriboonrat and A. Elaissari, “Evolution in Malaria Disease Detection: From Parasite Visualization to Colloidal-Based Rapid Diagnostic", Chapter 3, pp 65-93, In: Colloidal Nanoparticles in Biotechnology, A. Elaissari, editor. John Wiley & Sons, Inc.; 2008.
  • ประมวล ตั้งบริบูรณ์รัตน์ พอลิเมอร์คอลลอยด์ กรุงเทพมหานคร: รวยเจริญการพิมพ์, 2547 (229 หน้า)
  • ยอดหทัย เทพธรานนท์ และ ประมวล ตั้งบริบูรณ์รัตน์ บรรณาธิการ “นาโนเทคโนโลยี เทคโนโลยีซูเปอร์จิ๋ว” กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิบัณฑิตยสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย 2545 (102 หน้า)
  • ยอดหทัย เทพธรานนท์ และ ประมวล ตั้งบริบูรณ์รัตน์ บรรณาธิการ “การเขียนบทความวิจัยระดับนานาชาติด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิบัณฑิตยสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย 2548 (240 หน้า)
  • ยอดหทัย เทพธรานนท์ และ ประมวล ตั้งบริบูรณ์รัตน์ บรรณาธิการ “mentor-mentee-mentoring ศาสตร์และศิลป์ของการเป็นนักวิจัยพี่เลี้ยงที่ดี” กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิบัณฑิตยสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย 2548 (279 หน้า)
  • ยงยุทธ ยุทธวงศ์ และ ประมวล ตั้งบริบูรณ์รัตน์ บรรณาธิการ “บทบาทของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีใหม่ ในสังคมไทย: ยีน นาโนเทค ไอที และสังคมไทย” กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิบัณฑิตยสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย 2549 (143 หน้า)
  • ยงยุทธ ยุทธวงศ์ ยอดหทัย เทพธรานนท์ ประมวล ตั้งบริบูรณ์รัตน์ และ สมเดช กนกเมธากุล บรรณาธิการ “อดีต ปัจจุบัน อนาคต วิทยาการเคมีและเภสัชไทย” กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิบัณฑิตยสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย 2549 (272 หน้า)
  • ยอดหทัย เทพธรานนท์ และ ประมวล ตั้งบริบูรณ์รัตน์ บรรณาธิการ “mentor-mentee-mentoring ศาสตร์และศิลป์ของการเป็นนักวิจัยพี่เลี้ยงที่ดี” พิมพ์ครั้งที่ 2 ฉบับปรับปรุง กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิบัณฑิตยสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย 2552 (296 หน้า)

เกียรติคุณและรางวัล

[แก้]
  • พ.ศ. 2538-2543 - เมธีวิจัย สกว. (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย)
  • พ.ศ. 2539 - รางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ ของมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์
  • พ.ศ. 2540 -รางวัลจาก Eno Science Foundation (Japan)
  • พ.ศ. 2540 - ได้รับคัดเลือกให้ได้ทุนเผยแพร่ผลงานวิจัยในต่างประเทศสำหรับนักวิจัยที่มีผลงานดีเยี่ยม จาก สกว.
  • พ.ศ. 2542 - ผลงานวิจัยได้รับคัดเลือกให้เป็น 1 ใน 15 ผลงานวิจัยดีเด่นของ สกว.
  • พ.ศ. 2544-2550 - วุฒิเมธีวิจัย สกว.
  • พ.ศ. 2550 - ทุนวิจัย “เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์” ลอรีอัล ประเทศไทย L'OREAL-UNESCO Fellowship for Women in Science สาขาวัสดุศาสตร์
  • พ.ศ. 2551-ปัจจุบัน - เมธีวิจัยอาวุโส สกว.

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๗ เก็บถาวร 2015-07-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๘, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๗
  2. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒ เก็บถาวร 2011-10-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๒๔, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา ประจำปี ๒๕๖๐, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๕๒ ข หน้า ๑๒, ๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๐