ข้ามไปเนื้อหา

บาสมตี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ข้าวบาสมตี
ข้าวบาสมาตีขาวหุงสุกกับใบผักชีและกลีบของมะนาว
สกุลOryza
ต้นกำเนิดอนุทวีปอินเดีย
ข้าวกล้อง (ซ้าย) และข้าวกล้องบาสมตี (ขวา)

บาสมตี (Basmati; ออกเสียงว่า สัทอักษรสากล: [baːsmət̪iː] ในอนุทวีปอินเดีย) หรือบางทีสะกดเป็น บาสมาตี เป็นรูปแบบหนึ่งของข้าวที่มีลักษณะยาว เรียว และมีกลิ่น มีพื้นเพอยู่ในอนุทวีปอินเดีย[1] ข้อมูลจากปี 2018-19 ระบุว่าประเทศอินเดียส่งออกมากถึง 65% ของตลาดข้าวบาสมตีทั่วโลก ในขณะที่ประเทศปากีสถานเป็นผู้ผลิตส่งออกมากรองลงมา[2][3] ประเทศส่วนใหญ่ใช้ข้าวบาสมตีที่ปลูกในท้องถิ่น[4] อย่างไรก็ตามบาสมตีเริ่มมีความพิเศษเฉพาะทางภูมิศาสตร์ต่อบางพื้นที่และอำเภอของอินเดียและปากีสถาน[5]

ข้อมูลจากหน่วยงานรัฐบาลอินเดีย APEDA ระบุว่าการที่ข้าวชนิดหนึ่งจะสามารถเรียกว่าเป็นบาสมตีได้นั้นจะต้องมีความยาวข้าวสีแล้วก่อนหังเฉลี่ยขั้นต่ำ 6.61 มิลลิเมตร และความกว้างสูงถึง 2 มิลลิเมตร ในบรรดาพารามิเตอร์ต่าง ๆ[6]

ประวัติและศัพทมูล

[แก้]

ศัพทมูลของคำว่า บาสมตี มาจากคำในภาษาสันสกฤต คือ วาส (vas; กลิ่น) และ มยุป (mayup; เส้นใยหรือเมล็ด) ในการสมาสคำนั้น มยุป เปลี่ยนรูปเป็น มตี จึงเรียกชื่อว่า วาสมตี (vasmati)[7][8][9][10] ส่วนพจนานุกรมภาษาอังกฤษของออกซเฟิร์ดระบุว่า "บาสมตี" (Basmati) มาจากภาษาฮินดี (बासमती, bāsmatī) แปลตรงตัวว่า "กลิ่นหอม" (fragrant)[11] ข้าวบาสมตีเชื่อกันว่ามีการปลูกในอนุทสีปอินเดียมานานหลายศตวรรษแล้ว งานเขียนที่มีการระบุถึงข้าวบาสมตีที่เก่าแก่สุดปรากฏใน หีร์รันฌาร์ (ปี 1766)[12][13]

บาสมตีเข้าสู่พื้นที่ตะวันออกกลางและเอเชียกลางโดยพ่อค้าชาวมุสลิมและอาหรับ ในปัจจุบันข้าวบาสมตียังคงเป็นอาหารหลักในอนุทวีปอินเดีย เอเชียกลาง, เปอร์เซีย, อาหรับและอาหารตะวันออกกลางอื่น ๆ อีกมากมาย ข้าวบาสมตีผลิตและส่งออกจากอนุทวีปอินเดียเป็นหลัก[14]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Big money in "specialty rices" Food and Agriculture Organization, United Nations (2002)
  2. "India Export Statistics". apeda.gov.in. สืบค้นเมื่อ 11 July 2019.
  3. "Pakistani rice: Second to all". dawn.com. April 8, 2019. สืบค้นเมื่อ 11 July 2019.
  4. Rice Sales From India to Reach Record as Iran Boosts Reserve Bloomberg (February 13, 2014)
  5. Madhya Pradesh loses GI tag claim for Basmati; India may ask Pakistan to check farming Financial Express (March 19, 2018)
  6. APEDA. "Eligibility of a Rice Variety to be Notified as Basmati" (PDF). APEDA. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ December 20, 2019. สืบค้นเมื่อ February 2, 2020.
  7. Singh, Vijaipal; Singh, Ashok Kumar; Mohapatra, Trilochan; S, Gopala Krishnan; Ellur, Ranjith Kumar (9 April 2018). "Pusa Basmati 1121 – a rice variety with exceptional kernel elongation and volume expansion after cooking". Rice (ภาษาอังกฤษ). 11 (1): 19. doi:10.1186/s12284-018-0213-6. ISSN 1939-8433. PMC 5890003. PMID 29629488.
  8. Siddiq, E. A.; Vemireddy, L. R.; Nagaraju, J. (1 March 2012). "Basmati Rices: Genetics, Breeding and Trade". Agricultural Research (ภาษาอังกฤษ). 1 (1): 25–36. doi:10.1007/s40003-011-0011-5. ISSN 2249-7218.
  9. VP Singh (2000). Aromatic Rices. International Rice Research Institute. pp. 135–36. ISBN 978-81-204-1420-4.
  10. Kishor, D. S.; Seo, Jeonghwan; Chin, Joong Hyoun; Koh, Hee-Jong (2020). "Evaluation of Whole-Genome Sequence, Genetic Diversity, and Agronomic Traits of Basmati Rice (Oryza sativa L.)". Frontiers in Genetics (ภาษาอังกฤษ). 11. doi:10.3389/fgene.2020.00086. ISSN 1664-8021.
  11. Oxford English Dictionary, s.v. basmati.
  12. VP Singh (2000). Aromatic Rices. International Rice Research Institute. pp. 135–36. ISBN 978-81-204-1420-4.
  13. Daniel F. Robinson (2010). Confronting Biopiracy: Challenges, Cases and International Debates. Earthscan. p. 47. ISBN 978-1-84977-471-0.
  14. "Rice Sales From India to Reach Record as Iran Boosts Reserve". bloomberg.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-21. สืบค้นเมื่อ 2016-06-09.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]