บาสมตี
ข้าวบาสมตี | |
---|---|
![]() | |
สกุล | Oryza |
ต้นกำเนิด | อนุทวีปอินเดีย |
บาสมตี (Basmati; ออกเสียงว่า สัทอักษรสากล: [baːsmət̪iː] ในอนุทวีปอินเดีย) หรือบางทีสะกดเป็น บาสมาตี เป็นรูปแบบหนึ่งของข้าวที่มีลักษณะยาว เรียว และมีกลิ่น มีพื้นเพอยู่ในอนุทวีปอินเดีย[1] ข้อมูลจากปี 2018-19 ระบุว่าประเทศอินเดียส่งออกมากถึง 65% ของตลาดข้าวบาสมตีทั่วโลก ในขณะที่ประเทศปากีสถานเป็นผู้ผลิตส่งออกมากรองลงมา[2][3] ประเทศส่วนใหญ่ใช้ข้าวบาสมตีที่ปลูกในท้องถิ่น[4] อย่างไรก็ตามบาสมตีเริ่มมีความพิเศษเฉพาะทางภูมิศาสตร์ต่อบางพื้นที่และอำเภอของอินเดียและปากีสถาน[5]
ข้อมูลจากหน่วยงานรัฐบาลอินเดีย APEDA ระบุว่าการที่ข้าวชนิดหนึ่งจะสามารถเรียกว่าเป็นบาสมตีได้นั้นจะต้องมีความยาวข้าวสีแล้วก่อนหังเฉลี่ยขั้นต่ำ 6.61 มิลลิเมตร และความกว้างสูงถึง 2 มิลลิเมตร ในบรรดาพารามิเตอร์ต่าง ๆ[6]
ประวัติและศัพทมูล[แก้]
พจนานุกรมภาษาอังกฤษของออกซเฟิร์ดระบุว่า "บาสมตี" (Basmati) มาจากภาษาฮินดี (बासमती, bāsmatī) แปลตรงตัวว่า "กลิ่นหอม" (fragrant)[7] ข้าวบาสมตีเชื่อกันว่ามีการปลูกในอนุทสีปอินเดียมานานหลายศตวรรษแล้ว งานเขียนที่มีการระบุถึงข้าวบาสมตีที่เก่าแก่สุดปรากฏใน หีร์รันฌาร์ (ปี 1766)[8][9]
บาสมตีเข้าสู่พื้นที่ตะวันออกกลางและเอเชียกลางโดยพ่อค้าชาวมุสลิมและอาหรับ ในปัจจุบันข้าวบาสมตียังคงเป็นอาหารหลักในอนุทวีปอินเดีย เอเชียกลาง, เปอร์เซีย, อาหรับและอาหารตะวันออกกลางอื่น ๆ อีกมากมาย ข้าวบาสมตีผลิตและส่งออกจากอนุทวีปอินเดียเป็นหลัก[10]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ Big money in "specialty rices" Food and Agriculture Organization, United Nations (2002)
- ↑ "India Export Statistics". apeda.gov.in. สืบค้นเมื่อ 11 July 2019.
- ↑ "Pakistani rice: Second to all". dawn.com. April 8, 2019. สืบค้นเมื่อ 11 July 2019.
- ↑ Rice Sales From India to Reach Record as Iran Boosts Reserve Bloomberg (February 13, 2014)
- ↑ Madhya Pradesh loses GI tag claim for Basmati; India may ask Pakistan to check farming Financial Express (March 19, 2018)
- ↑ APEDA. "Eligibility of a Rice Variety to be Notified as Basmati" (PDF). APEDA. เก็บ (PDF) จากแหล่งเดิมเมื่อ December 20, 2019. สืบค้นเมื่อ February 2, 2020.
- ↑ Oxford English Dictionary, s.v. basmati.
- ↑ VP Singh (2000). Aromatic Rices. International Rice Research Institute. pp. 135–36. ISBN 978-81-204-1420-4.
- ↑ Daniel F. Robinson (2010). Confronting Biopiracy: Challenges, Cases and International Debates. Earthscan. p. 47. ISBN 978-1-84977-471-0.
- ↑ "Rice Sales From India to Reach Record as Iran Boosts Reserve". bloomberg.com. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-21. สืบค้นเมื่อ 2016-06-09.
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: บาสมาตี |