บาบาฆ็อนนูจญ์
มื้อ | อาหารเรียกน้ำย่อย |
---|---|
แหล่งกำเนิด | เลบานอน[1] |
ส่วนผสมหลัก | มะเขือม่วง, น้ำมันมะกอก |
มุตตับบัลกับแผ่นแป้งพีตา | |
มื้อ | อาหารเรียกน้ำย่อย |
---|---|
แหล่งกำเนิด | ลิแวนต์ |
ส่วนผสมหลัก | มะเขือม่วง, น้ำมันมะกอก |
บาบาฆ็อนนูจญ์ (อาหรับ: بَابَا غَنُّوج, อักษรโรมัน: bābā ġannūj)[2][3][4][1] หรือ บาบากานูช (อังกฤษ: baba ghanoush, baba ganoush หรือ baba ghanouj, US: /ˌbɑːbə ɡəˈnuːʃ, - ɡəˈnuːʒ/, UK: /- ɡæˈnuːʃ/)[2][3][4] เป็นอาหารเรียกน้ำย่อยอย่างหนึ่งจากลิแวนต์ ประกอบด้วยเนื้อมะเขือม่วงสุกสับละเอียด ผสมกับน้ำมันมะกอก น้ำเลมอน เครื่องปรุงรส และทาฮีนี[4][1][5] ตามธรรมเนียมดั้งเดิมจะนำมะเขือม่วงไปอบหรือย่างไฟก่อนนำมาลอกเปลือกออก ทำให้เนื้อมะเขือม่วงมีลักษณะนุ่มและมีกลิ่นรสควัน[6] บาบาฆ็อนนูจญ์ถือเป็น เมเซ ("จานเริ่ม") แบบฉบับของอาหารในภูมิภาค บ่อยครั้งยังเสิร์ฟเป็นเครื่องเคียงและเป็นเครื่องจิ้มสำหรับแผ่นแป้งพีตา[1]
มุตับบัล (อาหรับ: مُتَبَّل, อักษรโรมัน: mutabbal; แปลว่า ที่มีเครื่องเทศ, ที่ใส่เครื่องเทศ) เป็นอาหารที่มีลักษณะคล้ายกับบาบาฆ็อนนูจญ์ บ้างว่าเป็นบาบาฆ็อนนูจญ์รูปแบบที่เผ็ดกว่า มุตับบัลประกอบด้วยมะเขือม่วงย่างแล้วนำไปบด ผสมกับทาฮีนี เกลือ พริกไทยดำ กระเทียม น้ำเลมอน และมักใส่โยเกิร์ตลงไปด้วย[7]
ศัพทมูล
[แก้]คำว่า บาบา (بَابَا) เป็นคำภาษาอาหรับที่แปลว่า "บิดา" และเป็นศัพท์แสดงความรัก ส่วน ฆ็อนนูจญ์ (غَنُّوج) อาจเป็นชื่อบุคคล[3] นอกจากนี้ยังมีการตีความชื่อที่ประกอบขึ้นจากสองคำนี้ว่าหมายถึง "บิดาแห่งการเกี้ยวพาราสี" หรือ "คุณพ่อที่ถูกตามใจ/คุณพ่อเจ้าชู้" หรือ "คุณพ่อแก่ ๆ ที่ถูกโอ๋จนเสียนิสัย"[2][1][8] นอกจากนี้ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่า บาบา หมายถึงมะเขือม่วงหรือหมายถึงคนจริง ๆ ที่หมกมุ่นกับอาหารจานนี้กันแน่[1]
รูปแบบ
[แก้]บาบาฆ็อนนูจญ์ในตำรับอาหรับตะวันออกแตกต่างกับในลิแวนต์เล็กน้อย ตรงที่การปรุงด้วยผักชีและยี่หร่า[8] ส่วนแบบลิแวนต์อาจโรยหน้าด้วยพาร์สลีย์หรือผักชีซอยละเอียดเท่านั้น[9]
กิล มากส์ นักเขียนและนักประวัติศาสตร์อาหาร เขียนไว้ว่า "ชาวอิสราเอลเรียนรู้วิธีการทำบาบาฆ็อนนูจญ์มาจากชาวอาหรับ"[1] ตำรับอาหารอิสราเอลเรียกอาหารจานนี้ว่า salat ḥatzilim และทำมาจากมะเขือม่วงย่างหรือผัด ผสมกับมายองเนส เกลือ เลมอน และหอมใหญ่สับละเอียด[10][11] และมักราดด้วยน้ำมันมะกอกก่อนเสิร์ฟ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 Gil Marks (2010). "Baba Ghanouj". Encyclopedia of Jewish Food. Houghton Mifflin Harcourt. ISBN 9780544186316.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 "baba ghanouj". The American Heritage Dictionary of the English Language (5th ed.). HarperCollins. สืบค้นเมื่อ 25 April 2019.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 "baba ghanouj" (US) และ "baba ganoush". Lexico UK English Dictionary. Oxford University Press. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-03-22.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 "baba ghanoush". Merriam-Webster Dictionary.
- ↑ Baba ganoush. Oxford English Dictionary (3rd ed.). Oxford University Press. September 2006.
A Middle Eastern (originally Lebanese) dish of puréed roasted aubergine, garlic, and tahini.
- ↑ Khayat, Marie Karam; Keatinge, Margaret Clark. Food from the Arab World, Khayats, Beirut, Lebanon.
- ↑ "Middle Eastern Mutabbal Recipe". 29 March 2022.
- ↑ 8.0 8.1 Salloum, Habeeb (2012-02-28). The Arabian Nights Cookbook: From Lamb Kebabs to Baba Ghanouj, Delicious Homestyle Arabian Cooking (ภาษาอังกฤษ). Tuttle Publishing. ISBN 9781462905249.
- ↑ "Baba Ganoush: Quintessentially Levantine". Your Middle East (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2013-01-07. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-29. สืบค้นเมื่อ 2019-07-29.
- ↑ Levy, F. Feast from the Mideast (2003) p.41
- ↑ Nathan, J. (2011). Joan Nathan's Jewish Holiday Cookbook. Knopf Doubleday Publishing Group. pp. 57–58. ISBN 978-0-307-77785-0. สืบค้นเมื่อ December 23, 2016.
บรรณานุกรม
[แก้]- David, Elizabeth (1950). A Book of Mediterranean Food. Alfred A. Knopf. ISBN 0-394-49153-X.
- Levy, F. (2003). Feast from the Mideast. Harper Collins. ISBN 0-06-009361-7.
- Trépanier, Nicolas (30 November 2014). Foodways and Daily Life in Medieval Anatolia: A New Social History. University of Texas Press. ISBN 978-0-292-75929-9.