ข้ามไปเนื้อหา

นูซันตารา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แผนที่ปิดทองในหอเอกราช อนุสาวรีย์แห่งชาติอินโดนีเซีย กรุงจาการ์ตา ซึ่งรวมรัฐซาบะฮ์กับรัฐซาราวัก (รัฐของประเทศมาเลเซีย) และบรูไนกับติมอร์-เลสเต (รัฐอธิปไตย) แต่ไม่รวมคาบสมุทรมลายู

นูซันตารา (Nusantara) เป็นชื่อภาษาอินโดนีเซียที่ใช้ระบุถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นสมุทร เป็นศัพท์ภาษาชวาเก่าที่แปลตรงตัวได้ว่า "หมู่เกาะรอบนอก"[1] ในประเทศอินโดนีเซีย คำนี้มักหมายถึงกลุ่มเกาะอินโดนีเซีย[2][3] ในประเทศมาเลเซียมักหมายถึงกลุ่มเกาะมลายู[4]

คำว่า นูซันตารา มาจากคำสัตย์สาบานของกาจะฮ์ มาดาใน ค.ศ. 1336 ตามที่เขียนเป็นภาษาชวาเก่าไว้ในพงศาวดาร ปาราราตน และบทยกย่อง นาการาเกรตากามา[5] แนวคิดนูซันตาราในฐานะภูมิภาคที่รวมกันเป็นหนึ่งเดียวยังไม่ได้รับการคิดค้นโดยกาจะฮ์ มาดาใน ค.ศ. 1336 แต่ใน ค.ศ. 1275 เกอร์ตาเนอการาแห่งสิงหะส่าหรีใช้ศัพท์ จักรวาลมณฑลทวีปันตร เพื่อกล่าวถึงกลุ่มเกาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[6] ทวีปันตร เป็นคำภาษาสันสกฤตที่แปลว่า "หมู่เกาะที่อยู่ระหว่างกลาง" จึงมีความหมายพ้องกับ นูซันตารา เนื่องจากทั้งคำว่า ทวีป และ นูซา ต่างแปลว่า "เกาะ"

นูซันตารา ตามการใช้งานในปัจจุบันมักรวมดินแดนทางวัฒนธรรมและภาษามลายูซึ่งได้แก่ อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, สิงคโปร์, ชายแดนใต้ของประเทศไทย, ฟิลิปปินส์, บรูไน, ติมอร์-เลสเต และไต้หวัน แต่ไม่รวมปาปัวนิวกินี[7]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Friend, T. (2003). Indonesian Destinies. Harvard University Press. p. 601. ISBN 0-674-01137-6.
  2. Echols, John M.; Shadily, Hassan (1989), Kamus Indonesia Inggris (An Indonesian-English Dictionary) (1st ed.), Jakarta: Gramedia, ISBN 979-403-756-7
  3. "Hasil Pencarian - KBBI Daring". kbbi.kemdikbud.go.id. สืบค้นเมื่อ 2018-07-20.
  4. "Nusantara | Malay to English Translation - Oxford Dictionaries". Oxford Malay Living Dictionary (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-15. สืบค้นเมื่อ 2018-07-20.
  5. Mpu, Prapañca; Robson, Stuart O. (1995). Deśawarṇana: (Nāgarakṛtāgama). KITLV. ISBN 978-90-6718-094-8.
  6. Wahyono Suroto Kusumoprojo (2009). Indonesia negara maritim. PT Mizan Publika. ISBN 978-979-3603-94-0.
  7. Evers, Hans-Dieter (2016). "Nusantara: History of a Concept". Journal of the Malaysian Branch of the Royal Asiatic Society. 89 (1): 3–14. doi:10.1353/ras.2016.0004. S2CID 163375995.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]