นักกำหนดอาหาร
นักกำหนดอาหาร (อังกฤษ: Dietitian) เป็นบุคลากรสาธารณสุข ที่มีการรับรองโดยสมาคมวิชาชีพ เช่น ในสหรัฐอเมริการับรองโดย Academy of Nutrition and Dietetics หรือ ในประเทศไทยรับรองโดยสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย [1]
นักกำหนดอาหารเป็นผู้ที่นำความรู้ทางด้านโภชนาการมากำหนดปริมาณอาหารและสารอาหารที่เหมาะสมกับสภาวะร่างกายของผู้ป่วย และสามารถถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้ป่วยจนสามารถเลือกรับประทานอาหารให้เหมาะสมกับสภาวะร่างกาย [2]
มักมีการเข้าใจผิดเกี่ยวกับบทบาทของนักโภชนาการ และ นักกำหนดอาหาร นักโภชนาการ คือ ผู้ที่ทำหน้าที่ให้คำแนะนำเกี่ยวกับผลกระทบอาหารและสารอาหารต่อสุขภาพ [1] แตกต่างจากนักกำหนดอาหารที่นอกจากจะต้องมีความรู้ด้านโภชนาการแล้ว ยังต้องมีความรู้ในด้านการให้คำปรึกษาผู้ป่วยด้วย
ในประเทศไทย นักกำหนดอาหารวิชาชีพจะต้องมีความรู้ตามข้อกำหนดของสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย ประกอบด้วย องค์ความรู้ด้านโภชนบำบัดทางการแพทย์ (Medical Nutrition Therapy) และการให้คำปรึกษา (Diet Counseling) องค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการงานโภชนาการ (Food Service Management) องค์ความรู้ด้านโภชนาการพื้นฐาน (Basic Nutrition) องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์การอาหาร (Food Sciences) และองค์ความรู้ด้านการวิจัย (Nutrition and Dietetics Research) [3] โดยปัจจุบัน สถาบันอุดมศึกษาของไทยเปิดทำการเรียนการสอนในสาขาด้านการกำหนดอาหารที่ผู้สำเร็จการศึกษามีสิทธิ์สอบเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นนักกำหนดอาหารวิชาชีพกับสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทยนั้น อาทิ เช่น หลักสูตรโภชนาการและการกำหนดอาหาร คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาวิชาโภชนบำบัดและการกำหนดอาหาร คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา[4] สาขาวิชาโภชนาการและโภชนบำบัด หรือ สาขาวิชาโภชนาการและการกำหนดอาหาร คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยพะเยา สาขาวิชาโภชนวิทยาและการกำหนดอาหาร คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สาขาวิชาโภชนศาสตร์ การกำหนดอาหารและอาหารควปลอดภัย หรือ สาขาวิชาโภชนาการและการกำหนดอาหาร คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นต้น
นักกำหนดอาหารสามารถทำงานได้ในทุกวงการ บ้างก็เป็นบุคคลเบื้องหน้าที่ปรากฏตัวต่อสื่อ หรือบุคคลเบื้องหลังที่คอยให้คำแนะนำด้านโภชนาการอยู่ห่างๆ เพื่อให้ทุกคนมีสุขภาพที่ดี และมีภูมิต้านทานในการดูแลสุขภาพของตัวเอง จึงขอมาเปิดมุมมองยกตัวอย่างอาชีพที่ใครจะรู้ว่านักกำหนดอาหาร ก็สามารถทำได้ เช่น
- ผู้ให้คำแนะนำปัญหาด้านสุขภาพในโรงพยาบาล
- นักกำหนดอาหารประจำ ศูนย์ดูแลด้านสุขภาพ
- ผู้ประกอบการร้านอาหาร
- เจ้าของเพจสื่อให้ความรู้ด้านอาหารในโซเชียลมีเดีย
- ผู้ให้คำปรึกษาด้านนวัตกรรม สื่อดิจิทัลและพัฒนาอาหารเพื่อสุขภาพสำหรับประชาชน
- นักกำหนดอาหารที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เช่น การดูแลนักกีฬาด้านโภชนาการ นักยกน้ำหนัก
- นักกำหนดอาหารส่วนตัว ที่ให้บริการแบบออนไลน์ [5]
โดยในประเทศไทย สามารถตรวจสอบ รายชื่อนักกำหนดอาหารที่ขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้องได้ที่ กองประกอบโรคศิลป์ https://mrd.hss.moph.go.th/mrd1_hss/?p=5556
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 http://www.thaidietetics.org/?page_id=42
- ↑ "https://diamate.co/2019/12/02/". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-22. สืบค้นเมื่อ 2019-12-02.
{{cite web}}
: แหล่งข้อมูลอื่นใน
(help)|title=
- ↑ http://www.thaidietetics.org/?page_id=42
- ↑ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
- ↑ บทความเรื่อง นักกำหนดอาหารเดอะ ซีรี่ส์ โดย Eatwellconcept https://eatwellconcept.com/2022/09/28/who-is-the-dietitian/