นกโจรสลัด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นกโจรสลัด
นกโจรสลัดใหญ่ (F. minor) เพศผู้
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Aves
อันดับ: Pelecaniformes
วงศ์: Fregatidae
Degland & Gerbe, 1867
สกุล: Fregata
Lacépède, 1799
ชนิด
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ทั่วโลก

นกโจรสลัด หรือ นกฟรีเกต เป็นนกทะเลขนาดกลาง-ใหญ่ ที่อยู่ในวงศ์ Fregatidae มีเพียงสกุลเดียวเท่านั้น คือ Fregata ในอันดับ Pelecaniformes อันดับเดียวกันกับนกกระทุง

มีรูปร่างโดยรวม คือ มีปากยาวกวางหัวและเป็นรูปทรงกระบอก ปลายจะงอยปากทั้งสองเป็นขอบแนวสบเรียบ รูจมูกเล็กลักษณะเป็นรองยาว ถุงใต้คางเล็กแต่พองออกได้ ปากยาวมาก ปลายปากแหลม ขนปลายปากเส้นสุดท้ายหรือเส้นนอกสุดยาวที่สุด หางเป็นหางแบบเว้าลึก มีขนหาง 12 เส้น แข็งเล็กและสั้น ประมาณ 1 ใน 5 ของความยาวปาก นิ้วยาว โดยมีนิ้วที่ 3 ยาวที่สุด ปลายนิ้วเป็นเล็บยาว เล็บหยัก มีพังผืดนิ้วเป็นแบบตีนพัดเต็ม แต่มักมีขนาดเล็กและเชื่อมเฉพาะโคนนิ้ว ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะและสีสันแตกต่างกัน ทำรังเป็นกลุ่มตามพุ่มไม้เตี้ย หรือตามโขดหิน หรือพื้นทราย วางไข่เพียงครอกละ 1 ฟอง เปลือกไข่สีขาว จะช่วยกันกกไข่ทั้งตัวผู้และตัวเมีย ลูกนกแรกเกิดมีสภาพเป็นลูกอ่อนเดินไม่ได้ ใช้เวลาประมาณ 5 เดือน ลูกนกที่จะเริ่มออกมาจากรังเกาะกิ่งไม้ แต่ก็ยังต้องอยู่ในความดูแลของพ่อแม่อีกนานนับปี

พบกระจายพันธุ์อยู่ในทะเลเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วโลก

นกโจรสลัดจัดเป็นนกที่บินได้ ที่เมื่อกางปีกออกแล้วถือว่าเป็นนกจำพวกหนึ่งที่มีขนาดใหญ่ที่สุด เพราะกางปีกออกแล้วจะมีความยาวจากปีกข้างหนึ่งไปจรดอีกข้างหนึ่งประมาณ 70-100 เซนติเมตร และสามารถบินอยู่บนอากาศได้เป็นเวลาหลายวัน โดยไม่ต้องลงพื้นดิน เป็นนกที่ทรงตัวได้ดี เนื่อวงจากปีกมีขนาดใหญ่และหางในการรับน้ำหนัก และทรงตัว

นกโจรสลัดเป็นนกที่กินเนื้อเป็นอาหาร มีพฤติกรรมชอบโฉบขโมยปลาจากนกอื่น เช่น นกนางนวลเป็นประจำ อันเป็นที่มาของชื่อเรียก แต่บางครั้งก็จะโฉบจับเหยื่อจากน้ำด้วยตัวเอง แต่ไม่สามารถที่จะดำน้ำได้ เป็นนกที่หากินในเวลากลางวัน และนอนหลับพักผ่อนในเวลากลางคืน นอกจากนี้ยังกินอาหารอย่างอื่นได้ด้วย เช่น ลูกเต่าทะเลแรกฟัก เป็นต้น[1]

เป็นนกที่มีความแตกต่างระหว่างเพศผู้และเพศเมียอย่างชัดเจน เพศผู้เมื่อถึงวัยเจริญพันธุ์จะมีถุงใต้คางสีแดงสดเห็นชัดเจน จนเป็นเอกลักษณ์ ซึ่งถุงนี้มีไว้เพื่ออวดเพศเมียในฤดูผสมพันธุ์ เพื่อดึงดูดความสนใจจากเพศเมีย โดยจะป่องหรือเป่าถุงนี้ให้พองขึ้น

นกโจรสลัดได้ถูกจำแนกออกเป็น 5 ชนิด ได้แก่ [2]

พบได้ในประเทศไทย 3 ชนิด คือ นกโจรสลัดเกาะคริสต์มาส, นกโจรสลัดใหญ่ และนกโจรสลัดเล็ก โดยจะพบแถบหมู่เกาะและจังหวัดในภาคใต้ฝั่งทะเลอันดามัน เช่น อ่าวมาหยา หรือเกาะพีพี เป็นต้น นานครั้งจึงจะพบในแถบอ่าวไทย[3] [4][5]

อ้างอิง[แก้]

  1. Frigate Bird, นิตยสารแม็ค 7 ปีที่ 14 ฉบับที่ 7 พฤศจิกายน 2537
  2. จาก ITIS.gov (อังกฤษ)
  3. นกโจรสลัด[ลิงก์เสีย]
  4. "นกโจรสลัด". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-20. สืบค้นเมื่อ 2012-02-27.
  5. Harrison, Peter; Peterson, Roger Tory (1991). Seabirds: A Complete Guide to the Seabirds of the World (Helm Identification Guides) . Christopher Helm Publishers Ltd. ISBN 071363510X.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]