ข้ามไปเนื้อหา

นกกระเรียนมงกุฎเทา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นกกระเรียนมงกุฎเทา
ในประเทศแทนซาเนีย
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Aves
อันดับ: Gruiformes
วงศ์: Gruidae
สกุล: Balearica
สปีชีส์: B.  regulorum
ชื่อทวินาม
Balearica regulorum
Bennett, 1834

นกกระเรียนมงกุฎเทา หรือ นกกระเรียนหงอนพู่[2] (อังกฤษ: Grey crowned crane; ชื่อวิทยาศาสตร์: Balearica regulorum) เป็นนกในวงศ์นกกระเรียน พบในทุ่งหญ้าสะวันนาในทวีปแอฟริกาทางใต้ของทะเลทรายซาฮารา ทำรังในพื้นที่เปียกชื้น ไม่ใช่นกอพยพ

ชนิด

[แก้]

นกกระเรียนมงกุฎเทามี 2 ชนิดย่อยคือ ชนิดย่อยแอฟริกาตะวันออก (B. r. gibbericeps, นกกระเรียนจุก) พบจากทางตะวันออกของสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกถึงประเทศยูกันดา และประเทศเคนยาถึงทางตะวันออกของประเทศแอฟริกาใต้ มันมีพื้นที่หนังเปลือยสีแดงบนหน้าเหนือแต้มสีขาวขนาดใหญ่ใหญ่กว่าอีกชนิดย่อย B. r. regulorum (นกกระเรียนมงกุฎแอฟริกาใต้) พบจากประเทศแองโกลาลงใต้ถึงประเทศแอฟริกาใต้

ลักษณะ

[แก้]

นกกระเรียนชนิดนี้และญาติของมัน นกกระเรียนมงกุฎดำเป็นนกกระเรียนที่สามารถเกาะคอนบนต้นไม้ได้ เพราะมีนิ้วเท้าหลังยาวพอที่จะจับกิ่งไม้ได้ ด้วยเหตุผลนี้จึงเชื่อว่านกกระเรียนสกุล Balearica เป็นสมาชิกที่คล้ายบรรพบุรุษของนกกระเรียนเป็นอย่างมาก

การผสมพันธุ์

[แก้]
ที่สวนสัตว์โคเปนเฮเกน
ไข่ของนกชนิด B. r. gibbericeps

นกกระเรียนมงกุฎเทามีการจับคู่ผสมพันธุ์ที่ประกอบไปด้วยการเต้นรำ การก้มตัว และ การกระโดด มันเปล่งเสียงร้องจากการขยายตัวของถุงลมสีแดงที่คอ ทำให้เสียงร้องของมันต่างจากเสียงคล้ายแตรของนกกระเรียนชนิดอื่น

รัง

[แก้]

รังสร้างจากหญ้าและพืชอื่นๆในพื้นที่ชุ่มน้ำ นกกระเรียนมงกุฎเทาวางไข่ครั้งละ 2-5 ฟอง พ่อและแม่ช่วยกันฟักไข่และใช้เวลา 28-31 วันจึงฟักเป็นตัว ลูกนกขนจะขึ้นเต็มที่ใน 56-100 วัน

ขนาด

[แก้]

นกกระเรียนมงกุฎเทาสูงประมาณ 1 เมตร หนัก 3.5 กิโลกรัม ขนลำตัวเป็นสีเทา ปีกมีสีขาวเด่น ที่หัวมีพู่ขนแข็งสีทอง แก้มสีขาว มีถุงลมที่คอสีแดง ปากสั้นสีเทา และขาสีดำ ทั้งสองเพศมีลักษณะคล้ายกัน เพศผู้ตัวใหญ่กว่าเล็กน้อย นกวัยอ่อนมีสีเทามากกว่านกที่โตเต็มวัยกับมีขนสีน้ำตาลอมเหลืองที่หน้า

อาหาร

[แก้]

นกกระเรียนมงกุฎเทากินเมล็ดหญ้า แมลง และสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอื่นๆ เป็นอาหาร

ใช้เป็นสัญลักษณ์

[แก้]

นกกระเรียนมงกุฎเทาเป็นนกประจำชาติของประเทศยูกันดา ปรากฏอยู่ในธงชาติและตราแผ่นดิน

นกกระเรียนมงกุฎเทาในไทย

[แก้]

สำหรับในประเทศไทย นกกระเรียนมงกุฎเทามีจัดแสดงในหลายสวนสัตว์ทั่วประเทศ โดยในกลางปี ค.ศ. 2015 ได้มีลูกนกเกิดใหม่จำนวน 2 ตัวในสวนสัตว์เชียงใหม่ นับเป็นความสำเร็จในการขยายพันธุ์เป็นครั้งแรกในรอบ 18 ปี[2]

อ้างอิง

[แก้]
  1. IUCN Red List เก็บถาวร 2011-08-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, retrieved 03-12-2009
  2. 2.0 2.1 "รับสมาชิกใหม่'นกกระเรียนหงอนพู่'". เดลินิวส์. 3 July 2015. สืบค้นเมื่อ 4 July 2015.
  • BirdLife International (2009). Balearica regulorum เก็บถาวร 2011-08-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. In: IUCN 2010. IUCN Red List of Threatened Species. Version 2010.1. Downloaded on 1 April 2010. Database entry includes justification for why this species is vulnerable
  • Archibald, G. W. 1992a. African cranes for the future. Proc. First S. Afr. Crane Conf.:7-9.
  • Gitahi, P. 1993. The bird with the golden crown. Komba 1:5.
  • Johnsgard PA. 1983. Cranes of the world. Bloomington: Indiana University Press.
  • Mafabi, P. 1991. The ecology and conservation status of the Grey Crowned Crane in Uganda. Proc. 1987 Intl. Crane Workshop:363-367.
  • Urban, E. K. Status of cranes in Africa, 1994. Proc. 1993 Afr. Crane and Wetland Training Workshop.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Balearica regulorum ที่วิกิสปีชีส์