นกกระเรียนออสเตรเลีย
นกกระเรียนออสเตรเลีย | |
---|---|
บรอลกา (Grus rubicunda) | |
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Aves |
อันดับ: | Gruiformes |
วงศ์: | Gruidae |
สกุล: | Grus |
สปีชีส์: | G. rubicunda |
ชื่อทวินาม | |
Grus rubicunda (Perry, 1810) |
นกกระเรียนออสเตรเลีย หรือ บรอลกา (อังกฤษ: Brolga) เป็นนกในวงศ์นกกระเรียน ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง อาศัยอยู่ในทางตะวันออกของประเทศออสเตรเลีย และเป็นสัญลักษณ์ของรัฐควีนส์แลนด์
อนุกรมวิธาน
[แก้]นกได้รับการจำแนกครั้งแรกโดยนักธรรมชาติวิทยา จอร์จ เพอร์รี (George Perry) ในปี ค.ศ. 1810 นกกระเรียนออสเตรเลียถูกจำแนกผิดพลาดไปอยู่ในสกุล Ardea ที่รวมถึงนกกระสาและนกกระยาง ทั้งที่จริงแล้วมันเป็นสมาชิกของอันดับ Gruiformes ซึ่งมีสมาชิกเป็นนกกวักและนกกระเรียนและเป็นสมาชิกของสกุล สหภาพวิหควิทยาหลวงแห่งออสเตรเลีย (Royal Australasian Ornithologists Union) ทำให้ชื่อ Brolga จากภาษา Gamilaraay - burralga ซึ่งกลายเป็นชื่อทางการของนกชนิดนี้ในปี ค.ศ. 1926
นกกระเรียนออสเตรเลีย นกกระเรียนไทย และ นกกระเรียนคอขาวถูกมองว่าเป็นกลุ่มธรรมชาติที่สร้างขึ้นมาบนพื้นฐานของความคล้ายคลึงกันในเสียงร้องในปี ค.ศ. 1976 ซึ่งได้รับการยืนยันเพิ่มเติมโดยการศึกษาระดับโมเลกุลของดีเอ็นเอ แต่มันยังไม่ชัดเจนนักที่นกสองในสามชนิดเป็นญาติใกล้ชิดกัน[2]
ลักษณะ
[แก้]นกกระเรียนออสเตรเลียที่โตเต้มที่มีสีเทาถึงเงิน-เทา สูง 0.7–1.3 ม. ช่วงปีกกว้าง 1.7–2.4 ม. มีแถบแดงจากปากไปถึงด้านหลังของหัว ปากสีขาวเหมือนกระดูก นกวัยอ่อนไม่มีแถบสีแดง นกเพศผู้โดยเฉลี่ยหนักน้อยกว่า 7 กก. เพศเมียโดยเฉลี่ยหนักน้อยกว่า 6 กก. (13 lb) น้ำหนักจะอยู่ระหว่าง 3.7 ถึง 8.7 กก.
เป็นการง่ายที่นกกระเรียนออสเตรเลียจะสับสนกับนกกระเรียนไทย แต่นกชนิดหลังแถบแดงที่หัวจะแผ่ไปลงถึงคอ ขณะที่นกกระเรียนออสเตรเลียจะอยู่ที่หัวเท่านั้น และการกระจายพันธุ์ของนกกระเรียนไทยจำกัดอยู่เพียงสองสามแห่งในทางเหนือของออสเตรเลีย นกกระเรียนออสเตรเลียนั้นจะมีการกระจายพันธุ์กว้างกว่า
การกระจายพันธุ์
[แก้]บรอลกามีการกระจายพันธุ์กว้างมากโดยเฉพาะในทางตอนเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือของออสเตรเลียโดยเฉพาะทางตะวันออกเฉียงเหนือของรัฐควีนส์แลนด์ และทางใต้ไปได้ไกลถึงรัฐวิกตอเรีย นกสามารถพบได้ในเกาะนิวกินีเช่นกัน และบางครั้งพบว่าอพยพไปถึงประเทศนิวซีแลนด์และทางตอนเหนือของรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย มีประชากรประมาณ 20,000 ถึง 100,000 ตัว มูลนิธิอนุรักษ์นกกระเรียนสากล (International Crane Foundation) ได้เริ่มเพาะพันธุ์นกในกรงเลี้ยงจากนก 3 คู่ที่จับได้ในปี ค.ศ. 1972 บรอลกาไม่มีการอพยพย้ายถิ่น แต่จะมีการเคลื่อนย้ายซึ่งตอบสนองตามฤดูกาลฝน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ BirdLife International (2004). Grus rubicunda. 2006 IUCN Red List of Threatened Species. IUCN 2006. Retrieved on 11 May 2006. Database entry includes justification for why this species is of least concern
- ↑ Christidis L, Boles WE (2008). Systematics and Taxonomy of Australian Birds. Canberra: CSIRO Publishing. p. 119. ISBN 9780643065116.
- MacDonald JD (1987) The Illustrated Dictionary of Australian Birds by Common Name, Reed, p40, ISBN 0-7301-0184-3
- Slater P, Slater P and Slater R (1995) The Slater Field Guide to Australian Birds, Landowne Publishing Pty Ltd, Sydney, NSW, Australia, p50, ISBN 0-947116-99-0
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- International Crane Foundation's Brolga page เก็บถาวร 2005-11-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Unique Australian Animals เก็บถาวร 2010-05-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน– Brolga "reddish crane"
- All Info About Myths– a copy of the Brolga's Dreamtime myth
- Australian Museum fact sheet
- Gould's The Birds of Australia plate
- Australian Crane (Grus rubicundus) from Cranes of the World (1983) by Paul Johnsgard
(Grus rubicunda)