ทีนออง
ดร. ทีนออง ထင်အောင် | |
---|---|
เอกอัครราชทูตพม่าประจำศรีลังกา | |
ดำรงตำแหน่ง 1959–1962 | |
ประธานาธิบดี | วี่น-มอง |
นายกรัฐมนตรี | เนวี่น (1959–1960) อู้นุ (1960–1962) |
รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยย่างกุ้ง | |
ดำรงตำแหน่ง 1959–1959 | |
อธิการบดีมหาวิทยาลัยย่างกุ้ง | |
ดำรงตำแหน่ง 1946–1958 | |
ก่อนหน้า | office created |
ถัดไป | Hla Myint |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 18 พฤษภาคม ค.ศ. 1909[1] ร่างกุ้ง พม่าภายใต้การปกครองของสหราชอาณาจักร |
เสียชีวิต | 10 พฤษภาคม ค.ศ. 1978[1] ร่างกุ้ง พม่า | (68 ปี)
สัญชาติ | พม่า |
เชื้อชาติ | พม่า |
ศาสนา | เถรวาท |
ญาติ | Tin Tut, Myint Thein และ Kyaw Myint |
ที่อยู่อาศัย | ย่างกุ้ง |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด มหาวิทยาลัยลอนดอน University of Dublin |
พ่อ | U Hpein |
แม่ | Daw Mi Mi |
ทีนออง (พม่า: ထင်အောင်; ค.ศ. 1909–1978) หรือ มองทีนออง (မောင်ထင်အောင် - นิยมทับศัพท์เป็น "หม่องทินอ่อง") เป็นนักประพันธ์และนักวิชาการประวัติศาสตร์พม่าและวัฒนธรรมพม่าคนสำคัญ สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดและมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ มีผลงานเขียนเป็นหนังสือหลายเล่มเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมพม่าทั้งในภาษาพม่าและภาษาอังกฤษ ผลงานภาษาอังกฤษของเขานั้นได้เปิดมุมมองที่เป็นที่ต้องการมากในการศึกษาประวัติศาสตร์พม่าแบบสากล ซึ่งจนถึงขณะนี้มีเฉพาะนักประวัติศาสตร์อังกฤษในสมัยอาณานิคมเท่านั้น ผลงานที่สำคัญ อาทิ ประวัติศาสตร์พม่า, Folk Elements in Burmese Buddhism, Burmese Drama เป็นต้น
ประวัติ
[แก้]ทีนอองเกิดในครอบครัวชนชั้นสูงของพม่าในปี ค.ศ. 1909 เป็นลื่อ (great-great-grandson) ของมะฮามีนลามีนดีนราซา ซึ่งเป็นทหารในราชสำนักราชวงศ์คองบอง ซึ่งเคยรบในสงครามพม่า-อังกฤษครั้งที่หนึ่ง[2][3] เขาเป็นลูกชายคนที่ 4 และคนสุดท้องของครอบครัว
ทีนอองสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนมัธยมอังกฤษเซนต์พอลส์ ซึ่งเป็นของชนชั้นสูงในย่างกุ้ง[4] ปริญญาตรีด้านกฎหมายจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ปริญญาโทด้านกฎหมายแพ่งจากมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด และปริญญาเอกด้านมานุษยวิทยาและวรรณกรรม[5] ทีนอองเป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยย่างกุ้งระหว่าง ค.ศ. 1946 ถึง 1958 และรองนายกรัฐมนตรีในปี ค.ศ. 1959 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นเอกอัครราชทูตประจำศรีลังกาตั้งแต่ ค.ศ. 1959 ถึง 1962 และในภายหลังได้เป็นศาสตราจารย์รับเชิญพิเศษที่มหาวิทยาลัยโคลอมเบียและมหาวิทยาลัยเวกฟอเรสต์ตามลำดับ
หนังสือ
[แก้]- Burmese Drama (Oxford University Press, 1937)
- Burmese Folk-Tales (Oxford University Press, 1948)
- Burmese Drama: A study, with translations, of Burmese plays (Oxford University Press, 1956)
- Burmese Law Tales (Oxford University Press, 1962)
- Folk Elements in Burmese Buddhism (Oxford University Press, 1962).
- The Stricken Peacock: An Account of Anglo-Burmese Relations 1752-1948 (Martinus Nijhoff, 1965)
- Burmese Monk's Tales (Columbia University Press, 1966)
- Epistles Written on Eve of Anglo-Burmese War (Martinus Nijhoff, 1967)
- A History of Burma (Columbia University Press, 1967)
- Lord Randolph Churchill and the dancing peacock : British conquest of Burma 1885
- Burmese history before 1287: A Defence of the Chronicles (1970).
- Folk Tales of Burma (Sterling Publishers, 1976)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Maung Maung 2008: 569
- ↑ A History of Burma. New York and London: Columbia University Press. 1967.
- ↑ Htin Aung (1973). Beyond Nyaungyang (Burmese translation of The Stricken Peacock) (ภาษาพม่า). Yangon: Sapemwethu.
- ↑ International Who's Who: 1964 (28 ed.). 1964. p. 43.
- ↑ G.E . Harvey: Imperialist or Historian, A lecture given at the Ramakrishna Hall on 21st February 1973