ข้ามไปเนื้อหา

ทรานซิลเวเนีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทรานซิลเวเนียสีเหลืองบนแผนที่ของโรมาเนียกับเขตแดนของประเทศต่าง ๆ ภูมิภาคประวัติศาสตร์บานัต, กรีชานา และมารามูเรช สีเหลืองเข้ม

ทรานซิลเวเนีย (อังกฤษ: Transylvania; โรมาเนีย: Ardeal หรือ Transilvania; ฮังการี: Erdély; เยอรมัน: Siebenbürgen) เป็นภูมิภาคประวัติศาสตร์ที่ตั้งอยู่ทางตอนกลางของโรมาเนีย โดยมีเขตแดนด้านตะวันออกและทางใต้ติดต่อกับ เทือกเขาคาร์เพเทียน (Carpathian mountains) ทางตะวันตกจรดเทือกเขาอพูเซนิ (Apuseni Mountains) แต่ "ทรานซิลเวเนีย" ที่ใช้กันมักจะรวมบริเวณที่เลยไปจากตัวทรานซิลเวเนียเองและภูมิภาคประวัติศาสตร์ของบริเวณบานัต, กรีชานา และมารามูเรช

ทรานซิลเวเนียเดิมเป็นศูนย์กลางของราชอาณาจักรดากิอา (82 ก่อน ค.ศ. - ค.ศ. 106) ในปี ค.ศ. 106 จักรวรรดิโรมันก็ได้รับชัยชนะต่อดากิอา หลังจากนั้ความมั่งคั่งของดากิอาก็สิ้นสุดลง หลังจากกองทหารโรมันถอยจากบริเวณนี้ในปี ค.ศ. 271 ทรานซิลเวเนียก็ถูกรุกรานโดยชนเผ่าต่าง ๆ ที่ทำให้ได้รับอิทธิพลต่าง ๆ ในช่วงเวลานี้ทรานซิลเวเนียก็ถูกปกครองโดยวิซิกอท, ชนฮั่น, ชนเกปิด และชนอวาร์ จากนั้นชนดาเชียนที่รับวัฒนธรรมโรมันไม่ก็โยกย้ายกันขึ้นไปอยู่กันบนเขาเพื่อรักษาวัฒนธรรม หรือย้ายลงไปทางใต้ แต่ก็อาจเป็นได้ว่าชนดาโต–โรมันยังคงรักษาวัฒนธรรมผสมของตนเองอยู่ในทรานซิลเวเนีย[1] นักวิชาการยังคงโต้แย้งกันเรื่องประชากรของทรานซิลเวเนียก่อนการพิชิตของฮังการี[2]

ชนมาจยาร์พิชิตทรานซิลเวเนียได้ในตอนปลายของคริสต์ศตวรรษที่ 9 แต่มีอิทธิพลในดินแดนนี้อย่างมั่นคงในปี ค.ศ. 1003 เมื่อพระเจ้าสตีเฟนที่ 1 แห่งฮังการีตามตำนานทรงได้รับชัยชนะต่อเจ้าท้องถิ่นที่มีชื่อว่า "จูลอ" (Gyula)[3][4][5][6] ระหว่างปี ค.ศ. 1003 ถึงปี ค.ศ. 1526 ทรานซิลเวเนียก็เป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรฮังการี โดยมีประมุขที่ได้รับการแต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์แห่งฮังการี หลังจากยุทธการที่โมฮาช (Battle of Mohács) ในปี ค.ศ. 1526 ทรานซิลเวเนียก็ได้รับอิสระ และก่อตั้งเป็นราชนครรัฐที่ปกครองโดยเจ้าของนิกายนิกายคาลวิน หลังจากนั้นในปี ค.ศ. 1566 ฮังการีก็แบ่งระหว่างฮาพส์บวร์คและตุรกี โดยทรานซิลเวเนียยังคงรักษาความเป็นราชนครรัฐของจักรวรรดิออตโตมัน

ราชวงศ์ฮาพส์บวร์คยึดทรานซิลเวเนียไม่นานหลังจากยุทธการเวียนนาในปี ค.ศ. 1683 แต่ฮาพส์บวร์คยอมรับอำนาจของฮังการีเหนือทรานซิลเวเนีย[1] [ไม่แน่ใจ ] ขณะที่ทรานซิลเวเนียยอมรับอำนาจของจักรพรรดิลีโอโพลด์แห่งราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค (ค.ศ. 1687) ทรานซิลเวเนียจึงถูกผนวกอย่างเป็นทางการกับจักรวรรดิออสเตรีย จะแยกก็เพียงแต่ชื่อ[7][8] จากฮังการีที่ครองโดยฮาพส์บวร์ค[9][10][11] และอยู่ภายใต้การปกครองโดยตรงจากข้าหลวงของพระจักรพรรดิ[12] ในปี ค.ศ. 1699 ตุรกีก็ยอมรับการเสียทรานซิลเวเนียในสนธิสัญญาคาร์โลวิทซ์ (Treaty of Karlowitz) หลังจากการตกลงออสเตรีย-ฮังการี (Austro-Hungarian Compromise) ในปี ค.ศ. 1867 ทรานซิลเวเนียก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของฮังการีอีกครั้งหนึ่ง[4][6] ที่เป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีที่เพิ่งก่อตั้งขึ้นใหม่

หลังจากการพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งออสเตรีย-ฮังการีก็สลายตัวลง ชาวโรมาเนียส่วนใหญ่เลือกผู้แทนผู้ประกาศการรวมตัวของทรานซิลเวเนียกับโรมาเนียเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ. 1918 ในปี ค.ศ. 1920 พันธมิตรก็อนุมัติการรวมตัวในสนธิสัญญาทรียานง ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1940 ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองฮังการีก็ได้ดินแดนราวสองในห้าของทรานซิลเวเนียโดยรางวัลเวียนนาครั้งที่ 2 (Second Vienna Award) ซึ่งเป็นความพยายามของเยอรมนีพันธมิตรของฮังการีและอิตาลีในการละเมิดสนธิสัญญาทรียานง แต่ดินแดนก็กลับไปเป็นของโรมาเนียในปี ค.ศ. 1945 ที่ได้รับการอนุมัติในสนธิสัญญาสงบศึกปารีสในปี ค.ศ. 1947[4].

นอกโรมาเนียแล้วทรานซิลเวเนียก็มักจะมีความพัวพันกับนวนิยายเรื่อง "แดรกคูลา" โดยบราม สโตกเกอร์[13][14][15] และยุคแห่งความหวาดกลัวโดยทั่วไป ขณะที่โรมาเนียและประเทศต่าง ๆ ในบริเวณยุโรปตะวันออกและยุโรปกลางเป็นที่รู้จักกันในความงามของภูมิทัศน์และความสำคัญทางประวัติศาสตร์

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "International Boundary Study - No. 47 – April 15, 1965 - Hungary – Romania (Rumania) Boundary" (PDF). US Bureau of Intelligence and Research. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-03-03. สืบค้นเมื่อ 2009-07-12.
  2. "Early history". A Country Study: Hungary. Federal Research Division, Library of Congress. สืบค้นเมื่อ 2008-12-02.
  3. Gyula - it is possible that during the 10th century some of the holders of the title of gyula also used Gyula as a personal name, but the issue has been confused because the chronicler of one of the most important primary sources (the Gesta Hungarorum) has been shown to have used titles or even names of places as personal names in some cases.
  4. 4.0 4.1 4.2 "Transylvania". Encyclopædia Britannica. Encyclopædia Britannica, Inc. 2008. สืบค้นเมื่อ 2008-08-01.
  5. Engel, Pal (2005). The Realm of St Stephen. London: Tauris. p. 27. ISBN 185043977X. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  6. 6.0 6.1 "Transylvania," Microsoft® Encarta® Online Encyclopedia 2008 http://encarta.msn.com เก็บถาวร 2009-04-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน © 1997-2008 Microsoft Corporation. All Rights Reserved.
  7. http://www.britannica.com/EBchecked/topic/1459175/Diploma-Leopoldinum
  8. http://www.britannica.com/EBchecked/topic/603323/Transylvania
  9. Peter F. Sugar. Southeastern Europe Under Ottoman Rule, 1354-1804 (History of East Central Europe), University of Washington Press, July 1983, page 163, http://books.google.com/books?id=LOln4TGdDHYC&pg=PA163&dq=independent+principality+that+was+not+reunited+with+Hungary&lr=
  10. John F. Cadzow, Andrew Ludanyi, Louis J. Elteto, Transylvania: The Roots of Ethnic Conflict, Kent State University Press, 1983, page 79, http://books.google.com/books?id=fX5pTransylvaniaAMAAJ&q=diploma+leopoldinum+transylvania&dq=diploma+leopoldinum+transylvania&lr=&pgis=1[ลิงก์เสีย]
  11. Paul Lendvai, Ann Major. "The Hungarians: A Thousand Years of Victory in Defeat" C. Hurst & Co. Publishers, 2003, page 146; http://books.google.com/books?id=9yCmAQGTW28C&pg=PA146&dq=diploma+leopoldinum+transylvania&lr=
  12. http://encyclopedia2.thefreedictionary.com/Grand+Principality+of+Transylvania
  13. "Transylvania Society of Dracula Information". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-07. สืบค้นเมื่อ 2009-07-12.
  14. Travel Advisory Lure of Dracula In Transylvania - New York Times
  15. Romania Transylvania

ดูเพิ่ม

[แก้]