ถุงหุ้มข้อไหล่อักเสบยึดติด
หน้าตา
ถุงหุ้มข้อไหล่อักเสบยึดติด (Adhesive capsulitis of shoulder) | |
---|---|
ชื่ออื่น | Frozen shoulder |
ภาพข้อต่อกลีโนฮิวเมอรัลของข้อไหล่ข้างขวา | |
สาขาวิชา | Orthopedics |
อาการ | Shoulder pain, stiffness[1] |
ภาวะแทรกซ้อน | Fracture of the humerus, biceps tendon rupture[2] |
การตั้งต้น | 40 to 60 year old[1] |
ระยะดำเนินโรค | May last years[1] |
ประเภท | Primary, secondary[2] |
สาเหตุ | Often unknown, prior shoulder injury[1][2] |
ปัจจัยเสี่ยง | Diabetes, hypothyroidism[1] |
โรคอื่นที่คล้ายกัน | Pinched nerve, autoimmune disease, biceps tendinopathy, osteoarthritis, rotator cuff tear, cancer, bursitis[1] |
การรักษา | NSAIDs, physical therapy, steroids, injecting the shoulder at high pressure, surgery[1] |
ความชุก | ~4%[1] |
ถุงหุ้มข้อไหล่อักเสบยึดติด[3] หรือ โรคข้อไหล่ติด (อังกฤษ: adhesive capsulitis (of shoulder), frozen shoulder) เป็นโรคที่เกิดกับถุงหุ้มข้อไหล่ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่หุ้มข้อต่อกลีโนฮิวเมอรัลของไหล่เอาไว้ ถุงหุ้มข้อนี้เกิดอักเสบ ติดยึด เกิดการสร้างแถบเนื้อเยื่อที่ผิดปกติทำให้ข้อไหล่ขยับได้น้อยลงและมีอาการปวดเรื้อรัง
อาการทางคลินิกของโรคข้อไหล่ติดมี 3 ระยะ ได้แก่
- ระยะที่ 1 - ระยะเจ็บปวด ผู้ป่วยจะรู้สึกว่ามีอาการเจ็บปวดค่อยๆ เป็นมากขึ้น ส่วนใหญ่จะปวดมากตอนกลางคืน โดยไม่มีเหตุนำชัดเจนของอาการปวดนี้ อาการปวดจะไม่สัมพันธ์กับกิจกรรมที่ทำยกเว้นการเคลื่อนไหวจนสุดพิสัยของข้อไหล่อาจทำให้ปวดมากได้ เมื่อโรคเป็นมากขึ้นอาจมีอาการปวดแม้ไม่ได้ทำอะไร ระยะนี้มักนาน 2-9 เดือน ไม่มีการลดลงของพิสัยการเคลื่อนไหวของข้อ และอาจวินิจฉัยไม่ได้ชัดเจน
- ระยะที่ 2 - ระยะข้อยึด อาการปวดจากระยะแรกอาจยังคงอยู่แม้มักจะปวดลดลง จะเริ่มมีการลดลงของพิสัยการเคลื่อนไหวของข้อไหล่แบบทั้งแคปซูล นั่นคือในทุกทิศทางการเคลื่อนไหว อาจส่งผลต่อกิจวัตรประจำวันอย่างมาก ลักษณะสำคัญของระยะนี้คือการที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวเป็นระยะมากๆ ได้ในไหล่ข้างที่เป็น ระยะนี้การวินิจฉัยจะง่ายกว่าในระยะแรก ระยะนี้ทั่วไปอาจนาน 3-9 เดือน แต่อาจนานกว่านี้ได้
- ระยะที่ 3 - ระยะฟื้นตัว อาการปวดจะลดลง พิสัยการเคลื่อนไหวของข้อไหล่จะค่อยๆ ดีขึ้นในช่วง 12-24 เดือน แม้ผู้ป่วยประมาณ 40% อาจมีอาการข้อไหล่ยึดจนพิสัยการเคลื่อนไหวลดลงเล็กน้อย แต่แค่ 10% เท่านั้นที่จะมีอาการชัดเจนจนไม่สามารถทำกิจวัตรได้ตามปกติ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 1.7 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อRam2019
- ↑ 2.0 2.1 2.2 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อStat2019
- ↑ บัญชีจำแนกโรคระหว่างประเทศ ฉบับประเทศไทย (อังกฤษ-ไทย) ฉบับปี 2009. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข, 2552.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]การจำแนกโรค | |
---|---|
ทรัพยากรภายนอก |